Pet Health

แมวร้องไห้ ได้หรือไม่ ถ้าน้องรู้สึกเศร้า

แมวร้องไห้ ได้หรือไม่ แมวมีความรู้สึกเศร้า ไหมนะ เป็นคำถามที่เหล่าบรรดาผู้ปกครองน้องแมวต่างสงสัยใคร่รู้ บางครั้ง เราสังเกตพบว่า มีน้ำไหลออกจากตาน้องแมว นั่นคือ แมวร้องไห้ ได้จริง ๆ หรือ ในความเป็นจริงคือ น้องแมวสามารถมีน้ำไหลออกตาได้ แต่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ หรือความรู้สึกเศร้าเสียใจ แมวมีความรู้สึกทางอารมณ์ได้จริง งานวิจัยที่ผ่านมาหลายฉบับได้รายงานผลการศึกษาอย่างสอดคล้องกันว่า แมวมีอารมณ์และความรู้สึก พวกเขาสามารถอ่านการแสดงออกทางสีหน้าของมนุษย์ได้ และพวกเขาก็ยังแสดงออกทางความรู้สึกได้อย่างหลากหลาย ต่อทั้งมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น แมวที่มีความสุขมักส่งเสียงเพอร์ (purring) เอาตัวเข้ามาถูไถ วิ่งเล่น และพยายามเขามามีส่วนร่วมกับเรา และสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ แมวที่รู้สึกเศร้า อาจจะแยกตัวออกจากทุกอย่าง ซึม ไม่กินอาหาร และไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย แมวที่กำลังโกรธ หรือรู้สึกกลัว อาจจะส่งเสียงขู่ โก่งตัว หรือกางเล็บและข่วน แมวที่กำลังร้องเหมียว ๆ อาจกำลังรู้สึกเหงา เยื่อ หิว และต้องการความสนใจ ส่วนแมวที่วิตกกังวล โกรธ หรือไม่พอใจ อาจส่งเสียงที่คล้ายกับเสียงสะอื้นของมนุษย์ หรือเสียงครวญคราง […]

อ่านต่อ
เชื้อราในแมว

เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ อย่างไร

เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ เป็นหนึ่งในปัญหาที่ทาสแมวส่วนใหญ่ มีความกังวล วันนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ เชื้อราแมวติดคน ได้หรือไม่ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เรามารู้จักโรคเชื้อราในแมวกันก่อนค่ะ เชื้อราแมวในแมว เป็นโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นกับแมวได้ทุกสายพันธุ์ โดยเชื้อราก่อโรคจะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บ และเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บ และ เส้นขน เป็นอาหารในการเจริญเติบโต ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่แข็งแรง เชื้อราที่ผิวหนังของแมว จัดเป็นความผิดปกติที่สำคัญ ดังนั้น ควรควบคุมโรคโดยการรักษา ทั้งบนตัวแมว และทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัย เนื่องจากสปอร์เชื้อรา สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม ได้เป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญเชื้อราผิวหนังของแมวกลุ่มนี้ ยังสามารถติดต่อสู่คนเลี้ยง โดยทำให้คนเลี้ยงสามารถแสดงอาการรอยโรคทางผิวหนังได้ ปกติแมวทั่วไป สามารถติดเชื้อราก่อโรคได้จากการสัมผัสกับแมวป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อรา ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสปอร์ของเชื้อรา สามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน รอยโรคหลักๆที่สามารถพบได้คือ ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม ขอบเรียบ บางรายอาจจะเป็นสะเก็ด หรือมีอาการคันร่วมด้วย การตรวจวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัยแยกแยะของโรคเชื้อรา สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นจาก ลักษณะรอยโรคบนผิวหนัง การตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเส้นขนหรือเนื้อเยื่อใต้กล้องจุลทรรศน์ […]

