
แมว
- Home
- แมว
แมวกัดกัน จนเป็นแผล และกลายเป็นหนอง
ปัจจุบัน หลายท่านเลี้ยงแมวในระบบปิดมากกว่าหนึ่งตัว และบางครั้งก็ต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือ แมวกัดกัน หรือทะเลาะกันจนต่างฝ่ายต่างก็มีบาดแผล ในฐานะเจ้าของเราควรทำอย่างไรเมื่อแมวกัดกันจนเกิดบาดแผล แมวกัดกัน เพราะอะไร แมวบ้านเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีพฤติกรรมอย่างหนึ่งคล้ายกับญาติที่เป็นแมวป่า คือ การสร้างอาณาเขต ดังนั้น เมื่อเราเลี้ยงแมวมากกว่าหนึ่งตัวภายในบ้านหลังเดียวกัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบเจอกับเหตุการณ์ แมวกัดกัน หรือทะเลาะข่วนกัน จนเกิดบาดแผล พฤติกรรมการหวงแหนอาณาเขตของแมว ทำให้เกิดการแบ่งพื้นที่ภายในบ้านอย่างชัดเจน โดยเฉพาะแมวที่เคยอยู่ตัวเดียวมาก่อน แล้วมีแมวตัวใหม่เพิ่มขึ้นภายหลัง แมวบางตัวจึงต้องการป้องกันอาณาเขตด้วยการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น การขู่ กัด หรือข่วน เพื่อให้แมวอีกตัวออกไปจากพื้นที่ของตนเอง ในธรรมชาติ แมวป่าจะสร้างเขตแดนของตนเองด้วยการทิ้งกลิ่นไว้ เมื่อแมวตัวอื่นผ่านเข้ามา หรือได้กลิ่น ก็มักจะเลี่ยงออกไป และไม่พยายามเผชิญหน้ากัน แต่แมวบ้านที่อยู่ในระบบปิดอาจจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าได้ยากกว่าในธรรมชาติ ดังนั้น เมื่อเกิดการเผชิญหน้ากัน การแสดงออกของพฤติกรรมการป้องกันอาณาเขตจึงเกิดขึ้น กลายเป็นสงครามย่อม ๆ ภายในบ้าน ผลที่ตามมาคือ แมวได้รับบาดแผลทางร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อจนแผลอักเสบ และกลายเป็นหนอง นอกจากนี้ ความเสี่ยงต่อการติดโรคร้ายแรงจะเพิ่มขึ้น ถ้าแมวของเราไปกัดกับแมวจรที่ไม่ได้รับวัคซีน อาจจะนำไปสู่การติดโรคเอดส์แมว และลิวคีเมีย โดยส่วนใหญ่ เมื่อแมวได้รับบาดเจ็บจากการถูกกัดหรือข่วน บาดแผลมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณใบหน้า ลำคอ บริเวณขา โคนหาง […]
อ่านต่อแมวป่า VS. แมวบ้าน
แมวป่ากับแมวบ้าน แตกต่างกันอย่างไร เรื่องราวของแมวที่เข้ามาครองหัวใจ และบ้าน ของพวกเรา เมื่อหลายพันปีก่อน สัตว์เลี้ยงในบ้านส่วนใหญ่มีหน้าตาแตกต่างจากญาติในป่าที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ลองนึกภาพสุน้ขบ้านและสุนัขป่า แต่ในทางกลับกัน แมวบ้าน ที่นั่งอยู่ในห้องนั่งเล่นของเรา หน้าตาของพวกเขาอาจไม่ได้ดูแตกต่างจากแมวป่าในปัจจุบันสักเท่าไร และหลายครั้ง เราก็ยังเข้าใจผิดว่า แมวป่ากับแมวบ้าน เป็นสายพันธุ์เดียวกัน ความจริงข้อหนึ่งที่เจ้าของแมวมีความเห็นตรงกันคือ ไม่ใช่แมวบ้านทุกตัวจะมีลักษณะเหมือนกับแมวป่า แมวบางสายพันธุ์มีสีสัน ลวดลาย และเส้นขนที่มีความหลากหลาย และไม่พบในแมวป่า แมวบ้านบางตัวมีลักษณะของร่างกายที่โดดเด่น เช่น แมวมันช์กินขาสั้น แมวไทยที่ใบหน้ายาว และแมวเปอร์เซียหน้าสั้น อย่างไรก็ตาม แมวบ้านบางสายพันธุ์ก็มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมวป่ามาก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์ความแตกต่างทางพันธุกรรมระหว่างแมวบ้านและแมวป่า พบว่า มีความแตกต่างกันเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น ในกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ในทางกลับกัน สุนัขบ้านและสุนัขป่ามีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมถึง 3 เท่า แล้ว แมวป่ากับแมวบ้าน แตกต่างกันอย่างไร นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ในเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้สำหรับจำแนกแมวบ้านและแมวป่า มีเพียงสองวิธีเท่านั้นที่จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน วิธีที่หนึ่ง คือ การวัดขนาดของสมอง โดยสมองของแมวบ้านจะมีขนาดเล็กกว่าแมวป่า โดยเฉพาะสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความก้าวร้าว ความกลัว และการตอบสนองโดยรวม วิธีที่สอง คือ […]
อ่านต่อHow to การฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย
หนึ่งในเรื่องพื้นฐาน ที่พ่อแม่แมวมือใหม่ต้องฝึกฝนให้ลูกแมวทำให้ได้คือ การฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย เพราะเป็นพัฒนาการที่สำคัญของแมวที่จะเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี การขับถ่ายของลูกแมวในวัยแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ จะได้รับการกระตุ้นโดยแม่แมว จากนั้น เมื่อเริ่มขับถ่ายเองได้แล้ว พวกเขาจะเรียนรู้และจดจำจากแม่ และพี่น้องในครอกเดียวกัน อย่างไรก็ตาม แมวบ้านในปัจจุบันได้เข้ามาอยู่ร่วมกับมนุษย์หลังจากหย่านมแล้ว ดังนั้น การฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่อย่างเรา หากลูกแมวไม่ได้รับการฝึกฝนให้ใช้กระบะทรายอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น การปัสสาวะ และขับถ่ายไม่เป็นที่ การอั้นปัสสาวะจนเกิดปัญหาสุขภาพ และการเกิดความเครียดสะสมในลูกแมว จนเกิดเป็นปัญหาด้านพฤติกรรม ดังนั้น พ่อแม่น้องแมวต้องคอยดูแลเรื่องการขับถ่ายของลูกแมวให้เป็นไปอย่างปกติ ขั้นตอนการฝึกให้ลูกแมวใช้กระบะทราย 1. การเตรียมกระบะทราย ควรเลือกใช้กระบะทรายที่ขอบเตี้ยเพื่อให้ลูกแมวสามารถก้าวเข้ากระบะได้ง่าย ขนาดความยาวของกระบะที่แนะนำคือมีความยาว 1.5 เท่าของความยาวตัวลูกแมว ซึ่งลูกแมวสามารถหมุนกลับตัวได้อย่างสะดวก และเมื่อลูกแมวโตขึ้นจะต้องเปลี่ยนขนาดกระบะให้เหมาะสม 2. ใส่ทรายแมวในกระบะให้มีความสูงที่เหมาะสม เมื่อได้ขนาดกระบะทรายที่เหมาะสมแล้ว ควรใส่ทรายลงไปในกระบะให้มีความสูงอย่างน้อย 3 – 4 เซนติเมตร จากก้นกระบะ ซึ่งเป็นความสูงที่เหมาะสมสำหรับอุ้งเท้าแมว ที่มีความไวต่อการสัมผัส และเหมาะกับพฤติกรรมการกลบอุจจาระ และปัสสาวะของตนเอง ในปัจจุบัน ในท้องตลอดมีทรายแมวหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความ้องการ […]
อ่านต่อข้อบัญญัติฯ การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ปี 2567
ปีที่ผ่านมา สภากรุงเทพมหานคร ได้เสนอ (ร่าง) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ปี… ปัจจุบัน ข้อบัญญัติฉบับนี้ ไดผ่านความเห็นชอบ และออกประกาศบังคับใช้ โดยจะเริ่มบังคับใช้ ในวันที่ 10 มกราคม 2569 กทม. เห็นว่า ข้อบัญญัติ การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ จะสามารถสร้างความปลอดภัยของทั้งคนและสัตว์เลี้ยง สวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงที่ดีขึ้น และป้องกันการเกิดสัตว์จรในอนาคต ดังนั้น หลังจากที่ข้อบัญญัติ ฯ บังคับใช้แล้ว เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขต กทม. จำเป็นต้องปฏิบัติตาม โดยในข้อบัญญัติ ฯ ประกอบไปด้วยสาระสำคัญ ดังนี้ 1. จำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่อยู่อาศัย เจ้าของสัตว์ที่เลี้ยงสัตว์เกินกว่าจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ ก่อนวันที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ใช้บังคับ หรือก่อนวันที่ 15 มกราคม 2568 ให้แจ้งต่อสํานักงานเขต หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสN ภายใน 90 วันนับแตjวันที่ขhอบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ใชhบังคับ หรือภายในวันที่ 14 เมษายน 2568 2. ต้องจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง และฝังไมโครชิป […]
อ่านต่อแมวมีภาวะไขมันพอกตับ เหมือนในมนุษย์ ได้หรือไม่
เราอาจเคยได้ยินมาบ้าง เกี่ยวกับภาวะไขมันพอกตับในมนุษย์ แล้วในทางฝั่งลูกรักขนฟูของเรา แมวมีภาวะไขมันพอกตับ ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ค่ะ! แมวมีภาวะไขมันพอกตับ ได้เช่นเดียวกันกับมนุษย์ ภาวะไขมันพอกตับในแมว หรือภาวะที่ตับสะสมไขมันสูงกว่าปกติ (Hepatic lipidosis) เป็นภาวะโรคตับที่พบได้บ่อยในแมว ทำให้เกิดภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตับวาย และเสียชีวิตได้ โดยส่วนใหญ่ มักพบในแมวที่มีน้ำหนักเกิน หรือแมวอ้วน ที่มีอาการเบื่ออาหาร หรือไม่กินอาหารนานหลายวัน ซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการป่วยโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความไม่อยากกินอาหาร