Did You Know

พี่ไปรฯ ส่งยา สัตวแพทย์ จุฬาฯ ส่งรัก

จุฬาฯ ร่วมมือกับ ไปรษณีย์ไทย เปิดมิติใหม่แห่งการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง ในชื่อ “พี่ไปรฯ ส่งยา สัตวแพทย์ จุฬาฯ ส่งรัก” เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับ ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง ให้คนรักสัตว์ทั่วประเทศ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพฯ เปิดแคมเปญ “พี่ไปรฯ ส่งยา สัตวแพทย์ จุฬาฯ ส่งรัก” ชูระบบส่งด่วน EMS ส่งต่อ ยาสำหรับสัตว์เลี้ยง และเวชภัณฑ์ของสัตว์ ให้กลุ่มผู้ปกครองสัตว์เลี้ยง (Pet Parents) โดยให้บริการผ่าน 2 ช่องทาง คือ บริการส่งยาถึงบ้านสำหรับผู้ที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพฯ และบริการส่งยาถึงบ้านสำหรับผู้ใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ (Televet) เพื่อลดระยะเวลารอคอยในการรอรับยา และลดความแออัดในโรงพยาบาลที่มีผู้เข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2568 จำนวนสัตว์เลี้ยงของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาราวร้อยละ 6 สะท้อนถึงโอกาสเติบโตการขนส่ง ระบบการรักษา และโลจิสติกส์ในกลุ่มเจ้าของสัตว์เลี้ยง บริการส่ง […]

อ่านต่อ

ทำไมสุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ หรือคนแปลกหน้า

ทันทีเราเดินผ่านประตูเข้าบ้าน และได้พบเจอกับลูกรักสี่ขา เราจะพบว่า พวกเขาแสดงออกด้วยท่าทางต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงความดีใจ หนึ่งในนั้นคือ สุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ เพราะอะไร ทำไมสุนัขแสดงออกเช่นนี้ ทำไมสุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ เมื่อ สุนัขยืดเหยียดตัว เมื่อเจอเจ้าของ อาจมีแรงจูใจเบื้องหลังอยู่หลายสาเหตุ โดยลักษณะท่าทางส่วนใหญ่จะเป็นในท่วงท่า ยกก้นขึ้นสูง และเหยียดขาหน้าออกไปด้านหน้า พร้อมกดส่วนหัวและออกให้ต่ำลงแนบพื้น ซึ่งเป็นภาษากายที่แฝงไปด้วยหลากหลายความหมาย เช่น การยืดเหยียดตัวเพราะสุนัขเรียนรู้บางอย่างจากเจ้าของ การเรียนรู้จากเจ้าของเป็นหนึ่งในปัจจัยการแสดงออกด้านพฤติกรรมของสุนัขได้ เช่น เมื่อเราเคยชื่นชม หรือให้รางวัล หลังจากที่สุนัขยืดเหยียดตัว พวกเขาก็จะเรียนรู้ว่า การแสดงแบบนี้จะทำให้เราตอบสนองในเชิงบวกกับพวกเขา พวกเขาก็จะแสดงออกซ้ำๆ บางสถานการณ์ เจ้าของอาจจะใช้คำพูด หรือสัญญาณมือบางอย่าง โดยไม่ตั้งงใจ ซึ่งสุนัขนำไปเชื่อมโยงกับการยืดตัว เช่น เมื่อเจ้าของพบเจอสุนัข และคุณมักจะวางมือบนเขา พร้อมกับก้มตัวลง และพูดคุยกับสุนัขในระหว่างที่พวกเขาลุกขึ้นมายืดตัว เมื่อเจ้าของทำเช่นนี้เป็นประจำ จนเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ทุกครั้งที่คุณนำมือวางบนเข่า และก้มตัวลง สุนัขก็จะยืดเหยียดตัวทุกครั้ง เป็นต้น การยืดเหยียดตัวเพื่อชวนมาเล่นด้วยกัน หากสำรวจพฤติกรรมของสุนัขป่าในธรรมชาติ การยืดเหยียดขาหน้าออกไปทางด้านหน้า และย่อตัวให้ส่วนหัวและอกลดต่ำลง เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่บ่งบอกว่า เวลาแห่งการเล่นได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เปรียบเหมือนการเชื้อเชิญของอีกฝ่ายว่า […]

