Pet Talk

ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว ได้หรือไม่ ?

เจ้าของแมวหลายท่านอาจจะเคย ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว เพื่อกระตุ้นให้แมววิ่งไล่ และพยายามจับแสงให้ได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า การเล่นกับแมวด้วยแสงเลเซอร์อย่างผิดวิธี อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมวต้องเข้าใจธรรมชาติของแมว โดยทั่วไป การเล่นของแมวมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการล่า ซึ่งประกอบไปด้วยชุดพฤติกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การเฝ้ามองเหยี่อ สะกดรอยตาม ไล่ล่า จับตะปบ และกินเหยี่อ เพราะฉะนั้น การเล่นกับแมวให้ตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ คือการเล่นที่ตอบสนองพฤติกรรมเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน แล้วการ ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว ล่ะ ตอบสนองพฤติกรรมการล่าของแมว หรือไม่ หากเรากลับมาพิจารณาลักษณะการใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว จะพบว่า การเล่นกับแมวด้วยแสงเลเซอร์ สามารถกระตุ้นพฤติกรรมบางอย่างในกระบวนการล่าได้ คือ การจ้องเฝ้ามอง การสะกดรอยตาม การไล่ล่า ในขณะเดียวกัน อีกสองพฤติกรรมที่เหลือ คือการจับ และกินเหยื่อ จะไม่เกิดขึ้นในกรณีของการเล่นด้วยแสงเลเซอร์ ดังนั้น การใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมวจึงมีโอกาสที่จะทำให้แมวเกิดความสับสน โดยเฉพาะในแมวที่มีแนวโน้มเกิดความเครียดได้ง่าย เพราะไม่ว่าจะพยายามเท่าไรก็ไม่สามารถจับแสงลเซอร์ได้เลย นั่นหมายความว่า แมวไม่มีโอกาสแสดงพฤติกรรมการจับตะปบเหยื่อที่ประสบความสำเร็จ และไม่ได้มีพฤติกรรมการกินเหยื่อเกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นบ่อย ๆ ก็จะทำให้แมวเกิดความเครียดในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์ และอาจทำให้เกิดเป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรมได้ด้วยเช่นกัน ถ้าอยากเล่นกับแมวด้วยแสงเลเซอร์ ต้องเล่นอย่างไร จากผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่า […]

อ่านต่อ

แมวตาบอด เราจะสังเกตสัญญาณอันตรายนี้ได้อย่างไร

แมวตาบอด อาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือ การมองเห็นค่อย ๆ ลดลง หรือเกิดการตาบอดแบบเฉียบพลัน แต่โดยทั่วไปแล้ว การสังเกตความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาของแมว อาจไม่ใช่เรื่อง่ายสำหรับเจ้าของเสมอไป แมวตาบอด หรือเริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติเรื่องการมองเห็น สังเกตได้อย่างไร ตามธรรมชาติของแมว ประสาทสัมผัสในการรับเสียงและการรับกลิ่นของแมว ดีกว่าประสาทสัมผัสเรื่องการมองเห็น ดังนั้น ในช่วงแรก เมื่อแมวเริ่มมีความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เจ้าของจึงอาจสังเกตได้ยาก แต่เมื่อความรุนแรงของอาการรุนแรงจนไปถึงขั้น แมวตาบอด เจ้าของจึงสามารถพบความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ส่วนในกรณีของแมวตาบอดเฉียบพลัน อาจแสดงอาการอย่างชัดเจนมากกว่า เช่น เดินชนสิ่งกีดขวาง หรือการเคลื่อนที่ผิดปกติ เมื่อเราพบว่า แมวกำลังสูญเสียการมองเห็น จึงควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อรักษาก่อนที่อาการจะรุนแรง สัญญาณความผิดปกติทางสายตาของแมว พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าแมวกำลังสูญเสียการมองเห็น สาเหตุส่วนหใญ่ที่ทำให้แมวตาบอด 1. ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงส่งผลทำให้เส้นเลือดบริเวณจอประสาทตาได้รับความเสียหาย จนเกิดเลือดออกบริเวณจอประสาทตา และเกิดอาการตาบอดเฉียบพลัน ภาวะความดันโลหิตสูงในแมวอาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เป็นต้น 2. โรคติดเชื้อที่ตา การติดเชื้อที่บริเวณเยื่อบุตา กระจกตา หรือบริเวณใบหน้า หากการติดเชื้อรุกรามมากขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสูญเสียการมองเห็นในแมวได้ […]