สำหรับในแมวที่มีน่ำหนักตัวปกติ ก็สามารถเกิดภาวะไขมันพอกตับได้เช่นกัน สาเหตุของเกิดภาวะไขมันพอกตับในแมว โรคไขมันพอกตับในแมวเกิดจากสะสมเซลล์ไขมันจำนวนมากในตับ โดยเซลล์ตับจะถูกแทนที่ด้วยไตรกลีเซอร์ไรด์มากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักตับทั้งหมด ส่งผลให้การทำงานของเซลล์ตับลดล งและแสดงความรุนแรงของโรคขึ้นภายหลัง อีกหนึ่งสาเหตุเกิดในแมวที่มีภาวะอดอาหารจะทำให้เกิดการสลายเนื้อเยื่อไขมัน และเกิดไตรกลีเซอร์ไรด์สะสมแทรกในเนื้อตับ อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลัก ๆ มักมาจากโรคอ้วน (Obesity) เนื่องจากการกินอาหารที่มีระดับไขมันหรือโปรตีนสูงเป็นประจำเป็น ซึ่งอาจได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกายทำให้ร่างกายมีพลังงานส่วนเกิน และเกิดการสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ในเนื้อตับ นอกจากนี้ เมื่อระดับไขมันในเลือดสูง จะส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานตามมาอีกด้วย ส่วนปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้เกิดไขมันพอกตับ เช่น การได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดสารอาหาร โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory […]
อ่านต่อแมวท้องเสีย จากการติดเชื้อโปรโตซัว
แมวท้องเสีย เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของแมวที่มักพบได้ค่อนข้างบ่อย และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร วันนี้ เราจะมาทราบถึงอาการท้องเสียในแมว ที่เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวกันค่ะ แมวท้องเสีย จากการติดเชื้อโปรโตในทางเดินอาหาร หนึ่งในสาเหตุ แมวท้องเสีย ที่พบได้บ่อยคือ การติดเชื้อโปรโตซัว (Protozoa) หรือเชื้อบิด โปรโตซัวเป็นปรสิตชนิดหนึ่ง ที่ติดเข้าสู่ภายในร่างกายของแมว และอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร บริเวณลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ เมื่อโปรโตซัวก่อโรคเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร จะก่อให้เกิดอาการความผิดปกด้านสุขภาพตามมา เช่น ถ่ายเหลว และอาเจียน เป็นต้น เชื้อโปรโตซัวสำคัญที่ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารของแมวคือ เชื้อไกอาร์เดีย (Giardia) เชื้อทริโคโมแนส (Trichomonas) และเชื้อคอคซิเดีย (Coccidia) เป็นต้น เชื้อโปรโตซัวบางชนิดสามารถติดต่อสู่คนได้เช่น เชื้อไกอาร์เดีย (Giardia) ทำให้คนเกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน อาการความผิดปกติที่แสดงออกเมื่อมีอาการติดเชื้อ ในขณะที่ โปรโตซัวเข้าไปอาศัยอยู่ในผนังของลำไส้ของแมว เชื้อจะเจริญขึ้นโดยการแบ่งตัว และทำลายบริเวณผนังลำไส้ ทำให้เอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ในลำไส้ทำงานผิดปกติ จากนั้นสส่งผลต่อเนื่องไปถึงเรื่องการย่อย และดูดซึมอาหาร แมวที่ติดเชื้อโปรโตซัว แมวจะเริ่มแสดงอาการความผิดปกติหลังจากได้รับเชื้อในช่วงประมาณ 3-10 วัน โดยจะถ่ายเหลว ท้องเสีย ลักษณะอุจจาระอาจมีสีเหลืองอ่อน มีมูกเลือดปน หรือมีไขมันปน […]
อ่านต่อหูแมว กับความผิดปกติที่พบได้บ่อย ๆ
หูแมว เป็นสัญลักษณ์ของความน่ารักในการสร้างคาแรกเตอร์แมวในการ์ตูน และภาพยนตร์หลายเรื่อง ส่วนในชีวิตจริง หูแมวก็เป็นอวัยวะสำคัญ ที่เหล่าทาต้องดูแลเป็นประจำ ส่วนต่าง ๆ ของ หูแมว หูแมว เป็นอวัยวะที่สำคัญมากกว่าการทำให้เราตกหลุมรักและหลงใหล ใบหูที่ตั้งอยู่เหนือกะโหลก ทำหน้าที่รับคลื่นเสียงที่เดินทางผ่านอากาศ และยังเป็นจุดสังเกตการแสดงออกทางพฤติกรรมบางประการ ถัดเข้าไปเป็น รูหู ซึ่งแบ่งเป็น หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน คล้ายกับในมนุษย์ โดยส่วนใหญ่แล้วความผิดปกติเกี่ยวกับหูมักเกิดขึ้นที่ใบหู และหูชั้นนอก เช่น มีอาการคันบริเวณใบหู มีไรหู และมีคราบสปกปรก เป็นต้น นอกจากนี้ โรคเกี่ยวกับหูของแมวยังพบได้อีกหลายโรค วันนี้ จะมาทราบไปพร้อม ๆ กันค่ะว่า โรคเกี่ยวกับหูที่พบได้บ่อยในแมว มีอะไรบ้าง ความผิดปกติเกี่ยวกับหูที่พบได้บ่อยในแมว 1. ความผิดปกติที่เกี่ยวของกับใบหู 2. ความผิดปกติที่เกี่ยวของกับรูหูชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน สัญญาณอาการที่บ่งว่าแมวมีปัญหาในช่องหู หากน้องแมวมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ให้สงสัยว่า อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับช่องหู ควรพาไปตรวจเช็คกับสัตวแพทย์ เพื่อวินิฉัยหาสาเหตุ และวางแผนการดูแลรักษากันนะคะ บทความโดยสพ.