แมว

แมวกินน้ำน้อย

แมวกินน้ำน้อย จะมีวิธีกระตุ้นให้น้องกินน้ำยังไง

แมวกินน้ำน้อย โดยธรรมชาติ เราเชื่อกันว่าเป็นพฤติกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลทราย ทำให้แมวต้องมีการปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และพฤติกรรมนี้ก็ถูกถ่ายทอดมายังปัจจุบัน ปริมาณน้ำ ที่ต้องการของร่างกายแมวเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กิโลกรัม ต่อวัน การที่ แมวกินน้ำน้อย จึงสามารถนำไปสู่ การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้เช่น โรคไต , โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น วันนี้ บ้านและสวน Pets เรามีทริปที่จะช่วยกระตุ้นให้น้องแมวกินน้ำมากขึ้น มาลองทำดูกัน   วิธีกระตุ้นแมวให้กินน้ำมากขึ้น (How to encourage your cat to drink) 1. ชนิดของภาชนะใส่น้ำ : ต้องเลือกภาชนะใส่น้ำ ที่ทำให้แมวอยากกินน้ำ ปกติแล้ว แมวจะชอบชามแก้ว โลหะ และ เซรามิก มากกว่า ชามพลาสติก (ให้ทดลองดู ว่าแมวเราชอบแบบไหน) แมวส่วนใหญ่ชอบชามน้ำที่ ตื้น กว้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอาหัวไปจุ่ม หรือ […]

อ่านต่อ
FLUTD ; feline lower urinary tract disease

แมวปัสสาวะไม่ออก เกิดจากสาเหตุอะไร?

กลุ่มอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่างในแมว (FLUTD ; feline lower urinary tract disease) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในแมว อาการที่พบได้แก่ แมวปัสสาวะไม่ออก ปวดเบ่งเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะมีเลือดปน ใช้เวลาในการปัสสาวะนานกว่าปกติ เลียอวัยวะเพศบ่อยๆ ปัสสาวะผิดที่หรือปัสสาวะนอกกระบะทราย มีอาการปวดเกร็งบริเวณแถวช่องท้อง กลุ่มอาการนี้พบมากในแมวพันธุ์แท้ที่ขนยาว เช่น พันธุ์เปอร์เซีย พันธุ์ฮิมาลายัน ส่วนในแมวพันธุ์อื่น ๆ รวมถึงแมวไทย สามารถพบได้เช่นกัน ความผิดปกตินี้พบบ่อยในแมวที่มีช่วงอายุระหว่าง 2-6 ปี พบมากในแมวเพศผู้ที่ทำหมัน แมวที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือ แมวอ้วน แมวที่ออกกำลังกายน้อย แมวที่กินอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ด แมวที่มีนิสัยกินน้ำน้อย แมวปัสสาวะไม่ออก สาเหตุที่ทำให้แมว เกิดความผิดปกตินั้นพบว่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ คือ 1. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่ไม่ทราบสาเหตุ (Feline Idiopathic Cystitis : FIC) ซึ่งพบได้บ่อยมากในแมว  แมวจะมีอาการ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เมื่อตรวจแล้วไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยโน้มนำที่ทำให้เกิดคือ ความเครียด และ […]

อ่านต่อ

แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair : DSH) นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เนื่องจากเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมตั้งแต่โบราณ และยังมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ยังคงมีในปัจจุบัน ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า ‘ย้อมแมวขาย’ หรือ ‘ยื่นหมูยื่นแมว’ และ ‘ปิดประตูตีแมว’ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าแมวไทยมีประวัติความเป็นมายาวนาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการแยกลักษณะแมว ถือว่าเป็น “ตำราดูลักษณะแมว” เล่มแรกที่ได้ทำการแยกแมวไทยตามลักษณะนิสัย หรือบุคลิกของแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย โดยแบ่งเป็นแมวมงคลและแมวให้โทษทั้งหมด 23 สายพันธุ์ (เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์) เหตุที่แบ่งเป็นแมวให้คุณกับแมวให้โทษนั้น เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณโดยดูว่าเลี้ยงแล้วจะนำสิ่งที่ดี ๆ หรือสิ่งชั่วร้ายมาสู่ผู้เป็นเจ้าของหรือไม่ ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง และรักเจ้าของเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้แมวไทยยังได้รับนิยมเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ แมวไทยขนสั้น เป็นแมวขนาดกลาง โดยหัวมีลักษณะโครงสร้างยาวสมส่วนปราดเปรียว มีลำตัวขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บวกกับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและคล่องตัวของพวกมัน […]

