Pet Training

ห้ามสุนัขกัดกัน อย่างไร ให้ปลอดภัย

เชื่อว่าเจ้าของน้องหมาหลายท่านอาจเคยตกอยู่ในสถานการณ์สุนัข 2 ตัวกัดกัน หรือตั้งท่ากำลังจะกัดกัน หลาย ๆ ครั้งที่เราพยายามเข้าไป “ห้ามสุนัขกัดกัน” แต่กลับทำให้สุนัขกัดกันมากขึ้น หรือหันกลับมากัดเจ้าของเสียเอง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดความเครียดต่อทั้งสุนัขและเจ้าของ แล้วเราจะ ห้ามสุนัขกัดกัน อย่างไร และเราจะแยกสุนัขที่กัดกัน หรือมีแนวโน้มจะกัดกันอย่างไร ก่อนจะกลายเป็นเหตุการณ์ที่เกินความควบคุม มาดูกันเลยครับ เริ่มแรกเลย ในกรณีที่สุนัขยังไม่มีการกัดทำร้ายกัน ช่วงเวลาตรงนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ๆ ที่ผู้เลี้ยงอย่างเรา ๆ จะสามารถช่วยปัองกันไม่ให้สถานการณ์บานปลายต่อไป โดยเมื่อเราสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่าง ที่สุนัขแสดงออกต่อสุนัขอีกตัวหนึ่ง เช่น ยืน นั่ง หรือนอนขวางทางสุนัขตัวอื่น มีลักษณะตัวนิ่ง ๆ ไม่ค่อยขยับร่างกาย ตามองจ้องไปที่สุนัขอีกตัว และขนบริเวณหลังตั้งขึ้น หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น เราอาจได้ยินเสียงขู่ในลำคอของสุนัขตัวใดตัวหนึ่ง หรือเริ่มเห็นการแยกเขี้ยว การแสดงภาษากายในลักษณะดังกล่าว เป็นสัญญาณที่เจ้าของไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไป เพราะอาจจะนำไปสู่ความก้าวร้าวที่ยากจะควบคุมได้ สำหรับการจัดการในเบื้องต้นเมื่อเราสังเกตเห็นภาษากายดังกล่าว เจ้าของควรทำการดึงความสนใจของสุนัขให้กลับมาที่เจ้าของให้ได้ โดยอาจจะใช้การเรียกให้สุนัขกลับมาหา หรืออาจใช้ขนม หรือของเล่น ล่อสุนัขตัวที่เป็นตัวเริ่มก้าวร้าวออกมาก่อนหลังจากนั้นพยายามกันไมให้สุนัขทั้งสองตัวได้กลับเจอกันอีก ในสถานการณ์ดังกล่าว สำหรับในกรณีที่มีเกิดการกัดกันแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือเจ้าของไม่ควรส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เข้าไปขวางระหว่างสุนัข […]

อ่านต่อ

สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม แก้ไขได้อย่างไร

เจ้าของหลายท่านอาจะกำลังประสบปัญหา สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม ซึ่งเมื่อเราพาพวกเขาออกไปข้างนอกบ้านแล้ว สุนัขมักจะแสดงนิสัยก้าวร้าวกับสุนัขด้วยกัน หรือกับคนแปลกหน้า จากข้อมูลในปัจจุบันที่เผยแพร่กันบนโลกออนไลน์ ข้อมูลจากหลายแหล่งได้แนะนำว่า สุนัขไม่ชอบเข้าสังคม สามารถแก้ไขได้โดยพาพวกเขาออกไปพบปะกับหมาตัวอื่นบ่อย ๆ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขพฤติกรรมนี้ได้ ในความเป็นจริง ตามหลักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงแล้ว หากเจ้าของพาสุนัขที่ไม่ชอบเข้าสังคม ออกไปพบเจอกับสุนัขตัวอื่นเยอะ ๆ บ่อย ๆ แล้วจะแก้ปัญหาพฤติกรรมนี้ได้ จริงหรือ วันนี้ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันครับ เจ้าของควรทำความเข้าใจพฤติกรรมของสุนัข ตามหลักการศึกษาพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง เมื่อเราให้สุนัขเจอกับสิ่งที่พวกเขาไม่ชอบซ้ำ ๆ เพื่อหวังจะให้การตอบสนองต่อสิ่งเร้าลดลง เรียกว่า ความเคยชิน หรือ Habituation ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ สิ่งเร้านั้น ๆ ไม่ใช่ความรุนแรงในมุมมองของสุนัข และไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย หรือบาดเจ็บต่อสุนัข รวมไปถึง สุนัขเผชิญกับสิ่งเร้านั้นบ่อยครั้ง และสม่ำเสมอ ในทางกลับกัน ถ้าสุนัขต้องพบเจอกับสิ่งเราที่มีความรุนแรงสูงมาก เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้สุนัขรู้สึกว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีความรุนแรง แต่สุนัขคาดเดาไม่ได้ รวมถึงสุนัขไม่ได้พบเจอกับสิ่งเร้าชนิดนั้นอย่างเพียงพอ สิ่งกระตุ้นเหล่านี้จะส่งผลให้สุนัขเกิดภาวะที่เรียกว่า Sensitization หรือไวต่อสิ่งเร้า ซึ่งแตกต่างกับพฤติกรรมความเคยชิน หรือ Habituation เมื่อสุนัขเกิดภาวะ Sensitization สุนัขจะไวต่อการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอกมากขึ้น […]

