โรคแมว

แมวตาบอด เราจะสังเกตสัญญาณอันตรายนี้ได้อย่างไร

แมวตาบอด อาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือ การมองเห็นค่อย ๆ ลดลง หรือเกิดการตาบอดแบบเฉียบพลัน แต่โดยทั่วไปแล้ว การสังเกตความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาของแมว อาจไม่ใช่เรื่อง่ายสำหรับเจ้าของเสมอไป แมวตาบอด หรือเริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติเรื่องการมองเห็น สังเกตได้อย่างไร ตามธรรมชาติของแมว ประสาทสัมผัสในการรับเสียงและการรับกลิ่นของแมว ดีกว่าประสาทสัมผัสเรื่องการมองเห็น ดังนั้น ในช่วงแรก เมื่อแมวเริ่มมีความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เจ้าของจึงอาจสังเกตได้ยาก แต่เมื่อความรุนแรงของอาการรุนแรงจนไปถึงขั้น แมวตาบอด เจ้าของจึงสามารถพบความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ส่วนในกรณีของแมวตาบอดเฉียบพลัน อาจแสดงอาการอย่างชัดเจนมากกว่า เช่น เดินชนสิ่งกีดขวาง หรือการเคลื่อนที่ผิดปกติ เมื่อเราพบว่า แมวกำลังสูญเสียการมองเห็น จึงควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อรักษาก่อนที่อาการจะรุนแรง สัญญาณความผิดปกติทางสายตาของแมว พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าแมวกำลังสูญเสียการมองเห็น สาเหตุส่วนหใญ่ที่ทำให้แมวตาบอด 1. ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงส่งผลทำให้เส้นเลือดบริเวณจอประสาทตาได้รับความเสียหาย จนเกิดเลือดออกบริเวณจอประสาทตา และเกิดอาการตาบอดเฉียบพลัน ภาวะความดันโลหิตสูงในแมวอาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เป็นต้น 2. โรคติดเชื้อที่ตา การติดเชื้อที่บริเวณเยื่อบุตา กระจกตา หรือบริเวณใบหน้า หากการติดเชื้อรุกรามมากขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสูญเสียการมองเห็นในแมวได้ […]

อ่านต่อ

โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว

โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยก่อให้เกิดความรุนแรงในระดับที่รักษาได้ ไปจนถึงรักษาให้หายขาดไม่ได้ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว คืออะไร Chronic upper respiratory tract disease (URT) หรือ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว คือ ความผิดปกติที่เกี่ยวกับบริเวณโพรงจมูก และบริเวณโพรงจมูกที่เชื่อมไปถึงคอหอย โดยหนึ่งในโรคโรคที่พบได้บ่อยคือ โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรังในแมว (Chronic rhinitis) ซึ่งมักพบอาการน้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายหลายสาเหตุ และเป็นโรคที่ต้องใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน หรืออาจจะรักษาไม่หายขาด อาการของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรัง สาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว 1. การติดเชื้อไวรัส (Virus infection) การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อ feline herpes virus (FHV) และ feline calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคหวัดแมว โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็กและแมวโตเต็มวัย การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ในระยะเฉียบพลันทำให้เกิดการอักเสบของโพรงจมูก อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรของเยื่อบุโพรงจมูก และเกิดการอักเสบเรื้อรังตามมา ทั้งเนื้อเยื่อและกระดูก เมื่อโครงสร้างในโพรงจมูกเสียหาย ก็มักทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา โดยการติดเชื้อไวรัส […]