อ่านต่อ

แมวพันธุ์ไทยท็องกินีส (Thai Tonkinese) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ ไทยท็องกินีส เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์วิเชียรมาศ (Siamese cat) กับแมวพันธุ์เบอร์มีส (Burmese cat) ที่มีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) ในปี ค.ศ. 1950 ‘Milan Greer’ มีความสนใจเรื่องลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์ โดยเฉพาะลักษณะสีขนสีน้ำตาลเข้ม (Dark Brown cat) จากแมวพันธุ์เบอร์มีส กับแต้มคล้ายแมวพันธุ์วิเชียรมาศ จึงได้นำแมวทั้ง 2 สายพันธุ์มาผสมพันธุ์ ทำให้ได้ลูกออกมามีลักษณะเสียงแหลมกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และมีนิสัยดี รวมถึงฉลาดมากกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และแมวพันธุ์เบอร์มีส ซึ่งในตอนแรกถูกเรียกว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศสีทอง (Golden Siamese) แต่ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแมวพันธุ์ท็องกานีส (Tonkanese) ซึ่งมาจากละครเพลง The musical South Pacific ในปี ค.ศ. 1967 สมาคม The Canadian Cat Association ได้มีการขึ้นทะเบียนแมวที่เกิดจากผสมระหว่าง 2 สายพันธุ์ เป็นแมวพันธุ์ท็องกานีส (Thai Tonkinese […]

อ่านต่อ

แมวเปอร์เซีย (Persian) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวเปอร์เซีย มีต้นกำเนิดในเถบเปอร์เซีย (เป็นที่ตั้งประเทศตุรกี และอิหร่านในปัจจุบัน) นักประวัติศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพวกมันในปีค.ศ. 1684 โดยพ่อค้าชาวเปอร์เซียนมักบรรทุกสินค้ามากมาย และได้ปรากฏแมวพันธุ์ขนยาวติดมากับกองคาราวานสินค้าด้วย อีกหลักฐานหนึ่งได้กล่าวบรรพบุรุษของแมวเปอร์เซียได้ถูกนำเข้ามายังยุโรปตั้งแต่ช่วง ปีค.ศ. 1620 แล้วได้รับความนิยมในยุโรปอย่างมาก และแพร่กระจายไปทั่วยุโรป จากนั้นในช่วงปลายปีศตวรรษที่ 19 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวชาวอังกฤษได้นำแมวเปอร์เซียสมกับสายพันธุ์อื่น เพื่อต้องการให้พวกมันมนขนที่ยาวและหนากว่าเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของสายพันธุ์ในปัจจุบัน จึงได้มีการนำไปขยายพันธุ์ในสหรัฐฯ ในช่วงต้นปี ค.ศ.1900 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ แมวเปอร์เซีย เป็นแมวขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีโครงสร้างกระดูกที่ใหญ่และแข็งแรง โดยเพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 3-5 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 4-6 กิโลกรัม หัวและหน้ากลม หน้าผากโหนก แก้มมีโหนกเต็ม ดวงตากลมโต และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน มีจมูกที่หักที่เป็นจุดเด่นบนใบหน้า จากคำอธิบายของ The Cat Fanciers Association (CFA) ได้ระบุลักษณะสายพันธุ์ไว้ว่า โครงสร้างลำตัวสั้นและกลม หัวกลมมน คอสั้น ขาสั้นเตี้ย หูเล็กมีปลายหูที่กลมมน และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน หางสั้นตรงและฟูคล้ายกับหางกระรอก จมูกเป็นสั้นและหัก […]