อ่านต่อ

แมวตัวผู้ร้องไม่หยุด เพราะสาเหตุใดบ้าง

แมวตัวผู้ร้องไม่หยุด อาจกลายเป็นหนึ่งในปัญหาที่นำพาไปสู่ความบาดหมางกับเพื่อนบ้านได้ สัตว์แพทย์กล่าวถึงสาเหตุนี้ว่าอย่างไรบ้าง มาติดตามกันค่ะ  ผู้ปกครองหลายบ้านที่ตกหลุมรักแมวอาจเป็นเพราะหลงรักเสียงร้องเหมียว ๆ หรือเสียงเพอร์ (purring) ที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม เมื่อ แมวตัวผู้ร้องไม่หยุด อาจทำให้ความผ่อนคลาย กลายเป็นความไม่สงบได้  แม้ว่าการสื่อสารด้วยการใช้เสียง (Vocal communication) เป็นวิธีการสื่อสารตามปกติของแมว แต่เมื่อน้องร้องหนักเกินไป อาจมีสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้  1. แมวตัวผู้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ น้องแมวตัวผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมัน เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 6 – 8 เดือน น้องจะเกิดความต้องการผสมพันธุ์ โดยการส่งเสียงร้องหง่าว ๆ และเดินไปเดินมารอบบ้าน หรือบางครั้งน้องอาจปัสสาวะตามจุดต่าง ๆ นอกกระบะทราย เพื่อสร้างอาณเขต  นอกจากนี้ น้องจะส่งเสียงร้องดังขึ้นเมื่อได้กลิ่น หรือได้ยิน เสียงตัวเมีย มาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ บ้าน ซึ่งการส่งเสียงร้องในลักษณะนี้เป็นเรื่องปกติของแมวตัวผู้ที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์  2. น้องป่วย หรือมีความเจ็บปวดในร่างกาย น้องแมวตัวผู้บางตัวอาจส่งเสียงร้องไม่หยุด เนื่องจากเกิดความไม่สบายตัว หรือได้้รับความเจ็บปวดทางร่างกาย  เช่น แมวมีอาการเจ็บปวดบริเวณกระดูกหรือข้อ  […]

อ่านต่อ

แมวเป็นหวัด หายเองได้ หรือไม่

แมวเป็นหวัด และไม่สบาย ได้เหมือนกับมนุษย์ แล้วน้องหายเองได้ไหมนะ หรือต้องพาไปพบสัตวแพทย์ คำตอบขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสุขภาพแมว ชนิดของเชื้อก่อโรค และปริมาณเชื้อที่ได้รับ แมวเป็นหวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของแมว เป็นโรคติดเชื้อที่สามารถพบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เนื่องจากการเปลี่ยนฤดูกาล สาเหตุที่ทำให้น้องแมวเป็นหวัด โรคหวัดแมวเกิดจากเชื้อไวรัส Feline herpes virus (FHV-1) และ Feline calicivirus (FCV) นอกจากนี้ยังมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น Bordetella bronchiseptica, Chlamydia spp., Mycoplasma spp. และเชื้อไวรัสกลุ่มอื่นที่ทำให้ก่อโรคได้ เช่น Reovirus และ Cowpox เป็นต้น โดยปกติแล้วมักพบการติดเชื้อที่ร่วมกันมากกว่า 1 ชนิดและก่อให้เกิดอาการที่แสดงออกของโรค อาการของโรคหวัดแมว อาการโรคหวัดของน้องแมวแต่ละตัว ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สายพันธุ์ของเชื้อ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ ระดับภูมิคุ้มกันของแมวแต่ละตัว รวมถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อม และการเลี้ยงดูเป็นต้น สำหรับน้องแมวที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายในระดับดี หากติดเชื้อไม่รุนแรงจะไม่แสดงอาการเลย หรือแสดงอาการน้อย และสามารถหายเองได้ ส่วนน้องแมวที่แสดงอาการของโรคอย่างชัดเจน […]

อ่านต่อ

แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน รวมถึงน้องหมาด้วย

โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 4 เดือน เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรครุนแรงและโรคที่สามารถติดต่อสู่คน

