
Pet Talk
- Home
- Pet Talk
วิธี พาแมวไปหาหมอ ตามแบบฉบับคุณหมอแมว
วันนี้ ไปหาหมอกันนะลูก … แค่คิดจะ พาแมวไปหาหมอ พ่อแม่อย่างเราก็เริ่มกังวลแล้ว ว่าน้องจะเครียดไหม คุณหมอจึงฝากคำแนะนำ และวิธีการ มาให้พ่อ ๆ แม่ ๆ ได้เตรียมตัวน้องแมวก่อนไปพบสัตวแพทย์ค่ะ ในช่วงชีวิตของการดูแลแมวเป็นสมาชิกในบ้านของเรา การ พาแมวไปหาหมอ หรือสัตวแพทย์ เป็นหนึ่งในกิจกรรมพื้นฐานที่เจ้าของแมวต้องทำเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการพาแมวไปตรวจสุขภาพ การฉีดวัคซีนประจำปี การทำหมัน หรือการรักษาอาการเจ็บป่วย โดยธรรมชาติของแมวแล้ว ค่อนข้างแตกต่างจากสุนัข ตรงที่ไม่ค่อยชอบออกไปนอกบ้าน หรือพบเจอกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมอย่างฉับพลัน ดังนั้น การพาแมวออกจากบ้านไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ในช่วงเวลาสั้น ก็สามารถกระตุ้นความเครียด หรืออาจเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ที่แมวจดจำได้ นอกจากนี้ แมวยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีอาณาเขต การออกจากบ้านที่อยู่เป็นประจำ จึงหมายถึง การออกจากอาณาเขตที่คุ้นเคย และเมื่ออยู่นอกบ้าน แมวจะไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ บวกกับความไวต่อสิ่งเร้าของแมว เช่น กลิ่น เสียง หรือมีสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น การออกจากบ้านจึงเป็นเหมือนฝันร้ายสำหรับแมวบางตัว รวมไปถึงเจ้าของด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเข้าใจวิธีการเตรียมตัวก่อนพาแมวออกจากบ้านไปหาหมอ หรือเดินทางท่องเที่ยว ก็จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับแมวได้ และยังสามารถลดความเครียดก่อนไปพบสัตวแพทย์ได้ด้วย […]
อ่านต่อการเลือกใช้ “สายจูง” และ “ปลอกคอสุนัข”
เมื่อเราต้องการพาสุนัขออกจากบ้านไปในที่สาธารณะ หนึ่งในอุปกรณ์ที่จำเป็น และมีความสำคัญเป็นอย่างมากคือ “สายจูง” และ “ปลอกคอสุนัข” ในปัจจุบัน สายจูง และ ปลอกคอสุนัข มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นปลอกคอแบบปกติที่เราสามรถนำสายจูงมาเกี่ยวได้ ปลอกคอและสายจูงแบบ choke chain แบบ slip leash ปลอกคอไฟฟ้า ปลอกคอที่มีแท่งโลหะทิ่มเข้าบริเวณคอของสุนัข หรือสายรัดอก เป็นต้น ปลอกคอและสายจูงแต่ละชนิดต่างก็มีข้อดี และข้อควรระวังเรื่องการใช้งาน ที่แตกต่างกันไป โดยเจ้าของควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน และเลือกชนิดของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสุนัขของเรา วันนี้เรามาทำความรู้จักสายจูงและปลอกคอสุนัขแต่ละชนิด ไปพร้อมกันนะครับ ปลอกคอสุนัข แบบปกติ ปลอกคอแบบปกติ ที่สามารถนำสายจูงมาเกี่ยวได้ เป็นปลอกคอที่สามารถใช้ได้ในสุนัขทั่วไป แต่อาจไม่เหมาะสำหรับสุนัขที่มีพฤติกรรมการดึงสายจูงมาก ๆ เนื่องจาก เมื่อสุนัขพยายามดึงสายจูงปลอกคอ จะเกิดแรงรั้งที่บริเวณลำคอของสุนัข ซึ่งบริเวณดังกล่าว เป็นบริเวณที่ประกอบไปด้วยหลอดอาหาร หลอดลม เส้นเลือด และเส้นประสาท การดึงสายจูงของสุนัขที่ใช้ปลอกคอในลักษณะดังกล่าว จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างของร่างกาย ที่อยู่บริเวณลำคอได้ นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า แรงกดที่เกิดขึ้นบริเวณลำคอจากการดึงสายจูงของสุนัขที่ใส่ปลอกคอธรรมดา ส่งผลให้ความดันภายในลูกตา (Intraocular pressure) เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับการใส่สายรัดอก […]