อ่านต่อ
มันช์กิ้น

มันช์กิ้น (Munchkin) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ มันช์กิ้น (Munchkin) หลายท่านคงคิดว่า พวกมันเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ด้วยรูปร่างที่แปลกตา แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกมันมีประวัติที่ยาวนานกว่านั้นมาก นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1944 ในประเทศอังกฤษ ปรากฏหลักฐานว่า สัตวแพทย์ชาวอังกฤษคนหนึ่งมีความสนใจพันธุกรรมของพวกมัน จึงหาว่าเหตุใดพวกมันถึงมีขาสั้น แต่การศึกษาก็ต้องยุติลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวจากรัฐหลุยซ์เซียน่า (Louisiana) ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า Sandra Hockenedel ได้ตั้งชื่อให้มันใหม่ว่า มันช์กิ้น โดยตั้งตามชื่อของตัวละครในเรื่องวรรณกรรมคลาสสิค อย่าง เรื่อง The Wizard of Oz แมวมันช์กิ้น ได้รับการยอมรับเป็นแมวพันธุ์แท้ โดยสมาคม The International Cat Association หรือ TICA แต่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับทางสมาคม Cat Fancier Association หรือ CFA เนื่องจากทางสมาคม CFA ถือว่าแมวขาสั้น หรือ แมวมันช์กิ้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือพิการอย่างหนึ่ง […]

อ่านต่อ

สกอตติช โฟลด์ (Scottish Fold) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ สกอตติช โฟลด์ ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสก็อตแลนด์ จากคนเลี้ยงแกะที่ชื่อนาย “วิลเลี่ยม รอส” ในปีค.ศ. 1961 โดยนายวิลเลี่ยมพบแมวตัวหนึ่งในโรงนาของเพื่อนบ้านที่มีลักษณะหูพับและมีสีขาวทั้งตัวโดยบังเอิญ ซึ่งแมวตัวนี้เป็นของเพื่อนบ้านของเขาที่ชื่อว่า “ซูซี่” นายวิลเลี่ยมสนใจซูซี่เป็นอย่างมาก เมื่อซูซี่ได้ให้กำเนิดลูกแมวน้อยที่มีลักษณะหูพับเหมือนกัน นายวิลเลี่ยมจึงขอซื้อจากเจ้าของ แล้วนำมาเลี้ยงที่บ้าน โดยตั้งชื่อแมวที่เป็นลูกของซูซี่นี้ว่า “สนู๊กส์” เมื่อโตขึ้นนายวิลเลี่ยมจึงนำมาผสมพันธุ์กับสายพันธุ์ บริติช ชอร์ตแฮร์ จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ จากนั้นก็เริ่มมีคนสนใจนำแมวที่มีลักษณะหูพับนี้ไปปรับปรุงพันธุ์ จนกระทั่งในปี 1966 ก็ได้มีการตั้งชื่อแมวหูพับนี้ว่า สกอตติช โฟลด์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับสถานที่ที่กำเนิดแมวสายพันธุ์นี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แมวพันธุ์นี้ก็ได้รับการยอมรับในวงกว้างอย่างรวดเร็ว และเป็นหนึ่งในแมวที่มีคนนิยมเลี้ยงมากที่สุดในโลกอีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ สกอตติช โฟลด์ เป็นแมวขนาดกลาง รูปร่างกะทัดรัด รูปร่างกลม เพศเมียมีน้ำหนักอยู่ราว 2.5-4 กิโลกรัม ในขณะที่เพศผู้มีน้ำหนักได้ถึง 5.8 กิโลกรัม มีจุดเด่นที่ใบหูพับลงไปข้างหน้า และพับลงต่ำ อีกทั้งขนาดของใบหูมีขนาดค่อนข้างเล็ก มีดวงตาที่กลมโตคล้ายนกฮูก หัวค่อนข้างกลม ช่วงคอสั้น และมีจมูกสันโค้งกว้างรับกับดวงตา ซึ่งบางตัวมีปากโค้งได้รูปรับกับคางพอดี จึงเป็นที่มาของ Smiling […]

อ่านต่อ
ไรขน

ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)

โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]