ญ.ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมว […]
อ่านต่อใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว ได้หรือไม่ ?
เจ้าของแมวหลายท่านอาจจะเคย ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว เพื่อกระตุ้นให้แมววิ่งไล่ และพยายามจับแสงให้ได้ แต่ทราบหรือไม่ว่า การเล่นกับแมวด้วยแสงเลเซอร์อย่างผิดวิธี อาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมวต้องเข้าใจธรรมชาติของแมว โดยทั่วไป การเล่นของแมวมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการล่า ซึ่งประกอบไปด้วยชุดพฤติกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การเฝ้ามองเหยี่อ สะกดรอยตาม ไล่ล่า จับตะปบ และกินเหยี่อ เพราะฉะนั้น การเล่นกับแมวให้ตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติ คือการเล่นที่ตอบสนองพฤติกรรมเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน แล้วการ ใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว ล่ะ ตอบสนองพฤติกรรมการล่าของแมว หรือไม่ หากเรากลับมาพิจารณาลักษณะการใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมว จะพบว่า การเล่นกับแมวด้วยแสงเลเซอร์ สามารถกระตุ้นพฤติกรรมบางอย่างในกระบวนการล่าได้ คือ การจ้องเฝ้ามอง การสะกดรอยตาม การไล่ล่า ในขณะเดียวกัน อีกสองพฤติกรรมที่เหลือ คือการจับ และกินเหยื่อ จะไม่เกิดขึ้นในกรณีของการเล่นด้วยแสงเลเซอร์ ดังนั้น การใช้แสงเลเซอร์เล่นกับแมวจึงมีโอกาสที่จะทำให้แมวเกิดความสับสน โดยเฉพาะในแมวที่มีแนวโน้มเกิดความเครียดได้ง่าย เพราะไม่ว่าจะพยายามเท่าไรก็ไม่สามารถจับแสงลเซอร์ได้เลย นั่นหมายความว่า แมวไม่มีโอกาสแสดงพฤติกรรมการจับตะปบเหยื่อที่ประสบความสำเร็จ และไม่ได้มีพฤติกรรมการกินเหยื่อเกิดขึ้น ซึ่งถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นบ่อย ๆ ก็จะทำให้แมวเกิดความเครียดในระดับที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของสัตว์ และอาจทำให้เกิดเป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรมได้ด้วยเช่นกัน ถ้าอยากเล่นกับแมวด้วยแสงเลเซอร์ ต้องเล่นอย่างไร จากผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา พบว่า […]
อ่านต่ออุ้งเท้าแมว ทำไมเป็นรูปทรงกลมน่ารัก
อุ้งเท้าแมว ที่มีลักษณะกลม ๆ มองดูน่ารัก ไม่ได้เป็นเพียงลักษณะที่ทำให้ทาสแมวหลงใหล แต่ยังแสดงถึงวิวัฒนาการ ที่ทำหน้าที่สำคัญหลายประการ แมวบ้านมีความน่ารักมากมายที่แสดงออกทางรูปลักษณ์ภายนอก ตั้งแต่จมูกขนาดจิ๋ว ไปจนถึงหางฟู ๆ ส่วนทาสแมวหลายคนชื่นชอบ อุ้งเท้าแมว ที่มีลักษณะกลม ๆ นุ่ม ๆ ซึ่งได้กลายมาเป็นรูปลักษณ์ ที่ถูกนำเสนอผ่านงานสร้างสรรค์ต่าง ๆ เช่น พวงกุญแจรูปอุ้งเท้าแมว ลวดลายบนจานชาม และลายสกรีนบนเสื้อผ้า เป็นต้น ตามหลักกายวิภาคศาสตร์ อุ้งเท้ากลม ๆ เหล่านี้ คือส่วนของ นิ้วเท้า แต่ทำไมล่ะ นิ้วเท้าของแมวจึงมีลักษณะกลมมนคล้ายเมล็ดถั่ว คำตอบคือ วิวัฒนาการหลายล้านปี วิวัฒนาการของสัตว์กินเนื้อ “ในทางกลับกัน แล้วทำไมแมว ถึงจะไม่มีอุ้งเท้าล่ะ” โจนาทาน โลโซส นักชีววิทยาวิวัฒนาการ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน เมืองเซนต์หลุยส์ สหรรัฐอเมริกา และผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Cat’s Meow: How Cats Evolved from the Savanna […]
อ่านต่อเมื่อเรา หอมแมว และจูบแมว พวกเขาเข้าใจว่าอย่างไร