อ่านต่อแมวขนสาก และหยาบ น้ำหนักลด อาจเป็นโรคตับอ่อนทำงานบกพร่อง
แมวขนสาก และหยาบ พร้อมกับอาเจียนเรื้อรัง แม้ว่ากินอาหารมากแต่น้ำหนักลด น้องอาจกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อน ขนแมวที่นุ่มสลวยเงางาม เป็นหนึ่งในลักษณะภายนอกที่บ่งบอกว่าแมวมีสุขภาพดี ในทางกลับกัน ถ้า แมวขนสาก เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกหยาบกระด้าง ร่วมกับมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น อาเจียนเรื้อรัง และน้ำหนักลดทั้ง ๆ ที่กินอาหารมากกว่าปกติ ความผิดปกติทางด้านสุขภาพเหล่านี้ อาจนำไปสู่โรคบางอย่างได้ หนึ่งในโรคที่ทำให้แมวขนสาก หยาบ และมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร คือ โรคตับอ่อนทำงานบกพร่องในแมว หรือ Exocrine Pancreatic Insufficiency (EPI) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ระบบการย่อย และดูดซึมอาหาร มีประสิทธิภาพลดลง เป็นสาเหตุให้ร่างกายของแมวได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สาเหตุการเกิด EPI ที่พบได้บ่อยในแมว โรคนี้มีรายงานพบได้ในแมวที่อายุน้อย ประมาณ 6 เดือน แต่ก็พบในแมวโตเต็มวัยได้เช่นกัน และพบแมววัยโตเต็มวัย อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบรายงานความสัมพันธ์ของสายพันธุ์แมวที่มีแนวโน้มของโรคนี้ อาการของแมวที่มีภาวะ EPI การตรวจวินิจฉัย เมื่อเจ้าของสังเกตพบอาการที่กล่าวมาข้างต้น และนำแมวมาพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์จะเริ่มต้นการสอบถามประวัติอาการที่แสดง จากนั้นจะส่งตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และการตรวจค่าเคมีพื้นฐาน เพื่อวินิจฉัยแยกแยะจากโรคในระบบอื่นๆ สำหรับการตรวจที่เฉพาะเจาะจงต่อโรคนี้ […]
อ่านต่อการสร้าง อาณาเขตของแมว เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าใจ
ทราบหรือไม่ครับว่า หนึ่งในปัจจัยที่มักทำให้แมวเกิดความเครียด คือ การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมใน อาณาเขตของแมว การเปลี่ยนแปลงใน อาณาเขตของแมว อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เช่น มีเสียงก่อสร้างดังจากนอกบ้านเข้ามาในตัวบ้าน มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้ามาในบ้าน หรือแม้แต่การย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็สามารถทำให้แมวเกิดความเครียดได้เช่นกัน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น มีคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน หรือมีแมวที่ไม่คุ้นเคยเข้ามาในบริเวณบ้าน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ โดยระดับความรุนแรงของความเครียดที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย จะเห็นได้ว่า แมวเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับอาณาเขตเป็นอย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับอาณาเขตของแมว จะช่วยให้เราเข้าใจความต้องการตามธรรมชาติ และจัดการสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของแมว อาณาเขตทั่วไปของแมว แบ่งออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ Core territory, Territory, และ Home หรือ Hunting Range (รูปที่ 1) โดยพื้นที่แต่ละส่วนก็จะมีลักษณะ และความสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. […]
อ่านต่อสุนัขดุร้าย เพราะสายพันธุ์ จริงหรือ ?
