Pet Health

โรคพิษสุนัขบ้าในแมว โรคร้ายที่ต้องระวัง

โรคพิษสุนัขบ้าในแมว อาจเป็นชื่อโรคที่ไม่คุ้นเคยเหมือนกับโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข และหลายคนอาจยังคิดว่าเป็นโรคที่พบได้เฉพาะในสุนัขเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าในแมว ในความเป็นจริงแล้ว โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น แมว คน สุนัข วัว ลิง กระรอก หนู กระต่าย ค้างคาว เป็นต้น และจัดเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonosis) ที่สำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก ปัจจุบันมีรายงานว่า พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าทั่วโลกกว่า 40,000-100,000 คนต่อปี โดยแมวเป็นสัตว์เลี้ยง ที่มีความใกล้ชนิดกับมุนษย์มากในปัจจุบัน และเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และแพร่เชื้อสู่แมวด้วยกันเอง รวมถึงแพร่เชื้อสู่เจ้าของได้ อาการ โรคพิษสุนัขบ้าในแมว แมวที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแสดง 2 แบบคือ แบบดุร้าย (Furious form) และแบบซึม (Dumb or paralytic form) อาการแบบดุร้าย (Furious) เป็นอาการแบบที่พบได้บ่อยในแมวติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ อาการแบบซึม (Dumb) แมวจะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนอาจไม่สามารถสังเกตเห็นอาการได้ชัดเจน และอาการจะเข้าระยะอัมพาตอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตตามมา การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า […]

อ่านต่อ

แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย

แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ เป็นปัญหาสุขภาพที่เจ้าของหลายท่านอาจมองข้ามได้ เนื่องจาก เจ้าของอาจคิดว่า แมวขนร่วงเยอะเป็นปกติอยู่แล้ว ในการศึกษาเกี่ยวกับโรคของแมว สัตวแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า ในบรรดาโรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นในแมวมีหนึ่งโรคที่ทำให้ แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ นั่นคือโรคคุชชิ่ง หรือ Hyperadrenocorticism สัญญาณเตือนอาการของโรคคุชชิ่งในแมว (Cushing’s disease) โรคคุชชิ่งเป็นโรคที่เกิดจากต่อมหมวกไตทำงานมากกว่าปกติ โดยต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) อย่างผิดปกติ ส่งผลโดยตรงไปยังระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความแปรปรวน โดยทั่วไปแล้ว โรคุชชิ่งเป็นโรคที่พบในสุนัขได้บ่อยกว่าแมว แต่ถ้าเกิดขึ้นในแมวแล้ว การรักษาและการควบคุมอาการจะยากกว่าการรักษาในสุนัข และมักพบโรคนี้ในแมวที่มีอายุช่วงกลางค่อนไปทางสูงอายุ สัตวแพทย์คาดว่า สาเหตุที่ทำให้แมวเป็นโรคคุชชิ่งมีสาเหตุที่เป็นไปได้ 2 สาเหตุ คือ อาการของแมวที่เป็นโรคคุชชิ่ง การตรวจวินิจฉัยโรคคุชชิ่งในแมว สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย และซักประวัติอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจค่าเคมีทางเลือด ค่าอิเล็กโทรไลต์ในเลือด เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกแยะโรคอื่น ๆ ออกไป จาดนั้น สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา และการอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อดูขนาด รูปร่าง และลักษณะของต่อมหมวกไต ว่ามีการขยายใหญ่ หรือไม่ ซึ่งช่วยแยกแยะระหว่างโรคที่ขึ้นอยู่กับต่อมหมวกไต […]