อ่านต่อ

ภาษากายของแมว กำลังบอกอะไรกับเรา

ภาษากายของแมว เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้แสดงออกถึงสภาวะอารมณ์ของแมวในเวลานั้น การทำความเข้าใจภาษากายของแมว อาจทำให้เราอยู่ร่วมกับแมวได้อย่างราบรื่น และมีความสุข ท่าทางของแมว และ ภาษากายของแมว ก่อนจะรู้จัก ภาษากายของแมว อาจจะต้องย้อนไปทำความเข้าใจธรรมชาติของแมวกันก่อน แมวเป็นสัตว์ที่มักจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสันโดษ ซึ่งแตกต่างจากพฤติกรรมของสุนัขที่ส่วนใหญ่อยู่รวมกันเป็นฝูง ดังนั้น แมวจึงมีรูปแบบการสื่อสารในสปีชีส์เดียวกัน และต่างสปีชีส์ อย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม แมวยังสามารถแสดงออกทางภาษากายบางอย่าง ที่สามารถสะท้อนถึงสภาวะอารมณ์ และความรู้สึกของแมว ในช่วงเวลานั้น ๆ ได้ เจ้าของจึงมีบทบาทในการทำความเข้าใจภาษากายของแมว เพื่อให้ทราบถึงความรู้สึกในช่วงเวลาต่าง ๆ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันระหว่างเจ้าของกับแมวเป็นไปอย่างราบรื่น และลดแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแข้งระหว่างคนกับแมวได้มากที่สุด วิธีสังเกตภาษากายของแมว ตามหลักการโดยทั่วไป จะสังเกตภาษากายของแมว ที่แสดงออกผ่านบริเวณใบหน้า ศรีษะ และลักษณะท่าทางโดยรวม โดยเฉพาะส่วนของใบหน้าและศรีษะ เป็นบริเวณที่สังเกตได้ง่ายที่สุด ในส่วนศรีษะเป็นตำแหน่งที่ตั้งของใบหู ถ้าแมวกำลังรู้สึกผ่อนคลาย ใบหูจะตั้งตรง และอาจหมุนไปตามแหล่งกำเนิดเสียง โดยอาจจะหันใบหูแต่ละทางก็ได้ (A0B0 ในรูปที่ 1) ในทางตรงกันข้าม ถ้าแมวกำลังรู้สึกไม่ดี หรือมีอารมณ์เชิงลบ ใบหูจะลู่ลง (A0B1 และ A0B2) หรือใบหูกางออกทางด้านข้างทั้งสองข้าง […]

อ่านต่อ

โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว

โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยก่อให้เกิดความรุนแรงในระดับที่รักษาได้ ไปจนถึงรักษาให้หายขาดไม่ได้ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว คืออะไร Chronic upper respiratory tract disease (URT) หรือ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว คือ ความผิดปกติที่เกี่ยวกับบริเวณโพรงจมูก และบริเวณโพรงจมูกที่เชื่อมไปถึงคอหอย โดยหนึ่งในโรคโรคที่พบได้บ่อยคือ โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรังในแมว (Chronic rhinitis) ซึ่งมักพบอาการน้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายหลายสาเหตุ และเป็นโรคที่ต้องใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน หรืออาจจะรักษาไม่หายขาด อาการของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรัง สาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว 1. การติดเชื้อไวรัส (Virus infection) การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อ feline herpes virus (FHV) และ feline calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคหวัดแมว โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็กและแมวโตเต็มวัย การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ในระยะเฉียบพลันทำให้เกิดการอักเสบของโพรงจมูก อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรของเยื่อบุโพรงจมูก และเกิดการอักเสบเรื้อรังตามมา ทั้งเนื้อเยื่อและกระดูก เมื่อโครงสร้างในโพรงจมูกเสียหาย ก็มักทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา โดยการติดเชื้อไวรัส […]