ปัญหา สุนัขดุร้าย และความก้าวร้าว ถือเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อย และเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับสุนัขกัด หรือทำร้ายผู้คนอยู่อย่างต่อเนื่อง วันนี้ เราจามาคุยกันถึงเรื่องปัจจัยความดุร้ายในสุนัข และไขข้อสงสัยเรื่องนี้ ไปพร้อมกันครับ ในเนื้อหาข่าวส่วนใหญ่ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เรามักจะพบการเสนอคำว่า สุนัขดุร้าย โดยพุ่งเป้าไปยังสายพันธุ์ที่สังคมมีความเข้าใจว่าเป็นสุนัขดุร้าย เช่น ร็อตไวเลอร์ หรือสุนัขในกลุ่มพิทบูล ซึ่งรวมถึง อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย และอเมริกันบูลลี่ เป็นต้น ในความเป็นจริงแล้ว สายพันธุ์ของสุนัขเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความก้าวร้าวได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้สุนัขดุร้าย และแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา โดยแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของสุนัข ได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัจจัยทางชีววิทยาของสุนัข ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มาจากตัวของสุนัขเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม สายพันธุ์ พื้นอารมณ์ (temperament) บุคลิกภาพ ระดับของสารเคมีในสมอง ตลอดจนการทำงานของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นต้น 2. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตัวสัตว์ ณ ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง […]
อ่านต่อเลี้ยงแมวระบบเปิด เสี่ยงติดเชื้อราตัวร้าย
แมวเป็นสัตว์นักล่าตามสัญชาตญาณ บวกกับความอยากรู้อยากเห็น ที่ชอบออกไปสำรวจสิ่งต่าง ๆ นอกบ้าน เจ้าของบางท่านจึง เลี้ยงแมวระบบเปิด เพราะคิดว่า แมวอาจรู้สึกเบื่อเมื่ออยู่ในบ้านตลอดเวลา การ เลี้ยงแมวระบบเปิด หรือการยอมให้แมวออกไปเที่ยวเตร่นอกบ้านได้อย่างอิสระ เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เจ้าของแมวต้องแบกรับ เพราะจากการสำรวจพฤติกรรมแมวที่เลี้ยงระบบเปิด พบว่า แมวส่วนใหญ่มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากสัตว์เลี้ยงของผู้อื่น หรือสัตว์จรจัด อุบัติเหตุบนท้องถนน และการสัมผัสเชื้อโรค ในประเทศไทย เราจะพบว่า แมวจรได้อาศัยอยู่ในแทบทุกชุมชนของมนุษย์ ซึ่งประชากรแมวจรเหล่านี้มักไม่ได้รับวัคซีน และการเลี้ยงดูอย่างถูกสุขอนามัย จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นพาหะของโรคระบาดในแมว ซึ่งถ้าแมวของเราไปสัมผัสสารคัดหลั่งของแมวที่มีโรค ก็อาจทำให้แมวของเราติดเชื้อโรคเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ พฤติกรรมนักล่าของแมว ซึ่งชอบล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่า เช่น นก หนู กิ้งก่า และสัตว์อื่น ๆ ก็เป็นความเสี่ยงที่แมวมีโอกาสจะสัมผัสเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านั้นเช่นกัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีประชากรนกพิราบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยในมูลของนกพิราบมีเชื้อราก่อโรค ที่เป็นอันตรายต่อแมว หากแมวไปสัมผัสก็อาจส่งผลต่อสุขภาพขั้นรุนแรงได้ เชื้อราตัวร้ายจากมูลนกพิราบ เชื้อราก่อโรคในแมวที่พบในมูลนกพิราบ คือเชื้อราชนิด Cryptococcus neoformans และ Cryptococcus bacillisporus เป็นชนิดของเชื้อราที่พบได้ทั้งในพืช และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนชื้น และเป็นเชื้อรากลุ่มที่ทนความร้อนได้ดี ทำให้เกิดโรคคริปโตคอกโคซิส (Cryptococcosis) […]