อ่านต่อ
บุคลิกภาพของสุนัข, พฤติกรรมสุนัข

บุคลิกภาพของสุนัข มีแบบใดบ้าง

บุคลิกภาพของสุนัข เป็นสิ่งที่กำหนดให้สุนัขแต่ละตัวมีนิสัยที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขที่อยู่คนละบ้าน สุนัขที่เลี้ยงในบ้านเดียวกัน หรือแม้แต่สุนัขคอกเดียวกัน ก็มีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันได้ บุคลิกภาพของสุนัข มีอยู่จริงหรือไม่ อย่างไร เรามาดูรายละเอียดกันครับ  บุคลิกภาพของสุนัขเป็นเรื่องที่นักพฤติกรรมสัตว์ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งพบเห็นได้จากการศึกษาวิจัย และพยายามที่จะนำเสนอแนวคิดต่าง ๆ เพื่อมาอธิบายลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพของสุนัข  อย่างไรก็ตาม การศึกษาส่วนใหญ่มักอ้างอิงต้นแบบจากการศึกษาพฤติกรรมในมนุษย์เป็นหลัก โดยในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพในด้านต่าง ๆ ของสุนัขที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป  อย่างเช่นในรูปแบบนี้ ใช้การเทียบเคียงกับ 5 บุคลิกภาพหลักในมนุษย์ที่เรียกว่า Five Factor Model (FFM) หรือ Big 5 แต่สำหรับสุนัขจะใช้การเทียบเคียงได้ 4 ด้าน ประกอบด้วย Energy เทียบเคียงกับ Extraversion หรือการเปิดตัว การชอบเข้าสังคม ชอบการพบปะผู้คน ชอบอยู่ในกลุ่ม และเป็นคนเปิดเผยตนเอง Affection เทียบเคียงกับ Agreeableness หรือความเป็นมิตร หรือแนวโน้มที่จะตามผู้อื่น ชอบที่จะร่วมมือ ชอบความกลมกลืนทางสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น  Emotional reactivity […]

อ่านต่อ

แมวฉี่ไม่เป็นที่ เกิดจากอะไร แก้ไขได้ หรือไม่

แมวฉี่ไม่เป็นที่ เป็นปัญหาใหญ่ที่กวนใจทาสแมวอยู่พอสมควร และเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจาก เมื่อแมวฉี่และขับถ่ายนอกกระบะทราย อาจเป็นไปได้ว่า แมวกำลังเกิดความผิดปกติกับร่างกาย หรือจิตใจ เมื่อ แมวฉี่ไม่เป็นที่ เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าที่คิด น้องแมวฉี่ (หรือขับถ่าย) นอกกระบะทราย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเบื้องต้น ถ้าเราไม่แน่ใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เจ้าของสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าของต้องกลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน และดูแลแมวที่บ้าน ควรทำความเข้าใจพฤติกรรมฉี่ไม่เป็นที่ร่วมด้วย เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไป ลักษณะการฉี่ของแมวมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การฉี่เพื่อขับถ่ายของเสีย จัดเป็นการขับถ่ายเพื่อนำของเสียออกจากร่างกาย ถือเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ ที่ตอบสนองความต้องการทางสรีรวิทยาของร่างกาย การฉี่แบบสเปรย์ (spraying) เป็นการขับปัสสาวะโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างแมวด้วยกัน สำหรับวิธีการพิจารณาเบื้องต้นสำหรับแยกการขับถ่ายปัสสาวะทั้งสองแบบ สามารถพิจารณาจากข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ ข้อแรกถ้าแมวฉี่โดยการยืนสี่ขา ยกโคนหางขึ้นสูง และพ่นน้ำปัสสาวะออกมาเป็นละอองฝอย มีแนวโน้มที่จะเป็นการขับถ่ายแบบสเปรย์มากกว่าการถ่ายปัสสาวะจริง ๆ ในทางตรงกันข้าม หากแมวนั่งยอง ๆ หรือทำท่าทางเช่นเดียวกันกับการฉี่ในกระบะทราย ท่าทางการขับถ่ายดังกล่าวมักเป็นการขับถ่ายปัสสาวะจริง ๆ ข้อสองหากแมวฉี่รดบริเวณกำแพง เสาบ้าน ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ หรือโครงสร้างที่เป็นแนวตั้ง […]

อ่านต่อ
การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง, การฝึกสุนัข, การฝึกน้องหมา

การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง

การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง เป็นเรื่องพื้นฐานที่สัตว์เลี้ยงทุกตัวจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และความเข้าใจจากเจ้าของ แน่นอนครับว่าเราทุกคนย่อมต้องการทางเลือกในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ๆ อย่างเลือกอาชีพ การงาน ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ อย่างเลือกที่จะกินอะไร คุยกับใคร ไปไหน ไปยังไง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงก็เช่นกัน การให้ทางเลือกกับสัตว์เลี้ยง เป็นวิธีหนึ่งที่พวกเขาจะได้แสดงออกตามสัญชาตญาณ ลองคิดดูเล่นๆ ครับ ว่าถ้าชีวิตเราปราศจากทางเลือกอย่างสิ้นเชิง เราจะรู้สึกยังไง? ทางเลือกเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด การมีทางเลือกจะทำให้เรามีความรู้สึกว่าสามารถที่จะควบคุมชีวิตตัวเองได้ (sense of control) ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าคนที่มีความรู้สึกว่าตัวเองมีทางเลือก จะมีสุขภาพที่แข็งแรง และหายป่วยจากโรคภัยต่าง ๆ ได้เร็วกว่าคนที่รู้สึกว่าตัวเองเลือกอะไรไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังพบว่า ในคนที่รู้สึกว่าตัวเองเลือกอะไรไม่ได้จะมีโอกาสเกิดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้มากกว่าคนที่มีทางเลือกในชีวิต ปัจจุบัน ความรู้สึกว่าเราสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้มากน้อยเพียงใด จึงมักถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับการศึกษาพฤติกรรมสัตว์พบว่า ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเองได้ จะส่งผลเชิงลบต่อจิตใจเป็นอย่างมาก และถ้าความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ สัตว์เลี้ยงอาจเกิดสภาวะที่คล้ายคลึงกับอาการซึมเศร้าในมนุษย์ และอาจถึงขั้นไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น ไม่สามารถแย่งกินอาหารกับตัวอื่น หรือมีปัญหาในการเข้าสังคม เป็นต้น […]

อ่านต่อ

วิธีการฝึกสุนัขโดยใช้สิ่งที่สุนัขไม่ชอบ

จากบทความที่ผ่านมา เราได้อธิบายเกี่ยวกับ การฝึกสุนัขโดยการใช้รางวัล ไปแล้ว ในบทความนี้ ผมขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับวิธีการฝึกสุนัขรูปแบบอื่น ๆ กันบ้าง นั่นคือ การฝึกสุนัขโดยใช้สิ่งที่สุนัขไม่ชอบ แนวทางที่เรากำลังจะไปเรียนรู้กันวันนี้ เรียกว่า Aversive-based training เป็น การฝึกสุนัขโดยใช้สิ่งที่สุนัขไม่ชอบ เพื่อให้สุนัขแสดง หรือไม่แสดง พฤติกรรมที่เราต้องการ แล้วจึงนำสิ่งที่สุนัขไม่ชอบออกจากกระบวนการฝึก  ยกตัวอย่างเช่น การลงโทษสุนัข เมื่อพวกเขาแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ โดยการลงโทษสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เสียงดัง การใช้แรง หรือการใช้การแสดงใด ๆ ที่มุ่งให้สุนัขรู้สึกไม่ชอบ หรือกลัว การฝึกด้วยแนวทางนี้มักเกี่ยวข้องกับการบังคับสัตว์ ไม่ให้ทางเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยง จนอาจทำให้เกิดเป็นปัญหาทางจิตใจอื่น ๆ ตามมา  มีการศึกษาวิจัยพบว่า สุนัขที่ถูกฝึกด้วยวิธีการลงโทษ มักแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความเครียด และมีแนวโน้มที่จะแสดงปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ปัญหาความก้าวร้าว ปัญหาพฤติกรรมที่เกิดจากความระแวง ตลอดจนปัญหาการขับถ่ายไม่เป็นที่ภายในบ้าน สูงกว่าสุนัขที่ถูกฝึกด้วยวิธีการให้รางวัล  นอกจากนี้ สุนัขที่ถูกฝึกด้วยวิธีการดังกล่าว จะมีปริมาณฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) สูงกว่าสุนัขที่ถูกฝึกด้วยการให้รางวัล รวมไปถึง การฝึกสุนัขด้วยวิธีที่มีการเผชิญหน้า และท้าทาย […]

อ่านต่อ

วิธีฝึกสุนัข มีแนวทางหรือรูปแบบใดบ้าง

วิธีฝึกสุนัข แบบ Reward-based training หรือการฝึกโดยใช้รางวัล ปัจจุบัน เราจะพบว่า มีแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนสื่อออนไลน์เผยแพร่ วิธีฝึกสุนัข มากมาย ทั้งจากโรงเรียน และสถานที่ฝึกสอนสุนัข โดยครูฝึกแต่ละคนต่างก็มีแนวทางการฝึกเป็นของตัวเอง และดูเหมือนว่า ปัจจุบันจะเกิดแนวทางการฝึกสุนัขหลากหลายแนวทางมาก  อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว การฝึกสุนัขตามหลักการดั้งเดิม พบว่ามีแนวทาง 2 รูปแบบได้แก่ การฝึกโดยใช้รางวัล หรือ Reward-based training และการฝึกแบบลงโทษ หรือ Aversive-based training  ในปัจจุบัน ครูฝึกสุนัขบางท่านได้พัฒนาแนวทางฝึกจนทำให้เกิดเป็นแนวทางที่สามขึ้นมา นั่นก็คือการฝึกแบบ Balance หรือการผสมผสานแนวทางการฝึกโดยใช้รางวัลและการลงโทษ สำหรับในบทความนี้ หมอจะอธิบายถึงการฝึกด้วยแนวทางการให้รางวัล หรือ Reward-based training ว่ามีข้อดีและข้อควรระวัง อย่างไร เรามาดูรายละเอียดไปพร้อม ๆ กันครับ สร้างแรงจูงใจเชิงบวก โดยไม่ทำให้สุนัขรู้สึกกลัว การฝึกโดยใช้หลัก Reward-based ผู้ฝึกจะไม่ลงโทษสุนัข ไม่บังคับ และไม่ใช้ความรุนแรง เพื่อทำให้สุนัขรู้สึกกลัว  หัวใจสำคัญของการฝึกคือ […]