อ่านต่อ

โรคโลหิตจางในแมว เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง 

โรคโลหิตจางในแมว เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง (Feline immune-mediated hemolytic anemia, IMHA ) เป็นโรคที่มีความรุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้แมวเสียชีวิตได้  โรคโลหิตจางในแมว เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง เป็นความผิดปกดิของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแมว ทำให้เม็ดเลือดแดงในระบบไหลเวียนโลหิตถูกทำลายมากผิดปกติ และเกิดภาวะโลหิตจางรุนแรง แมวที่ป่วยด้วยโรคนี้ต้องได้รับการดูแล และวินิจฉัย อย่างทันท่วงที วันนี้ หมอจะพามาทำความรู้จักกับโรคนี้เพื่อเรียนรู้สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค IMHA กันนะคะ สาเหตุของโรค โลหิตจางในแมว โรคโลหิตจางในแมวคือ ภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cells , RBC) มีปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือมีค่า hematocrit (Hct) น้อยกว่า 27%  หน้าที่และบทบาทสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ การลำเลียงออกซิเจนจากปอด ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาศัยเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นตัวนำออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าแมวเกิดภาวะโลหิตจาง นั่นหมายความว่า ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลง […]

อ่านต่อ

โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว: การักษา และการป้องกัน

โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว อาจไม่ใช่โรคที่พบได้บ่อยเหมือนโรคติดเชื้อชนิดอื่น ๆ แต่ก็เป็นโรคสำคัญที่เจ้าของแมวควรตระหนัก และดูแลแมวอย่างระมัดระวัง โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว คืออะไร โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Haemotropic mycoplasma ซึ่งมีปรสิตภายนอก อย่างเห็บและหมัด เป็นพาหะนำโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านการกัดของเห็บและหมัด เชื้อโรคจะเข้าไปอาศัยอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยไปรบกวนการทำงานตามปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดลดลง จนส่งผลต่อเนื่องถึงการทำงานตามปกติของอวัยวะภายใน นอกจากนี้ การติดเชื้อยังเกิดขึ้นได้ผ่านการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกแมว การเกิดแผลเปิดจากการถูกกัดแล้วเชื้อผ่านเข้าทางบาดแผล และการรับเลือดจากแมวที่ติดเชื้ออยู่แล้ว เชื้อพยาธิเม็ดเลือด Haemotropic mycoplasma แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ โดยเชื้อโรคแต่ละชนิดจะมีความรุนแรงในการก่อโรคแตกต่างกัน ที่ผ่านมาพบว่า แมวที่เลี้ยงระบบเปิดมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าแมวเลี้ยงระบบปิด และแมวที่เคยติดเชื้อพยาธิเม็ดเลือด หลังจากการรักษาจนอาการหายเป็นปกติดีแล้ว ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคพยาธิเม็ดเลือดไปได้อีกหลายปี อาการของแมวที่ติดเชื้อโรคพยาธิเม็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิเม็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการตรวจหาเชื้อในเลือด เช่น การย้อมเลือดบนแผ่นสไลด์ และตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำให้การตรวจเนื่องจากมีความจำเพาะ และความไว ในการตรวจหาเชื้อ ร่วมกับสัตวแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย การวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การอัลตราซาวน์ช่องท้อง ซึ่งอาจจะพบอาการม้ามโตได้ […]

