สุขภาพแมว
- Home
- สุขภาพแมว
รู้หรือไม่… แมวเดินกะเผลก อาจเป็นสัญญานของ “โรคหวัดแมว” ได้
หากอยู่ดี ๆ แมวเดินกะเผลก ดูเหมือนจะเจ็บขา โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุ หรือตกจากที่สูง ร่วมกับอาการเซื่องซึม มีไข้ หรือจาม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Feline Calicivirus ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดแมวได้ โรคหวัดแมว หรือไข้หวัดแมว (cat flu) ทำให้ แมวเดินกะเผลก ได้ด้วยหรือ ? ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากมนุษย์อย่างเราจะมีแนวโน้มป่วยเป็นไข้หวัดได้แล้ว แมวที่เรารักก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้แมวป่วย ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จำเพาะเจาะจงกับแมว นอกจากนี้ น้องแมวก็สามารถเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. ได้ด้วย ที่น่าสนใจ คือ เมื่อแมวติดเชื้อ Feline Calicivirus โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็ก จะเกิดอาการเฉียบพลันที่เรียกว่า Feline limping syndrome […]
อ่านต่อแมวไอ อาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคเหล่านี้
แมวไอ หรือแสดงอาการไออย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงถึงความผิดปกติบางอย่าง ที่เราไม่ควรมองข้าม แมวไอ เกิดจากสาเหตุอะไร แมวไอเป็นอาการตอบสนองของร่างกายแมวต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น สิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก สิ่งคัดหลั่ง หรือการติดเชื้อ ที่เข้าสู่ทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ จากนั้น ร่างกายจะตอบสนองด้วยกลไกลการกำจัดสิ่งกระตุ้นออกจากร่างกายด้วยการแสดงอาการไอ โดยถ้าเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวอาจจะไม่น่ากังวล ในทางกลับกัน ถ้าอาการไอเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในร่างกายที่ต้องจัดการ สาเหตุของอาการไอในแมวที่พบได้บ่อยทางคลินิกมีดังนี้ 1. โรคหอบหืดในแมว (Feline asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในแมว มีรายงานพบอัตราการการเกิดโรคประมาณร้อยละ 1-5 ของประชากรแมวทั้งหมด พบได้ตั้งแต่แมวอายุน้อยจนถึงแมววัยกลาง ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ช่วงประมาณอายุ 4-5ปี และอาจพบในแมวสูงอายุได้เช่นกัน แมวส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด เนื่องจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศแบบซ้ำ ๆ และเกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากกว่าปกติ ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และแมวจะแสดงอาการไอ ไอเรื้อรัง ในบางรายอาจจะมีอาการหายใจลำบาก และหอบเหนื่อยง่าย เป็นต้น 2. โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว โรคพยาธิหนอนหัวใจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจ ชนิด Dirofilaria immitis ซึ่งมียุงเป็นพาหะ โดยการติดเชื้อในแมวมักพบพยาธิตัวเต็มวัยจำนวนไม่มาก โดยพบตัวเต็มวัยเพียง 1-2 ตัว แต่สามารถก่อความรุนแรงในแมวได้มา […]
อ่านต่อโรคพิษสุนัขบ้าในแมว โรคร้ายที่ต้องระวัง
โรคพิษสุนัขบ้าในแมว อาจเป็นชื่อโรคที่ไม่คุ้นเคยเหมือนกับโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข และหลายคนอาจยังคิดว่าเป็นโรคที่พบได้เฉพาะในสุนัขเท่านั้น โรคพิษสุนัขบ้าในแมว ในความเป็นจริงแล้ว โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น แมว คน สุนัข วัว ลิง กระรอก หนู กระต่าย ค้างคาว เป็นต้น และจัดเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (zoonosis) ที่สำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก ปัจจุบันมีรายงานว่า พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าทั่วโลกกว่า 