พฤติกรรมแมว

การสร้าง อาณาเขตของแมว เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ

ทราบหรือไม่ครับว่า หนึ่งในปัจจัยที่มักทำให้แมวเกิดความเครียด คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใน อาณาเขตของแมว การเปลี่ยนแปลงใน อาณาเขตของแมว อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เช่น มีเสียงก่อสร้างดังจากนอกบ้านเข้ามาในตัวบ้าน มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้ามาในบ้าน หรือแม้แต่การย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็สามารถทำให้แมวเกิดความเครียดได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น มีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน หรือมีแมวที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในบริเวณบ้าน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ โดยระดับความรุนแรงของความเครียดที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับอาณาเขตเป็นอย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับอาณาเขตของแมว จะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการตามธรรมชาติ และจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแมว อาณาเขตทั่วไปของแมว แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ Core territory, Territory, และ Home หรือ Hunting Range (รูปที่ 1) โดยพื้นที่แต่ละส่วนก็จะมีลักษณะ และความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. […]

อ่านต่อ

แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง เช็คพฤติกรรมการนอนของเจ้าเหมียวกัน

แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง ? แมวก็เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการการพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายยังคงความแข็งแรงและสุขภาพดี แต่บางครั้งเราก็พบว่า เจ้านายตัวขนโปรดปรานการนอนหลับมากเป็นพิเศษ จนบางครั้ง เราก็สงสัยว่า ทำไมแมวของเราจึงนอนได้นานขนาดนี้ แมวนอนวันละกี่ชั่วโมง ? แมวใช้เวลานอนปกติประมาณ 12 – 16 ชั่วโมงต่อวัน ซมากกว่ามนุษย์ผู้ใหญ่โตเต็มวัยที่ใช้เวลานอนเฉลี่ยประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจากความจริงข้อนี้ ในมุมมองของมนุษย์อาจรู้สึกว่า แมวใช้เวลาไปกับนอนหลับพักผ่อนมากเหลือ เหตุผลเบื้องหลังที่แมวใช้เวลานอนมากกว่ามนุษย์ เนื่องจาก ธรรมชาติความเป็นสัตว์นักล่า และนักสำรวจ ซึ่งทั้งสองพฤติกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง ดังนั้น แมวจึงต้องใช้เวลาพักผ่อนมากกว่ามนุษย์ เพื่อให้มีพลังงานเพียงพอต่อความตื่นตัว และทำกิจกรรมต่าง ๆ ในยามตื่นนอน จำนวนช้่วโมงการนอนของแมวยังขึ้นอยู่กับช่วงอายุของแมวด้วย ในช่วงวัยลูกแมว ที่กำลังเจริญเติบโต และกำลังพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นช่วงวัยที่ต้องการการนอนหลับประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ แมวโตเต็มวัยใช้เวลานอนเฉลี่ย 15 ชั่วโมงต่อวัน หรือน้อยกว่านั้น และช่วงแมวสูงวัย อายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จะใช้เวลานอนมากขึ้น ซึ่งทำกิจกรรมต่าง […]