อ่านต่อ

แมวชอบข่วนโซฟา ปรับพฤติกรรมอย่างไร

เมื่อเราตัดสินใจรับเจ้าเหมียวเข้ามาอยู่ในบ้าน หนึ่งในปัญหาที่หลายคนต้องพบเจอคือ แมวชอบข่วนโซฟา ซึ่งหลายครั้ง ทาสก็ไม่รู้จะแก้ปัญหานี้

อ่านต่อ
อุปกรณ์จับบังคับแมว

อุปกรณ์จับบังคับแมว ที่ปลอดภัยมีอะไรบ้าง

แมวเป็นสัตว์ที่มีความรักอิสระ และมีโอกาสต่อต้านการจับบังคับในหลาย ๆ รูปแบบ นอกจากนั้นยังเป็นสัตว์ที่มีความคล่องแคล่ว และว่องไวสูง มีอาวุธที่ใช้ในป้องกันตัวเอง เช่น เล็บ ฟันเขี้ยวที่แหลมคม การกัด การข่วน เป็นต้น ดังนั้นการใช้ อุปกรณ์จับบังคับแมว เราจึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวแมว รวมถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานร่วมด้วย เพราะโดยสัญชาตญาณของแมวนั้นหากต้องถูกจับบังคับ หรือทำพฤติกรรมที่ฝืนธรรมชาติ จะกระตุ้นให้เกิดความเครียด ตื่นเต้น หรือโกรธได้ การจับบังคับแมวที่ดีนั้นต้องสังเกตพฤติกรรม ประเมินอาการที่แสดงออกทางร่างกายของแมวร่วมด้วย เพื่อลดการเกิดอันตรายต่อแมว ในแมวบางตัวที่มีการควบคุม หรือจับบังคับยาก และเรามีความจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติงานกับตัวสัตว์ อาจจะมีการใช้อุปกรณ์ในการช่วยจับบังคับร่วมด้วยได้ โดย อุปกรณ์จับบังคับแมว ที่แนะนำมีดังนี้  1. ผ้าขนหนู (Towel) เป็นอุปกรณ์ที่หาง่ายเพราะมีอยู่ในทุกครัวเรือน ผ้าขนหนูที่มีความหนาในระดับที่พอดี ใช้ในการห่อคลุมเพื่อเก็บส่วนของขาและตัวแมว โดยใช้เทคนิคการห่อแบบ Burrito (ในรูปตัวอย่าง) สามารถใช้จับบังคับในการป้อนยา ป้อนอาหาร หรือตัดเล็บได้ การใช้ผ้าขนหนูมีความปลอดภัยต่อตัวแมว เนื่องจากส่วนหัวจะไม่ได้ถูกห่อหุ้ม แมวยังสามารถหายใจได้อย่างสะดวก  2. ถุงใส่ตัวแมว (Cat bag) อุปกรณ์สำเร็จรูปที่ออกแบบมาสำหรับใส่แมวเพื่อเก็บส่วนตัวและขาของแมว โดยเหลือส่วนหัวที่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ และจะมีซิปเพื่อรูดเปิดตามตำแหน่งของขาได้ อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง […]