อ่านต่อ

โพรไบโอติกส์สำหรับแมว จำเป็นหรือไม่

โพรไบโอติกส์สำหรับแมว เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังได้รับความสนใจจากเจ้าของ สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เจ้าของแมวหลายทานจึงอาจสงสัยว่า โพรไบโอติกส์ดีต่อสุขภาพจองแมวจริงหรือไม่ ในปัจจุบัน โพรไบโอติกส์สำหรับแมว จำเป็นหรือไม่ โพรไบโอติกส์สำหรับแมว คือ จุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของแมว ซึ่งนอกจากจะมีน้ำย่อยและเอนไซม์ในการทำหน้าที่ย่อยอาหารที่แมวกินเข้าไปแล้ว ยังมีจุลินทรีย์จำนวนล้านล้านตัวเหล่านี้ ที่มีบทบาทต่อการย่อยและดูดซึมอาหารด้วย ดังนั้น เมื่อจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารเหล่านี้ขาดความสมดุล เช่น มีจุลินทรยบ์บางชนิดน้อยเกินไป หรือมีจุลินทรีย์ก่อโรคมากเกินไป ก็อาจทำให้แมวเกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมาได้ โพรไบโอติกส์ช่วยส่งเสริมสุขภาพของแมว ได้อย่างไร การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหารของแมวยังมีข้อมูลไม่มากเท่ากับการศึกษาในสุนัข อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ผ่านมา พบว่า โพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหารของแมว มีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพที่ดีของแมว เช่น ช่วยเรื่องการจัดการน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสม ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพ และฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างปกติ เป็นต้น ในทางกลับกัน ถ้าในสถานการณ์ที่ลำไส้ของแมวมีจุลินทรีย์ก่อโรคจำนวนมาก ก็จะให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารแมวเสียสมดุล ได้แก่ ความผิดปกติที่มักเกิดขึ้น เมื่อเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร โพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์สำหรับแมว จากการศึกษาวิจัย นักวิทยาศาสตร์พบว่า จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ที่พบในทางเดินอาหารจของแมว ได้แก่ BifidobacteriumEnterococcusLactobacillus sppStreptococcus โพรไบโอติกส์เหล่านี้จะอยู่ในส่วนต่าง […]

อ่านต่อ

10 ข้อควรทำ หลังรับหมามาเลี้ยง

สำหรับคนที่อยากสร้างความสัมพันธ์กับหมาอย่างเข้าใจ ไม่ใช่แค่เลี้ยงให้รอด แล้วเราควรปฏิบัติอย่างไร หลังรับหมามาเลี้ยง หลังรับหมามาเลี้ยง หรือวันที่หมาก้าวเข้าบ้านของเราวันแรก คือวันที่โลกของเขาเปลี่ยนไปทั้งหมด และโลกของเราก็จะเปลี่ยนไป… ถ้าเรายอมเปิดใจรับใครบางตัวอย่างแท้จริง 1. กำหนด “จังหวะชีวิต” ให้มั่นคงและปลอดภัย หมาทุกตัวต้องการ “ความแน่นอน” ในชีวิตมากกว่าที่เราคิด อาหารควรกินเวลาเดิม วันละ 2 มื้อ มีเวลาพักกลางวัน มีเวลานอนกลางคืนชัดเจน มีช่วงเดินเล่น และช่วงสงบเงียบ ไม่ใช่แค่เล่นกันตลอด ยิ่งหมาเดาทางได้ เขายิ่งกล้าไว้ใจ โดยเฉพาะลูกหมา หรือหมาที่เคยผ่านประสบการณ์แย่ ๆ มาก่อน — การมี “จังหวะ” ที่พยุงใจได้ทุกวัน คือเครื่องยืนยันว่า “บ้านนี้ปลอดภัย” 2. สังเกตแทนการรีบฝึก และฟังแทนการรีบบอก เจ้าของมือใหม่มักโฟกัสที่ “ทำยังไงให้หมาเชื่อฟัง” แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งที่ควรทำก่อนคือ… เรียนรู้ให้ได้ว่าเขาเป็นหมาแบบไหน เขาเดินอย่างไรเวลาหวาดระแวง? เขามองหาเราตลอดไหม หรือแค่หามุมหลบ? เสียงอะไรทำให้เขาหยุดกินข้าว? หมาเล่าเรื่องตัวเองทุกวันผ่านภาษากาย — ถ้าเราฟังเป็น 3. […]

อ่านต่อ

แมวจดจำกลิ่นเจ้าของได้

นักวิจัยพบว่า แมวจะดมกลิ่นคนแปลกหน้านานกว่ากลิ่นของเจ้าของ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แมวสามารถแยกแยะระหว่างคนที่คุ้นเคย และไม่คุ้นเคยด้วย การดมกลิ่นของแมว เพียงอย่างเดียวได้ โดยทั่วไป แมวบ้าน (Felis catus) จะใช้กลิ่นในการสื่อสารระหว่างแมวด้วยกัน รวมไปถึงสื่อสารกับเพื่อนสมาชิกสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ภายในบ้าน ดังนั้น การดมกลิ่นของแมว จึงเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยที่เผยแพร่เรื่องพฤติกรรมของแมว โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเผยแพร่ในวารสาร PLOS One และถือเป็นครั้งแรกที่เป็นการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมว ว่าสามารถแยกแยะ และจดจำกลิ่นของเจ้าของ ได้หรือไม่ จาการสำรวจและสังเกตพฤติกรรมแมวครั้งนี้ นักวิจัยพบว่า แมวใช้เวลาดมกลิ่นที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งเป็นกลิ่นตัวของคนแปลกหน้า ‘นานกว่า’ กลิ่นของเจ้าของ ซึ่งบ่งบอกได้ว่า แมวของเราสามารถจดจำเจ้าของ ที่พวกเขาคุ้นเคยได้ และจะใช้เวลาไปกับการเรียนรู้กลิ่นแปลก ๆ จากคนที่พวกเขาไม่เคยพบมาก่อน “เมื่อแมวได้กลิ่นตัวเจ้าของที่คุ้นเคยอยู่แล้ว พวกเขาจะใช้เวลาจดจำไม่นาน เหมือนกับที่มนุษย์คุ้นเคยกับกลิ่นบางกลิ่นแล้ว ก็จะรับรู้ได้ทันทีว่า นั่นคือกลิ่นของอะไร” จูเลีย เฮนนิง นักศึกษาปริญญาเอก ผู้ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาครั้งนี้ แต่กำลังศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมว ที่มหาวิทยาลัยแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย แสดงความเห็นไว้ในเว็บไซต์ […]