อ่านต่อ
อเมริกัน ช็อตแฮร์

อเมริกัน ช็อตแฮร์ (American Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ อเมริกัน ช็อตแฮร์ เป็นแมวพื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา จัดอยู่ในประเภทแมวขนสั้น ในปี ค.ศ. 1620 นักเดินเรือได้นำแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์เป็นแมวประจำเรือครั้งแรก เพื่อใช้กำจัดหนูบนเรือที่กลับมาจากพลิมัท (Plymouth) รัฐแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts) และเรือที่เดินทางไปยังนิคมอุตสาหกรรมเจมส์ทาวน์ (Jamestown) ในอาณานิคมเวอร์จิเนีย (Virginia) รวมถึงพาแมวไปยังประเทศต่าง ๆ ทำให้ถูกเรียกว่าแมวเดินทางในทะเล (Seafairing cat) ในปี ค.ศ. 1634 เริ่มมีผู้คนนำแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์ มาใช้งาน เช่น ชาวนา, เจ้าของร้าน, หรือนำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน เพื่อใช้ป้องกันหนู หรือศัตรูพืชที่กินมากินอาหาร เพราะเป็นแมวที่ขยัน แข็งแรง และเข้มแข็ง ในปี ค.ศ. 1896 แมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์ เริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยง และมีจำนวนมากขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงได้ถูกนำมาประกวดแมวที่ Madison Square Garden ให้เห็นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และมีราคาซื้อแมวอยู่ที่ $2500 ในปี ค.ศ. […]

อ่านต่อ

เอาใจน้องเหมียว ด้วยอาหารแมวแบบเปียกและขนมแมวเลีย

ทาสแมวหลายคนคงทราบดีว่าแมวเป็นสัตว์ที่กินน้ำน้อยโดยธรรมชาติ อาจเพราะส่วนหนึ่งเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิด หรือมีเชื้อสายมาจากแถบทะเลทราย จึงสามารถอดน้ำได้ดี เพราะ ถูกจำกัดโดยสิ่งแวดล้อม แต่สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและสุขภาพแล้ว การดื่มน้ำน้อยในปัจจุบันอาจทำให้เกิดภาวะเสี่ยงของโรคนิ่ว โรคไต และโรคระบบทางเดินปัสสาวะได้ บ่อยครั้งเจ้าของจึงต้องให้ อาหารแมวแบบเปียก และขนมแมวเลีย เพื่อช่วยชดเชยปริมาณน้ำในร่างกายที่ขาดไป อาหารแมวแบบเปียก ส่วนใหญ่ มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 70-80% จึงช่วยเติมน้ำในร่างกายให้เพียงพอ หรือใกล้เคียงกับความต้องการในแต่ละวันได้ อีกทั้งแมวเป็นสัตว์ที่มีต่อมรับรสบนลิ้นน้อยมาก แต่มีประสาทสัมผัสในการรับรู้กลิ่นที่ดี อาหารแมวแบบเปียกและขนมแมวเลียที่มีเนื้อสัมผัสดีและมีกลิ่นหอม จึงเป็นตัวตัดสินรสชาติและกระตุ้นความอยากอาหารของแมว ซึ่งเจ้าของควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เน้นวัตถุดิบหลักที่เป็นเนื้อสัตว์แท้ อย่าง เนื้อปลา หรือเนื้อไก่ มีส่วนผสมที่เหมาะกับอายุ สุขภาพ และความต้องการของร่างกาย รวมถึงควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ควรให้เพื่อทดแทนอาหารหลัก และควรดูแลสุขภาพช่องปากของแมวเหมียวเป็นประจำ เพื่อลดกลิ่นปากและการสะสมของคราบหินปูน PRAMY ผลิตจากส่วนที่ดีที่สุดของเนื้อปลาแท้ 100% อาหารแมวแบบเปียกของ Pramy (พรามี่) ผลิตจากเนื้อปลาแท้ 100% คัดสรรมาเฉพาะปลาเนื้อขาว (White meat) ซึ่งเป็นเนื้อส่วนที่ดีที่สุด ปราศจากก้าง เครื่องใน เลือด รวมถึงเนื้อแดง เพื่อให้ได้อาหารคุณภาพดีที่สุด (Human […]

อ่านต่อ

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]

