โรคผิวหนังในสุนัข
- Home
- โรคผิวหนังในสุนัข
ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)
โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]
อ่านต่อโรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข
โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]
อ่านต่อ