อ่านต่อ

Fading kitten syndrome สาเหตุการเสียชีวิตใน ลูกแมวแรกเกิด

ลูกแมวแรกเกิด เป็นช่วงวัยที่เปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าช่วงวัยอื่น การทำความเข้าใจในเรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของลูกแมวแรกเกิด จะช่วยให้เราเตรียมพร้อมการดูแลทั้งแม่และลูกแมวในช่วงเวลาที่แสนเปราะบางนี้ได้ เจ้าของแมวบางท่าน ทั้งที่ตั้งใจเป็นเจ้าของ และเป็นเจ้าของโดยบังเอิญ อาจเคยประสบปัญหา ที่ต้องดูแล ลูกแมวแรกเกิด ซึ่งบางท่านอาจเคยพบว่า ลูกแมวเสียชีวิตตั้งแต่คลอดออกมา หรือเสียชีวิตภายหลังไม่นานหลังจากคลอดแล้ว การสูญเสียลูกแมวตั้งแต่วัยแรกเกิดย่อมนำมาซึ่งความเสียใจของเจ้าของแมวทุกท่าน ในธรรมชาติของแมว เมื่อแมวตัวเมียตั้งท้องหนึ่งครั้ง จะให้กำเนิดลูกแมวครอกละ 2 – 5 ตัว และเมื่อลูกแมวคลอดออกมาแล้ว ในช่วง 4 สัปดาห์แรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของลูกแมวที่ต้องได้รับการดูแลจากแม่แมวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกแมวมีโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 90 ในทางสัตวแพทย์ กลุ่มอาการที่ลูกแมวเสียชีวิตในช่วงแรกเกิด มีชื่อเรียกว่า Fading kitten syndrome โดยสาเหตุการเสียชีวิตในลูกแมวแรกเกิด แบ่งได้เป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ 1. สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non infectious cause) 2. สาเหตุที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infectious cause) การเสียชีวิตของลูกแมวแรกคลอด ที่เกิดจากการติดเชื้อ มีโอกาสน้อยกว่า สาเหตุที่ไม่ติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่ลูกแมวจะได้รับเชื้อก่อโรคผ่านทางรก […]

อ่านต่อ

เมื่อสุนัขและแมวเกิดความวิตกกังวล เราควรทำอย่างไร

ความวิตกกังวลในสุนัข และแมว (anxiety) เป็นหนึ่งรูปแบบของอารมณ์เชิงลบที่พบได้บ่อย โดยเป็นสภาวะทางอารมณ์ หากเกิดขึ้นเป็นประจำ หรือเกิดขึ้นในระยะยาว จะสามารถส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์ได้ สาเหตุของ ความวิตกกังวลในสุนัข และแมว ความวิตกกังวลในสุนัข และแมว จะเกิดขึ้นเมื่อ สัตว์เลี้ยงคาดการณ์ได้ว่า ตัวกระตุ้นใดตัวกระตุ้นหนึ่งที่พวกเขากลัวกำลังจะเกิดขึ้น โดยสุนัขและแมวอาจมีความวิตกกังวลต่อตัวกระตุ้น หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่จำเพาะ เช่น ฝนตก เนื่องจากฝนตกเป็นสัญญาณที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นที่สุนัขส่วนใหญ่กลัว เป็นต้น ในหลาย ๆ กรณี สัตว์อาจมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์หลาย ๆ สถานการณ์ ต่อตัวกระตุ้นหลาย ๆ รูปแบบ ได้เช่นกัน โดยแนวทางในการจัดการต่อความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในแต่ละลักษณะจะมีความแตกต่างกันออกไป การสังเกตความวิตกกังวลในสุนัข และแมว อย่างที่เราทราบกันดีว่า สัตว์เลี้ยงไม่สามารถสื่อสารกับเราด้วยภาษาพูดที่มนุษย์เข้าใจได้ ดังนั้น เราจะรู้ว่าสุนัขและแมวกำลังเผชิญกับความวิตกกังวลอยู่ หรือไม่ จึงจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตการแสดงออกทางพฤติกรรมของพวกเขา โดยตัวอย่างของพฤติกรรมที่อาจสะท้อนถึงความวิตกกังวลในสุนัข ได้แก่ การเดินไปเดินมา ส่งเสียงเห่าหรือหอนมากกว่าปกติ ตัวสั่น การตื่นระหว่างนอนกลางดึก การขับถ่ายไม่เป็นที่ การเลียตัวเองมากจนเกินไป และพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น สำหรับแมว เมื่อเกิดความวิตกกังวล […]

อ่านต่อ
รับแมวใหม่เข้าบ้าน, รับแมวใหม่มาเลี้ยง, แมวใหม่ขู่แมวเก่า, รับแมวเข้าบ้านวันแรก, รับแมวจรมาเลี้ยง