อ่านต่อ

ทำไม แมวไม่ชอบให้ปิดประตูห้องต่าง ๆ

เจ้าของแมวทุกคนต่างทราบดีว่า แมวไม่ชอบให้ปิดประตู เป็นหนึ่งในปัญหาของการใช้ชีวิตร่วมกันในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเวลาส่วนตัวในการเข้าห้องน้ำ หรือยามที่เราต้องการพักผ่อนในห้องนอน แต่ทำไมล่ะ แมวไม่ชอบให้ปิดประตู เมื่อเราต้องการความเป็นส่วนตัว คำตอบที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า การอยู่อาศัยของเราในที่พักแบบทันสมัยช่างขัดกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของแมว เหล่านี้คือ ข้อมูลการคค้นพบเกี่ยวกับพฤติกรรม ที่แมวเกลียดการปิดประตูกั้นระหว่างเราและพวกเขา ทำไมแมวเกลียดการปิดประตู เมื่อคุณเดินเข้าไปทำธุระส่วนตัวในห้องน้ำ และประตูถูกปิดลง แทบจะเป็นเวลาในฉับพลัน ที่คุณได้ยินเสียงเจ้านายตัวขนร้องดังขั้นจากอีกฝั่งของประตู นี่ไม่ใช่เพียงเพราะแมวอยากอยู่ใกล้ชิดเราตลอดเวลา แต่แมวมีวิธีการสร้างอาณาเขตที่เป็นเอกลักษณ์ และพวกเขาต้องการควบคุมทุก ๆ พื้นที่ ซึ่งทุกพื้นที่ในบ้านของคุณ ก็คืออาณาเขตของพวกเขาด้วย อย่างแรก ดร.คาเรน ซูดา สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรม กล่าวกับ LiveScience ว่า “แมวมีความรู้สึกไม่อยากพลาด และต้องการเห็นว่าภายหลังประตูที่ถูกปิดลงนั้นเกิดอะไรขึ้น” เราทุกคนต่างรู้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีความอยากรู้อยากเห็น และพฤติกรรมที่ลุกล้ำความเป็นส่วนตัวของมนุษย์นี้ ก็เป็นแรงขับจากความอยากค้นพบของแมวเช่นกัน เช่นเดียวกับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เมื่อเราอยู่ในสังคมใดสังคมหนึ่ง เราก็อยากทราบความเป็นไปในชีวิตของเพื่อน ๆ ในสังคมเดียวกัน เราก็แสดงออกด้วยการนั่งสำรวจชีวิตของคนใกล้ตัวผ่านการใช้สังคมสื่อออนไลน์ แต่การแสดงออกของแมวกับเรื่องนี้ คือ อย่าปล่อยให้ฉันพลาดนะไม่ว่าเธอจะทำอะไรอยู่หลังประตูบานนั้น นอกจากนี้ แมวยังรู้สึกว่าต้องรู้จัก และมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ แมวเป็นสัตว์ที่เป็นทั้งผู้ล่าและเหยื่อ เมื่อพวกเขาอยู่ในธรรมชาติ สัญชาตญาณนี้จึงติดอยู่ในตัวของแมวบ้าน […]

อ่านต่อ

ค้นหาคำตอบพฤติกรรม แมวล่าเหยื่อ โดยการวิเคราะห์หนวดแมว

แมวล่าเหยื่อ เพราะอะไร นักวิทยาศาสตร์ได้พยายาามค้นคำตอบพฤติกรรมแมวบ้านที่ชอบไปคาบนกกลับมาที่บ้าน ด้วยการวิเคราะห์ทางรังสีวิทยาจากหนวดของแมว ในสายตาของทาสแมว เราอาจมองเห็นเพียงความน่ารักของเจ้านายตัวขน ในขณะเดียวกัน เราต่างก็รับรู้ว่า แมวยังไม่ทิ้งลายสัตว์นักล่าโดยกำเนิดเช่นกัน โดยเรายังพบพฤติกรรม แมวล่าเหยื่อ ได้ในเหล่าบรรดาแมวจร หรือแม้กระทั่งแมวที่เราเลี้ยงดูเป็นอย่างดี จากการสำรวจในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้แมวบ้านเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (invasive specie) ที่รุกรานชนิดพันธุ์ท้องถิ่น กลายเป็นประเด็น ที่สร้างความกระอักกระอ่วนให้แก่เจ้าของแมวทั่วโลก ด้วยการรายงานจำนวนที่แสดงให้เห็นว่า แมวทั่วโลกได้คร่าชีวิตของสัตว์ปีก ประมาณ 1.4 – 3.7 ล้านตัวต่อปี ในรายงานอีกหลายฉบับเกี่ยวกับการรุกรานของแมวบ้าน ยังพบว่า แมวได้ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก และกระต่าย รวมกันประมาณ 20,000 ล้านตัวทุกปี ข้อมูลเหล่านี้ อาจสร้างคำถามในใจของเจ้าของแมวอย่างเราว่า แมวที่แสนน่ารักของเราทำอย่างนั้น จริงหรือ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็นอนครางอย่างมีความสุขอยู่ใกล้ ๆ เรา การศึกษาเกี่ยวกับหนวดแมวในปี 2021 ได้ไขข้อสงสัยของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมล่าสัตว์ขนาดเล็กของแมวบ้าน ข้อมูลที่นักวิจัยค้นพบอาจทำให้เราประหลาดใจ งานวิจัยครั้งนี้ทำการทดลองอย่างไร ดร. มาร์ตินา เซคคิติ […]