อ่านต่อ

แมวน้ำหนักลด เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง

แมวน้ำหนักลด หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พ่อแม่ทาสแมวค่อนข้างกังวลใจ ซึ่งบางครั้ง เราก็ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน น้ำหนักตัวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงสุขภาพของแมวได้ ดังนั้น เมื่อ แมวน้ำหนักลด อย่างผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณความเจ็บป่วยในร่างกาย โดยเกณฑ์การพิจารณาว่าน้ำหนักตัวของแมวผิดปกหรือไม่ เจ้าของสามารถสังเกตได้จาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน เมื่อเจ้าของสังเกตความผิดปกติของน้ำหนักตัวได้แล้ว ควรรีบนัดหมายกับสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งในระหว่างนี้ แมวอาจกินอาหารได้ตามปกติ หรือกินอาหารลดลงก็ได้ โรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้แมวน้ำหนักลด มีดังต่อไปนี้ 1. โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน หรือร่างกายของแมวตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แมวจะแสดงความผิดปกติโดยน้ำหนักตัวลดลง แต่ยังกินอาหาร และดื่มน้ำเยอะขึ้น รวมไปถึงปัสสาวะในกระบะทรายเยอะขึ้น โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมวโดยเฉพาะในแมวที่มีภาวะอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าแมวที่มีน้ำหนักตัวปกติ 2. โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ จึงส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลกระทบต่อการทำงานในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร และระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อแมวเป็นโรคนี้ น้ำหนักแมวจะลดลงอย่างรวดเร็ว และกินอาหารและน้ำเยอะขึ้นกว่าปกติ ขนหยาบกร้าน เคลื่อนไหวไปมามากขึ้น […]

อ่านต่อ

แมวเป็นโรคหัวใจ มีอาการ และการรักษาอย่างไร

แมวเป็นโรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกับสุนัข และสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ และนำไปสู่ความเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามมา แมวเป็นโรคหัวใจ มีชื่อโรคในเชิงเทคนิคว่า cardiomyopathy เป็นโรคที่เกิดจาดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ จึงทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแมวได้น้อยลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ หัวใจของแมวแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง ทั้งด้านซ้ายและขวา กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษ ที่แตกต่างจากกล้ามเนื้อทั่วไป ดังนั้น ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้อหนาขึ้น หรือใหญ่ขึ้น ก็จะส่งผลให้การบีบตัว และการสูบฉีดเลือด ไม่เป็นไปตามปกติ เช่น ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอด และอวัยวะต่าง ๆ ลดลง รวมไปถึงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเกิดลิ่มเลือดได้ ประเภทของโรคหัวใจในแมว โรคหัวใจในแมวสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ การหดเกร็งของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือเกิดความผิดปกติร่วมกันจากอาการที่กล่าวมา 1. โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคหัวที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดมักเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (hypertrophic […]

อ่านต่อ

ลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว ภาวะที่เกิดขึ้นได้กับแมวทุกตัว

ลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว ส่งผลให้แมวมีอาการท้องผูก และขับถ่ายน้อยลง และหากปล่อยไว้นานเกินไป อาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ภาวะ ลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว (Megacolon) คืออะไร ? ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว คือความผิดปกติที่เกิดจากลำไส้ใหญ่ส่วน Colon ขยายใหญ่มากอย่างผิดปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะท้องผูกเรื้อรัง บวกกับจากการสะสมของอุจจาระที่มีขนาดใหญ่ และก้อนแข็งจำนวนมาก จนเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไส้ขยายใหญ่ขึ้น สูญเสียการบีบตัว และเกิดการอุดตันของอุจจาระบริเวณลำไส้ใหญ่ได้ ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว มีอาการอย่างไร แมวจะท้องผูกแบบเรื้อรัง ขับถ่ายอุจจาระลดลง หรืออาจไม่พบการขับถ่ายเลย ความถี่ในการถ่ายอุจจาระ และเข้ากระบะทรายลดลง แมวบางตัวจะแสดงอาการปวดเบ่ง หรือเจ็บขณะถ่ายอุจจาระ มีอาการปวดบริเวณช่องท้อง อุจจาระมีก้อนแข็ง หรือก้อนขนาดใหญ่ ในบางรายที่มีอาการต่อเนื่องมาสักระยะหนึ่ง จะเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาเช่น กินอาหารลดลง น้ำหนักลดลง อาเจียน ซึม เบื่ออาหาร มีภาวะขาดน้ำ อ่อนแรง และขนแห้งหยาบ เป็นต้น สาเหตุของภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพอง (Megacolon) เกิดจากอะไร ? สาเหตุการเกิดมักเกี่ยวข้องกับการมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ลำไส้ใหญ่อุดตันเป็นเวลานาน และมีความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมบริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ […]