อ่านต่อ

10 คำแนะนำสำหรับ ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่

10 คำแนะนำสำหรับ ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่ ที่ไม่ได้แค่อยาก “มีสุนัข” แต่ตั้งใจจะ “ใช้ชีวิตร่วมกันกับสุนัข” สำหรับ ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่ หรือผู้ที่กำลังตัดสินใจจะรับสุนัขเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว การพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบด้าน จะช่วยให้เรามอบชีวิตที่มีคุณภาพให้กับพวกเขาได้ตลอดชีวิต เรามาลองพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไปพร้อมกันนะครับ 1. ผู้เลี้ยงสุนัขมือใหม่ ควรเริ่มต้นด้วย “ความพร้อมของใจ” ไม่ใช่แค่ “ความพร้อมของบ้าน” ก่อนจะเลี้ยงหมา ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา เพราะหมาไม่ใช่ของเล่นที่คืนให้ฟาร์มได้ ถ้าเลี้ยงแล้ว “ไม่เวิร์ก” เขาคือชีวิตที่ผูกพันกับเราในแบบที่เขาไม่มีทางเลือก 2. เลือกหมาที่ “เข้ากับเรา” ไม่ใช่แค่ “เราชอบ” อย่าเลือกหมาจากแค่รูปร่างหน้าตา หรือเพราะเขากำลังดัง หรืออยู่ในกระแส แต่สิ่งที่ควรพิจารณาร่วมด้วย คือ คำแนะนำ : ถ้าคุณยังไม่แน่ใจ ลองไปเดินเล่นที่ศูนย์พักพิงสัตว์ หรือลองเจอหมาหลายพันธุ์ตัวจริงก่อนตัดสินใจ 3. วันแรกของหมา ไม่ใช่วันแห่งความน่ารัก แต่คือวันของความกลัว หมาเปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนคนดูแล เปลี่ยนเสียงรอบตัว ทั้งหมดนี้คือ “ความเครียด” ที่เขาไม่มีทางเข้าใจได้ในวันเดียว สิ่งที่ควรทำ […]

อ่านต่อ

ทำไม แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น

แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น แม้ว่าจะโตมาด้วยกัน หรือเลี้ยงมาด้วยกันเป็นเวลานาน เบื้องหลังของเรื่องนี้ อาจต้องย้อนกลับไปดูที่บรรพบุรุษแมวบ้านที่เคยอยู่ในป่ามาก่อน โดยส่วนใหญ่ เรามักจะพบว่า แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น โดยเฉพาะในบ้านที่เลี้ยงแมวรวมกันหลายตัว ที่ต้องแยกอาหารใส่ภาชนะให้แมวต่อหนึ่งตัว โดยพวกเขาจะไม่กินอาหารร่วมภาชนะเดียวกัน หรือแม้แต่การเดินไปดื่มน้ำพร้อมกัน ในธรรมชาติ ญาติพี่น้องของแมวบ้าน อย่างสัตว์ตระกูลแมวทั้งหลาย เราก็จะพบว่า พฤติกรรมการหาอาหาร และกินเหยื่อ จะไม่ทำกันเป็นฝูง ยกเว้น สิงโตตัวเมีย เมื่อแมวป่าล่าอาหารตามธรรมชาติได้ พวกเขาจะลากเหยื่อไปยังบริเวณที่ปลอดภัย หรือในที่หลบซ่อน และกินเหยื่อเพียงลำพัง ดังนั้น เหตุผลที่ แมวไม่ชอบกินอาหารร่วมกับตัวอื่น อาจเป็นเพราะว่า แมวบ้านที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแมวป่า ยังหลงเหลือพฤติกรรมการกินอาหารเพียงลำพังอยู่ในสายเลือด แม้ว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องล่าเหยื่อเองแล้ว แต่พวกเขาก็ยังไม่คุ้นเคยกับการกินอาหารร่วมกับแมวตัวอื่นในบ้าน นอกจากนี้ แมวบ้านส่วนใหญ่จะชอบกินอาหารในภาชนะที่วางอยู่ในมุมสงบ ปลอดภัย และไม่มีคนเดินไปมาพลุกพล่าน แมวบางตัวชอบกินอาหารในเวลาที่คนไม่อยู่บ้าน หรือตอนกลางคืน ที่สมาชิกในบ้านเข้านอนกันแล้ว เพราะรู้สึกปลอดภัยมากกว่าการกินอาหารตอนที่มีคนอยู่ด้วย อีกหนึ่งเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนี้ คือ แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีอาณาเขตชัดเจน โดยเราจะเห็นได้ว่า บ้านที่มีแมวอยู่รวมกันตั้งแต่สองตัวขึ้นไป แมวแต่ละตัวจะมีมุมประจำเป็นของตัวเอง และมีการใช้พื้นที่ในบ้านร่วมกันบางส่วนเท่านั้น ถ้าเราพยายามบังคับให้แมวกินอาหารด้วยกันจะเกิดอะไรขึ้น แมวจะเกิดความเครียด และอาจรุนแรงไปถึงขั้นไม่ยอมกินอาหาร ถ้าเจ้าของละเลยปัญหานี้นานจนเกินไป อาจจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของแมวได้ แมวจะกินอาหารร่วมกันเฉพาะในช่วงวัยเด็กเท่านั้น แต่เมื่อโตเต็มวัย […]