อ่านต่อ

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ PICA

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือที่เรียกว่า PICA เป็นข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงแมว ที่ผู้ปกครองควรคอยสังเกต และเฝ้าระวังไม่ให้น้องกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของน้องได้ แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในแมวบางสายพันธุ์ เช่น แมวไทย แมวเบอร์มีส และแมวตองกีนีส เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในแมว อย่างไรก็ตาม แมวสายพันธุ์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็อาจแสดงพฤติกรรม PICA หรือชอบกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารได้เช่นกัน สิ่งแปลกปลอมอะไรบ้าง ที่น้องแมวชอบกิน จากกรณีน้องแมวส่วนใหญ่ที่กินสิ่งแปลกปลอม แล้วคุณพ่อคุณแม่นำน้องมาหาสัตวแพทย์ พบว่า วัสดุแปลกปลอมส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ได้แก่ พลาสติก เศษผ้า วัตถุที่ผลิตจากยางหรือไม้ กระดาษแก้ว กระดาษแข็ง ทรายแมว โลหะ และก้อนขนของตัวเอง โดย ช่วงอายุที่พบได้บ่อย คือ ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า ลูกแมวจะเริ่มกัดแทะสิ่งของใกล้ตัว อย่างที่นอนของตัวเอง และพฤติกรรมนี้จะหายไปเมื่อโตขึ้นสู่ช่วงโตเต็มวัย แต่ในแมวบางตัว จะยังคงพฤติกรรมนี้จนกลายเป็นปัญหาทางพฤติกรรม แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่า แมวของเรามีพฤติกรรมกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร ปกติแล้วแมวจะมีการล่าเหยื่อ […]

อ่านต่อ

โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังในแมว

อาเจียน ท้องเสีย น้ำหนักลด ติดต่อกันนานกว่า 3 สัปดาห์ น้องแมวอาจกำลังเผชิญกับ โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบในแมว โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบในแมว หรือ Inflammatory Bowel Disease มีชื่อย่อว่า IBD เป็นโรคระบบทางเดินอาหารเรื้อรังที่พบได้ในแมวโตเต็มวัย จนถึงแมวสูงอายุ โดยค่าเฉลี่ยอายุที่พบประมาณ 6 ปี บางกรณีสามารถพบได้ในแมวอายุน้อยได้เช่นกัน แต่พบได้น้อย (มีรายงานพบว่า แมวป่วยด้วยโรคนี้ ตั้งแต่อายุ 6 เดือน) อาการส่วนใหญ่ของแมวที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือ อาเจียน หรือท้องเสีย น้ำหนักลด อาจจะมีอุจจาระปนมูก หรือปนเลือดสดออกมา แสดงอาการเรื้อรัง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ แต่ตรวจหาสาเหตุอื่น ๆ ไม่พบ รวมไปถึง บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย สาเหตุของการเกิดโรค IBD โรคกระเพาะอาหาร และลำไส้อักเสบเรื้อรังในแมว เกิดจากเซลล์อักเสบแทรกเข้าไปในชั้นผนังของระบบทางเดินอาหาร ทำให้ผนังของกระเพาะอาหาร และลำไส้หนาตัวขึ้น ซึ่งรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการย่อย […]

อ่านต่อ

พยาธิในทางเดินอาหารของแมว รู้ไว้เพื่อป้องกัน

พยาธิในทางเดินอาหารของแมว เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และมักเป็นสาเหตุทำให้ระบบทางเดินอาการทำงานผิดปกติ พยาธิในทางเดินอาหารของแมว ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่สังเกตได้ ดังนี้ น้องแมวส่วนใหญ่ที่มีพยาธิในทางเดินอาหารจะแสดงอาการ ท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีอาการระคายเคืองบริเวณทวารหนัก โลหิตจาง และถ่ายปนมูกเลือด ถ้าแมวที่มีอายุน้อย อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้า และอ่อนแอไม่แข็งแรง ในบางกรณีที่มีพยาธิในร่างกาย อาจจะไม่แสดงอาการผิดปกติให้เห็นอย่างชัดเจนก็ได้ แต่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะนำพยาธิไปสู่แมวตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือ พยาธิบางชนิดในแมวสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย กลุ่มของพยาธิที่พบได้บ่อยในแมว ได้แก่ กลุ่มพยาธิตัวกลม (Roundworms) 1.พยาธิไส้เดือน ชนิดที่พบบ่อยในแมวชื่อว่า Toxocara cati และ Toxascaris leonine โดยพยาธิที่โตเต็มวัยจะปล่อยไข่ในทางเดินอาหารของแมว และปะปนออกมากับอุจจาระออกมานอกตัวสัตว์ ไข่พยาธิที่ออกมากับอุจจาระของแมวสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเกือบหนึ่งปี การติดต่อสู่แมวตัวอื่นสามารถเกิดได้ 2 ทาง คือ แมวได้รับไข่พยาธิผ่านทางการกินที่ปนเปื้อนไข่พยาธิเข้าไป หรือแมวไปกินสัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลาง เช่น หนูที่มีพยาธิตัวอ่อนอยู่ในร่างกาย เป็นต้น สำหรับลูกแมว สามารถติดพยาธิไส้เดือน Toxocara cati จากการได้รับตัวอ่อนพยาธิผ่านทางน้ำนมจากแม่ โดยแมวตัวเมียที่ตั้งครรภ์และมีพยาธิ […]