อ่านต่อ

อารมณ์ของแมว จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

พวกเราส่วนใหญ่อาจมีความคิดเห็นว่า สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่อ่อนไหว และตอบสนองต่อเจ้าของได้ดีกว่าแมว ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ผ่านทางการกระโดด การเห่า การกระดิกหาง และท่าทางตื่นเต้นเมื่อสุนัขได้พบกับเจ้าของ ในขณะเดียวกัน การอ่าน อารมณ์ของแมว หรือคาดเดาว่า แมวกำลังคิดอะไรอยู่ อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก รายงานการศึกษาวิจัยหลายฉบับระบุว่า เจ้าของแมวส่วนหนึ่งเชื่อว่า แมวสามารถรับรู้ได้ถึงอารมณ์ และความรู้สึกได้เช่นเดียวกับมนุษย์ แมวเป็นสัตว์ที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีนิสัยซุกซนตามธรรมชาติ แต่ อารมณ์ของแมว เป็นอย่างไร และแมวมีความรู้สึกผูกพันกับเจ้าของ หรือไม่ 6 อารมณ์พื้นฐานที่พบได้ในแมวทุกตัว นักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง และสัตวแพทย์ พบว่า แมวมีอารมณ์พื้นฐาน 6 แบบ แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยมากเท่ากับการศึกษาในสุนัข แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สัตว์เลี้ยงสองชนิดนี้มีอารมณ์พื้นฐานที่คล้ายกัน 6 รูปแบบ ประกอบด้วย หากเจ้าของลองสังเกตพฤติกรรมแมวอย่างตั้งใจ อาจจะเคยเห็นแมวแสดงพฤติกรรมเหล่านี้บ้างผ่านภาษากาย นักวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยง ทั้งสุนัข และเแมว รวมจำนวนทั้งหมด 1,023 คน พบว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ เคยสังเกตเห็นแมวแสดงออกทางอารมณ์พื้นฐานทั้ง 6 รูปแบบ แต่อารมณ์ที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น ความอับอาย ความผิดหวัง […]

อ่านต่อ
แมวเป็นโรคซึมเศร้า, โรคซึมเศร้าในแมว, แมวซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าในแมว รู้ก่อน ป้องกันได้

แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของแมว แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดจากความผิดปกติของหลั่งสารสื่อประสาทในสมองคล้าย ๆ กับในมนุษย์ อาจมีสาเหตุโน้มนำมาจากความเครียดสะสมของแมวจนนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สัญญาณอาการความผิดปกติของภาวะซึมเศร้าในแมวจะแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้ คือ 8 สัญญาณอาการเตือนของแมวที่มีภาวะซึมเศร้า 1. มีเสียงร้องที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติแล้วแมวจะสื่อสารด้วยการร้องเสียงเหมียว แมวที่มีภาวะซึมเศร้าจะส่งเสียงร้องที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น การร้องน้อยลงหรือไม่ร้องเลย มีการร้องเสียงแปลก ๆ เสียงโทนต่ำ หรือสูงกว่าปกติไปจากเดิม ร่วมกับมีอาการซึมนิ่งกว่าปกติ แมวบางตัวอาจจะทำเสียง purring บ่อยกว่าปกติ หรือในทางกลับกัน แมวที่มีนิสัยไม่ค่อยส่งเสียงร้อง แต่กลับมีการร้องเสียงดังมากกว่าปกติ การส่งเสียงร้องเช่นนี้อาจเกิดขึ้น เนื่องความเจ็บปวดทางจิตใจและความวิตกกังวล 2. มีภาษากายและท่าทางแปลกไปจากเดิม มีความผิดปกติแสดงออกมาทางภาษาท่าทาง เช่น การพับหูลู่ไปข้างหลัง การเก็บหางจุกก้น การหมอบต่ำตลอด มีท่าทางที่ระแวงต่อสิ่งแวดล้อม ขนตั้งชันตลอดเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ หรือแมวมีการเลียขน กัด หรือดึงขนมากกว่าปกติ จนเกิดขนร่วงบาง รวมถึงบางตัวอาจมีอาการเคี้ยวปากบ่อยขึ้น 3. มีความก้าวร้าวมากขึ้น หรือมีความกลัว แมวจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ […]