อ่านต่อ

สุนัขควบคุมพิเศษ ความเปลี่ยนแปลงที่ต้องไม่ตื่นกลัว

สุนัขควบคุมพิเศษ ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แค่ต้องรู้จักอยู่ร่วมกันให้เป็น ในโลกที่ผู้คนหลากหลายขึ้น สังคมหนาแน่นขึ้น และชีวิตต้องเดินร่วมกันมากกว่าที่เคย บางครั้งเราจึงต้องมี “ขอบเขต” เพื่อให้ทุกตัว ทุกคน อยู่ร่วมกันอย่างสบายใจ “สุนัขควบคุมพิเศษ” จึงไม่ใช่คำต้องห้าม แต่คือแนวทางหนึ่งที่หลายประเทศใช้ เพื่อจัดระเบียบสังคมให้หมา-คน อยู่ด้วยกันได้โดยไม่เกิดปัญหา สุนัขกลุ่มนี้ อาจมีภาพจำว่า “ดุ” “กัดง่าย” หรือ “อันตราย” แต่ความจริงคือ เขาแค่ “ต้องการความเข้าใจพิเศษ” ไม่ต่างจากเด็กคนหนึ่งที่อาจขี้ตกใจไว ต้องการครูที่ใจเย็นกว่าปกติ แล้วเราจะเข้าใจและอยู่กับเขาได้อย่างไร ? สุนัขควบคุมพิเศษ คืออะไร สุนัขกลุ่มนี้ ไม่ได้ถูกจำกัดเพราะนิสัย แต่เพราะพวกเขามีศักยภาพสูง แรงเยอะ แข็งแรง ฉลาด ตอบสนองไวและหากไม่ได้รับการฝึกอย่างเหมาะสม อาจเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ง่าย หลายประเทศจึงกำหนดให้สุนัขกลุ่มนี้อยู่ในรายการ “สุนัขควบคุมพิเศษ” เพื่อป้องกันปัญหาและสร้างมาตรฐานความปลอดภัย รายชื่อสายพันธุ์ “สุนัขควบคุมพิเศษ” ที่ควรระวังเป็นพิเศษในประเทศไทย (ตามแนวทางของกรุงเทพมหานคร) สุนัขควบคุมพิเศษในต่างประเทศ (หรือมีแนวโน้มควบคุมในหลายประเทศ) หมายเหตุ:สุนัขเหล่านี้ไม่ได้ “อันตราย” แต่คือสายพันธุ์ที่ต้องการการดูแลอย่างมีวินัย ยิ่งเข้าใจ… ยิ่งอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ข้อบังคับต่าง ๆ […]

อ่านต่อ

การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ทำได้อย่างไรบ้าง

การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ในหน้าฝน ไม่ใช่แค่เรื่องของคนกลัวงูเท่านั้น แต่มันคือการ ดูแลหมาของเราไม่ให้ต้องเผชิญหน้ากับอันตราย ก่อนภัยจากสัตว์มีพิษจะมาเยือน เพราะเรารู้ว่าการสูญเสีย… มันเจ็บกว่าเขี้ยวงูหลายเท่า บทความ “การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ในหน้าฝน” เขียนขึ้น… ไม่ใช่แค่ในฐานะคนรักหมาเท่านั้น แต่เขียนในฐานะ บ้านที่เคยเจองู และเคยสูญเสียน้องหมาเพราะงูมาแล้วจริง ๆ ขุนช้าง — เฟรนช์บูลด็อกผู้ร่าเริง ตายอย่างเงียบงันเพียงข้ามคืนแอนนา — ลาบราดอร์ผู้ใจดี ล้มลงหลังจากเจองูเพียงไม่กี่นาทีและ สาลี่ — บูลด็อกอีกตัว ที่เกือบจะกลายเป็นข่าวเศร้าอีกครั้ง แต่โชคดีที่วันนั้นเราพาไปถึงมือคุณหมอ ช่วยชีวิตได้ทันเวลา… การป้องกันงู จึงไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ สำหรับบ้านเราอีกต่อไป และเราหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้บ้านอื่นไม่ต้องสูญเสียสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักแบบเรา การป้องกันสัตว์เลี้ยงจากงู ในหน้าฝน เพราะหน้าฝนไม่ได้มีแค่เพียงสายฝน แต่อาจนำพา “งูเจ้าบ้าน” เข้ามาหลบฝนภายในบริเวณบ้านเราเช่นกัน….หน้าฝน คือช่วงเวลาที่ทุกชีวิตกำลังมองหาที่พักพิง ในขณะที่น้องหมาของเรามุดผ้าห่มนอนหลบฝนอย่างมีความสุขอยู่นั้น สัตว์บางชนิดก็เริ่มเคลื่อนที่เงียบ ๆ ภายใต้ความชื้นของโลก หนึ่งในนั้นคือ “งู” นักล่าผู้ไม่เคยเคาะประตู โดยเฉพาะบ้านที่มีสนามหญ้า มีสวน มีบ่อน้ำ หรือมีสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก อาจกลายเป็นจุดหมายปลายทางของงูเจ้าถิ่นที่ไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายใคร […]