อ่านต่อ

สัตว์เลี้ยงพิเศษ กับความพิเศษของการรักษา

โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ผนึกกำลัง โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ เปิดสาขาใหม่ดูแล สัตว์เลี้ยงพิเศษ อีกขั้นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงทุกมิติ “โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ” ผนึกกำลัง โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ เปิดสาขาใหม่ บริการดูแล สัตว์เลี้ยงพิเศษ ชูความโดดเด่นร่วมกันของทีมสัตวแพทย์เฉพาะด้าน และเครื่องมืออันทันสมัย พร้อมให้บริการบนทำเลในเมืองที่เข้าถึงง่าย รวมไปถึงการสร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครองว่า สัตว์เลี้ยงพิเศษจะได้รับการดูแลวินิจฉัยรักษาที่ดี ซึ่งเป็นอีกขั้นของการยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงในทุกมิติ ตอกย้ำเจตนารมณ์มุ่งมั่นพร้อมมอบประสบการณ์และบริการที่ดีให้กับผู้ปกครองและลูกรักสัตว์เลี้ยง ในงานแถลงข่าวเปิดสาขาใหม่บริการดูแลสัตว์เลี้ยงพิเศษ สัตวแพทย์หญิงกฤติกา ชัยสุพัฒนากุล ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ กล่าวว่า “รพส.ทองหล่อ เดินหน้าวิสัยทัศน์องค์กรมุ่งตอบสนองความต้องการของเจ้าของและสัตว์เลี้ยงมากขึ้น เพื่อดูแลและยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงในทุก ๆ มิติ และกล่าวเสริมว่า “ไม่ใช่เพียงแค่สุนัขและแมวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสัตว์เลี้ยงพิเศษชนิดอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสัตว์อันดับ 1 ของประเทศไทย และ โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการรักษาสัตว์เลี้ยงพิเศษ (Exotic pet) ในการเปิดตัวสาขาใหม่ ดูแลสัตว์เลี้ยงพิเศษ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงพิเศษให้ได้รับการดูแลวินิจฉัย และได้รับการรักษาที่ดีในระยะทางที่ใกล้ขึ้น โรงพยาบาลสัตว์แอนิมอลสเปซ สาขาใหม่ ตั้งอยู่ใน รพส.ทองหล่อ สาขาพระราม 9 ซึ่งเป็นศูนย์ส่งต่อสัตว์ป่วย […]

อ่านต่อ

FIP แมว คือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว

FIP แมว คือ โรคติดต่อในแมวชนิดหนึ่ง ย่อมาจาก Feline infectious peritonitis หรือเรียกว่า โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ FIP แมว หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รู้ไว้และป้องกัน เพื่อให้น้องแมวที่รักของเราห่างไกลจากโรคติดต่อ วันนี้ คุณหมอได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ไว้อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจาก “การติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัส” ที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อ Feline enteric coronavirus (FCov) และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในแมว โดยทั่วไป เชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องมักติดเชื้อในแมว ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น แมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวที่มีอายุมาก แมวที่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างแน่น และแมวที่เกิดความเครียดเรื้อรัง นอกจานี้ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบยังสามารถพบได้ในแมว ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันยกพร่อง เช่น โรคลิวคีเมีย และโรคเอดส์แมว เป็นต้น โดยโรคติดต่อชนิดนี้สามารถพบได้ในแมวทุกเพศ และทุกสายพันธุ์ การติดเชื้อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว เชื้อ FCoV ที่ยังไม่ได้กลายพันธุ์และไม่ได้อยู่ในขั้นก่อโรครุนแรง สามารถติดต่อแมวตัวอื่นได้ง่าย โดยแพร่ผ่านการสัมผัสทางร่างกายระหว่างแมว หรือการสัมผัสอุจจาระของแมวที่เป็นพาหะ จากการใช้กระบะทรายร่วมกัน หรือการติดเชื้อไวรัสผ่านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม […]