อ่านต่อ
แมวชอบกัดเล่นแรง

แมวชอบกัดเล่นแรง เพราะอะไร

แมวชอบกัดเล่นแรง จนตามมือ แขน และขา เต็มไปด้วยรอยคมเขี้ยวของแมวน้อยน่ารัก พฤติกรรมน่าเอ็นดูนี้ เกิดจากสาเหตุอะไร ลองไปติดตามกันค่ะ ด้วยความรักที่เรามีต่อน้องแมว เราก็พยายามใช้เวลาที่เรามีไปกับการเล่นกับแมว เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน แต่บางครั้ง แมวชอบกัดเล่นแรง จนเราได้าดแผลถลอกจากคมเขี้ยวอยู่หลายต่อหลายครั้ง ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจว่า พฤติกรรมที่น้อแมวกัดเจ้าของ ไม่ใช่การกระที่ก้าวร้าว และไม่ได้หมายควมว่า แมวมีนิสัยดุร้าย ดังนั้น การเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของแมวที่อยู่ในบ้านของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในความเป็นจริง แมวบ้านสืบเชื้อสายมาจากแมวป่าที่เป็นสัตว์นักล่าที่ว่องไว ดังนั้น พฤติกรรมบางอย่างจึงยังหลงเหลือยู่ในความเป็นแมวบ้าน เช่น การกัด การตะครุบ และการข่วน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญของการเล่น เจ้าของที่เข้าใจในจุดนี้จึงควรอนุญาตให้แมวได้แสดงออกตามสัญชาติญาณบ้างในบางครั้ง แต่การเล่นเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมก้าวร้าวไม่ใช่วิธีการเล่นกับแมวที่สัตวแพทย์และนักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยงแนะนำ เหตุผลเบื้องหลังที่แมวชอบกัดเราแรง ๆ สัตวแพทย์ด้านพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง กล่าวว่า น้องแมวกัดเราด้วยเหตุผลหลายประการ อาจเป็นเพราะ พวกเขากำลังตกใจกลัว หรืออาจกำลังหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น เจ้าของจับ หรืออุ้มมากเกินไป นอกจากนี้ ในช่วงวัยเด็ก ลูกแมวได้เรียนรู้พฤติกรรมการล่าเหยื่อจากแม่ เมื่อโตเต็มวัยจึงอาจยังรู้สึกว่า พฤติกรรมการกัดล่าเหยื่อเป็นเรื่องของการเล่นสนุก จึงยังคงแสดงพฤติกรรมการกัดกับเจ้าของ เหตุผลอื่น ๆ ที่แมวแสดงออกถึงความก้าวร้าว สัตวแพทย์ให้ความเห็นว่า […]