อ่านต่อ

แมวส้ม ทำไมมีขนสีส้ม และส่วนใหญ่เป็นตัวผู้

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับสีขนของ แมวส้ม ที่อธิบายว่า ทำไมแมวส้มส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ ความลับและปริศนาของ แมวส้ม ยังเป็นหัวข้อที่เย้ายวนใจต่อนักวิทยาศาสตร์ ผู้พยายามหาคำอธิบายเกี่ยวกับสีขนอันเป็นเอกลักษณ์ โดยหนึ่งในหัวข้อที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ ยีนที่กำหนดการแสดงออกของสีขน แมวส้มได้ปรากฏอยู่บนสื่อมากมายในปัจจุบันทั้งสื่อสังคมออนไลน์ และตัวละครในภาพยนตร์ ซึ่งหากย้อนกลับไปในอดีต พวกเขายังเคยปรากฎอยู่ในภาพวาดยุคเรอเนสซองส์ ด้วยบุคลิกที่สะท้อนความเป็นแมวส้มอย่างตรงกันในทุก ๆ วัฒนธรรม เช่น ความซุกซน เข้ากับคนง่าย เจ้าสเน่ห์ และผู้สร้างความวุ่นวาย นอกเหนือจากพฤติกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพวกมันแล้ว แมวสีส้มสดใสเหล่านี้ยังจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นทางวิทยาศาสตร์ด้วย เบื้องหลังที่มาของขนสีส้มยังมีปริศนาทางพันธุกรรม ให้นักวิทยาศาสตร์ค้นหาคำตอบ และในที่สุด พวกเขาก็ค้นพบว่า กลไกที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ คืออะไร การวิจัยจากคนละซีกโลก แต่ได้ข้อสรุปเดียวกัน นักวิจัยจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ต่างศึกษาเรื่องยีนควบคุมการแสดงออกขนสีส้มในแมว ซึ่งทั้งสองทีมไม่มีได้ทำงานร่วมกัน พบว่า ขนสีส้มของแมวเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมบนโครโมโซม X ซึ่งเป็นหนึ่งในโครโมโซมเพศ สิ่งที่ทำให้ลักษณะนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ การกำหนดสีขนเกี่ยวข้องกับเพศ ซึ่งไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เกรกอรี บาร์ช มหาวิทยาสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา และอีกฝั่งหนึ่ง ฮิโรยูกิ ซาซากิ มหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองทีมวิจัยได้วิเคราะห์ว่า การกลายพันธุ์ของแมวส้มเป็นการกลายพันธุ์ที่ยีนตำแหน่งใด แม้ว่าจะมีหลักฐานแสดงอย่างชัดเจนแล้วว่า […]

อ่านต่อ

ทำไม สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ

หลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ทำไม สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ ด้วยการแสดงออกทางภาษากายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกระดิกหางที่เร็วมาก หรือการกระโดดเข้าใส่เจ้าของเพื่อเลียหน้า เชื่อว่าเจ้าของสุนัขทุกคนต่างมีความสุขเมื่อเห็น สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ ซึ่งเป็นพฤติกรรมน่ารักของสุนัขที่พบได้ทั่วโลก ท่าทางการทักทายด้วยความกระตือรือร้นนี้ เกิดขึ้นจากรากฐานความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของ ดังนั้น การทำความเข้าใจกับพฤติกรรมนี้ จะช่วยให้เราเห็นความสำคัญ ต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราและสุนัข ทำไม สุนัขดีใจเวลาเจอเจ้าของ คำตอบที่ดูตรงตัวมากที่สุด คือ ความผูกพันอันแน่นแฟ้นระหว่างสุนัขกับเจ้าของ สุนัขเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยงในสังคมมนุษย์อย่างยาวนาน ดังนั้น สุนัขจึงรู้สึกว่า พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของฝูง หรือในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า “เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว” ความสัมพันธ์ทางอามรมณ์นี้เอง กระตุ้นความตื่นเต้นของสุนัข เมื่อเห็นเจ้าของกลับมาถึงบ้าน โดยพวกเขาไม่ได้รู้สึกว่าเราเป็นเพียงผู้ให้อาหาร หรือคนที่พาออกไปเดินเล่นนอกบ้านเท่านั้น แต่เป็นการได้พบสมาชิกอันเป็นที่รักอีกครั้ง สุนัขมักแสดงความผูกพัน และความภักดีต่อเจ้าของในระดับที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน และประสบการณ์ที่มีร่วมกับเจ้าของ ความผูกพันเหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออารมณ์ และพฤติกรรมของสุนัข เกิดอะไรขึ้นกับสุนัข เมื่อเราไม่อยู่บ้าน สุนัขบ้านมีความคล้ายคลึงกับสุนัขป่าอย่างหนึ่ง คือ พฤิตกรรมการรวมฝูง ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่เจ้าของควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับสุนัข เมื่อมนุษย์ผู้เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของสุนัข ต้องออกจากบ้านไป สุนัขจะรู้สึกว่า กำลังถูกแยกจากฝูง การแยกจากฝูง เพียงสองสามชั่วโมง อาจทำให้สุนัขเกิดความวิตกกังวลได้ เมื่อสุนัขเกิดความวิตกกังวล พกวเขาจะแสดงพฤติกรรมบางอย่าง […]