อ่านต่อ

ทำอย่างไร ให้น้องแมวคุ้นเคยกับตะกร้า หรือ กระเป๋าใส่แมว

หลายครั้งที่ทาสอย่างเราอยากพาเจ้านายออกไปเที่ยวนอกบ้าน หรือไปหาหมอ แต่ต้องเสียเหงื่อกับการจับน้องลง กระเป๋าใส่แมว หรือตระกร้าอยู่นาน ลองมาดูวิธีทำให้น้องแมวคุ้นเคยกับตระกร้า หรือ กระเป๋าใส่แมวกัน อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนเลี้ยงแมว คือ ตะกร้า หรือ กระเป๋าใส่แมว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความปลอดภัย ต่อเจ้าของและแมวในระหว่างการเดินทาง ไม่ว่าจะไปโรงพยาบาลสัตว์ ไปเที่ยว หรือไปอาบน้ำตัดขน และช่วยทำให้แมวรู้สึกปลอดภัยในการอยู่ในตะกร้า ตะกร้า หรือ กระเป๋าใส่แมว ที่ดี ควรแข็งแรง มั่นคง และง่าย ต่อการนำแมวเข้าออก แมวบางตัวอาจจะชอบให้มีช่องเพื่อดูสิ่งแวดล้อมข้างนอกได้ แต่ในแมวที่มีนิสัยขี้กลัวหรือขี้กังวลเราควรเลือกใช้ตะกร้าหรือกระเป๋าที่มิดชิดหรือหาผ้ามาคลุมปิดไว้เพื่อลดการมองเห็นสิ่งกระตุ้นจากภายนอกที่จะทำให้แมวเกิดความเครียดระหว่างการเดินทาง  สิ่งสำคัญของการฝึกการใช้ตะกร้าใส่แมว การสร้างความรู้สึกเชิงบวกให้กับแมว ในการเข้าตะกร้าด้วยตัวเอง โดยการนำตะกร้าไปวางในบ้านให้แมวรู้สึกว่าเป็นเหมือนเฟอร์นิเจอร์ตัวหนึ่งในบ้าน ทำให้ตะกร้าดูสบายน่าเข้าไปนอนเล่นโดยการปูผ้านุ่มๆด้านใน หรือการใส่ขนม ตำแยแมว ของเล่นชิ้นโปรดลงไป เพื่อสร้างความรู้สึกด้านบวก จนแมวเริ่มคุ้นเคยและเข้าออกตะกร้าอย่างไม่มีความกลัว หากแมวยังไม่คุ้นชินและไม่เข้าตะกร้าด้วยตัวเอง อาจใช้ฟีโรโมนสังเคราะห์ของแมวฉีดพ่นบริเวณตะกร้า เพื่อให้แมวรู้สึกผ่อนคลายและคลายกังวล โดยเฉพาะเวลาก่อนเดินทาง 30 นาที พยายามหลีกเลี่ยงการไล่จับแมวใส่ตะกร้า เพราะจะทำให้แมวเกิดความรู้สึกเชิงลบต่อตะกร้า และจะเกิดการต่อต้าน หรือหวาดกลัวในการเข้าตะกร้าครั้งต่อ ๆ ไป ทดลองนำตะกร้าหรือกระเป๋าที่ยังไม่มีแมว นำไปวางไว้ในรถตำแหน่งที่เราจะวางในวันที่เดินทาง และลองคาดเข็มขัดนิรภัย จากนั้นลองทดสอบขับรถเพื่อดูว่า […]

อ่านต่อ

แมวเข้ากันไม่ได้ ? ทำอย่างไร เมื่อพาแมวไปโรงพยาบาล กลับมาบ้านแล้วลืมหน้ากัน

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เลี้ยงแมวจำนวนมากกว่า 1 ตัวในบ้าน น่าจะเคยเจอกับปัญหาที่ แมวเข้ากันไม่ได้ เวลาเราต้องพาแมวตัวใดตัวหนึ่งไปพบสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือ ต้องไปพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายวัน แต่เมื่อน้องแมวกลับบ้านแล้วเกิดการขู่ ก้าวร้าว หรือ ทะเลาะกับแมวตัวอื่น ๆ ในบ้าน ทั้ง ๆ ที่ปกติอยู่กันด้วยดีมาโดยตลอด แมวเข้ากันไม่ได้? ปัญหานี้พบได้บ่อยเนื่องจากแมวที่มาโรงพยาบาลจะมีกลิ่นของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นกลิ่นที่ไม่คุ้นเคยติดตัวไป หรือบางตัวที่ป่วยต้องใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ปลอกคอกันเลีย ผ้าพันแผล ซึ่งเป็นสิ่งที่แมวไม่คุ้นเคย และ เกิดความเครียดได้ เป็นปัจจัยที่ทำให้แมวตัวอื่นในบ้านอาจจดจำแมวที่เพิ่งกลับไปจากโรงพยาบาลไม่ได้ เนื่องจากแมวใช้การสื่อสารเรื่องกลิ่นเป็นสิ่งสำคัญ และอาจเกิดการจู่โจม หรือ ทำร้ายกัน เพื่อลดปัญหาดังกล่าว วันนี้เรามาแนะนำวิธีการจัดการเพื่อลดความเครียดของแมวกัน การจัดการลดความเครียดของแมวที่พึ่งพากลับจากโรงพยาบาลไปเจอแมวเก่าที่บ้าน ในวันที่รับแมวกลับบ้านให้นำสิ่งของที่มีกลิ่นเหมือนที่บ้านมาด้วย เช่น ผ้าเช็ดตัวของแมว ที่นอนที่แมวใช้ที่บ้าน เสื้อของแมว ให้นำใส่ไว้ในกรง หรือ กระเป๋าระหว่างเดินทาง เพื่อให้มีกลิ่นเดิมของที่บ้านสัมผัสกับตัว และช่วยให้แมวตัวที่อยู่ที่บ้านจดจำกลิ่นได้ แนะนำการใช้ฟีโรโมนสังเคราะห์สำหรับแมวเพื่อลดความเครียดและวิตกกังวล ปัจจุบันมีฟีโรโมนสังเคราะห์ทั้งชนิดที่ติดไว้ตลอดในห้องและชนิดฉีดพ่นใช้พ่นใส่กรงหรือกระเป๋าใส่แมวก่อนเดินทาง เมื่อพากลับบ้านแล้ว อย่าพึ่งบังคับให้แมวเผชิญหน้ากันทันที หรือ ให้แมวทานอาหารร่วมกัน ควรแยกจากกันไว้ก่อน […]