40,000-100,000 คนต่อปี โดยแมวเป็นสัตว์เลี้ยง ที่มีความใกล้ชนิดกับมุนษย์มากในปัจจุบัน และเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และแพร่เชื้อสู่แมวด้วยกันเอง รวมถึงแพร่เชื้อสู่เจ้าของได้ อาการ โรคพิษสุนัขบ้าในแมว แมวที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแสดง 2 แบบคือ แบบดุร้าย (Furious form) และแบบซึม (Dumb or paralytic form) อาการแบบดุร้าย (Furious) เป็นอาการแบบที่พบได้บ่อยในแมวติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ อาการแบบซึม (Dumb) แมวจะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนอาจไม่สามารถสังเกตเห็นอาการได้ชัดเจน และอาการจะเข้าระยะอัมพาตอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตตามมา การติดต่อของโรคพิษสุนัขบ้า […]
อ่านต่อแมวสีเปรอะ กับปัญหาเรื่องสุขภาพที่คุณหมออยากแนะนำ
แมวสีเปรอะ (หรือลายกระดองเต่า) เป็นแมวที่สวยงามไม่แพ้แมวสีอื่น ๆ และเป็นแมวที่ได้รับความนิยมของทาสแมวหลายคน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะรับอุปการะ หรือซื้อมาจากฟาร์ม เมื่อพวกเขาเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของบ้านเราแล้ว การทำความรู้จัก แมวสีเปรอะ เกี่ยวกับเรื่องการดูแลพวกเขาก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แมวบ้านหลายสายพันธุ์ต่างมีโรคประจำสายพันธุ์ และเมื่อเราทราบก่อนว่า เราต้องเตรียมตัวเรื่องการดูแลอย่างไร เราก็จะสามารถดูแลพวกเขาได้ตรงจุดมากขึ้น และพร้อมจะให้ความช่วยเหลืออย่างถูกวิธี เมื่อแมวของเราเจ็บป่วย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแมวสีเปรอะ ข่าวดีคือ แมวสีเปรอะไม่ค่อยมีปัญหาสุขภาพที่น่ากังวล เนื่องจากสีเปรอะเป็นลักษณะของสีขน ไม่ใช่ลักษณะประจำสายพันธุ์ นักสัตววิทยา สถาบัน Good Housekeeping ประเทศอังกฤษ อธิบายว่า สีเปรอะ หรือสีกระดองเต่าประกอบด้วยขนสีดำ แดง และส้ม โดยแมวสีเปรอะพบได้ในแมวหลายสายพันธุ์ เช่น เปอร์เซีย เมนคูน บริติชช็อตแฮร์ อเมริกันช็อตแฮร์ และคอร์นิชเร็กซ์ ซึ่งอาจมีขนยาวหรือสั้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ส่วนข่าวร้ายคือ แมวสีเปรอะมักจะพบปัญหาสุขภาพจากพันธุกรรม เนื่องจากแมวสีเปรอะที่สุขภาพแข็งแรงเป็นแมวตัวเมียเท่านั้น แต่อาจเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก จากข้อมูลของมูลนิธิ The American Society for the Prevention of Cruelty to […]
อ่านต่อแมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย
แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ เป็นปัญหาสุขภาพที่เจ้าของหลายท่านอาจมองข้ามได้ เนื่องจาก เจ้าของอาจคิดว่า แมวขนร่วงเยอะเป็นปกติอยู่แล้ว ในการศึกษาเกี่ยวกับโรคของแมว สัตวแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า ในบรรดาโรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นในแมวมีหนึ่งโรคที่ทำให้ แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ นั่นคือโรคคุชชิ่ง หรือ Hyperadrenocorticism สัญญาณเตือนอาการของโรคคุชชิ่งในแมว (Cushing’s disease) โรคคุชชิ่งเป็นโรคที่เกิดจากต่อมหมวกไตทำงานมากกว่าปกติ โดยต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) อย่างผิดปกติ ส่งผลโดยตรงไปยังระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความแปรปรวน โดยทั่วไปแล้ว โรคุชชิ่งเป็นโรคที่พบในสุนัขได้บ่อยกว่าแมว แต่ถ้าเกิดขึ้นในแมวแล้ว การรักษาและการควบคุมอาการจะยากกว่าการรักษาในสุนัข และมักพบโรคนี้ในแมวที่มีอายุช่วงกลางค่อนไปทางสูงอายุ สัตวแพทย์คาดว่า สาเหตุที่ทำให้แมวเป็นโรคคุชชิ่งมีสาเหตุที่เป็นไปได้ 2 สาเหตุ คือ อาการของแมวที่เป็นโรคคุชชิ่ง การตรวจวินิจฉัยโรคคุชชิ่งในแมว สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย และซักประวัติอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจค่าเคมีทางเลือด ค่าอิเล็กโทรไลต์ในเลือด เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกแยะโรคอื่น ๆ ออกไป จาดนั้น สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา และการอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อดูขนาด รูปร่าง และลักษณะของต่อมหมวกไต ว่ามีการขยายใหญ่ หรือไม่ ซึ่งช่วยแยกแยะระหว่างโรคที่ขึ้นอยู่กับต่อมหมวกไต […]