อ่านต่อ

ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง สร้างมูลค่าตลาดเฉลี่ย 5 ปี 3 แสนล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ในไทย เติบโตต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2562 – 2566 สร้างรายรับรวมเฉลี่ย 3.3 แสนล้านบาท กำไรรวมเฉลี่ย 1.2 หมื่นล้านบาท พฤติกรรมการเลี้ยงสัตว์ของผู้คนในยุคปัจจุบัน ที่เลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัว และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่ผู้สูงอายุนิยมเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนเติบโตของ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทย ในขณะเดียวกัน ผู้แข่งขัยในตลาดนี้ก็เพิ่มขึ้นทั้งจากภายใน และต่างประเทศ อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต โดยหันมาอยู่บ้าน และใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น รวมถึงการพาสัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้เวลายามว่างเพื่อแก้เหงา จนสัตว์เลี้ยงกลายเป็นเสมือนคนในครอบครัว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นตามไปด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง จากคลังข้อมูลธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD DataWarehouse+) พบว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง มีอัตราการเติบโตขึ้นในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2566-2567) ทั้งจำนวนการจัดตั้งใหม่ และทุนจดทะเบียน […]

อ่านต่อ

สุนัขกินชีส ได้หรือไม่ และนี่คือข้อมูลที่เราควรรู้

เชื่อว่า เจ้าของสุนัขหลายท่าน เป็นสาย cheese’s lover แต่บางครั้ง เราก็เคยสงสัยว่า สุนัขกินชีส ได้หรือไม่ ชีสเป็นหนึ่งในวัตถุดิบการทำอาหาร ที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลานท่านมีติดครัวอยู่เป็นประจำ ด้วยรสสัมผัสที่นุ่มนวล และหอมหวานของชีส จึงทำให้สุนัขของเราจ้องมองเหมือนอยากจะร่วมกินด้วย จนบางครั้ง เราก็รู้สึกอยากจะแบ่งปันชีสให้กับลูกรักของเรา แต่ในความเป็นจริงแล้ว สุนัขกินชีส ได้หรือไม่ ถ้า สุนัขกินชีส จะเป็นอันตรายต่อพวกเขาหรือไม่ สำหรับมนุษย์ ชีสอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียม โปรตีน ฟอสฟอรัส สังกะสี วิตามินเอและบี 12 อย่างไรก็ตาม ถ้า สุนัขกินชีส นั่นไม่ได้แปลว่า สารอาหารเหล่านี้จะตอบสนองความต้องการทางโภชนาการของพวกเขาได้ ถึงแม้จะมีหลักฐานที่แสดงว่า ชีสในปริมาณเล็กน้อยไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของสุนัข แต่สุนัขบางตัวอาจรู้สึกไม่สบายจากน้ำตาลแลคโตสได้ เช่น ท้องอืด ท้องเสีย หรืออาเจียน ดังนั้น ถ้าเจ้าของอยากให้สุนัขได้ลิ้มลองรสชาติของชีสจริง ๆ ให้พวกเขาได้ลองกินชีสในปริมาณเล็กน้อย และสังเกตว่า พวกเขามีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือไม่ สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาร่วมด้วยคือ ประเภทของชีส โดยเจ้าของควรเลทอกชีสที่มีไขมัน โซเดียม และแคลลรี่ต่ำ […]