อ่านต่อ

แมวฝึกได้ไหม? คำถามที่ทาสแมวอยากรู้

ทาสแมวหลายคนอาจจะเคยมีคำถามนี้เกิดขึ้นอยู่ในหัวว่า แมวฝึกได้ไหม? ขนาดน้องหมายังฝึกได้ แล้วทำไมเจ้าเหมียวถึงจะฝึกไม่ได้ แต่การฝึกเจ้าเหมียวนั้นเป็นสิ่งที่ช่างน่าลำบากเหลือเกิน เพราะเจ้าเหมียวเป็นสัตว์ที่มีความเป็นตัวเองค่อนข้างสูง วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพามาไขคำตอบกันว่า แมวฝึกได้ไหม? ให้ทาสแมวสามารถเข้าใจ และฝึกเจ้าเหมียวให้เป็นแมวเชื่อง ๆ กันค่ะ 1.เข้าใจลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของแมวกันก่อน พฤติกรรมของแมว ในอดีตคนเลี้ยงแมวเพื่อเอาไว้ล่าหรือฆ่าหนู แมวจึงเป็นสัตว์ที่ยังคงมีพฤติกรรมการเป็นผู้ล่า การล่าถือเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของแมว แมวเป็นสัตว์ล่าเดี่ยว พวกแมวจะพยายามหลีกเลี่ยงการต่อสู้กับแมวตัวอื่นๆหากเป็นไปได้ โดยทั่วไปแมวจะพยายามรักษาระยะห่างกับแมวตัวอื่น แมวมักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับแมวตัวอื่นโดยหลบซ่อนก่อน แมวจะต่อสู้เมื่อเป็นทางเลือกสุดท้าย ความกล้าหาญและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ของแมวขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวแมวด้วย ช่วงอายุ 2-7 สัปดาห์เป็นช่วงที่แมวเริ่มปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ช่วงอายุนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแมวและคน แม้กระนั้นหากแมวพบประสบการณ์ความรุนแรง เสียงดัง จะสร้างความกลัว และความก้าวร้าวให้แมวได้ แมวเป็นสัตว์สังคมจะคุ้นเคยกับแมวฝูงเดิมที่เคยอยู่มาตั้งแต่แรกแต่จะไม่คุ้นเคยกับแมวแปลกหน้า ด้วยเหตุนี้ทำให้มีสัญชาติญาณความกลัวในการปกป้องตัวเองเมื่อเจอกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปหรือคนที่ไม่รู้จัก พฤติกรรมนี้แมวมักจะไม่แสดงออกชัดเจนมักจะเก็บซ่อนความกลัวไว้ แมวสื่อสารกันด้วยหนวด ฟีโรโมน จะเห็นได้ว่าแมวมักเอาหน้าถูซึ่งกันและกันและผลัดกันเลียแต่งตัวให้กัน บ่อยครั้งคนมักเข้าใจผิดว่าพฤติกรรมการเอาหน้ามาถูคือการขออาหารหรืออ้อน แมวส่วนมากมักชอบให้สัมผัสบริเวณหัวและคอ แมวมักอารมณ์เสียและก้าวร้าวเมื่อคนสัมผัสบริเวณอื่น เช่น สัมผัสที่หลัง หรือเมื่อสัมผัสที่ท้องทำให้แมวตะปบแขนด้วยกรงเล็บได พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่แมวบ้านเป็นอยู่ในทุกวันนี้แสดงความเกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นตระกูลในป่าของแมว แมวเป็นสัตว์ที่มีความเฉพาะตัว รักอิสระ ไม่มีจ่าฝูง เป็นสัตว์สังคม เป็นนักล่าเดี่ยว เป็นสัตว์ที่มีความหวงอาณาเขตสูง […]

อ่านต่อ
Dog Agility

Dog Agility เล่นกิจกรรมนี้แล้วดียังไงกับน้องหมา

Dog Agility เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ให้น้องหมาหลากหลายสายพันธุ์แข่งขันความว่องไว เป็นกิจกรรมกีฬารูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและส่งเสริมความฉลาด รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างน้องหมากับคน เนื่องจากการแข่งขันประเภทนี้ต้องอาศัยความสามัคคี และความเข้าใจระหว่างน้องหมาและผู้จูงนั่นเอง รูปแบบการแข่งขัน Dog Agility นั้นจะเน้นไปที่การนำสุนัขวิ่งผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆให้ได้ในเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็น รั้ว สะพาน กระดานหก อุโมงค์ผ้า วิ่งซิกแซกหรือกระโดดลอดบ่วง โดยให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด และให้ได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละรุ่น ซึ่งกีฬาชนิดนี้ได้จัดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 1978 ประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ ดังนี้ 1. Hurdle Jumps (เครื่องกระโดดข้ามรั้ว) เป็นบาร์ให้น้องหมากระโดดข้าม ซึ่งความสูงของบาร์ในการกระโดดข้ามนั้น จะวัดจากขนาดความสูงของน้องหมา 2. Weaving Poles (เสาซิกแซก) เป็นต้นเสาสูงประมาณ 1 เมตร จำนวน 6-12 ต้น ห่างกันต้นละประมาณ 50 ซม. โดยน้องหมาต้องวิ่งเข้าจากทางด้านขวาของเสาต้นแรกทุกครั้ง และวิ่งเป็นแนวซิกแซกจนครบทุกเสา 3. Contact Obstacles (เครื่องกีดขวางสัมผัส) เหตุผลที่เรียกว่า เครื่องกีดขวางสัมผัส […]