อ่านต่อ

เลี้ยงแมวระบบเปิด เสี่ยงติดเชื้อราตัวร้าย

แมวเป็นสัตว์นักล่าตามสัญชาตญาณ บวกกับความอยากรู้อยากเห็น ที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน เจ้าของบางท่านจึง เลี้ยงแมวระบบเปิด เพราะคิดว่า แมวอาจรู้สึกเบื่อเมื่ออยู่ในบ้านตลอดเวลา การ เลี้ยงแมวระบบเปิด หรือการยอมให้แมวออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านได้อย่างอิสระ เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เจ้าของแมวต้องแบกรับ เพราะจากการสำรวจพฤติกรรมแมวที่เลี้ยงระบบเปิด พบว่า แมวส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากสัตว์เลี้ยงของผู้อื่น หรือสัตว์จรจัด อุบัติเหตุบนท้องถนน และการสัมผัสเชื้อโรค ในประเทศไทย เราจะพบว่า แมวจรได้อาศัยอยู่ในแทบทุกชุมชนของมนุษย์ ซึ่งประชากรแมวจรเหล่านี้มักไม่ได้รับวัคซีน และการเลี้ยงดูอย่างถูกสุขอนามัย จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นพาหะของโรคระบาดในแมว ซึ่งถ้าแมวของเราไปสัมผัสสารคัดหลั่งของแมวที่มีโรค ก็อาจทำให้แมวของเราติดเชื้อโรคเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมนักล่าของแมว ซึ่งชอบล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น นก หนู กิ้งก่า และสัตว์อื่น ๆ ก็เป็นความเสี่ยงที่แมวมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีประชากรนกพิราบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในมูลของนกพิราบมีเชื้อราก่อโรค ที่เป็นอันตรายต่อแมว หากแมวไปสัมผัสก็อาจส่งผลต่อสุขภาพขั้นรุนแรงได้ เชื้อราตัวร้ายจากมูลนกพิราบ เชื้อราก่อโรคในแมวที่พบในมูลนกพิราบ คือเชื้อราชนิด Cryptococcus neoformans และ Cryptococcus bacillisporus เป็นชนิดของเชื้อราที่พบได้ทั้งในพืช และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้น และเป็นเชื้อรากลุ่มที่ทนความร้อนได้ดี ทำให้เกิดโรคคริปโตคอกโคซิส (Cryptococcosis) […]

อ่านต่อ

รู้หรือไม่… แมวเดินกะเผลก อาจเป็นสัญญานของ “โรคหวัดแมว” ได้

หากอยู่ดี ๆ แมวเดินกะเผลก ดูเหมือนจะเจ็บขา โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุ หรือตกจากที่สูง ร่วมกับอาการเซื่องซึม มีไข้ หรือจาม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Feline Calicivirus ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดแมวได้ โรคหวัดแมว หรือไข้หวัดแมว (cat flu) ทำให้ แมวเดินกะเผลก ได้ด้วยหรือ ? ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากมนุษย์อย่างเราจะมีแนวโน้มป่วยเป็นไข้หวัดได้แล้ว แมวที่เรารักก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้แมวป่วย ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จำเพาะเจาะจงกับแมว นอกจากนี้ น้องแมวก็สามารถเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. ได้ด้วย ที่น่าสนใจ คือ เมื่อแมวติดเชื้อ Feline Calicivirus โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็ก จะเกิดอาการเฉียบพลันที่เรียกว่า Feline limping syndrome […]

อ่านต่อ

แมวไอ อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคเหล่านี้

แมวไอ หรือแสดงอาการไออย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง ที่เราไม่ควรมองข้าม แมวไอ เกิดจากสาเหตุอะไร แมวไอเป็นอาการตอบสนองของร่างกายแมวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก สิ่งคัดหลั่ง หรือการติดเชื้อ ที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ จากนั้น ร่างกายจะตอบสนองด้วยกลไกลการกำจัดสิ่งกระตุ้นออกจากร่างกายด้วยการแสดงอาการไอ โดยถ้าเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวอาจจะไม่น่ากังวล ในทางกลับกัน ถ้าอาการไอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในร่างกายที่ต้องจัดการ สาเหตุของอาการไอในแมวที่พบได้บ่อยทางคลินิกมีดังนี้ 1. โรคหอบหืดในแมว (Feline asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในแมว มีรายงานพบอัตราการการเกิดโรคประมาณร้อยละ 1-5 ของประชากรแมวทั้งหมด พบได้ตั้งแต่แมวอายุน้อยจนถึงแมววัยกลาง ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงประมาณอายุ 4-5ปี และอาจพบในแมวสูงอายุได้เช่นกัน แมวส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด เนื่องจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศแบบซ้ำ ๆ และเกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และแมวจะแสดงอาการไอ ไอเรื้อรัง ในบางรายอาจจะมีอาการหายใจลำบาก และหอบเหนื่อยง่าย เป็นต้น 2. โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว โรคพยาธิหนอนหัวใจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ ชนิด Dirofilaria immitis ซึ่งมียุงเป็นพาหะ โดยการติดเชื้อในแมวมักพบพยาธิตัวเต็มวัยจำนวนไม่มาก โดยพบตัวเต็มวัยเพียง 1-2 ตัว แต่สามารถก่อความรุนแรงในแมวได้มา […]