อ่านต่อ
เจแปนนิส บ็อบเทล

เจแปนนิส บ็อบเทล (Japanese Bobtail) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เจแปนนิส บ็อบเทล หรือ แมวหางกุดญี่ปุ่น (Japanese Bobtail) เป็นแมวประจำชาติญี่ปุ่น และยังถือเป็นสัญลักษณ์ของสัตว์นำโชคอีกด้วย ในอดีตพวกมันถูกนำมาเลี้ยง เพื่อกำจัดหนูในบริเวณท่าเรือ หรือโรงนา ด้วยความฉลาด และกระตือรือร้นจึงเป็นที่นิยมในประเทศต้นกำเนิด นอกจากนั้น ในยุคสมัยหนึ่งพวกมันถูกเรียกว่า เป็นแมวของจักรพรรด์ญี่ปุ่น มีการออกกฎหมายที่ห้ามฆ่าพวกมัน และให้สิทธิพิเศษในการใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ ความนิยมของพวกมันมีมาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของตำนาน และประวัติศาสตร์ รวมทั้งศิลปะของญี่ปุ่น จากนั้นในปี ค.ศ.1968 นักพัฒนาสายพันธุ์แมวชาวอเมริกันได้นำแมวเจแปนนิส บ๊อบเทล จากญี่ปุ่นเข้ามาเลี้ยงในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นไม่นานก็ได้รับการประกาศเป็นพันธุ์มาตรฐาน โดยสมาคม Cat Fanciers’ Association (CFA) ในปี ค.ศ. 1969 และเป็นที่นิยมอย่างมาก ลักษณะทางกายภาพ เจแปนนิส บ็อบเทล เป็นแมวขนาดกลาง มีน้ำหนักอยู่ราว 2.5 – 5 กิโลกรัม มีรูปร่างปราดเปรียว ลำตัวเพรียว ขายาวเรียว มักพบว่าขาหลังยาวกว่าขาหน้า หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม โหนกแก้มเป็นสันนูน จมูกยาว ตารูปไข่และมีดวงตาสีเหลืองสวย ใบหูใหญ่และตั้งสูงเป็นสามเหลี่ยม […]

อ่านต่อ

โภชนาการที่ทาสแมวควรรู้ ทางลัดสู่ขนสวยเงางามพร้อมสุขภาพที่ดี

ตามธรรมชาติแล้วน้องแมวถูกจัดให้เป็นสัตว์กินเนื้อ สารอาหารที่น้องแมวควรจะได้รับเป็นหลักจึงเป็นอาหารจำพวกโปรตีนที่ได้จากปลา  จากเนื้อสัตว์อย่างไก่และอาหารทะเล แต่ก็ใช่ว่าโปรตีนอย่างเดียวจะเพียงพอต่อสุขภาพที่ดีของน้องแมว สารอาหารในกลุ่มอื่น ๆ อย่างคาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ รวมไปถึงกรดอะมิโนนั้นก็จำเป็นไม่แพ้กัน การเลือกอาหารให้เหมาะสมกับน้องแมวนอกจากจะเลือกรูปแบบของอาหารแล้ว ควรจะทราบถึงความต้องการทางด้านโภชนาการของน้องแมวในแต่ละช่วงอายุด้วย เพราะต่างวัย ร่างกายก็ต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันออกไป เพื่อส่งเสริมและดูแลสุขภาพร่างกายของน้องแมวให้สมบูรณ์ตั้งแต่แรกด้วยโภชนาการที่เหมาะสมกันค่ะ   ลูกแมว ( แรกเกิด – 1 ปี ) เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของลูกแมว ภูมิคุ้มกันที่เคยได้รับจากนมแม่เริ่มลดน้อยลง ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงตามไปด้วย ลูกแมวในช่วงวัยนี้เราควรดูแลเรื่องอาหารที่มีหน้าที่ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงเพิ่มปริมาณของโปรตีน ไขมัน แคลเซียมและฟอสฟอรัส ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต  พร้อมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ความถี่ในการให้อาหารลูกแมวไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมาก เน้นให้น้อยแต่ให้บ่อย โดยแบ่งเป็น 5 มื้อ ต่อวัน สามารถค่อย ๆ ลดปริมาณการให้อาหารเป็น 2 มื้อต่อวันแบบแมวโตได้เมื่อลูกแมวอายุเข้าเดือนที่ 6 ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่ายเพราะระบบย่อยยังทำงานไม่สมบูรณ์   แมวโตเต็มวัย ( 1 – 7 ปี ) ถึงจะได้ชื่อว่าช่วงโตเต็มวัย แต่การให้อาหารของแมวช่วงวัยนี้กลับมีผลอย่างมากต่อสุขภาพ […]