อ่านต่อ

แมวรู้สึกเสียใจ เมื่อเพื่อนรักสัตว์เลี้ยงจากไป

ทีมนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกากล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ท้าทายความเชื่อเดิม ๆ ที่เรามองว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ไม่ชอบเข้าสังคม แต่แท้จริงแล้ว แมวรู้สึกเสียใจ ต่อการสูญเสียได้เช่นกัน ที่ผ่านมา พวกเราส่วนใหญ่คิดว่าแมวชอบความโดดเดี่ยว มีโลกส่วนตัว และไม่สนใจสมาชิกในบ้าน แต่การศึกษาวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า แมวรู้สึกเสียใจ ต่อการเสียชีวิตของสมาชิกสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นน้องหมา หรือน้องแมว เจ้าของหลายท่านที่เข้าร่วมในการศึกษาวิจัยเล่าให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ฟังว่า เมื่อมีสัตว์เลี้ยงในบ้านจากไป แมวบางตัวจะมีปัญหาในเรื่องการนอนหลับ บางตัวไม่ยอมกินอาหาร บางตัวก็ส่งเสียงร้องดังอย่างไม่เคยทำมาก่อน บ้างก็เข้ามาคลอเคลียเจ้าของมากขึ้น และไม่ยอมเล่นกับสิ่งของที่เล่นเป็นประจำ เป็นต้น ทีมนักวิจัยผู้อยู่เบื้องหลังการค้นพบพฤติกรรมเหล่านี้ กล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้เป็นเรื่องท้าทายมุมมองเดิม ๆ ที่มนุษย์มีต่อแมว ซึ่งเรามองว่า พวกเขาเป็นสัตว์ที่ไม่สนใจสังคม แต่ในทางกลับกัน พวกเขากลับมีความรู้สึกเสียใจต่อเพื่อนสมาชิกที่จากไป และความรู้สึกเสียใจต่อการสูญเสียอาจเป็นความรู้สึกสากลที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงในมนุษย์ เมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียเพื่อนสมาชิกในบ้าน “แมวจะไม่ค่อยกินอาหาร ไม่ยอมนอน และเล่นสนุกตามปกติ แต่จะมองหาและเรียกร้องความสนใจจากเจ้าของ หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ในบ้าน รวมไปถึงใช้เวลาตามลำพังเพื่อตามหาเพื่อนสัตว์เลี้ยงที่จากไป” นักวิจัย มหาวิทยาลัยโอกแลนด์ สหรัฐอเมริกา เขียนไว้ในการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร Applied Animal Behaviour Science […]

อ่านต่อ

ไขปริศนา ทำไมแมวชอบนวดตามตัวเรา

เจ้าของแมวหลายคนอาจเคยพบเจอพฤติกรรม แมวนวด ตามร่างกายของเรา หรือสิ่งของนุ่ม ๆ และแน่นอน หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมน้องแมวของเราจึงแสดงพฤติกรรมนี้ แมวนวด หรือ Kneading คือ พฤติกรรมการขยุ้มอุ้งเท้าสลับซ้ายขวาลงบนร่างกายของมนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของนุ่ม ๆ เช่น หมอน ผ้าห่ม และตุ๊กตาผ้า เป็นต้น บางครั้ง แมวจะหุบกางเล็บด้วย ในแมวบางตัว เจ้าของอาจได้ยินเสียงเพอร์ (purring) และน้องแมวมีน้ำลายไหลหยดเล็กน้อย ในขณะที่น้องกำลังย่ำเท้าไปบนสิ่งนั้น เจ้าของบางท่านเรียกพฤติกรรมการนวดของแมวว่า การทำบิสกิต (making biscuits) เนื่องจากท่าทางการนวดของแมวคล้ายกับท่าทางการนวดแป้งทำบิสกิตนั่นเอง ในความเป็นจริงแล้ว พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมที่ติดตัวลูกแมวมาตั้งแต่เกิด เมื่อลูกแมวดูดนมจากเต้านมของแม่ ลูกแมวจะใช้อุ้งเท้าหน้าทั้ง 2 ขาง นวดเต้านมของแมว เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมไหล ในขณะเดียวกัน เมื่อแม่แมวถูกกระตุ้นด้วยการนวดที่เต้านม สมองจะหลั่งฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหลั่งน้ำนมออกมาด้วย จนกระทั่งลูกแมวโตขึ้น พฤติกรรมการนวดลักษณะนี้จึงติดตัวมาด้วย ในขณะที่ แมวบางจะไม่พบพฤติกรรมนี้ หรือค่อย ๆ ลดหายไป ดังนั้น แมวที่ยังคุ้นชินกับพฤติกรรมการนวด จึงไปแสดงออกกับเจ้าของ ด้วยการนวดตามส่วนต่าง […]