รับแมวใหม่เข้าบ้าน ให้เข้ากันได้กับแมวเดิม

รับแมวใหม่เข้าบ้าน แล้วเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแมวตัวเดิมในบ้าน เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้นำสมาชิกใหม่เข้ามาเลี้ยง ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการตัดสินใจ รับแมวใหม่เข้าบ้าน เพื่อเพิ่มสมาชิกแมวของเรา การพิจารณารับแมวมาเลี้ยงเพิ่ม ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เช่น ความจำเป็นในการรับแมวมาเลี้ยงเพิ่ม ลักษณะนิสัยของแมวที่กำลังจะรับเข้ามา และแมวที่เลี้ยงอยู่ในปัจจุบันว่า มีแนวโน้มจะเข้ากับแมวอื่นได้หรือไม่ ความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็น พื้นที่ภายในบ้าน เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการเตรียมการ และ วิธีการนำแมวใหม่เข้าบ้าน ในบทความนี้ เป็นการสรุปจาก “2024 AAFP intercat tension guidelines: recognition, prevention and management” โดย American Association of Feline Practitioners ซึ่งมีรายนละเอียดดังต่อไปนี้ : 1. ก่อน รับแมวใหม่เข้าบ้าน ทุกตัว ต้องตรวจสุขภาพเสมอ เจ้าของควรตรวจสุขภาพทั้งแมวที่อยู่มาก่อนและแมวใหม่ที่จะเข้ามา หลีกเลี่ยงการรับแมวใหม่มาเลี้ยงหากแมวที่เลี้ยงอยู่เดิมเป็นแมวสูงอายุที่กำลังป่วยด้วยโรคต่าง ๆ 2. เตรียมทรัพยากรให้เพียงพอ ก่อน รับแมวใหม่เข้าบ้าน ก่อนการนำแมวใหม่เข้ามาในบ้าน […]

อ่านต่อ

โรคโลหิตจางในแมว เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง 

โรคโลหิตจางในแมว เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง (Feline immune-mediated hemolytic anemia, IMHA ) เป็นโรคที่มีความรุนแรง และเป็นสาเหตุที่ทำให้แมวเสียชีวิตได้  โรคโลหิตจางในแมว เนื่องจากภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดเลือดแดงตนเอง เป็นความผิดปกดิของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายแมว ทำให้เม็ดเลือดแดงในระบบไหลเวียนโลหิตถูกทำลายมากผิดปกติ และเกิดภาวะโลหิตจางรุนแรง แมวที่ป่วยด้วยโรคนี้ต้องได้รับการดูแล และวินิจฉัย อย่างทันท่วงที วันนี้ หมอจะพามาทำความรู้จักกับโรคนี้เพื่อเรียนรู้สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค IMHA กันนะคะ สาเหตุของโรค โลหิตจางในแมว โรคโลหิตจางในแมวคือ ภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red blood cells , RBC) มีปริมาณน้อยกว่าปกติ หรือมีค่า hematocrit (Hct) น้อยกว่า 27%  หน้าที่และบทบาทสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง คือ การลำเลียงออกซิเจนจากปอด ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยอาศัยเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นตัวนำออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ดังนั้น ถ้าแมวเกิดภาวะโลหิตจาง นั่นหมายความว่า ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลง […]

อ่านต่อ

รับสุนัขเด็กมาเลี้ยง ดีกว่ารับสุนัขโต… จริงหรือ ?

ความเชื่อที่ว่า เราควรเริ่มเลี้ยงสุนัขตั้งแต่ “สุนัขวัยเด็ก” เพราะสุนัขจะเชื่อฟัง และเลี้ยงง่ายกว่า “สุนัขโตเต็มวัย” ความเชื่อเหล่านี้อาจไม่ถูกต้องเสมอไปครับ หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินแนวคิด และเชื่อว่า ถ้าเราจะเริ่มเลี้ยงสุนัข ควรจะเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ สุนัขวัยเด็ก เพื่อให้เราและสุนัขเกิดความผูกพัน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน จะทำให้เลี้ยงดูได้ง่ายขึ้น สุนัขจะเชื่อฟังเรามากกว่า ถ้าเทียบกับการรับเลี้ยงสุนัขที่โตแล้ว ความเชื่อดังกล่าว อาจไม่ถูกต้องเสมอไป จากการศึกษาวิจัย พบว่า ไม่ใช่เพียงสุนัขเด็กเท่านั้น ที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ หรือความผูกพัน (attachment) กับมนุษย์ได้ แต่สุนัขที่อยู่ในช่วงวัยโตเต็มวัย รวมไปถึงสุนัขที่อาศัยอยู่ในสถานพักพิง ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน โดยความสามารถดังกล่าวอาจเป็นผลมากจาก “กระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์” ของสุนัขมาเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ที่มนุษย์จะเน้นคัดเลือกเฉพาะน้องหมา ที่แสดงลักษณะการเข้าหามากกว่าสุนัขที่พยายามหลีกเลี่ยงมนุษย์ ลักษณะดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ถูกคัดเลือกมาในพันธุกรรม และแสดงออกทางพฤติกรรมสุนัข ไม่ว่าจะในสุนัขเด็ก หรือในสุนัขโตเต็มวัย ความจริงของการรับเลี้ยง สุนัขเด็ก และ สุนัขโตเต็มวัย ในความเป็นจริง การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในสุนัขเด็ก จะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าสุนัขที่โตแล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า สุนัขโตจะไม่สามารถเรียนรู้ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ หรือสังคมใหม่ได้ ในขณะเดียวดัน […]

