แมวขนร่วง เป็นเรื่องปกติที่ทาสแมวทุกคนต้องเผชิญ แต่บางครั้ง เมื่อเราพบว่า แมวขนร่วงมากกว่าปกติ อาจกำลังจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้
แมวขนร่วง มากกว่าปกติ อาจไม่ได้เป็นภาวะฉุกเฉินทางการสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม หากเราพบว่า แมวเริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติของเส้นขนและผิวหนัง ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุอย่างแม่นยำ และรักษาอย่างถูกต้อง
ภาวะขนร่วงมากกว่าปกติ ที่มักเกิดขึ้นในแมว
ปัญหาขนร่วงในแมว ที่สังเกตได้อย่างชัดเจน คือ ขนจะร่วงออกมาเป็นกระจุกหนา ๆ และสามาถเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งตำแหน่งในทุกส่วนของร่างกาย จนทำให้เห็นผิวหนัง ส่วนใหญ่ ปัญหาขนร่วงเกิดขึ้นได้จากทั้งเรื่องพันธุกรรม ปัญหาสุขภาพ และปัญหาทางด้านอารมณ์ของแมว

อาการของแมวที่ขนร่วงมากกว่าปกติ
- คัน และใช้เท้าเกาในบริเวณที่คันจนขนร่วงเห็นผิวหนัง
- ขนร่วงเป็นกระจุก
- ผิวหนังแห้ง ลอกเป็นขุย
- มีรอยแดงบนผิวหนัง
- มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
- เลียขนหรือกัดแทะขนมากเกินไป
สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดภาวะ แมวขนร่วง
- พันธุกรรม
- ความเครียด
- ความวิตกกังวล
- โรคเบาหวาน
- โรคคุชชิง
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- แพ้อาหาร
- อาการแพ้สิ่งแวดล้อม
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง
- ปรสิตภายนอก เช่น หมัด เห็บ และไร
- โรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น ต่อมไขมันอักเสบ
- อาการแพ้ยา
- โรคกลากเกลื้อน

การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของภาวะขนร่วงในแมว
สำหรับการตรวจวินิจฉัย สัตวแพทย์จะตรวจหาความผิดปกที่ชัดเจนของการเกิดภาวะขนร่วง โดยการตรวจร่างกายของแมว ร่วมกับการซักประวัติเจ้าของแมวร่วมด้วย ดังนั้น เจ้าของควรเตรียมข้อมูลเบื้องต้น เพื่อแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ เช่น ชนิดของอาหารที่แมวเพิ่งกิน หรือกินเป็นประจำ กิจกรรมต่าง ๆ ที่แมวได้เข้าร่วม หรือระยะเวลาที่แมวเริ่มขนร่วงก่อนมาพบสัตวแพทย์ เป็นต้น
สัตวแพทย์อาจใช้เทคนิคการสัตวแพทย์ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาน้ำตาลในเลือด และการทำงานของระบบไทรอยด์
- การตรวจปัสสาวะ วิเคราะห์ความผิดปกติ เช่น เชื้อแบคทีเรีย น้ำตาลกลูโคส หรือฮอร์โมน
- การทดสอบการแพ้อาอาหาร หากสัตวแพทย์ส่งสัยว่าแพ้อาหาร อาจต้องทำการตรวจหาชนิดของอาหารที่แมวกินเข้าไปแล้วทำให้เกิดอาหารแพ้ และวางแผนเรื่องการจัดการอาหารต่อไป
- การทดสอบผิวหนัง ในบางรายที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องอาหาร สัตวแพทย์อาจใช้วิธีทดสอบทางผิวหนัง โดยการกระตุ้นด้วยารก่อภูมิแพ้ชนิดต่าง ๆ บนผิวหนัง แล้วสังเกตการตอบสนอง
- การขูดผิวหนัง เพื่อไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และวิเคราะห์หาเชื้่อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือยีสต์
- การใช้แสงไฟบลูแลมป์ ซึ่งเป็นแสงไฟที่ส่องลงไปบนเส้นขนและผิวหนัง ถ้ามีรอยโรคกลากเกลื้อน จะเห็นแสงไฟที่สะท้อนจากเส้นขนเป็นสีเขียว
แนวทางการรักษาภาวะ แมวขนร่วง
- ในกรณีที่เกิดจากอารมณ์ การให้อาหารเสริม หรือฟีโรโมน จะช่วยให้แมวคลายความเครียด และความกังวลได้
- การหยอดยากำจัดเห็บ หมัด และไรหู
- การให้ยากำจัดเชื้อราบนผิวหนัง
- การให้ยาตามสาเหตุของอาการขนร่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยาปรับการทำงานของฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
- การปรับอาหารที่เหมาะสม
ส่วนใหญ่ ภาวะขนร่วงในแมวเป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางสาเหตุอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาหลายเดือน กว่าขนใหม่จะงอกกขึ้นมาเป็นปกติตามเดิม ในกรณีที่เคยเกิดภาวะขนร่วง แล้วเกิดซ้ำ อาจใชัเวลานานกว่าปกติ เพื่อให้ขนกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

การจัดการภาวะขนร่วงในแมว
แมวส่วนใหญ่สามารถฟื้นฟูเส้นขนให้กลับมาเป็นปกติได้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เช่น ภาวะขนร่วงที่เกิดจากปรสิตภายนอก เมื่อใช้ยาจำกัดเห็บหมัดจนหมดแล้ว เส้นขนแมวจะงอกขึ้นใหม่ภายในหนึ่งถึงสองเดือน
ในทางกลับกัน แมวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อย่างโรคเบาหวาน อาการขนร่วงอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และกลับมากเกิดซ้ำได้
อย่างไรก็ตาม หากแมวมีภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น เบาหวาน อาการผมร่วงอาจเกิดขึ้นบ่อยและกลับมาเป็นซ้ำได้เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่แน่นอน
การป้องกันภาวะขนร่วงในแมว
การป้องกันก่อนที่จะมีปัญหาขนร่วง เจ้าของควรเริ่มต้นจากการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้สะอาด มีความชื้นต่ำ และให้อากาศถ่ายเทสะดวก ร่วมกับการจัดการอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัย โดยเลือกอาหารที่มีวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ และมีสารอาหารอย่างครบถ้วน และเหมาะสม
นอกจากนี้ เจ้าของควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ตามนัดเป็นประจำ เพื่อตรวจสุขภาพ หากพบปัญหาในระยะเริ่มต้น จะได้รักษาได้ทันที ไม่ต้องรอให้อาการรุนแรง และยังได้รับการป้องกันเห็บหมัดอย่างต่อเนื่อง
บทความโดย
ณภัทรดนัย
ข้อมูลอ้างอิง
Trusted House Sitters – Hair loss in cats: Causes & when to be concerned
Palos Animal Hospital – 5 Reasons Why Your Cat is Losing Hair
petMD – Alopecia in Cats: What It Is and Why Your Cat Is Losing Hair
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของคุชชิ่ง