อ่านต่อ

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

อ่านต่อ
เมนคูน

เมนคูน (Maine Coon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เมนคูน (Maine Coon) ถือเป็นแมวสายพันธุ์ขนยาวที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวพื้นเมือง กับแมวป่าทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำว่า “เมน” มาจากถิ่นกำเนิดคืออยู่ที่รัฐ Maine ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า “คูน” เชื่อกันว่าอาจมาจากพวกมันที่มีลักษณะคล้ายกับตัวแรคคูน คือ มีหางเป็นพวง มีสีและลวดลายสีน้ำตาลที่มีลักษณะเหมือนแรคคูน แมวพันธุ์เมนคูนเริ่มมีความนิยมลดลงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1900 เนื่องจากได้มีการนำเข้าแมวจากยุโรป อย่างแมวเปอร์เซียที่มีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ไม่นานกลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์แมวพื้นเมืองได้มีการจัดการแสดงนิทรรศการขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ทำให้ความนิยมของ “เมนคูน”กลับมาอีกครั้ง ทั้งในประเทศ ประเทศอังกฤษ และแพร่กระจายไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมา ลักษณะทางกายภาพ เมนคูน เมนคูนเป็นแมวขนาดใหญ่ มีโครงสร้างและรูปร่างที่ใหญ่โต แต่สมส่วนสมดุล มีความแข็งแรงและสง่างาม หัวใหญ่ หน้าผากกว้าง โหนกแก้มสูง ทำให้มีใบหน้าคล้ายเสือ มีอกกว้าง ขนยาวหนา ลักษณะขนเป็นมันคล้ายเส้นไหม (silky) ในเพศผู้จะมีแผงคอที่หนากว่าเพศเมีย ใบหูชี้ตั้ง มีปลายแหลม และมีขนขึ้นที่ปลายหูคล้ายแมวป่า และมีอุ้งเท้าขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ สีขนนั้นมีได้หลายสี และหลายแบบ ทั้งสีเดียวล้วน […]

อ่านต่อ
วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง

แปรงฟันน้องหมาน้องแมวด้วยตัวเองอย่างไร ให้เพลิดเพลินเหมือนพาน้องๆเข้าสปา

การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้เลี้ยงต้องใส่ใจดูแล เพราะเป็นอวัยวะที่สำคัญและมักถูกมองข้าม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้น้องๆเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น เกิดคราบหินปูน กลิ่นปาก ฟันผุ โรคปริทันต์ตามมาได้  วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง บ้านและสวน Pets ชวนเพื่อน ๆ มาเรียนรู้ถึงความสำคัญของการดูแลช่องปากและฟันของน้องหมาน้องแมว  พร้อมวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องกันค่ะ วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง ทำไมจึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้น้องหมาน้องแมว วิธีแปรงฟันสัตว์เลี้ยง ช่วยลดคราบพลัค ลดโอกาสการเกิดหินปูน เหงือกอักเสบ ลดโอกาสการสูญเสียฟัน รวมถึงลดการติดเชื้อในช่องปากและกระแสเลือด ซึ่งส่งผลเสียต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายในระยะยาวอีกด้วย การเลือกแปรงสีฟันและยาสีฟัน แปรงสีฟัน : เราสามารถเลือกแปรงให้กับสัตว์เลี้ยงได้ด้วยการพิจารณาจากขนาดช่องปาก และรูปแบบใบหน้า รวมถึงความถนัดของเจ้าของในการแปรงฟัน โดยเวอร์แบค มีแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับการแปรงฟันสัตว์เลี้ยงให้เลือกใช้ 2 ชนิดได้แก่ C.E.T.® Dual-Ended Toothbrush คือแปรงสีฟันชนิดหัวแปรงคู่ให้เลือกใช้ตามขนาดน้องๆที่บ้าน หัวแปรงกลมมนขนาดเล็ก และด้ามแปรงเอียง เพื่อการซอกซอนในช่องปาก และเพื่อการจับที่ถนัดมือ C.E.T.® Periaid Toothbrush คือแปรงสีฟันด้ามตรง ขนาดเล็กพร้อมด้วยขนแปรงนุ่มพิเศษ เพื่อการดูแลในช่องปากอย่างอ่อนโยน ยาสีฟัน : สำหรับการเลือกยาสีฟัน ผู้เลี้ยงควรเลือกยาสีฟันที่ผลิตมาเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำยาสีฟันของคนมาใช้กับน้องๆ […]