อ่านต่อ

แมวป่า VS. แมวบ้าน

แมวป่ากับแมวบ้าน แตกต่างกันอย่างไร เรื่องราวของแมวที่เข้ามาครองหัวใจ และบ้าน ของพวกเรา เมื่อหลายพันปีก่อน สัตว์เลี้ยงในบ้านส่วนใหญ่มีหน้าตาแตกต่างจากญาติในป่าที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ลองนึกภาพสุน้ขบ้านและสุนัขป่า แต่ในทางกลับกัน แมวบ้าน ที่นั่งอยู่ในห้องนั่งเล่นของเรา หน้าตาของพวกเขาอาจไม่ได้ดูแตกต่างจากแมวป่าในปัจจุบันสักเท่าไร และหลายครั้ง เราก็ยังเข้าใจผิดว่า แมวป่ากับแมวบ้าน เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ความจริงข้อหนึ่งที่เจ้าของแมวมีความเห็นตรงกันคือ ไม่ใช่แมวบ้านทุกตัวจะมีลักษณะเหมือนกับแมวป่า แมวบางสายพันธุ์มีสีสัน ลวดลาย และเส้นขนที่มีความหลากหลาย และไม่พบในแมวป่า แมวบ้านบางตัวมีลักษณะของร่างกายที่โดดเด่น เช่น แมวมันช์กินขาสั้น แมวไทยที่ใบหน้ายาว และแมวเปอร์เซียหน้าสั้น อย่างไรก็ตาม แมวบ้านบางสายพันธุ์ก็มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมวป่ามาก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแมวบ้านและแมวป่า พบว่า มีความแตกต่างกันเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น ในกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในทางกลับกัน สุนัขบ้านและสุนัขป่ามีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมถึง 3 เท่า แล้ว แมวป่ากับแมวบ้าน แตกต่างกันอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ในเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สำหรับจำแนกแมวบ้านและแมวป่า มีเพียงสองวิธีเท่านั้นที่จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน วิธีที่หนึ่ง คือ การวัดขนาดของสมอง โดยสมองของแมวบ้านจะมีขนาดเล็กกว่าแมวป่า โดยเฉพาะสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความก้าวร้าว ความกลัว และการตอบสนองโดยรวม วิธีที่สอง คือ […]

อ่านต่อ
สัตว์เลี้ยง, กทม, การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์, หมาจร, แมวจร,

ข้อบัญญัติฯ การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ปี 2567

ปีที่ผ่านมา สภากรุงเทพมหานคร ได้เสนอ (ร่าง) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ปี… ปัจจุบัน ข้อบัญญัติฉบับนี้ ไดผ่านความเห็นชอบ และออกประกาศบังคับใช้ โดยจะเริ่มบังคับใช้ ในวันที่ 10 มกราคม 2569 กทม. เห็นว่า ข้อบัญญัติ การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ จะสามารถสร้างความปลอดภัยของทั้งคนและสัตว์เลี้ยง สวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงที่ดีขึ้น และป้องกันการเกิดสัตว์จรในอนาคต ดังนั้น หลังจากที่ข้อบัญญัติ ฯ บังคับใช้แล้ว เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขต กทม. จำเป็นต้องปฏิบัติตาม โดยในข้อบัญญัติ ฯ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ 1. จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่อยู่อาศัย เจ้าของสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์เกินกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ ก่อนวันที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ใช้บังคับ หรือก่อนวันที่ 15 มกราคม 2568 ให้แจ้งต่อสํานักงานเขต หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสN ภายใน 90 วันนับแตjวันที่ขhอบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ใชhบังคับ หรือภายในวันที่ 14 เมษายน 2568 2. ต้องจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง และฝังไมโครชิป […]

อ่านต่อ

New-Pet Blue อารมณ์เชิงลบ หลังจากรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน

ช่วงเวลาที่เราได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้านนำมาซึ่งหลากหลายอารมณ์ ทั้งตื่นเต้น ดีใจ และรู้สึกเติมเต็ม อย่างไรก็ตาม เจ้าของมือใหม่บางท่านอาจเกิดความรู้สึกในเชิงลบขึ้นมาได้ อย่างอาการ New-Pet Blue หรือภาวะวิตกกังวลหลังจากรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน สัตวแพทย์และนักจิตวิทยา กล่าวว่า ความรู้สึกดีหรือไม่ดีที่เกิดขึ้นหลังรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน มีปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ ฮอร์โมนที่ชื่อว่า ออกซิโทซิน (Oxytocin) จะหลั่งออกมาเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิต เพื่อทำให้เราเกิดความรู้สึกดีและผูกพัน ในทางกลับกัน เจ้าของสัตว์เลี้ยงมือใหม่ อาจเกิดอารมรณ์ในเชิงลบ หรือที่เรียกว่า New-Pet Blue หรือภาวะซึมเศร้าหลังจากรับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่เข้าบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อรับสัตว์เลี้ยงในวัยเด็กที่สุขภาพยังไม่แข็งแรงเต็มที่ หรือรับอุปการะสัตว์เลี้ยงที่ร่างกายอ่อนแอ หรือเคยถูกทำร้ายมาก่อน ภาวะ New-Pet Blue หรืออาการซึมเศร้าหลังจากได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ คืออะไร อาการซึมเศร้าหลังจากได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เป็นคำที่ใช้เรียกปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่าง ๆ เช่น รู้สึกเครียด วิตกกังวล เศร้า และบางครั้งรู้สึกเสียใจที่ได้รับสัตว์เลี้ยงตัวใหม่ ซึ่งเป็นภาวะทีเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและกินเวลาไม่นาน แม้ว่าก่อนหน้านี้ เราได้ตั้งตารอที่จะดูแลสัตว์เลี้ยงตัวใหม่อย่างใจจดใจจ่อก็ตาม นายแพทย์ไมเคิล เคน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์และจิตแพทย์ ศูนย์ฟื้นฟูอินเดียนา สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า พ่อแม่สัตว์เลี้ยงมือใหม่จะเกิดความรู้ไม่ต่างจากการนั่งรถไฟเหาะ บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกเศร้าอย่างมาก […]