อ่านต่อ
ต่อมเหม็นของแมว, ต่อมเหม็น, ต่อมข้างก้น

ต่อมเหม็นของแมว หรือต่อมข้างก้น คืออะไร

ต่อมเหม็นของแมว หรือต่อมข้างก้น มีบทบาทในเรื่องการสร้างกลิ่นเพื่อสร้างอาณาเขตของแมว แต่ต่อมข้างก้นก็สามารถเกิดความผิดปกติกลายเป็นโรคในแมวได้เช่นกัน วันนี้ เรามาทำความรู้จัก และเรียนรู้เกี่ยวอาการผิดปกติของ ต่อมเหม็นของแมว กันค่ะ ต่อมข้างก้น (Anal sac) หรือต่อมเหม็น คืออะไร ต่อมข้างก้นมีโครงสร้างลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณข้างรูก้นของแมว (anus) โดยวางอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของรูก้น ตำแหน่งประมาณ 4 นาฬิกา กับ 8 นาฬิกา หรือ 3 นาฬิกา กับ 9 นาฬิกา บริเวณผนังของต่อมนี้ จะสร้างสารคัดหลั่งที่มีลักษณะเป็นของเหลว มีกลิ่นเฉพาะตัวของแมวแต่ละตัว ซึ่งจะมีกลิ่นเหม็นคล้าย ๆ กับน้ำคาวปลา หรือกลิ่นเหมือนปลาเค็ม เมื่อสารคัดหลั่งผลิตออกมา จะถูกเก็บอยู่ในต่อมข้างก้นนี้ และถูกปล่อยออกมาทางท่อเปิดขนาดเล็กที่อยู่บริเวณด้านในของรูก้น โดยต่อมข้างก้นนี้พบได้ทั้งในแมวเพศผู้ และเพศเมีย ต่อมข้างก้นมีหน้าที่อย่างไร สารคัดหลั่งที่ถูกผลิตออกมาเป็นสารเคมีที่มีกลิ่นเฉพาะตัว มีบทบาทช่วยแสดงกลิ่นของแมวตัวนั้น ๆ และกลิ่นนี้ยังช่วยเป็นเครื่องหมายแสดงตัวตน และการวางอาณาเขตของแมวได้ด้วย หลายครั้งที่เราพบว่า แมวมีพฤติกรรมดมก้นของแมวที่เพิ่งเคยเจอกัน นั่นเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการทักทาย และทำความรู้จักของแมว โดยการใช้กลิ่นสื่อสาร นอกจากนี้ แมวป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ สารคัดหลั่งจากต่อมข้างก้นจะถูกขับออกมา […]

อ่านต่อ
แมวเป็นโรคซึมเศร้า, โรคซึมเศร้าในแมว, แมวซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าในแมว รู้ก่อน ป้องกันได้

แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของแมว แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดจากความผิดปกติของหลั่งสารสื่อประสาทในสมองคล้าย ๆ กับในมนุษย์ อาจมีสาเหตุโน้มนำมาจากความเครียดสะสมของแมวจนนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สัญญาณอาการความผิดปกติของภาวะซึมเศร้าในแมวจะแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้ คือ 8 สัญญาณอาการเตือนของแมวที่มีภาวะซึมเศร้า 1. มีเสียงร้องที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติแล้วแมวจะสื่อสารด้วยการร้องเสียงเหมียว แมวที่มีภาวะซึมเศร้าจะส่งเสียงร้องที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น การร้องน้อยลงหรือไม่ร้องเลย มีการร้องเสียงแปลก ๆ เสียงโทนต่ำ หรือสูงกว่าปกติไปจากเดิม ร่วมกับมีอาการซึมนิ่งกว่าปกติ แมวบางตัวอาจจะทำเสียง purring บ่อยกว่าปกติ หรือในทางกลับกัน แมวที่มีนิสัยไม่ค่อยส่งเสียงร้อง แต่กลับมีการร้องเสียงดังมากกว่าปกติ การส่งเสียงร้องเช่นนี้อาจเกิดขึ้น เนื่องความเจ็บปวดทางจิตใจและความวิตกกังวล 2. มีภาษากายและท่าทางแปลกไปจากเดิม มีความผิดปกติแสดงออกมาทางภาษาท่าทาง เช่น การพับหูลู่ไปข้างหลัง การเก็บหางจุกก้น การหมอบต่ำตลอด มีท่าทางที่ระแวงต่อสิ่งแวดล้อม ขนตั้งชันตลอดเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ หรือแมวมีการเลียขน กัด หรือดึงขนมากกว่าปกติ จนเกิดขนร่วงบาง รวมถึงบางตัวอาจมีอาการเคี้ยวปากบ่อยขึ้น 3. มีความก้าวร้าวมากขึ้น หรือมีความกลัว แมวจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ […]