ทาสแมวส่วนใหญ่ที่เลี้ยงแมว ต่างก็หวังว่า จะได้ หอมแมว และกอดแมว ให้ชื่นใจ และเป็นหนึ่งในวิธีที่เราต้องการแสดงความรักต่อเจ้านายที่เรารัก แล้วพวกเขารู้สึกดีเหมือนที่เรารู้สึกไหมนะ เมื่อเรา หอมแมว พวกเขาเข้าใจความหมายภาษากายของมนุษย์ หรือไม่ ถ้าเราอยากเข้าใจน้องแมวของเรา เราอาจจะต้องเริ่มต้นจากคำถามว่า แมวรู้สึกอย่างไรกับเรา แต่การตอบคำถามนี้ แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีข้อมูลอย่างชัดเจนว่า แมวมีความรักแบบเดียวกับเรา หรือไม่ และในฐานะของเจ้าของแมว เราควรตีความพฤติกรรมพวกเขา อย่างไร จนถึงตอนนี้ พวกเราที่เป็นทาสแมวทุกคนต่างรู้ดีว่า แมวบางตัวชอบให้เราหอม หรือจุ๊บแก้มสักครั้งโดยไม่อิดออด แต่บางตัวก็ไม่ชอบเลย พยายามขัดขืนตลอด การสื่อสารของแมวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว พวกเขาสื่อสารกับมนุษย์ และสัตว์ตัวอื่น ๆ ด้วยภาษากาย และกลิ่น แมวทั้งหลายอาจมีความเข้าใจภาษา หรือสามารถเรียนรู้ภาษากายของมนุษย์ได้ รวมไปถึง เมื่อเราหอมแก้ม หรือดมหัวแมว แม้ว่าตามธรรมชาติ พวกเขาไม่คุ้นเคยกับพฤติกรรมเหล่านี้ก็ตาม ตามหลักพื้นฐานอย่างหนึ่งของการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด การสังเกตพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง จะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวมากขึ้น เพราะความจริงข้อหนึ่งที่นักพฤติกรรมสัตว์เลี้ยง และสัตวแพทย์ทั่วโลก กล่าวตรงกันคือ แม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดเดียวกัน สายพันธุ์เดียวกัน ก็อาจจะมีความชอบ หรือไม่ชอบ ที่แตกต่างกันได้ แมวแสดงความรักอย่างไร แม้ว่าพวกเราจะไม่สามารถอ่านความคิดของแมวได้ แต่เรายังสามารถสังเกตพฤติกรรมของแมวได้ว่า […]
อ่านต่อแมวตาบอด เราจะสังเกตสัญญาณอันตรายนี้ได้อย่างไร
แมวตาบอด อาจเกิดขึ้นได้สองกรณี คือ การมองเห็นค่อย ๆ ลดลง หรือเกิดการตาบอดแบบเฉียบพลัน แต่โดยทั่วไปแล้ว การสังเกตความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาของแมว อาจไม่ใช่เรื่อง่ายสำหรับเจ้าของเสมอไป แมวตาบอด หรือเริ่มส่งสัญญาณความผิดปกติเรื่องการมองเห็น สังเกตได้อย่างไร ตามธรรมชาติของแมว ประสาทสัมผัสในการรับเสียงและการรับกลิ่นของแมว ดีกว่าประสาทสัมผัสเรื่องการมองเห็น ดังนั้น ในช่วงแรก เมื่อแมวเริ่มมีความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น เจ้าของจึงอาจสังเกตได้ยาก แต่เมื่อความรุนแรงของอาการรุนแรงจนไปถึงขั้น แมวตาบอด เจ้าของจึงสามารถพบความผิดปกติได้อย่างชัดเจน ส่วนในกรณีของแมวตาบอดเฉียบพลัน อาจแสดงอาการอย่างชัดเจนมากกว่า เช่น เดินชนสิ่งกีดขวาง หรือการเคลื่อนที่ผิดปกติ เมื่อเราพบว่า แมวกำลังสูญเสียการมองเห็น จึงควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อรักษาก่อนที่อาการจะรุนแรง สัญญาณความผิดปกติทางสายตาของแมว พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าแมวกำลังสูญเสียการมองเห็น สาเหตุส่วนหใญ่ที่ทำให้แมวตาบอด 1. ภาวะความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงส่งผลทำให้เส้นเลือดบริเวณจอประสาทตาได้รับความเสียหาย จนเกิดเลือดออกบริเวณจอประสาทตา และเกิดอาการตาบอดเฉียบพลัน ภาวะความดันโลหิตสูงในแมวอาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เป็นต้น 2. โรคติดเชื้อที่ตา การติดเชื้อที่บริเวณเยื่อบุตา กระจกตา หรือบริเวณใบหน้า หากการติดเชื้อรุกรามมากขึ้น อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสูญเสียการมองเห็นในแมวได้ […]
อ่านต่อภาษากายของแมว กำลังบอกอะไรกับเรา