อ่านต่อ

สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน ของเรา เพราะอะไรกันนะ

ปัญหา สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน เป็นปัญหาที่สร้างความหงุดหงิดแก่ผู้ปกครองเป็นอย่างมากแน่ ๆ เพราะเราจะต้องหมดแรงไปกับการทำความสะอาดที่เครื่องนอนทั้งชุด และต้องกำจัดกลิ่นฉี่ของสุนัขให้หมดไปจากฟูก ซึ่งไม่ใช่เรื่องสนุกอย่างแน่นอน ทำไม สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน ของเรา ผู้ปกครองบางท่านเล่าให้เราฟังว่า แม้ว่าสุนัขจะถูกฝึกให้ฉี่ในที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็พบว่า สุนัขชอบฉี่ใส่ที่นอน และจากข้อมูลที่หลายท่านเคยรับรู้มาคือ เตียงมีลักษณะบางอย่างที่ดึงดูดสุนัขให้มาฉี่ เช่น นุ่ม ปลอดภัย และมีกลิ่นตัวเจ้าของติดอยู่ ซึ่งสุนัขต้องการใช้เวลาอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน คำถามที่ตามมาคือ… “พวกเขาทำไปเพราะอะไร?” “โกรธเราหรือไม่?” “กำลังป่วยใช่ไหม?” “หรือเป็นเพราะเราทำอะไรผิด?” ความจริงคือ — ไม่มีคำตอบเดียวที่ใช้ได้กับทุกตัว เพราะเบื้องหลังของการปัสสาวะที่ไม่พึงประสงค์มีทั้งร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ และช่วงอายุ เข้ามาเกี่ยวข้อง สัตวแพทย์พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมสุนัขฉี่ใส่ที่นอนของเรา มีดังนี้ สาเหตุทางร่างกาย (Physical Causes) ถ้าหากเจ้าของสังเกตพบว่า สุนัขฉี่ใส่ที่นอนของเราแบบกระทันหัน หรือเกิดขึ้นซ้ำบ่อย ๆ โดยไม่มีสัญญาณเตือน อาจเกิดจากปัญหาเรื่องสุขภาพ เพราะหลายครั้ง… สิ่งที่เราคิดว่าเป็น “พฤติกรรมไม่ดี” แท้จริงแล้วคือ “สัญญาณเตือนของร่างกาย” โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิกปกติในการขับปัสสาวะได้แก่ โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคระบบทางเดินปัสสาวะที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ […]

อ่านต่อ

สุนัขรับฟังสิ่งที่เราพูด อยู่ตลอดเวลา

การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ภาษามนุษย์ของสุนัข พบว่า สุนัขรับฟังสิ่งที่เราพูด อยู่ตลอดเวลา พวกเขาเข้าใจคำพูดที่เรามักพูดซ้ำ ๆ แม้ว่าจะเป็นคำพูดที่ไม่ได้สื่อสารกับสุนัขก็ตาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง และ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรับรู้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยลินคอล์นและซัสเซกซ์ และมหาวิทยาลัยฌองมอนเนต์ เพื่อสังเกตพฤติกรรมของเพื่อนต่างสายพันธุ์ และเป็นการหาหลักฐานยืนยันเพิ่มเติมว่า สุนัขรับฟังสิ่งที่เราพูด ทีมนักวิจัยได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า สุนัขที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเรา อาจเข้าใจการสื่อสารของมนุษย์ได้ลึกซึ้งกว่าที่เราเคยศึกษามาก่อนหน้านี้ โดยการศึกษานี้ในสุนัขบ้าน (Canis familiaris) ทีมนักวิจัยสังเกตพบว่า สุนัขสามารถจดจำความหมายคำพูดซ้ำ ๆ ของมนุษย์ได้ และพวกเขาได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสาร Animal Cognition โดยใจความสำคัญของผลการศึกษา ระบุว่า “สุนัขรับฟังเราพูดตลอดเวลา แม้ว่าคำพูดนั้นไม่ได้สื่อสารไปที่สุนัขก็ตาม โดยสุนัขมีความสามารถในการกรองข้อมูลของคำพูดทั่วไป และคำสั่งที่มนุษย์สื่อสารกับสุนัข แม้ว่าเราจะใช้นำเสียงราบเรียบปกติ” ความสามารถของสุนัขเรื่องการรับรู้ความหมายของภาษามนุษย์อาจเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 14,000 ปี ที่สุนัขได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมมนุษย์ และอาจเกี่ยวกับการพัฒนาสายพันธุ์สุนัข ที่มนุษย์มีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดพฤติกรรมสุนัข ในการศึกษาครั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของสุนัขหลากหลายสายพันธุ์ โดยในการทดสอบสุนัขแต่ละตัวฟังคำพูดของมนุษย์ ที่ประกอบด้วย คำสั่งสุนัขพื้นฐาน และคำพูดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสุนัข และเป็นการเปลี่ยงเสียงออกมาด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ผลลัพธ์ที่นักวิจัยสังเกตได้ คือ สุนัขตอบสนองต่อคำสั่งได้อย่างสม่ำเสมอ […]

อ่านต่อ