อ่านต่อรู้หรือไม่… แมวเดินกะเผลก อาจเป็นสัญญานของ “โรคหวัดแมว” ได้
หากอยู่ดี ๆ แมวเดินกะเผลก ดูเหมือนจะเจ็บขา โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุ หรือตกจากที่สูง ร่วมกับอาการเซื่องซึม มีไข้ หรือจาม นั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ Feline Calicivirus ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดโรคหวัดแมวได้ โรคหวัดแมว หรือไข้หวัดแมว (cat flu) ทำให้ แมวเดินกะเผลก ได้ด้วยหรือ ? ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย นอกจากมนุษย์อย่างเราจะมีแนวโน้มป่วยเป็นไข้หวัดได้แล้ว แมวที่เรารักก็สามารถป่วยได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสที่ทำให้แมวป่วย ได้แก่ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calicivirus (FCV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่จำเพาะเจาะจงกับแมว นอกจากนี้ น้องแมวก็สามารถเป็นไข้หวัดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica , Chlamydia spp. , Mycoplasma spp. ได้ด้วย ที่น่าสนใจ คือ เมื่อแมวติดเชื้อ Feline Calicivirus โดยเฉพาะการติดเชื้อในแมวเด็ก จะเกิดอาการเฉียบพลันที่เรียกว่า Feline limping syndrome […]
อ่านต่อการใช้อาหารเสริมที่ช่วยเรื่อง ความเครียดในสัตว์เลี้ยง
ทุกวันนี้ ความเครียดในสัตว์เลี้ยง ถือเป็นสภาวะหนึ่งที่สามารถพบเจอได้ในสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในความดูแลของเรา ความเครียดในสัตว์เลี้ยง สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมรอบตัวสัตว์ ทั้งเชิงกายภาพ เช่น เสียงก่อสร้าง ความร้อน การเปลี่ยนแปลงที่อยู่ การมีเฟอร์นิเจอร์ใหม่ในบ้าน หรือย้ายข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปจากตำแหน่งเดิม ไม่ใช่เพียงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ประสบการณ์ของสัตว์เลี้ยง ก็มีผลต่อการเกิดความเครียดได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงบางตัวมีประสบการณ์ที่ดีกับเด็ก เมื่อเจอเด็กก็จะเกิดความเครียดน้อยกว่า สัตว์เลี้ยงที่มีประสบการณ์ไม่ดีกับเด็ก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเครียดในสัตว์เลี้ยงคือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวสัตว์เลี้ยงเอง โดยสัตว์แต่ละตัวก็จะมีความสามารถในการรับมือกับความเครียดที่แตกต่างกัน อย่างในกรณีที่สัตว์เลี้ยงคนแต่ละตัวไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน ก็อาจจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อสัตว์เลี้ยงของเรามีความเครียดเกิดขึ้น เราสามารถช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงของเราโดยใช้แนวทางต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับสิ่งแวดล้อม การทำพฤติกรรมบำบัด รวมไปถึงการใช้ยา