อ่านต่อ

โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว: การักษา และการป้องกัน

โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว อาจไม่ใช่โรคที่พบได้บ่อยเหมือนโรคติดเชื้อชนิดอื่น ๆ แต่ก็เป็นโรคสำคัญที่เจ้าของแมวควรตระหนัก และดูแลแมวอย่างระมัดระวัง โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว คืออะไร โรคพยาธิเม็ดเลือดในแมว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Haemotropic mycoplasma ซึ่งมีปรสิตภายนอก อย่างเห็บและหมัด เป็นพาหะนำโรค เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านการกัดของเห็บและหมัด เชื้อโรคจะเข้าไปอาศัยอยู่บนผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยไปรบกวนการทำงานตามปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง และทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดลดลง จนส่งผลต่อเนื่องถึงการทำงานตามปกติของอวัยวะภายใน นอกจากนี้ การติดเชื้อยังเกิดขึ้นได้ผ่านการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกแมว การเกิดแผลเปิดจากการถูกกัดแล้วเชื้อผ่านเข้าทางบาดแผล และการรับเลือดจากแมวที่ติดเชื้ออยู่แล้ว เชื้อพยาธิเม็ดเลือด Haemotropic mycoplasma แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ โดยเชื้อโรคแต่ละชนิดจะมีความรุนแรงในการก่อโรคแตกต่างกัน ที่ผ่านมาพบว่า แมวที่เลี้ยงระบบเปิดมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าแมวเลี้ยงระบบปิด และแมวที่เคยติดเชื้อพยาธิเม็ดเลือด หลังจากการรักษาจนอาการหายเป็นปกติดีแล้ว ยังสามารถเป็นพาหะนำโรคพยาธิเม็ดเลือดไปได้อีกหลายปี อาการของแมวที่ติดเชื้อโรคพยาธิเม็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิเม็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการตรวจหาเชื้อในเลือด เช่น การย้อมเลือดบนแผ่นสไลด์ และตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ การตรวจหาเชื้อด้วยวิธี PCR ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำให้การตรวจเนื่องจากมีความจำเพาะ และความไว ในการตรวจหาเชื้อ ร่วมกับสัตวแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย การวินิจฉัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การอัลตราซาวน์ช่องท้อง ซึ่งอาจจะพบอาการม้ามโตได้ […]