อ่านต่อ
เล่นกับแมว

“เล่นกับแมว” อย่างไรให้แมวรักคุณหลงคุณ

การ เล่นกับแมว อย่างถูกวิธีเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างแมวกับผู้เลี้ยง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้แมวได้แสดงพฤติกรรรมตามธรรมชาติ ช่วยออกกำลังกาย และลดความเครียด วิตกกังวลของแมวได้ วันนี้ทาง บ้านและสวน Pets จะพาคุณไปเรียนรู้ 6 เทคนิคดี ๆ ไว้ เล่นกับแมว ของคุณ รับรองจะทำให้เจ้าเหมียวติดใจ จนต้องมาชวนคุณเล่นบ่อย ๆ แน่นอน จะเป็นยังไงไปเริ่มกันเลย !! 1. การเล่นโดยกระตุ้นสัญชาตญาณตามธรรมชาติของแมว แมวเหมียว เป็นสัตว์ที่เป็นนักล่า พฤติกรรมตามธรรมชาติของแมว ต้องมีการเคลื่อนไหว ไล่ล่า จับตะครุบเหยื่อ แนะนำให้ใช้ของเล่นที่เคลื่อนไหว หรือ ส่งเสียงได้ เพื่อเลียนแบบเหยื่อในธรรมชาติ เช่น ลูกบอล ไม้ล่อแมวรูปนก ให้ความรู้สึกที่คล้ายกับนกกระพือปีก หนูของเล่นที่วิ่งเคลื่อนไหวได้ หรืออาจจะใช้การซ่อนของเล่น แล้วจับมันผลุบ ๆ โผล่ ๆ ออกมา ก็ช่วยดึงดูดแมวให้เข้ามาเล่น ในแมวบางตัวที่มีความกระตือรือร้นมาก สามารถฝึกการโยนของ แล้วให้แมวไปคาบของเล่นกลับมาได้ ส่วนใรการล่อด้วยของเล่น แนะนำให้ล่อในลักษณะของการเคลื่อนไหว ซ้ายและขวาอย่างรวดเร็วตรงหน้าแมว จะช่วยให้แมวสนใจ มากกว่าการเคลื่อนไหวของเหยื่อแบบขึ้นลง 2. […]

อ่านต่อ

ดูแลสุขภาพช่องปากของแมว ด้วยการแปรงฟัน !

การ ดูแลสุขภาพช่องปากของแมว เป็นสิ่งสำคัญที่แนะนำให้น้องแมวทุกตัวทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดการเกิดคราบหินปูนที่เกาะอยู่บนผิวฟัน ลดแบคทีเรียในช่องปาก และป้องกันการเกิดโรคในช่องปากได้อีกด้วย วันนี้ บ้านและสวน Pets เรามีขั้นตอน การฝึกฝนการแปรงฟันให้น้องแมว เพื่อประโยชน์ในการ ดูแลสุขภาพช่องปากของแมว มาฝากกันค่ะ ขั้นตอนที่ 1 การเริ่มต้นฝึกในช่วง 2-3 วันแรก ให้ป้ายยาสีฟันสำหรับน้องแมวปริมาณน้อย ๆ ลงบนนิ้วของเรา แล้วยื่นให้แมวดม หรือเลีย เพื่อสร้างความเชื่อใจกันก่อน น้องแมวบางตัวอาจจะชอบรสชาติของยาสีฟันเลย สำหรับน้องแมวที่ปฎิเสธ ให้เราลองป้ายยาสีฟันปริมาณน้อย ๆ ที่บนจมูกของน้องแมว เพื่อให้น้องแมวเลียออก และเมื่อน้องแมวสัมผัสรสชาติของยาสีฟัน แล้วอาจจะเริ่มยอมมาเลียจากมือของเราได้ ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนต่อมาที่จะฝึกไปพร้อม ๆ กันกับข้อแรกคือ การฝึกจับบริเวณส่วนหัวของน้องแมว เพื่อให้น้องแมวเกิดความคุ้นเคย ไม่ตกใจ และเจ้าของมีความมั่นใจ ในการจับบังคับ เมื่อเวลาที่ต้องเริ่มการแปรงฟันจริง แนะนำให้ฝึกจับในช่วงที่น้องแมวอาจจะกำลังง่วง และให้ลองฝึกฝนหลาย ๆ ครั้งต่อวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย โดยให้น้องแมวยืนหันหลังให้กับเรา เพื่อลดการเผชิญหน้ากัน และเวลาที่น้องแมวดิ้นมักจะถอยหลัง จะทำให้เราสามารถควบคุมได้ดีขึ้น กางมือออกให้กว้าง และวางฝ่ามือไว้บนหัวน้องแมวแต่ไปทางด้านหลัง […]

อ่านต่อ
แมวกินน้ำน้อย

แมวกินน้ำน้อย จะมีวิธีกระตุ้นให้น้องกินน้ำยังไง

แมวกินน้ำน้อย โดยธรรมชาติ เราเชื่อกันว่าเป็นพฤติกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลทราย ทำให้แมวต้องมีการปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และพฤติกรรมนี้ก็ถูกถ่ายทอดมายังปัจจุบัน ปริมาณน้ำ ที่ต้องการของร่างกายแมวเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กิโลกรัม ต่อวัน การที่ แมวกินน้ำน้อย จึงสามารถนำไปสู่ การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้เช่น โรคไต , โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น วันนี้ บ้านและสวน Pets เรามีทริปที่จะช่วยกระตุ้นให้น้องแมวกินน้ำมากขึ้น มาลองทำดูกัน   วิธีกระตุ้นแมวให้กินน้ำมากขึ้น (How to encourage your cat to drink) 1. ชนิดของภาชนะใส่น้ำ : ต้องเลือกภาชนะใส่น้ำ ที่ทำให้แมวอยากกินน้ำ ปกติแล้ว แมวจะชอบชามแก้ว โลหะ และ เซรามิก มากกว่า ชามพลาสติก (ให้ทดลองดู ว่าแมวเราชอบแบบไหน) แมวส่วนใหญ่ชอบชามน้ำที่ ตื้น กว้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอาหัวไปจุ่ม หรือ […]