อ่านต่อ
สุนัขเป็นโรคผิวหนัง, วิธีรักษา, โรคผิวหนังในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง : 10 ปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพของสุนัขที่พบได้บ่อย และเจ้าของหลายท่านก็กำลังมองหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่เหมาะสม สุนัขเป็นโรคผิวหนัง หรือเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ได้จากหลายสาเหตุ และเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่สัตวแพทย์กล่าวว่า พบได้บ่อยในสุนัข ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข จึงช่วยให้เจ้าของสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง อาการที่กำลังบ่งบอกว่า สุนัขกำลังเผชิญกับปัญหาโรคผิวหนัง สุนัขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมักไม่มีอาการของโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นจนสังเกตได้ บนผิวหนังของสุนัขก็เช่นกัน ผิวหนังและเส้นขนของสุนัขที่มีสุขภาพดี ควรมีสัมผัสที่นุ่มลื่น ไม่มีตุ่ม ไม่ลักษณะผิวหนังแห้งจนลอก หรือไม่มีสีแดง โดยสุนัขที่มีปัญหาเรื่องผิวหนังมักแสดงอาการต่อไปนี้ 10 โรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข 1. โรคภูมิแพ้ อาการแพ้สิ่งต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยบนผิวหนังของสุนัข ตั้งแต่การแพ้ปรสิต อย่างเห็บและหมัด แพ้อาการ ไปจนถึงสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น เชื้อรา และสารเคมี เป็นต้น เมื่อสุนัขสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น หรือสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ จะทำให้กลไกในร่างกายต่อต้าน และเกิดอาการคันอย่างรุนแรงตามมา โดยการรักษาเบื้องต้น เจ้าของต้องรีบหาสาเหตุของการแพ้ให้พบก่อน และพยายามไม่ให้สุนัขไปสัมผัส หรือได้รับสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ และถ้ามีอาการแพ้รุนแรง ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ 2. ปรสิตภายนอก ปรสิตภายนอกที่พบได้บ่อยในสุนัขได้แก่ เห็บ […]

อ่านต่อ

โรคข้อเสื่อมในแมว เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมวิธีการดูแล

หากแมวมีอาการเดินขากะเผลก หรือขาเจ็บเป็น ๆ หาย ๆ เดินขาสั่น มีอาการลุกนั่งลำบาก เคลื่อนไหวร่างกายเปลี่ยนไป เช่น เชื่องช้า ไม่ยอมกระโดดขึ้นลงที่สูงจากที่เคยทำได้ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของ โรคข้อเสื่อมในแมว โรคข้อเสื่อมในแมว พบได้บ่อยในแมวที่เริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัย เนื่องจากมีการใช้งานกระดูกและข้อมาอย่างยาวนาน จึงเกิดการเสื่อมพัฒนามาเรื่อย ๆ และเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดเรื้อรัง (Chronic pain) ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแมวในระยะยาวด้วย สาเหตุของการเกิดโรคข้อเสื่อมในแมว โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis ;OA) คือ การเสื่อมของกระดูก และข้อต่อ ที่พัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) ร่วมกับการงอกใหม่ของกระดูกบริเวณผิวข้อ และขอบกระดูก ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณข้อต่อเมื่อแมวขยับตัว หรือเคลื่อนไหว ผลที่ตามมาคือ แมวจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ข้อศอก ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก และข้อเท้า เป็นต้น โรคข้อเสื่อมในแมว พบได้บ่อยแค่ไหน โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมวสูงวัย ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยการศึกษาที่เผยแพร่ในปี […]

อ่านต่อ
สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ,

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่เฉย ๆ

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ เป็นอาหารปกติหลังจากที่สุนัขวิ่งเล่น หรือออกกำลังกายจนเหนื่อย ซึ่งเป็นกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุนัข อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เรากลับพบว่า สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่สุนัขไม่ได้ทำกิจกรรมหนักจนเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหมายถึงร่างกายของสุนัขกำลังเกิดความผิดปกติบางอย่าง ที่เราต้องรีบหาสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่สุนัขหายใจหอบและถี่ อาการแลบลิ้น และหายใจหอบเหนื่อย เป็นกระบวนการระบายความร้อนตามธรรมชาติของสุนัข ซึ่งเป็นจังหวะการหายใจที่มีลักษณะเร็วและตื้น ร่วมกับการแลบลิ้น โดยปกติแล้ว อัตราการหายใจปกติของสุนัขคือ 30-40 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อสุนัขมีอาการหอบอัตราการหายใจอาจเพิ่มขึ้นได้เป็น 10 เท่าหรือ 300-400 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเป็นการหายใจหอบแบบผิดปกติ สุนัขจะแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น ลิ้นห้อย น้ำลายยืด อ้าปากค้าง เหงือกเปลี่ยนเป็นสีซีด หรือมีอาการส่งเสียงร้องครางผ่านทางจมูก ดังนั้น เจ้าของจึงต้องคอยสังเกตอาการหอบปกติของสุนัขและเปรียบเทียบกับอาการหอบที่เกิดขึ้นว่าแตกต่างไปจากปกติหรือไม่ เหล่านี้คือ สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการหายใจหอบผิดปกติ 1. ฮีตสโตรกอากาศร้อนในประเทศไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้สุนัขเกิดภาวะฮีตสโตรก หรือลมแดด ได้ง่าย โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่สุนัขอยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันและเมื่อความร้อนสะสมเป็นเวลานานฃ ก็จะทำให้สุนัขลิ้นห้อย หอบหายใจแรง น้ำลายไหล เหงือกเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม และอาจอาเจียนออกมาได้ […]