อ่านต่อ

ปัญหาพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง …เราควรทำอย่างไร

ปัญหาพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมว โดยที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาด้านพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเป็นสาเหตุสำคัญที่เจ้าของนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยทิ้ง หรือทำการุณยฆาต สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เจ้าของควรทราบ คือ ปัญหาพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง ไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ สัตว์เลี้ยงดื้อ ต่อต้าน หรือนิสัยไม่ดี แต่เป็นเพราะ สัตว์เลี้ยงกำลังต้องการความช่วยเหลือ ผู้เลี้ยงเองในฐานะเจ้าของ ที่เป็นผู้ตัดสินใจรับเลี้ยงสัตว์เหล่านั้น จึงควรจะต้องให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการ และแนวทาง ที่เป็นการส่งเสริมสวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สัตว์ มากกว่ามุ่งเน้นแค่ว่า จะทำอย่างไรให้พฤติกรรมที่กำลังเป็นปัญหาหมดไป เมื่อสัตว์เลี้ยงมีปัญหาด้านพฤติกรรม สิ่งที่เจ้าของควรทำเป็นอันดับแรก ไม่ว่าสุนัข หรือแมว แสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม แม้จะยังไม่สร้างปัญหาต่อการอยู่ร่วมกันก็ตาม ผู้เลี้ยงควรพาสัตว์ไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด โดยการตรวจร่างกายที่กล่าวถึง มักประกอบไปด้วย การตรวจ ลูบ คลำตามลำตัว เพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติ การตรวจในช่องปาก การดูเหงือก การฟังเสียงหัวใจ ตลอดจนการจับตรวจกล้ามเนื้อ และข้อต่อต่าง ๆ รวมไปถึง การสังเกตพฤติกรรมการเดิน การวิ่ง หรือการกระโดดของสุนัขที่อาจเปลี่ยนแปลงจากเดิม รวมถึงการตรวจเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ปริมาณของเกล็ดเลือด ไปจนถึงค่าทางเคมีต่าง ๆ ที่สามารถสะท้อนการทำงานของอวัยวะในร่างกายได้ เช่น ค่าตับ […]

อ่านต่อ

วิธี พาแมวไปหาหมอ ตามแบบฉบับคุณหมอแมว

วันนี้ ไปหาหมอกันนะลูก … แค่คิดจะ พาแมวไปหาหมอ พ่อแม่อย่างเราก็เริ่มกังวลแล้ว ว่าน้องจะเครียดไหม คุณหมอจึงฝากคำแนะนำ และวิธีการ มาให้พ่อ ๆ แม่ ๆ ได้เตรียมตัวน้องแมวก่อนไปพบสัตวแพทย์ค่ะ ในช่วงชีวิตของการดูแลแมวเป็นสมาชิกในบ้านของเรา การ พาแมวไปหาหมอ หรือสัตวแพทย์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมพื้นฐานที่เจ้าของแมวต้องทำเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการพาแมวไปตรวจสุขภาพ การฉีดวัคซีนประจำปี การทำหมัน หรือการรักษาอาการเจ็บป่วย โดยธรรมชาติของแมวแล้ว ค่อนข้างแตกต่างจากสุนัข ตรงที่ไม่ค่อยชอบออกไปนอกบ้าน หรือพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างฉับพลัน ดังนั้น การพาแมวออกจากบ้านไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ในช่วงเวลาสั้น ก็สามารถกระตุ้นความเครียด หรืออาจเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่แมวจดจำได้ นอกจากนี้ แมวยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีอาณาเขต การออกจากบ้านที่อยู่เป็นประจำ จึงหมายถึง การออกจากอาณาเขตที่คุ้นเคย และเมื่ออยู่นอกบ้าน แมวจะไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ บวกกับความไวต่อสิ่งเร้าของแมว เช่น กลิ่น เสียง หรือมีสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น การออกจากบ้านจึงเป็นเหมือนฝันร้ายสำหรับแมวบางตัว รวมไปถึงเจ้าของด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเข้าใจวิธีการเตรียมตัวก่อนพาแมวออกจากบ้านไปหาหมอ หรือเดินทางท่องเที่ยว ก็จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแมวได้ และยังสามารถลดความเครียดก่อนไปพบสัตวแพทย์ได้ด้วย […]

อ่านต่อ

การเลือกใช้ “สายจูง” และ “ปลอกคอสุนัข”

เมื่อเราต้องการพาสุนัขออกจากบ้านไปในที่สาธารณะ หนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็น และมีความสำคัญเป็นอย่างมากคือ “สายจูง” และ “ปลอกคอสุนัข” ในปัจจุบัน สายจูง และ ปลอกคอสุนัข มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปลอกคอแบบปกติที่เราสามรถนำสายจูงมาเกี่ยวได้ ปลอกคอและสายจูงแบบ choke chain แบบ slip leash ปลอกคอไฟฟ้า ปลอกคอที่มีแท่งโลหะทิ่มเข้าบริเวณคอของสุนัข หรือสายรัดอก เป็นต้น ปลอกคอและสายจูงแต่ละชนิดต่างก็มีข้อดี และข้อควรระวังเรื่องการใช้งาน ที่แตกต่างกันไป โดยเจ้าของควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน และเลือกชนิดของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสุนัขของเรา วันนี้เรามาทำความรู้จักสายจูงและปลอกคอสุนัขแต่ละชนิด ไปพร้อมกันนะครับ ปลอกคอสุนัข แบบปกติ ปลอกคอแบบปกติ ที่สามารถนำสายจูงมาเกี่ยวได้ เป็นปลอกคอที่สามารถใช้ได้ในสุนัขทั่วไป แต่อาจไม่เหมาะสำหรับสุนัขที่มีพฤติกรรมการดึงสายจูงมาก ๆ เนื่องจาก เมื่อสุนัขพยายามดึงสายจูงปลอกคอ จะเกิดแรงรั้งที่บริเวณลำคอของสุนัข ซึ่งบริเวณดังกล่าว เป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยหลอดอาหาร หลอดลม เส้นเลือด และเส้นประสาท การดึงสายจูงของสุนัขที่ใช้ปลอกคอในลักษณะดังกล่าว จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างของร่างกาย ที่อยู่บริเวณลำคอได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า แรงกดที่เกิดขึ้นบริเวณลำคอจากการดึงสายจูงของสุนัขที่ใส่ปลอกคอธรรมดา ส่งผลให้ความดันภายในลูกตา (Intraocular pressure) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการใส่สายรัดอก […]