อ่านต่อ

ทำไมสุนัขบางพันธุ์ถึงอินดี้มากกว่าพันธุ์อื่น

เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าทำไมสุนัขบางตัว ถึงทำบางพฤติกรรมแตกต่างไปจากตัวอื่น หรือทำไมสุนัขบางพันธุ์ถึงมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ทำไม Golden Retriever ส่วนใหญ่ถึงเป็นมิตร และชอบให้มนุษย์สัมผัสตัว ทำไม Shetland Sheepdog ส่วนใหญ่ถึงมีความสุขในการทำตามคำสั่งของเจ้าของ ในขณะพวกไทยหลังอาน Siberian Husky หรือพวก Shiba Inu ส่วนใหญ่ถึงเป็น สุนัขอินดี้ สามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองโดยไม่มีมนุษย์ก็ดูมีความสุขดี ** คำว่า “อินดี้” (อังกฤษ: Indy หรือ Indies) เป็นรูปย่อของคำว่า Independence ซึ่งแปลว่า “ความเป็นอิสระจากอิทธิพลของผู้อื่น” ผมเองก็เคยสงสัยครับ เมื่อสงสัย ทางออกก็คือการหาข้อมูลมา เพื่อทั้งเป็นความรู้ให้แก่ตัวเอง เพื่อนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นได้ทราบกันด้วย ปรากฏว่า เคยมีการทำวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องเหล่านี้ครับ โดยภาควิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เขาทำการทดลองโดยการวิเคราะห์แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของสุนัขร่วมกับแบบสอบถาม เพื่อการวิจัยและการประเมินพฤติกรรมสุนัข โดยใช้ตัวอย่างจากการสอบถามเจ้าของสุนัข 2,951 ท่านในประเทศญี่ปุ่น และอีก 10,389 ท่านในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลลัพธ์แบบสอบถามให้ข้อมูลว่า ในสุนัขกลุ่มสายพันธุ์ดั้งเดิม และกลุ่มสปิทซ์ (เช่น พวกพันธุ์ไทยหลังอาน ชาร์เป่ย […]

อ่านต่อ

7 ขั้นตอน ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ในช่วง COVID-19

สวัสดีท่านผู้อ่าน ทุกท่านครับ ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้ คนไทยเราก็ยังคงอยู่ในช่วง Social Distancing คือยังไม่ควรอยู่ใกล้กันจนเกินไป เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามสโลแกนที่ว่า “โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเรา ไม่ติดต่อกัน” ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง แต่สำหรับท่านที่กำลังเลี้ยงลูกสุนัข บางท่านที่พอจะศึกษามาบ้าง ก็อาจจะลำบากใจ เพราะในช่วงอายุของสุนัขนั้น วัยที่ควรจะปูพื้นพฤติกรรมให้ลูกสุนัขรู้สึกดีหรือคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเขา เพื่อให้เขาโตขึ้นมาเป็นสุนัขที่มีจิตประสาทและอารมณ์เหมาะสม มันจำกัดอยู่แค่ประมาณช่วงอายุระหว่าง 3-20 สัปดาห์เท่านั้น หลักจากที่เลยวัยนี้ไปแล้ว ประตูแห่งการเปิดรับมันจะค่อย ๆ ปิดลง และหลายกรณีถ้าลูกสุนัขมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับอะไรไปแล้ว มักจะติดไปจนโต สิ่งที่ทำได้คือการมาปรับแก้ไขซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไขจากให้รู้สึกไม่ดีกลับมาเป็นรู้สึกดีนานกว่า และหลายเคสอาจไม่สามารถแก้ไขให้สุนัขกลับมามีจิตประสาทหรืออารมณ์ที่ดีอย่างที่เขาควรจะเป็นได้ 100% ถ้าเทียบกับการได้ปูพื้นพฤติกรรมให้แต่เนิ่น ๆ ในช่วงอายุ 3-20 สัปดาห์ ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ซึ่งการปูพื้นฐานนี้ จะไม่เหมือนกับการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง ที่เราสามารถฝึกให้สุนัขเรียนรู้ไปได้ตลอดชีวิตครับ ถ้าเรามีสิ่งจูงใจสุนัขที่แรงพอ (ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่สุนัขชอบ หรือการทำโทษที่สุนัขไม่ชอบ) ถ้าสิ่งจูงใจแรงพอ สุนัขจะทำตามเสมอ ไม่ว่าจะอายุในช่วงใด ดังนั้น การปูพื้นพฤติกรรมตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขช่วงอายุตั้งแต่ 3-20 สัปดาห์ จึงมีความสำคัญมากครับ การเข้าสังคม […]

อ่านต่อ