อ่านต่อ

ดูแลน้องแมว อย่างไร ในแต่ละวัน

คุณพ่อคุณแม่ทาสแมวหลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ในแต่ละวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และควรดูแลในเรื่องใดบ้าง ความรักและความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อน้องแมว เป็นสายสัมพันธ์ที่สวยงาม และมีคุณค่าต่อจิตใจ วันนี้ คุณหมอก้อย  สพ.ญ. ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำ PURRfect Cat Hospital จึงได้มาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการปรนนิบัติน้องแมวในหนึ่งวันให้ฟังว่า ในหนึ่งวันเราควร ดูแลน้องแมว อย่างไร และทำอย่างไรให้แลดูสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิตที่เขาอยู่กับเรา  หมอก้อยได้แนะนำวิธีการดูแลพื้นฐาน 4 ข้อ สำหรับน้องแมวทุกตัว ดังนี้ ค่ะ 1. การดูแลเส้นขนและผิวหนัง ระบบปกคลุมร่างกายของน้องแมวทุกตัวประกอบด้วย เส้นขน และผิวหนัง ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม น้องแมวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เรื่องการดูแลเส้นขนและผิวหนังเหมือนกันทุกตัว เส้นขนของน้องแมวที่มีสุขภาพดีจะมีลักษณะนุ่มสลวย เงางาม ไม่แห้งกระด้าง และขนไม่หลุดเป็นหย่อมๆ เมื่อเราใช้มือลูบ หรือใช้แปรงหวีสางเส้นขน การดูแลเส้นขนของน้องแมว หมอก้อยได้แนะนำไว้แบบนี้ค่ะ  สำหรับน้องแมวสายพันธุ์ขนยาว คุณพ่อคุณแม่ควรแปรงขนเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5 – 15 นาที […]

อ่านต่อ

โรคหลอดลมตีบ ในสัตว์เลี้ยง

โรคหลอดลมตีบ (Tracheal Collapse) สามารถพบได้ทั้งในสุนัข และ แมว โดยพบในสุนัขได้มากกว่า เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากหลอดลม (Trachea) เสื่อมประสิทธิภาพลง โรคหลอดลมตีบ ในสัตว์เลี้ยง เกิดจากหลอดลมในระบบทางเดินหายใจยุบตัวลง โดยหลอดลมแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ หลอดลมส่วนคอและหลอดลมส่วนอก (ภายในช่องอก) ทั้งสองส่วนประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปตัวซี (C) โรคหลอดลมตีบเกิดจากความผิดปกติของกระดูกอ่อนโดยตรง หรืออาจเกิดจากปัจจัยรบกวนภายนอก ทำให้เกิดการยุบตัว (เสื่อมสภาพ) ของหลอดลม โดยความรุนแรงมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงรุนแรง ทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดอาการไอเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยคือ การหย่อนของผนังกล้ามเนื้อด้านบน ทำให้หลอดลมแคบลง และขัดขวางการไหลเวียนของอากาศ การยุบตัวของหลอดลมแบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 4 ตามความรุนแรงของการยุบตัว โรคหลอดลมตีบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข โดยมีความชุกของโรคประมาณร้อยละ 1-5 อายุของสุนัขที่เริ่มมีอาการของโรคเป็นในสุนัขพันธุ์เล็กวัยกลางสุนัขถึงสุนัขวัยชรา พันธุ์พบบ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ยอร์คเชียร์เทอร์เรียร์ (Yorkshire Terrier) ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian) ชิวาวา (Chihuahua) พุดเดิ้ลทอย (Poodle Toy) […]

อ่านต่อ