อ่านต่อแมวน้ำหนักลด เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง
แมวน้ำหนักลด หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พ่อแม่ทาสแมวค่อนข้างกังวลใจ ซึ่งบางครั้ง เราก็ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน น้ำหนักตัวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงสุขภาพของแมวได้ ดังนั้น เมื่อ แมวน้ำหนักลด อย่างผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณความเจ็บป่วยในร่างกาย โดยเกณฑ์การพิจารณาว่าน้ำหนักตัวของแมวผิดปกหรือไม่ เจ้าของสามารถสังเกตได้จาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน เมื่อเจ้าของสังเกตความผิดปกติของน้ำหนักตัวได้แล้ว ควรรีบนัดหมายกับสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งในระหว่างนี้ แมวอาจกินอาหารได้ตามปกติ หรือกินอาหารลดลงก็ได้ โรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้แมวน้ำหนักลด มีดังต่อไปนี้ 1. โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน หรือร่างกายของแมวตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แมวจะแสดงความผิดปกติโดยน้ำหนักตัวลดลง แต่ยังกินอาหาร และดื่มน้ำเยอะขึ้น รวมไปถึงปัสสาวะในกระบะทรายเยอะขึ้น โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมวโดยเฉพาะในแมวที่มีภาวะอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าแมวที่มีน้ำหนักตัวปกติ 2. โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ จึงส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลกระทบต่อการทำงานในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร และระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อแมวเป็นโรคนี้ น้ำหนักแมวจะลดลงอย่างรวดเร็ว และกินอาหารและน้ำเยอะขึ้นกว่าปกติ ขนหยาบกร้าน เคลื่อนไหวไปมามากขึ้น […]
อ่านต่อแมวซึมและอาเจียน อาการเบื้องต้นของโรคไข้หัดแมว
แมวซึมและอาเจียน ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร มีไข้ ท้องเสีย และถ่ายเป็นมูกเลือดมีกลิ่นคาว แมวอาจเกิดเป็นโรคไข้หัดแมว
อ่านต่อภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว
โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้มากทั้งในสุนัขและแมว โดยนิ่วเกิดจากการสะสมรวมกันของตะกอนแร่-ธาตุในทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นที่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ สำหรับ ภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว ปัจจุบันมีการแบ่งชนิดของนิ่วตามองค์ประกอบแร่ธาตุของนิ่วชนิดนั้น ๆ โดยนิ่วที่พบมีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ 1. Magnesium ammonium phosphate(แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตหรืออีกชื่อเรียกว่า struvite (สตรู-ไวท์) หรือ MAP)2. Calcium oxalate (แคลเซียมออกซาเลต) หรือ CaOx3. Urate (ยูเรต)4. Cystine (ซีสทีน)5. Calcium phosphate (แคลเซียมฟอสเฟต) หรือ CaPo6. Silica (ซิลิกา)7. Compound8. Mixed แต่จะพบว่ามี 2 ชนิดที่พบได้บ่อยในสุนัขและแมว คือ MAP และ CaOx ซึ่งมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำสูง สาเหตุการเกิดภาวะโรคนิ่ว การเกิดนิ่วมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สายพันธุ์ อายุ เพศ อาหาร […]
อ่านต่อ