อ่านต่อ

แมวขนสาก และหยาบ น้ำหนักลด อาจเป็นโรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง

แมวขนสาก และหยาบ พร้อมกับอาเจียนเรื้อรัง แม้ว่ากินอาหารมากแต่น้ำหนักลด น้องอาจกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน ขนแมวที่นุ่มสลวยเงางาม เป็นหนึ่งในลักษณะภายนอกที่บ่งบอกว่าแมวมีสุขภาพดี ในทางกลับกัน ถ้า แมวขนสาก เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกหยาบกระด้าง ร่วมกับมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น อาเจียนเรื้อรัง และน้ำหนักลดทั้ง ๆ ที่กินอาหารมากกว่าปกติ ความผิดปกติทางด้านสุขภาพเหล่านี้ อาจนำไปสู่โรคบางอย่างได้ หนึ่งในโรคที่ทำให้แมวขนสาก หยาบ และมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร คือ โรคตับอ่อนทำงานบกพร่องในแมว หรือ Exocrine Pancreatic Insufficiency (EPI) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ระบบการย่อย และดูดซึมอาหาร มีประสิทธิภาพลดลง เป็นสาเหตุให้ร่างกายของแมวได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สาเหตุการเกิด EPI ที่พบได้บ่อยในแมว โรคนี้มีรายงานพบได้ในแมวที่อายุน้อย ประมาณ 6 เดือน แต่ก็พบในแมวโตเต็มวัยได้เช่นกัน และพบแมววัยโตเต็มวัย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบรายงานความสัมพันธ์ของสายพันธุ์แมวที่มีแนวโน้มของโรคนี้ อาการของแมวที่มีภาวะ EPI การตรวจวินิจฉัย เมื่อเจ้าของสังเกตพบอาการที่กล่าวมาข้างต้น และนำแมวมาพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์จะเริ่มต้นการสอบถามประวัติอาการที่แสดง จากนั้นจะส่งตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการตรวจค่าเคมีพื้นฐาน เพื่อวินิจฉัยแยกแยะจากโรคในระบบอื่นๆ สำหรับการตรวจที่เฉพาะเจาะจงต่อโรคนี้ […]

อ่านต่อ

การสร้าง อาณาเขตของแมว เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ

ทราบหรือไม่ครับว่า หนึ่งในปัจจัยที่มักทำให้แมวเกิดความเครียด คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใน อาณาเขตของแมว การเปลี่ยนแปลงใน อาณาเขตของแมว อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เช่น มีเสียงก่อสร้างดังจากนอกบ้านเข้ามาในตัวบ้าน มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้ามาในบ้าน หรือแม้แต่การย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็สามารถทำให้แมวเกิดความเครียดได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น มีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน หรือมีแมวที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในบริเวณบ้าน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ โดยระดับความรุนแรงของความเครียดที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับอาณาเขตเป็นอย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับอาณาเขตของแมว จะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการตามธรรมชาติ และจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแมว อาณาเขตทั่วไปของแมว แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ Core territory, Territory, และ Home หรือ Hunting Range (รูปที่ 1) โดยพื้นที่แต่ละส่วนก็จะมีลักษณะ และความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. […]

อ่านต่อ

สุนัขดุร้าย เพราะสายพันธุ์ จริงหรือ ?