นอกเหนือจากแนวทางในการจัดการกับความเครียดที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว ในปัจจุบัน ผู้เลี้ยงสามารถใช้อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของสารบางประเภท เพื่อช่วยจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ โดยสารที่มักนิยมนำมาผลิตเป็นอาหารเสริม เพื่อจัดการกับความเครียด และปัญหาพฤติกรรมในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ 1. แอล – ทริปโตแฟน (L-Tryptophan)แอล – ทริปโตแฟน (L-Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนทริปโตแฟน […]
อ่านต่อความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ มีรูปแบบใดบ้าง
ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสุนัขถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีวิวัฒนาการร่วมกับมนุษย์มาอย่างใกล้ชิด เป็นระยะเวลาอันยาวนาน ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์เริ่มศึกษาถึงรูปแบบ ความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของ ในลักษณะต่าง ๆ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจากลักษณะความผูกพันเหล่านั้น ในเชิงของความสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับน้องหมาเพิ่มมากขึ้น การศึกษาเรื่องความผูกพันธ์ระหว่างคนและสัตว์เลี้ยง เป็นการประยุกต์มาจากการศึกษาความผูกพันระหว่างเด็กและพ่อแม่ โดยความผูกพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสุนัขและมนุษย์ มีทั้งหมด 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ ความผูกพันที่มั่นคง ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง ความผูกพันแบบสับสน ความผูกพันแบบไม่เป็นระเบียบ และความผูกพันที่ไม่สามารถระบุลักษณะได้ เราสามารถสังเกตจากพฤติกรรมของน้องหมาที่แสดงออกก่อนการแยกจากเจ้าของ ขณะแยกจากเจ้าของ และหลังจากกลับมาเจอกับเจ้าของ เป็นตัวที่บ่งบอกถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสุนัขของเรา มาดูรายละเอียดกันครับ 1. ความผูกพันที่มั่นคง (Secure attachment) สุนัขที่มีรูปแบบความผูกพันในลักษณะนี้จะแสดงความต้องการเข้าหา และอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของ โดยจะเข้าหาและอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 10 วินาที หลังจากที่เจ้าของกลับมาบ้าน สุนัขแทบจะไม่หลบสายตาไปทางอื่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับเจ้าของเลย และไม่มีการต่อต้านต่อปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับเจ้าของในช่วงเวลาดังกล่าว สุนัขที่มีรูปแบบความสัมพันธ์ที่มั่นคง ก่อนจะแยกจากเจ้าของ สุนัขอาจจะมีการเล่นหรือสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง และเมื่อทักทายกับเจ้าของเสร็จแล้ว สุนัขอาจจะไปนอนพักผ่อน ส่วนช่วงที่แยกจากเจ้าของ สามารถพบพฤติกรรมการเดินตามหาเจ้าของได้ แต่เป็นการตามหาที่ไม่ได้มีภาษากายของความเครียดแสดงให้เห็น 2. ความผูกพันแบบหลีกเลี่ยง […]
อ่านต่อต่อมเหม็นของแมว หรือต่อมข้างก้น คืออะไร