อ่านต่อ

ลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว ภาวะที่เกิดขึ้นได้กับแมวทุกตัว

ลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว ส่งผลให้แมวมีอาการท้องผูก และขับถ่ายน้อยลง และหากปล่อยไว้นานเกินไป อาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ภาวะ ลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว (Megacolon) คืออะไร ? ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว คือความผิดปกติที่เกิดจากลำไส้ใหญ่ส่วน Colon ขยายใหญ่มากอย่างผิดปกติ ซึ่งมักเกิดขึ้นเนื่องจากภาวะท้องผูกเรื้อรัง บวกกับจากการสะสมของอุจจาระที่มีขนาดใหญ่ และก้อนแข็งจำนวนมาก จนเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไส้ขยายใหญ่ขึ้น สูญเสียการบีบตัว และเกิดการอุดตันของอุจจาระบริเวณลำไส้ใหญ่ได้ ภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพองในแมว มีอาการอย่างไร แมวจะท้องผูกแบบเรื้อรัง ขับถ่ายอุจจาระลดลง หรืออาจไม่พบการขับถ่ายเลย ความถี่ในการถ่ายอุจจาระ และเข้ากระบะทรายลดลง แมวบางตัวจะแสดงอาการปวดเบ่ง หรือเจ็บขณะถ่ายอุจจาระ มีอาการปวดบริเวณช่องท้อง อุจจาระมีก้อนแข็ง หรือก้อนขนาดใหญ่ ในบางรายที่มีอาการต่อเนื่องมาสักระยะหนึ่ง จะเกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาเช่น กินอาหารลดลง น้ำหนักลดลง อาเจียน ซึม เบื่ออาหาร มีภาวะขาดน้ำ อ่อนแรง และขนแห้งหยาบ เป็นต้น สาเหตุของภาวะลำไส้ใหญ่โป่งพอง (Megacolon) เกิดจากอะไร ? สาเหตุการเกิดมักเกี่ยวข้องกับการมีอาการท้องผูกเรื้อรัง ลำไส้ใหญ่อุดตันเป็นเวลานาน และมีความผิดปกติของระบบประสาทที่ควบคุมบริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ใหญ่ทำงานผิดปกติ […]