อ่านต่อ

เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ (Exotic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ จัดอยู่ในประเภทแมวขนสั้น ที่มีต้นกำเนิดตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1950 โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ (Fancier) ได้ทำการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์แท้ของอเมริกัน ช็อตแฮร์ (American Shorthair) กับแมวพันธุ์เปอร์เซีย (Persians) เพื่อปรับปรุงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย และเพื่อให้สีขนมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ได้นำสีขนสีเงินของแมวพันธุ์เปอร์เซียเข้าไปผสมกับสีขนของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์  และในช่วงแรกของการผสมนี้ แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ และยังไม่เป็นนิยมจากผู้คนส่วนมาก ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึง และเริ่มจางหายออกไปจากประวัติสายพันธุ์แมว ในปี ค.ศ. 1967 แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ได้กลับมาเป็นที่ยอมรับและนิยมอีกครั้ง เนื่องจากสมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับให้แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ชนะเลิศในการประกวดสายพันธุ์แมวจากแมวทุกสายพันธุ์ นอกจากนี้สมาคมยังได้ทำการเพิ่มแมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ว่า เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์และแมวพันธุ์เปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1979 สมาคม The International Cat Association (TICA) […]

อ่านต่อ
แมวเบงกอล

เบงกอล (Bengal) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชื่อของ แมวเบงกอล มาจาก Felis Bengalensis ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวดาว ในภาษาลาติน ถือเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวดาวเอเชียกับแมวพื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาความคล้ายคลึงทางกายภาพที่แข็งแกร่งของแมวบรรพบุรุษที่เป็นแมวป่า และเพื่อให้ได้สายพันธุ์แมวที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัว ปัจจุบันแมวเบงกอลเป็นแมวที่ติดอันดับ 5 ของแมวยอดนิยมในราชอาณาจักร ลักษณะทางกายภาพ แมวเบงกอล มีลักษณะภายนอกคล้ายแมวป่า แข็งแรง สามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้ชัดเจน มีความสมดุลของกล้ามเนื้อและขนาดตัว แมวเบงกอลมีขากรรไกรที่แข็งแรง มีจุดสังเกตเป็นสีเข้มบริเวณรอบดวงตา มีหูขนาดเล็ก แต่มีความกลมมนที่ส่วนปลายหู ขนสั้นถึงปานกลาง ผิวสัมผัสมีความแน่นและเรียบ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ไม่เหมือนกับแมวชนิดอื่น คือ มีลายจุด, ลายคล้ายดอกกุหลาบ, ลายลูกศร หรือ ลายหินอ่อน ซึ่งจุดส่วนใหญ่จะปรากฎในรูปแบบสุ่ม หรือวางตัวในแนวนอนตามลำตัว อายุขัย แมวเบงกอลมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 14-16 ปี ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยใกล้เคียงกับแมวสายพันธุ์ทั่วไป ลักษณะนิสัย แมวเบงกอลเป็นแมวที่มีนิสัยรักใคร่ ชอบแสดงความรัก และเป็นแมวที่มีพลังเยอะ ว่องไว ชอบเล่น ชอบปีนป่าย นอกจากนี้แมวเบงกอลยังเป็นแมวที่ฉลาดและชอบที่จะสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสามารถส่งเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ การเข้ากับเด็ก แมวเบงกอลเป็นแมวที่กระตือรืนร้นและเข้าสังคมได้ดี เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กและสุนัขที่เป็นมิตร แมวเบงกอลสามารถเล่นและเรียนรู้เทคนิคง่ายๆ […]

อ่านต่อ