ภาษากายของแมว เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้แสดงออกถึงสภาวะอารมณ์ของแมวในเวลานั้น การทำความเข้าใจภาษากายของแมว อาจทำให้เราอยู่ร่วมกับแมวได้อย่างราบรื่น และมีความสุข ท่าทางของแมว และ ภาษากายของแมว ก่อนจะรู้จัก ภาษากายของแมว อาจจะต้องย้อนไปทำความเข้าใจธรรมชาติของแมวกันก่อน แมวเป็นสัตว์ที่มักจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อย่างสันโดษ ซึ่งแตกต่างจากพฤติกรรมของสุนัขที่ส่วนใหญ่อยู่รวมกันเป็นฝูง ดังนั้น แมวจึงมีรูปแบบการสื่อสารในสปีชีส์เดียวกัน และต่างสปีชีส์ อย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม แมวยังสามารถแสดงออกทางภาษากายบางอย่าง ที่สามารถสะท้อนถึงสภาวะอารมณ์ และความรู้สึกของแมว ในช่วงเวลานั้น ๆ ได้ เจ้าของจึงมีบทบาทในการทำความเข้าใจภาษากายของแมว เพื่อให้ทราบถึงความรู้สึกในช่วงเวลาต่าง ๆ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันระหว่างเจ้าของกับแมวเป็นไปอย่างราบรื่น และลดแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแข้งระหว่างคนกับแมวได้มากที่สุด วิธีสังเกตภาษากายของแมว ตามหลักการโดยทั่วไป จะสังเกตภาษากายของแมว ที่แสดงออกผ่านบริเวณใบหน้า ศรีษะ และลักษณะท่าทางโดยรวม โดยเฉพาะส่วนของใบหน้าและศรีษะ เป็นบริเวณที่สังเกตได้ง่ายที่สุด ในส่วนศรีษะเป็นตำแหน่งที่ตั้งของใบหู ถ้าแมวกำลังรู้สึกผ่อนคลาย ใบหูจะตั้งตรง และอาจหมุนไปตามแหล่งกำเนิดเสียง โดยอาจจะหันใบหูแต่ละทางก็ได้ (A0B0 ในรูปที่ 1) ในทางตรงกันข้าม ถ้าแมวกำลังรู้สึกไม่ดี หรือมีอารมณ์เชิงลบ ใบหูจะลู่ลง (A0B1 และ A0B2) หรือใบหูกางออกทางด้านข้างทั้งสองข้าง […]
อ่านต่อจุฬาฯ จัดโครงการ วันโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง
โรคอ้วนสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และสวัสดิภาพ ของสัตว์เลี้ยง ภาวะน้ำหนักตัวเกินและ โรคอ้วนสัตว์เลี้ยง คือสภาวะที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงมีน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากไขมันสะสมใต้ผิวหนังมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งในสัตว์เลี้ยงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคกระดูกและข้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่น ๆ ตามมา เป็นผลทำให้สัตว์เลี้ยงมีอายุขัยลดลง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดโครงการวันโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง (Pet Obesity Day) เนื่องจาก เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง และต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยง เกี่ยวกับการป้องกันภาวะโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง เพื่อให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาว ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ ได้กล่าวถึงความสำคัญของปัญหาโรคอ้วนในสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นปัญหาที่อาจถูกมองข้าม แต่มีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของสัตว์ในระยะยาว โดยโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม และโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาให้กับเจ้าของอีกด้วย โครงการวันโรคอ้วนสัตว์เลี้ยง จัดขึ้นโดยโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภายในงาน มีการบรรยายให้ความรู้จากคณาจารย์ และสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในหัวข้อเกี่ยวกับการดูแล […]
อ่านต่อโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว
โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยก่อให้เกิดความรุนแรงในระดับที่รักษาได้ ไปจนถึงรักษาให้หายขาดไม่ได้ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว คืออะไร Chronic upper respiratory tract disease (URT) หรือ โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว คือ ความผิดปกติที่เกี่ยวกับบริเวณโพรงจมูก และบริเวณโพรงจมูกที่เชื่อมไปถึงคอหอย โดยหนึ่งในโรคโรคที่พบได้บ่อยคือ โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรังในแมว (Chronic rhinitis) ซึ่งมักพบอาการน้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ ส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายหลายสาเหตุ และเป็นโรคที่ต้องใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน หรืออาจจะรักษาไม่หายขาด อาการของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรัง สาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นเรื้อรังในแมว 1. การติดเชื้อไวรัส (Virus infection) การติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อ feline herpes virus (FHV) และ feline calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อในกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคหวัดแมว โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็กและแมวโตเต็มวัย การติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ในระยะเฉียบพลันทำให้เกิดการอักเสบของโพรงจมูก อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรของเยื่อบุโพรงจมูก และเกิดการอักเสบเรื้อรังตามมา ทั้งเนื้อเยื่อและกระดูก เมื่อโครงสร้างในโพรงจมูกเสียหาย ก็มักทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมา โดยการติดเชื้อไวรัส […]
อ่านต่อการเลี้ยงแมวของคนญี่ปุ่น มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก
การเลี้ยงแมวของคนญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่ทาสแมวจะยอมจ่ายเพื่อการดูแลแมว และบริการเกี่ยวกับแมว สูงขึ้น และเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นตลาดสัตว์เลี้ยงของญี่ปุ่นให้เติบโต การเลี้ยงแมวของคนญี่ปุ่น ผลักดันให้เกิดกระแส “nekonomics” หรือ “catnomics” ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ธุรกิจสัตว์เลี้ยงในญี่ปุ่นอาจมีมูลค่าสูงถึง 653,000 ล้านบาทในปี 2025 ศาสตราจารย์กิตติคุณคัตสึฮีโระ มิยาโมโตะ มหาวิทยาลัยคันไซ ประเมินตัวเลขดังกล่าวไว้ล่วงหน้าก่อนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันแมวแห่งชาติ ของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากวันที่ “22-2” ในภาษาญี่ปุ่นนั้นออกเสียงคล้าย “เนีย เนีย เนีย” (เทียบกับเสียงร้อง “เหมียว เหมียว เหมียว” ของแมว) มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการทุ่มค่าใช้จ่ายเพื่อแมวของชาวญี่ปุ่นใกล้เคียงกับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงในช่วงการแข่งขันโอลิมปิก ที่เมืองโตเกียว เมื่อปี 2020 สมาคมอาหารสัตว์แห่งประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า ในปี 2023 เจ้าของแมวชาวญี่ปุ่น มีค่าใช้จ่ายในเกี่ยวกับอาหารแมว 1 ตัว เฉลี่ย 2,480 บาท ต่อเดือน และในปี 2024 ค่าใช้จ่ายในหมวดอาหารแมวของชาวญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 และถ้าหากอัตราการเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกันนี้ […]
อ่านต่อFading kitten syndrome สาเหตุการเสียชีวิตใน ลูกแมวแรกเกิด
ลูกแมวแรกเกิด เป็นช่วงวัยที่เปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าช่วงวัยอื่น การทำความเข้าใจในเรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของลูกแมวแรกเกิด จะช่วยให้เราเตรียมพร้อมการดูแลทั้งแม่และลูกแมวในช่วงเวลาที่แสนเปราะบางนี้ได้ เจ้าของแมวบางท่าน ทั้งที่ตั้งใจเป็นเจ้าของ และเป็นเจ้าของโดยบังเอิญ อาจเคยประสบปัญหา ที่ต้องดูแล ลูกแมวแรกเกิด ซึ่งบางท่านอาจเคยพบว่า ลูกแมวเสียชีวิตตั้งแต่คลอดออกมา หรือเสียชีวิตภายหลังไม่นานหลังจากคลอดแล้ว การสูญเสียลูกแมวตั้งแต่วัยแรกเกิดย่อมนำมาซึ่งความเสียใจของเจ้าของแมวทุกท่าน ในธรรมชาติของแมว เมื่อแมวตัวเมียตั้งท้องหนึ่งครั้ง จะให้กำเนิดลูกแมวครอกละ 2 – 5 ตัว และเมื่อลูกแมวคลอดออกมาแล้ว ในช่วง 4 สัปดาห์แรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของลูกแมวที่ต้องได้รับการดูแลจากแม่แมวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกแมวมีโอกาสเสียชีวิตค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 90 ในทางสัตวแพทย์ กลุ่มอาการที่ลูกแมวเสียชีวิตในช่วงแรกเกิด มีชื่อเรียกว่า Fading kitten syndrome โดยสาเหตุการเสียชีวิตในลูกแมวแรกเกิด แบ่งได้เป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ 1. สาเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non infectious cause) 2. สาเหตุที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infectious cause) การเสียชีวิตของลูกแมวแรกคลอด ที่เกิดจากการติดเชื้อ มีโอกาสน้อยกว่า สาเหตุที่ไม่ติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่ลูกแมวจะได้รับเชื้อก่อโรคผ่านทางรก […]