อ่านต่อ

แมวมีขี้หูเยอะ เช็ดแล้วก็กลับมาอีก เกิดจากอะไร

แมวมีขี้หูเยอะ แต่เมื่อเช็ดทำความสะอาดแล้ว ก็มีขี้หูกลับมาอย่างรวดเร็ว อาการที่สร้างความกังวลใจนี้ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง หูเป็นหนึ่งในประสาทสัมผัสที่สำคัญของแมว แต่ถ้า แมวมีขี้หูเยอะ อาจนำไปสู่โรคในช่องหู และเกิดปัญหาเกี่ยวกับการฟังเสียงของแมวได้ หูของแมวทำหน้าที่รับเสียงจากภายนอก และเกี่ยวข้องกับการทรงตัวขณะยืน ภายในช่องหูของแมวมีโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นท้อรูปตัวแอล (L) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ Vertical ear canal เป็นช่องหูที่ดิ่งลงทางด้านหน้า และ Horizontal ear canal เป็นส่วนที่หักเข้าไปด้านใน ในช่องหูของแมวส่วนนี้จะผลิตขี้หู (ear wax) ออกมา โดยทั่วไปแล้ว ขี้หูของแมวจะเป็นก้อนสีเหลือง แต่ถ้ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นสีของขี้หูจะเปลี่ยนไป เช่น ในช่องหูมีของเหลวสีดำปนเหลือง ขี้หูสีน้ำตาล หรือมีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการช่องหูบวมหรือแดง คัน หรือมีขี้หูมากกว่าปกติ เมื่อเช็ดทำความสะอาดแล้วก็ยังมีขี้หูกลับขึ้นมาใหม่เร็วกว่าปกติ อาการดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า แมวของเรากำลังมีปัญหาบางอย่างในช่องหู ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ 1. ไรในหู (Ear mite) ไร (Otodectes cynotis) เป็นปรสิตภายนอกร่างกาย ที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงทั่วไป […]

อ่านต่อ

โรคถุงน้ำในไตแมว โรคที่ยังรักษาไม่ได้

ลองสังเกตน้องแมวที่บ้านว่า น้ำหนักลดลง กินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ หรือไม่ นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคไตเรื้อรังที่เรียกว่า โรคถุงน้ำในไตแมว โรคเกี่ยวกับระบบกำจัดของเสียในแมวมักเกิดขึ้นเนื่องจากไตทำงานผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปมักเรียกรวม ๆ ว่า โรคไต โดยแบ่งเป็น การเกิดแบบเฉียบพลัน อย่างโรคไตวายเฉียบพลัน และการเกิดแบบเรื้อรัง ที่อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมอย่าง โรคถุงน้ำในไตแมว วันนี้ เรามาเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับ โรคถุงน้ำในไตแมว กันนะคะว่า ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร และจะดูแลน้องที่ป่วยเป็นโรคนี้ อย่างไร โรคถุงน้ำในไตแมว มีชื่อเรียกในทางสัตวแพทย์ว่า Polycystic Kidney Disease หรือ PKD เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นในไตของแมว โดยมีถุงน้ำ หรือถุงซีสต์ หลายถุงแทรกอยู่ในเนื้อไต โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้ โดยลักษณะของโรคมักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรกเกิด แต่แมวจะมีภาวะแฝง จนกระทั่งเมื่อน้องแมวเจริญเติบโตมีอายุมากขึ้น ถุงน้ำที่อยู่ในไตของน้องก็จะขยายขนาดตามไปด้วย ทำให้เกิดอาการของโรคเมื่อน้องมีอายุมากแล้ว ความผิดปกติที่มีถุงน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากอยู่ภายในไตแมวจะส่งผลให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง จนเสียชีวิตในที่สุด โดยจำนวนและระยะเวลาการขยายของถุงน้ำยังไม่มีสามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน จะมากหรือน้อย หรือเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว ที่ผ่านมา การศึกษาและวิจัยทางสัตวแพทย์พบว่า น้องแมวส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการของไตวายเรื้อรังในช่วงอายุประมาณ 7 ปี มีเพียงส่วนน้อยที่พบว่า […]

อ่านต่อ
โรคไข้หัดแมว, อาการโรคไข้หัดแมว, แมวซึมและอาเจียน

แมวซึมและอาเจียน อาการเบื้องต้นของโรคไข้หัดแมว

แมวซึมและอาเจียน ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร มีไข้ ท้องเสีย และถ่ายเป็นมูกเลือดมีกลิ่นคาว แมวอาจเกิดเป็นโรคไข้หัดแมว

อ่านต่อ
แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน, โรคช่องปากในแมว, โรคช่องปากอักเสบในแมว, โรคแมว, โรคเหงือกอักเสบ, โรคช่องปากอักเสบ

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน อาจเกิดจากโรคเรื้อรังในช่องปาก

แมวดมอาหารแต่ไม่ยอมกิน กินอาหารลดลง มีกลิ่นปาก และน้ำลายไหลมากกว่าปกติ อาจเกิดจาก

อ่านต่อ