อ่านต่อ

แมวมีขี้หูเยอะ เช็ดแล้วก็กลับมาอีก เกิดจากอะไร

แมวมีขี้หูเยอะ แต่เมื่อเช็ดทำความสะอาดแล้ว ก็มีขี้หูกลับมาอย่างรวดเร็ว อาการที่สร้างความกังวลใจนี้ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หูเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสที่สำคัญของแมว แต่ถ้า แมวมีขี้หูเยอะ อาจนำไปสู่โรคในช่องหู และเกิดปัญหาเกี่ยวกับการฟังเสียงของแมวได้ หูของแมวทำหน้าที่รับเสียงจากภายนอก และเกี่ยวข้องกับการทรงตัวขณะยืน ภายในช่องหูของแมวมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นท้อรูปตัวแอล (L) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Vertical ear canal เป็นช่องหูที่ดิ่งลงทางด้านหน้า และ Horizontal ear canal เป็นส่วนที่หักเข้าไปด้านใน ในช่องหูของแมวส่วนนี้จะผลิตขี้หู (ear wax) ออกมา โดยทั่วไปแล้ว ขี้หูของแมวจะเป็นก้อนสีเหลือง แต่ถ้ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นสีของขี้หูจะเปลี่ยนไป เช่น ในช่องหูมีของเหลวสีดำปนเหลือง ขี้หูสีน้ำตาล หรือมีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการช่องหูบวมหรือแดง คัน หรือมีขี้หูมากกว่าปกติ เมื่อเช็ดทำความสะอาดแล้วก็ยังมีขี้หูกลับขึ้นมาใหม่เร็วกว่าปกติ อาการดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า แมวของเรากำลังมีปัญหาบางอย่างในช่องหู ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ 1. ไรในหู (Ear mite) ไร (Otodectes cynotis) เป็นปรสิตภายนอกร่างกาย ที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงทั่วไป […]

อ่านต่อ

แมวตัวเมียทำหมัน เมื่ออายุกี่เดือน

จากข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน เจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ต่างทราบกันดีว่า การทำหมันแมว เป็นหนึ่งในการคุมกำเนิดที่ได้ผลดีที่สุด แต่ด้วยข้อมูลที่หลากหลายก็ทำให้เราไม่มั่นใจว่า แมวตัวเมียทำหมัน ได้เมื่ออายุกี่เดือน แมวตัวเมียทำหมัน ได้อายุกี่เดือน สัตวแพทย์ส่วนใหญ่ กล่าวว่า การผ่าตัดทำหมันในช่วงอายุที่เหมาะสมของแมวตัวผู้ และแมวตัวเมีย จะแตกต่างกันเล็กน้อย โดย แมวตัวเมียจะทำหมันได้ตั้งแต่อายุ 5 – 7 เดือน หรือหลังจากช่วงที่แมวแสดงอาการติดสัดรอบแรก ส่วนแมวตัวผู้ทำหมันได้ตั้งอายุ 8-10 เดือน หรือหลังจากระบบสืบพันธุ์ได้พัฒนาเต็มที่แล้ว ซึ่งจะทราบได้อย่างแม่นยำด้วยการพาน้องแมวไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์ ข้อควรทราบก่อนนำแมวไปผ่าตัดทำหมัน การผ่าตัดทำหมันแมว รวมถึงสุนัข ในปัจจุบันนี้มีความสะดวก และปลอดภัยกว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสถานบริการด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยงของรัฐบาลและเอกชนเปิดให้บริการจำนวนมาก โดยเบื้องต้น เจ้าของควรศึกษาข้อมูลก่อนพาสัตว์เลี้ยงไปทำหมัน การทำหมันที่ถูกต้องและเหมาะสมในแมวตัวเมียคือ การตัดรังไข่และมดลูกออกทั้งสองข้าง สัตวแพทย์จึงไม่แนะนำให้พาแมวตัวเมียมาทำหมันในขณะที่อยู่ในชข่วงติดสัด เนื่องจากมดลูกกำลังขยายตัว และอาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากระหว่างการผ่าตัด ส่วนในตัวผู้จะใช้การตัดอัณฑะ รวมถึงท่อนำอสุจิออกทั้งสองข้าง ซึ่งวิธีการและขั้นตอนอาจต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์เลี้ยง ก่อนการผ่าตัดทำหมันทุกครั้ง สัตวแพทย์จำเป็นต้องยาสลบให้กับสัตว์เลี้ยง ดังนั้น สัตวแพทย์จึงต้องตรสจความพร้อมของร่างกายก่อนวางยาสลบ เพื่อให้กระบวนการผ่าตัดทำหมันปลอดภัยกับแมว รวมไปถึงเจ้าของจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด การดูแลแผลหลังผ่าตัดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแมวตัวเมีย เนื่องจากแผลผ่าตัดที่หน้าท้องอาจปริแตกได้ […]