อ่านต่อการศึกษาพบว่า แมวมีความสามารถในการเชื่อมโยงคำศัพท์ได้ดีกว่าเด็กทารก
การวิจัยเกี่ยวกับ การรับรู้ของแมว แสดงให้เห็นว่า แมวสามารถเชื่อมโยงรูปภาพกับคำพูดที่สอดคล้องกันได้เร็วกว่าเด็กทารก แม้ว่าแมวจะเป็นสัตว์ที่ดูเข้าใจยากในสายตาของมนุษย์ แต่พวกเราก็ไม่ลดละความพยายามที่จะทำความเข้าใจเหล่าแมวที่นอนอยู่ในห้องนั่งเล่นของเรา งานวิจัยเกี่ยวกับ การรับรู้ของแมว ที่เผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports พบว่า แมวสามารถเชื่อมโยงรูปภาพกับคำพูดของมนุษย์ไดเร็วกว่าเด็กทารก ถึง 4 เท่า อย่างที่เราทราบกันดีว่า ภาษา เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ แต่ความสามารถในการเข้าใจคำพูดของมนุษย์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในเผ่าพันธุ์ของเรา การศึกษาวิจัยที่ผ่านมารายงานว่า ลิงที่ไม่มีหางบางชนิด สามารถเชื่อมโยงคำพูดมนุษย์กับรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ได้ ในขณะที่นกแก้วแอฟริกันสามารถเข้าใจ และตอบสนองต่อคำสั่งที่มนุษย์พูดออกมาได้ ในขณะเดียวกัน สุนัขก็สามารถตอบสนองต่อคำสั่งของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความสามารถในการรับรู้คำพูดของมนุษย์ในแมว มีน้อยมาก และพวกเราก็แทบจะไม่ทราบเรื่องราวเหล่านี้เลย ย้อนกลับไปในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัด แสดงให้เห็นว่า แมว สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้ และยังจดจำชื่อของมนุษย์ และสมาชิกสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ในบ้านได้ด้วย แต่เรายังไม่เคยรู้ว่า แมวทั้งหลายมีความสามารถในการเชื่อมโยคำพูดของมนุษย์กับสิ่งของต่าง ๆ ได้หรือไม่ “แมวสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างแน่นอน และจากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ พิสูจน์แล้วว่า แมวต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในการแก้ปัญหา” ดร.คาร์โล ซิราคูซา […]
อ่านต่อแมวบ้าน ในสหรัฐฯ ติดไข้หวัดนกผ่านอาหารดิบ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของลอสแองเจลีส ได้ออกคำเตือนไปยังเจ้าของสัตว์เลี้ยง ให้หลีกเลี่ยง อาหารดิบสำหรับสัตว์เลี้ยง (BARF food) แก่สุนัขและแมว หลังจากพบ ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในตัวอย่างที่สุ่มตรวจ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (FDA) เปิดเผยว่า แมวมากกว่าสิบตัวทั่วสหรัฐฯ ตายหรือล้มป่วย ด้วยโรคไข้หวัดนก ที่แพร่ระบาดในผลิตภัณฑ์ อาหารดิบสำหรับสัตว์เลี้ยง (BARF food) ทำให้ทางการระดับรัฐบาลกลางต้องสอบสวนว่า อาหารสัตว์เลี้ยงที่ไม่ปรุงสุก ปนเปื้อนไวรัสไข้หวัดนก ได้อย่างไร ในแถลงการรณ์ล่าสุด FDA แนะนำว่า ผู้ผลิตอาหาร และเจ้าของสัตว์เลี้ยง ควรพิจารณาการให้อาหารสัตว์อย่างรอบคอบมากขึ้น เช่น เลือกวัถุดิบจากแหล่งที่่น่าเชื่อถือ และตรวจสอบย้อนกลับได้ หรือเลือกอาหารสัตว์เลี้ยงที่ปรุงสุกด้วยความร้อน ซึ่งจะช่วยกำจัดไวรัสที่ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ได้ ไวรัสไข้หวัดนก H5N1 เริ่มแพร่ระบาดในสหรัฐฯ ช่วงปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ไวรัสได้แพร่กระจายผ่านสัตว์ปีกเข้าไปในหลายรัฐ ส่งผลให้แมวบ้าน และแมวจรหลายสิบตัว รวมถึงปศุสัตว์ ติดเชื้อจนกระทั่งเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต โดยเฉพาะแมวบ้านที่กินอาหารดิบที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ปนเปื้อนเชื้อไข้หวัดนก คำแนะนำของ FDA ระบุว่า “การสืบสวนเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อ H5N1 […]
อ่านต่อ