อ่านต่อ

แมวเลียขนตัวเอง มากกว่าปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร

แมวเลียขนตัวเองเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ แต่ถ้า แมวเลียขนตัวเอง มากกว่าปกติ อาจกำลังเกิดความผิดปกติขึ้นกับพวกเขาก็ได้ แมวเลียขนตัวเอง เป็นการทำความสะอาดตัวเอง เพื่อช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ของผิวหนัง และยังช่วยระบายความร้อนด้วย แต่ในบางกรณี ถ้าเจ้าของพบว่า น้องแมวเลียขนตัวเองมากเกินไป เส้นขนหลุดร่วงมาก หรือเส้นขนบางในตำแหน่งที่เลียซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความผิดปกติ ที่เรียกว่า ภาวะขนร่วงแบบสมมาตร (feline symmetrical alopecia) หรือในแมวบางตัวอาจพบการสำรอกก้อนขนออกมาด้วย ความผิดปกติที่แมวเลียขนตัวเองมากเกินไป หรือที่เรียกว่า Over-grooming ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ 1. ความผิดปกติของโรคเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง การเกิดเชื้อราบนผิวหนัง ปรสิตภายนอกบนเส้นขน และผิวหนัง เช่น เห็บ หมัด และไรขน ภาวะภูมแพ้ เช่น แพ้อาหาร หรือแพ้สิ่งกระตุ้นในสิ่งแวดล้อม หรือโรคที่เกี่ยวกับระบบฮอร์โมน อย่างไฮเปอร์ไทรอยด์ในแมว (Feline Hyperthyroidism) เป็นต้น 2. ความผิดปกติทางจิตใจ (Psychogenic alopecia) สาเหตุเกี่ยวกับปัญหาทางพฤติกรรมมักจะมีความเชื่อมโยงกับความเครียด ความวิตกกังวลในแมว หรืออาจมีปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบ้าน […]

อ่านต่อ

แมวฉี่ไม่เป็นที่ เกิดจากอะไร แก้ไขได้ หรือไม่

แมวฉี่ไม่เป็นที่ เป็นปัญหาใหญ่ที่กวนใจทาสแมวอยู่พอสมควร และเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจาก เมื่อแมวฉี่และขับถ่ายนอกกระบะทราย อาจเป็นไปได้ว่า แมวกำลังเกิดความผิดปกติกับร่างกาย หรือจิตใจ เมื่อ แมวฉี่ไม่เป็นที่ เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าที่คิด น้องแมวฉี่ (หรือขับถ่าย) นอกกระบะทราย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเบื้องต้น ถ้าเราไม่แน่ใจว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เจ้าของสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าของต้องกลับมาใช้ชีวิตร่วมกัน และดูแลแมวที่บ้าน ควรทำความเข้าใจพฤติกรรมฉี่ไม่เป็นที่ร่วมด้วย เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไป ลักษณะการฉี่ของแมวมี 2 รูปแบบ ได้แก่ การฉี่เพื่อขับถ่ายของเสีย จัดเป็นการขับถ่ายเพื่อนำของเสียออกจากร่างกาย ถือเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ ที่ตอบสนองความต้องการทางสรีรวิทยาของร่างกาย การฉี่แบบสเปรย์ (spraying) เป็นการขับปัสสาวะโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างแมวด้วยกัน สำหรับวิธีการพิจารณาเบื้องต้นสำหรับแยกการขับถ่ายปัสสาวะทั้งสองแบบ สามารถพิจารณาจากข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ ข้อแรกถ้าแมวฉี่โดยการยืนสี่ขา ยกโคนหางขึ้นสูง และพ่นน้ำปัสสาวะออกมาเป็นละอองฝอย มีแนวโน้มที่จะเป็นการขับถ่ายแบบสเปรย์มากกว่าการถ่ายปัสสาวะจริง ๆ ในทางตรงกันข้าม หากแมวนั่งยอง ๆ หรือทำท่าทางเช่นเดียวกันกับการฉี่ในกระบะทราย ท่าทางการขับถ่ายดังกล่าวมักเป็นการขับถ่ายปัสสาวะจริง ๆ ข้อสองหากแมวฉี่รดบริเวณกำแพง เสาบ้าน ขาโต๊ะ ขาเก้าอี้ หรือโครงสร้างที่เป็นแนวตั้ง […]