ปัญหา สุนัขดุร้าย และความก้าวร้าว ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุนัขกัด หรือทำร้ายผู้คนอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เราจามาคุยกันถึงเรื่องปัจจัยความดุร้ายในสุนัข และไขข้อสงสัยเรื่องนี้ ไปพร้อมกันครับ ในเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เรามักจะพบการเสนอคำว่า สุนัขดุร้าย โดยพุ่งเป้าไปยังสายพันธุ์ที่สังคมมีความเข้าใจว่าเป็นสุนัขดุร้าย เช่น ร็อตไวเลอร์ หรือสุนัขในกลุ่มพิทบูล ซึ่งรวมถึง อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย และอเมริกันบูลลี่ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว สายพันธุ์ของสุนัขเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความก้าวร้าวได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้สุนัขดุร้าย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีววิทยาของสุนัข ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากตัวของสุนัขเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม สายพันธุ์ พื้นอารมณ์ (temperament) บุคลิกภาพ ระดับของสารเคมีในสมอง ตลอดจนการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวสัตว์ ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง […]

อ่านต่อ

เลี้ยงแมวระบบเปิด เสี่ยงติดเชื้อราตัวร้าย

แมวเป็นสัตว์นักล่าตามสัญชาตญาณ บวกกับความอยากรู้อยากเห็น ที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน เจ้าของบางท่านจึง เลี้ยงแมวระบบเปิด เพราะคิดว่า แมวอาจรู้สึกเบื่อเมื่ออยู่ในบ้านตลอดเวลา การ เลี้ยงแมวระบบเปิด หรือการยอมให้แมวออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านได้อย่างอิสระ เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เจ้าของแมวต้องแบกรับ เพราะจากการสำรวจพฤติกรรมแมวที่เลี้ยงระบบเปิด พบว่า แมวส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากสัตว์เลี้ยงของผู้อื่น หรือสัตว์จรจัด อุบัติเหตุบนท้องถนน และการสัมผัสเชื้อโรค ในประเทศไทย เราจะพบว่า แมวจรได้อาศัยอยู่ในแทบทุกชุมชนของมนุษย์ ซึ่งประชากรแมวจรเหล่านี้มักไม่ได้รับวัคซีน และการเลี้ยงดูอย่างถูกสุขอนามัย จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นพาหะของโรคระบาดในแมว ซึ่งถ้าแมวของเราไปสัมผัสสารคัดหลั่งของแมวที่มีโรค ก็อาจทำให้แมวของเราติดเชื้อโรคเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมนักล่าของแมว ซึ่งชอบล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น นก หนู กิ้งก่า และสัตว์อื่น ๆ ก็เป็นความเสี่ยงที่แมวมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีประชากรนกพิราบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในมูลของนกพิราบมีเชื้อราก่อโรค ที่เป็นอันตรายต่อแมว หากแมวไปสัมผัสก็อาจส่งผลต่อสุขภาพขั้นรุนแรงได้ เชื้อราตัวร้ายจากมูลนกพิราบ เชื้อราก่อโรคในแมวที่พบในมูลนกพิราบ คือเชื้อราชนิด Cryptococcus neoformans และ Cryptococcus bacillisporus เป็นชนิดของเชื้อราที่พบได้ทั้งในพืช และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้น และเป็นเชื้อรากลุ่มที่ทนความร้อนได้ดี ทำให้เกิดโรคคริปโตคอกโคซิส (Cryptococcosis) […]

อ่านต่อ

รู้หรือไม่… แมวเดินกะเผลก อาจเป็นสัญญานของ “โรคหวัดแมว” ได้

หากอยู่ดี ๆ แมวเดินกะเผลก ดูเหมือนจะเจ็บขา โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุ หรือตกจากที่สูง ร่วมกับอาการเซื่องซึม มีไข้ หรือจาม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Feline Calicivirus ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดแมวได้ โรคหวัดแมว หรือไข้หวัดแมว (cat flu) ทำให้ แมวเดินกะเผลก ได้ด้วยหรือ ? ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากมนุษย์อย่างเราจะมีแนวโน้มป่วยเป็นไข้หวัดได้แล้ว แมวที่เรารักก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้แมวป่วย ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จำเพาะเจาะจงกับแมว นอกจากนี้ น้องแมวก็สามารถเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. ได้ด้วย ที่น่าสนใจ คือ เมื่อแมวติดเชื้อ Feline Calicivirus โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็ก จะเกิดอาการเฉียบพลันที่เรียกว่า Feline limping syndrome […]

อ่านต่อ