อ่านต่อ

แมวเลียขนตัวเอง มากกว่าปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร

แมวเลียขนตัวเองเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ แต่ถ้า แมวเลียขนตัวเอง มากกว่าปกติ อาจกำลังเกิดความผิดปกติขึ้นกับพวกเขาก็ได้ แมวเลียขนตัวเอง เป็นการทำความสะอาดตัวเอง เพื่อช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ของผิวหนัง และยังช่วยระบายความร้อนด้วย แต่ในบางกรณี ถ้าเจ้าของพบว่า น้องแมวเลียขนตัวเองมากเกินไป เส้นขนหลุดร่วงมาก หรือเส้นขนบางในตำแหน่งที่เลียซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความผิดปกติ ที่เรียกว่า ภาวะขนร่วงแบบสมมาตร (feline symmetrical alopecia) หรือในแมวบางตัวอาจพบการสำรอกก้อนขนออกมาด้วย ความผิดปกติที่แมวเลียขนตัวเองมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Over-grooming ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ 1. ความผิดปกติของโรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง การเกิดเชื้อราบนผิวหนัง ปรสิตภายนอกบนเส้นขน และผิวหนัง เช่น เห็บ หมัด และไรขน ภาวะภูมแพ้ เช่น แพ้อาหาร หรือแพ้สิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบฮอร์โมน อย่างไฮเปอร์ไทรอยด์ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นต้น 2. ความผิดปกติทางจิตใจ (Psychogenic alopecia) สาเหตุเกี่ยวกับปัญหาทางพฤติกรรมมักจะมีความเชื่อมโยงกับความเครียด ความวิตกกังวลในแมว หรืออาจมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบ้าน […]

อ่านต่อ
โรคพิษสุนัขบ้า, พิษสุนัขบ้าในสุนัข

โรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัข

โรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัข หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสุนัขเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดในสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย สาเหตุของการเกิด โรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อเรบีไวรัส (Rabies virus) ผ่านการกัดโดยสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคอยู่แล้ว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว เชื้อจะเดินทางผ่านจากระบบไหลเวียนโลหิตเข้าสู่ระบบประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมองในที่สุด จากนั้นเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในสมอง และเชื้อจะแพร่ตามเส้นประสาทสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำลาย ซึ่งหากสัตว์ที่มีเชื้อในต่อมน้ำลายไปสัตว์ตัวอื่น หรือมนุษย์ เชื้อพิษสุนัขบ้าก็จะติดต่อผ่านน้ำลายที่ไปสัมผัสกับบาดแผลบนร่างกาย อาการโรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์เลี้ยง เมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว โดยทั่วไปจะแสดงอาการประมาณ 14 – 90 วัน หรืออาจนานกว่านั้น โดยอาการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ สัตว์แสดงอาการแบบดุร้าย สัตว์ที่ติดเชื้อจะเริ่มเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก น้ำลายไหลมากกว่าปกติ นิสัยเปลี่ยนไป ก้าวร้าวมากขึ้น แสดงอาการตื่นเต้น ร้องโหยหวน ดุร้าย ถึงขั้นทำร้ายมนุษย์ วิ่งชนสิ่งกีดขวาง และอาการจะแย่ลงเมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่สมอง สัตว์จะเป็นอัมพาต ล้มตัวลงนอน ชัก และเสียชีวิตในที่สุด […]

อ่านต่อ