อ่านต่อ

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือ PICA

แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร หรือที่เรียกว่า PICA เป็นข้อควรระวังอย่างหนึ่งสำหรับการเลี้ยงแมว ที่ผู้ปกครองควรคอยสังเกต และเฝ้าระวังไม่ให้น้องกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของน้องได้ แมวชอบกินสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่ใช่อาหาร เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในแมวบางสายพันธุ์ เช่น แมวไทย แมวเบอร์มีส และแมวตองกีนีส เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุอาจเกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในแมว อย่างไรก็ตาม แมวสายพันธุ์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็อาจแสดงพฤติกรรม PICA หรือชอบกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหารได้เช่นกัน สิ่งแปลกปลอมอะไรบ้าง ที่น้องแมวชอบกิน จากกรณีน้องแมวส่วนใหญ่ที่กินสิ่งแปลกปลอม แล้วคุณพ่อคุณแม่นำน้องมาหาสัตวแพทย์ พบว่า วัสดุแปลกปลอมส่วนใหญ่ที่ตรวจพบ ได้แก่ พลาสติก เศษผ้า วัตถุที่ผลิตจากยางหรือไม้ กระดาษแก้ว กระดาษแข็ง ทรายแมว โลหะ และก้อนขนของตัวเอง โดย ช่วงอายุที่พบได้บ่อย คือ ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า ลูกแมวจะเริ่มกัดแทะสิ่งของใกล้ตัว อย่างที่นอนของตัวเอง และพฤติกรรมนี้จะหายไปเมื่อโตขึ้นสู่ช่วงโตเต็มวัย แต่ในแมวบางตัว จะยังคงพฤติกรรมนี้จนกลายเป็นปัญหาทางพฤติกรรม แล้วเราจะสังเกตได้อย่างไรว่า แมวของเรามีพฤติกรรมกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร ปกติแล้วแมวจะมีการล่าเหยื่อ […]

อ่านต่อ

แมวใช้กลิ่นสื่อสาร อย่างไร

บางครั้ง คุณพ่อคุณแม่น้องแมวพบว่า แมวเอาตัวมาถูไถไปมาตามลำตัวและเสื้อผ้าของเรา การแสดงออกเช่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการสื่อสารที่ แมวใช้กลิ่นสื่อสาร กับมนุษย์ การสื่อสารในสัตว์เป็นหนึ่งในกลไกตามธรรมชาติ เพื่อคงความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ และเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงที่วิวัฒนาการเข้ามาอยู่กับสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน พวกเขาก็ต้องการสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แมวใช้กลิ่นสื่อสาร กับสมาชิกในบ้าน และแมวด้วยกันเอง สุนัขส่งเสียงเห่าหอน และแสดงท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นต้น แมวใช้กลิ่นสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง สพ.ญ.ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมว PURRfect Cat Hospital กล่าวว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้กลิ่นสื่อสารเพื่อแสดงการทักทาย การวางอาณาเขต แสดงความเป็นเจ้าของ และความเป็นศัตรู การสื่อสารด้วยกลิ่นเป็นวิธีการสื่อสารในแมวที่มีความคงทนมากกว่าวิธีอื่น ด้วยโครงสร้างทางร่างกายของแมวที่มีต่อมกลิ่นอยู่หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณโคนหาง บริเวณผิวหนังรอบหัวและหนวด รวมไปถึงบริเวณฝ่าเท้า เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่จึงพบว่าน้องแมวแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่พยายามใช้กลิ่นสื่อสารกับแมวกับมนุษย์ และแมวด้วยกันเอง การสื่อสารโดยการใช้กลิ่น สพ.ญ.ปิยวรรณ กล่าวว่า “น้องแมวจะแสดงพฤติกรรม 3 รูปแบบ ได้แก่ การถูไถ (Rubbing) การข่วนวัตถุ (Scratching) และการใช้สิ่งขับถ่าย (Excrement marking)” เหล่านี้คือคำอธิบายพฤติกรรมการใช้กลิ่นของน้องแมว […]

อ่านต่อ

แมวชอบข่วนโซฟา ปรับพฤติกรรมอย่างไร

เมื่อเราตัดสินใจรับเจ้าเหมียวเข้ามาอยู่ในบ้าน หนึ่งในปัญหาที่หลายคนต้องพบเจอคือ แมวชอบข่วนโซฟา ซึ่งหลายครั้ง ทาสก็ไม่รู้จะแก้ปัญหานี้

อ่านต่อ