โรคในแมว
- Home
- โรคในแมว
โรคไข้หัดแมว หรือ โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (Feline Distemper)
“โรคไข้หัดแมว” คือโรคอะไร มีความเกี่ยวข้องกับโรคไข้หัดสุนัขหรือไม่ ติดต่ออย่างไร ก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่ แล้วจะมีวิธีการที่จะป้องกันแมวสุดที่รักของเราจากโรคนี้ได้หรือไม่ อย่างไร ในโอกาสนี้ หมอก็จะขออนุญาตนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โรคไข้หัดแมว” มาสรุปสั้นๆ ให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ โรคไข้หัดแมว คืออะไร “โรคไข้หัดแมว” หรือ “feline distemper” นั้น มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในวงการสัตวแพทย์อยู่หลายชื่อ โดยคุณหมอสัตวแพทย์บางท่านอาจจะเรียกว่า “โรคลำไส้อักเสบติดต่อในแมว (feline infectious enteritis)” หรือ “โรคติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว (feline parvovirus infection)” หรือบางท่านก็อาจจะขนานโรคนี้ว่า “โรคแพนลิวโคพีเนียในแมว (feline panleukopenia)” ซึ่งคำว่า “แพนลิวโคพีเนีย” นี้ เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่แปลว่าเม็ดเลือดขาวต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากแมวที่ติดโรคดังกล่าวนี้ มักมีจำนวนเม็ดเลือดขาวทุกชนิดลดต่ำลงอย่างมาก (ซึ่งจะได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำต่อไปหลังจากนี้) โรคไข้หัดแมวเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่ม “Carnivore protoparvovirus 1” โดยพบว่า ร้อยละ 95 ของแมวที่ป่วยด้วยโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัสในแมว (feline parvovirus; FPV) และส่วนน้อย (อีกราว ๆ […]
อ่านต่อแมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย
แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ เป็นปัญหาสุขภาพที่เจ้าของหลายท่านอาจมองข้ามได้ เนื่องจาก เจ้าของอาจคิดว่า แมวขนร่วงเยอะเป็นปกติอยู่แล้ว ในการศึกษาเกี่ยวกับโรคของแมว สัตวแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า ในบรรดาโรคทั้งหลายที่เกิดขึ้นในแมวมีหนึ่งโรคที่ทำให้ แมวขนร่วงเยอะ ผิดปกติ นั่นคือโรคคุชชิ่ง หรือ Hyperadrenocorticism สัญญาณเตือนอาการของโรคคุชชิ่งในแมว (Cushing’s disease) โรคคุชชิ่งเป็นโรคที่เกิดจากต่อมหมวกไตทำงานมากกว่าปกติ โดยต่อมหมวกไตจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) อย่างผิดปกติ ส่งผลโดยตรงไปยังระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความแปรปรวน โดยทั่วไปแล้ว โรคุชชิ่งเป็นโรคที่พบในสุนัขได้บ่อยกว่าแมว แต่ถ้าเกิดขึ้นในแมวแล้ว การรักษาและการควบคุมอาการจะยากกว่าการรักษาในสุนัข และมักพบโรคนี้ในแมวที่มีอายุช่วงกลางค่อนไปทางสูงอายุ สัตวแพทย์คาดว่า สาเหตุที่ทำให้แมวเป็นโรคคุชชิ่งมีสาเหตุที่เป็นไปได้ 2 สาเหตุ คือ อาการของแมวที่เป็นโรคคุชชิ่ง การตรวจวินิจฉัยโรคคุชชิ่งในแมว สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกาย และซักประวัติอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด การตรวจค่าเคมีทางเลือด ค่าอิเล็กโทรไลต์ในเลือด เพื่อตรวจวินิจฉัยแยกแยะโรคอื่น ๆ ออกไป จาดนั้น สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา และการอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อดูขนาด รูปร่าง และลักษณะของต่อมหมวกไต ว่ามีการขยายใหญ่ หรือไม่ ซึ่งช่วยแยกแยะระหว่างโรคที่ขึ้นอยู่กับต่อมหมวกไต […]
อ่านต่อแมวน้ำหนักลด เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง
แมวน้ำหนักลด หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พ่อแม่ทาสแมวค่อนข้างกังวลใจ ซึ่งบางครั้ง เราก็ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน น้ำหนักตัวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงสุขภาพของแมวได้ ดังนั้น เมื่อ แมวน้ำหนักลด อย่างผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณความเจ็บป่วยในร่างกาย โดยเกณฑ์การพิจารณาว่าน้ำหนักตัวของแมวผิดปกหรือไม่ เจ้าของสามารถสังเกตได้จาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวปัจจุบัน เมื่อเจ้าของสังเกตความผิดปกติของน้ำหนักตัวได้แล้ว ควรรีบนัดหมายกับสัตวแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งในระหว่างนี้ แมวอาจกินอาหารได้ตามปกติ หรือกินอาหารลดลงก็ได้ โรคต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้แมวน้ำหนักลด มีดังต่อไปนี้ 1. โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน หรือร่างกายของแมวตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น แมวจะแสดงความผิดปกติโดยน้ำหนักตัวลดลง แต่ยังกินอาหาร และดื่มน้ำเยอะขึ้น รวมไปถึงปัสสาวะในกระบะทรายเยอะขึ้น โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมวโดยเฉพาะในแมวที่มีภาวะอ้วนจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าแมวที่มีน้ำหนักตัวปกติ 2. โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ จึงส่งผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และมีผลกระทบต่อการทำงานในอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ สมอง ระบบทางเดินอาหาร และระบบกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อแมวเป็นโรคนี้ น้ำหนักแมวจะลดลงอย่างรวดเร็ว และกินอาหารและน้ำเยอะขึ้นกว่าปกติ ขนหยาบกร้าน เคลื่อนไหวไปมามากขึ้น […]
อ่านต่อแมวเป็นโรคหัวใจ มีอาการ และการรักษาอย่างไร
แมวเป็นโรคหัวใจ ได้เช่นเดียวกับสุนัข และสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ และนำไปสู่ความเจ็บป่วยอื่น ๆ ตามมา แมวเป็นโรคหัวใจ มีชื่อโรคในเชิงเทคนิคว่า cardiomyopathy เป็นโรคที่เกิดจาดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ จึงทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแมวได้น้อยลงตามไปด้วย เช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ หัวใจของแมวแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบน 2 ห้อง และห้องล่าง 2 ห้อง ทั้งด้านซ้ายและขวา กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษ ที่แตกต่างจากกล้ามเนื้อทั่วไป ดังนั้น ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้อหนาขึ้น หรือใหญ่ขึ้น ก็จะส่งผลให้การบีบตัว และการสูบฉีดเลือด ไม่เป็นไปตามปกติ เช่น ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอด และอวัยวะต่าง ๆ ลดลง รวมไปถึงทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเกิดลิ่มเลือดได้ ประเภทของโรคหัวใจในแมว โรคหัวใจในแมวสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ การหดเกร็งของกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือเกิดความผิดปกติร่วมกันจากอาการที่กล่าวมา 1. โรคหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด โรคหัวที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดมักเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ (hypertrophic […]
อ่านต่อโรคข้อเสื่อมในแมว เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมวิธีการดูแล
หากแมวมีอาการเดินขากะเผลก หรือขาเจ็บเป็น ๆ หาย ๆ เดินขาสั่น มีอาการลุกนั่งลำบาก เคลื่อนไหวร่างกายเปลี่ยนไป เช่น เชื่องช้า ไม่ยอมกระโดดขึ้นลงที่สูงจากที่เคยทำได้ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของ โรคข้อเสื่อมในแมว โรคข้อเสื่อมในแมว พบได้บ่อยในแมวที่เริ่มเข้าสู่ช่วงสูงวัย เนื่องจากมีการใช้งานกระดูกและข้อมาอย่างยาวนาน จึงเกิดการเสื่อมพัฒนามาเรื่อย ๆ และเป็นสาเหตุของอาการเจ็บปวดเรื้อรัง (Chronic pain) ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของแมวในระยะยาวด้วย สาเหตุของการเกิดโรคข้อเสื่อมในแมว โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis ;OA) คือ การเสื่อมของกระดูก และข้อต่อ ที่พัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular cartilage) ร่วมกับการงอกใหม่ของกระดูกบริเวณผิวข้อ และขอบกระดูก ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณข้อต่อเมื่อแมวขยับตัว หรือเคลื่อนไหว ผลที่ตามมาคือ แมวจะรู้สึกเจ็บปวดบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ข้อศอก ข้อหัวเข่า ข้อสะโพก และข้อเท้า เป็นต้น โรคข้อเสื่อมในแมว พบได้บ่อยแค่ไหน โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในแมวสูงวัย ที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยการศึกษาที่เผยแพร่ในปี […]
อ่านต่อFIP แมว คือ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว
FIP แมว คือ โรคติดต่อในแมวชนิดหนึ่ง ย่อมาจาก Feline infectious peritonitis หรือเรียกว่า โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ FIP แมว หรือโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รู้ไว้และป้องกัน เพื่อให้น้องแมวที่รักของเราห่างไกลจากโรคติดต่อ วันนี้ คุณหมอได้อธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ไว้อย่างไร มาติดตามกันเลยค่ะ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบเกิดจาก “การติดเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัส” ที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อ Feline enteric coronavirus (FCov) และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในแมว โดยทั่วไป เชื้อไวรัสเยื่อบุช่องท้องมักติดเชื้อในแมว ที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เช่น แมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และแมวที่มีอายุมาก แมวที่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างแน่น และแมวที่เกิดความเครียดเรื้อรัง นอกจานี้ โรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบยังสามารถพบได้ในแมว ที่ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันยกพร่อง เช่น โรคลิวคีเมีย และโรคเอดส์แมว เป็นต้น โดยโรคติดต่อชนิดนี้สามารถพบได้ในแมวทุกเพศ และทุกสายพันธุ์ การติดเชื้อโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบในแมว เชื้อ FCoV ที่ยังไม่ได้กลายพันธุ์และไม่ได้อยู่ในขั้นก่อโรครุนแรง สามารถติดต่อแมวตัวอื่นได้ง่าย โดยแพร่ผ่านการสัมผัสทางร่างกายระหว่างแมว หรือการสัมผัสอุจจาระของแมวที่เป็นพาหะ จากการใช้กระบะทรายร่วมกัน หรือการติดเชื้อไวรัสผ่านวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม […]
อ่านต่อโรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)
กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]
อ่านต่อมะเร็งหรือเนื้องอกในแมวที่พบบ่อย พร้อมวิธีการรักษาและการพยากรณ์โรค
หากได้ยินคำวินิจฉัยจากคุณหมอว่าเเมวของคุณเป็นมะเร็งหรือเนื้องอก เเน่นอนว่าหลายคนก็คงต้องเศร้าไปกับคำวินิจฉัยนั้น เเต่ใช่ว่านั่นจะเป็นเรื่องเลวร้ายเสมอไป เพราะมะเร็งบางชนิดหากตรวจพบได้ไวในระยะไม่ลุกลาม ก็มีโอกาสทำการรักษาได้รวดเร็วและหายขาด มะเร็ง (cancer หรือ malignant tumor) เป็นคำศัพท์ที่ใช้อธิบายโรคที่เกิดขึ้นจากเนื้องอก (tumor หรือ neoplasm) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่ผิดปกติที่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในร่างกายโดยไม่หยุด ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงมีแนวโน้มลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เลือด และระบบน้ำเหลือง ส่วนเนื้องอกที่ไม่ได้มีการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น และไม่ได้มีการลุกล้ำไปยังอวัยวะข้างเคียง ภาษาอังกฤษเรียกว่า benign tumor เนื้องอกในแมว วันนี้คุณหมอจะมาเล่าให้ฟังเนื้องอกหรือมะเร็งที่พบบ่อยในแมว พร้อมวิธีการรักษาและการพยากรณ์โรคมาฝากครับ 1.มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือ lymphosarcoma (อ่านว่า ลิมโฟซาร์โคมา) หรือ อาจเรียกว่า lymphoma (อ่านว่า ลิมโฟมา) เป็นมะเร็งซึ่งมีเซลล์ต้นกำเนิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า lymphocyte แมวที่เป็นโรคลิวคีเมียจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งชนิดนี้มากขึ้น ถ้าแมวมีโรคลิวคีเมียมักจะพบมะเร็งชนิดนี้ที่อายุเฉลี่ยเพียง 3 ปี เท่านั้น อายุเฉลี่ยที่พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในแมวที่ไม่เป็นลิวคีเมียคือ 8 ปี อาการที่แสดงขึ้นอยู่กับอวัยวะที่มะเร็งลุกลามไป มะเร็งที่อยู่ในช่องอกในต่อมไทมัส แมวจะหายใจลำบาก อ้าปากหายใจและไอ มะเร็งอยู่ภายในทางเดินอาหาร ผนังลำไส้หนาตัว […]
อ่านต่อ