ต่อมเหม็นของแมว หรือต่อมข้างก้น มีบทบาทในเรื่องการสร้างกลิ่นเพื่อสร้างอาณาเขตของแมว แต่ต่อมข้างก้นก็สามารถเกิดความผิดปกติกลายเป็นโรคในแมวได้เช่นกัน วันนี้ เรามาทำความรู้จัก และเรียนรู้เกี่ยวอาการผิดปกติของ ต่อมเหม็นของแมว กันค่ะ ต่อมข้างก้น (Anal sac) หรือต่อมเหม็น คืออะไร ต่อมข้างก้นมีโครงสร้างลักษณะเป็นถุงขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณข้างรูก้นของแมว (anus) โดยวางอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของรูก้น ตำแหน่งประมาณ 4 นาฬิกา กับ 8 นาฬิกา หรือ 3 นาฬิกา กับ 9 นาฬิกา บริเวณผนังของต่อมนี้ จะสร้างสารคัดหลั่งที่มีลักษณะเป็นของเหลว มีกลิ่นเฉพาะตัวของแมวแต่ละตัว ซึ่งจะมีกลิ่นเหม็นคล้าย ๆ กับน้ำคาวปลา หรือกลิ่นเหมือนปลาเค็ม เมื่อสารคัดหลั่งผลิตออกมา จะถูกเก็บอยู่ในต่อมข้างก้นนี้ และถูกปล่อยออกมาทางท่อเปิดขนาดเล็กที่อยู่บริเวณด้านในของรูก้น โดยต่อมข้างก้นนี้พบได้ทั้งในแมวเพศผู้ และเพศเมีย ต่อมข้างก้นมีหน้าที่อย่างไร สารคัดหลั่งที่ถูกผลิตออกมาเป็นสารเคมีที่มีกลิ่นเฉพาะตัว มีบทบาทช่วยแสดงกลิ่นของแมวตัวนั้น ๆ และกลิ่นนี้ยังช่วยเป็นเครื่องหมายแสดงตัวตน และการวางอาณาเขตของแมวได้ด้วย หลายครั้งที่เราพบว่า แมวมีพฤติกรรมดมก้นของแมวที่เพิ่งเคยเจอกัน นั่นเป็นหนึ่งในพฤติกรรมการทักทาย และทำความรู้จักของแมว โดยการใช้กลิ่นสื่อสาร นอกจากนี้ แมวป่าที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ สารคัดหลั่งจากต่อมข้างก้นจะถูกขับออกมา […]
อ่านต่อโรคซึมเศร้าในแมว รู้ก่อน ป้องกันได้
แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของแมว แมวซึมเศร้า หรือภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดจากความผิดปกติของหลั่งสารสื่อประสาทในสมองคล้าย ๆ กับในมนุษย์ อาจมีสาเหตุโน้มนำมาจากความเครียดสะสมของแมวจนนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าตามมา สาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้าในแมวเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น สัญญาณอาการความผิดปกติของภาวะซึมเศร้าในแมวจะแสดงออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เหล่านี้ คือ 8 สัญญาณอาการเตือนของแมวที่มีภาวะซึมเศร้า 1. มีเสียงร้องที่เปลี่ยนแปลงไป ปกติแล้วแมวจะสื่อสารด้วยการร้องเสียงเหมียว แมวที่มีภาวะซึมเศร้าจะส่งเสียงร้องที่ผิดปกติไปจากเดิม เช่น การร้องน้อยลงหรือไม่ร้องเลย มีการร้องเสียงแปลก ๆ เสียงโทนต่ำ หรือสูงกว่าปกติไปจากเดิม ร่วมกับมีอาการซึมนิ่งกว่าปกติ แมวบางตัวอาจจะทำเสียง purring บ่อยกว่าปกติ หรือในทางกลับกัน แมวที่มีนิสัยไม่ค่อยส่งเสียงร้อง แต่กลับมีการร้องเสียงดังมากกว่าปกติ การส่งเสียงร้องเช่นนี้อาจเกิดขึ้น เนื่องความเจ็บปวดทางจิตใจและความวิตกกังวล 2. มีภาษากายและท่าทางแปลกไปจากเดิม มีความผิดปกติแสดงออกมาทางภาษาท่าทาง เช่น การพับหูลู่ไปข้างหลัง การเก็บหางจุกก้น การหมอบต่ำตลอด มีท่าทางที่ระแวงต่อสิ่งแวดล้อม ขนตั้งชันตลอดเมื่อรู้สึกไม่สบายใจ หรือแมวมีการเลียขน กัด หรือดึงขนมากกว่าปกติ จนเกิดขนร่วงบาง รวมถึงบางตัวอาจมีอาการเคี้ยวปากบ่อยขึ้น 3. มีความก้าวร้าวมากขึ้น หรือมีความกลัว แมวจะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ […]
อ่านต่อเลี้ยงแมวตัวเดียว หรือควรหาเพื่อนให้น้องอีกสักตัว
หลาย ๆ ท่านที่เป็นทาสแมว ที่กำลัง เลี้ยงแมวตัวเดียว อยู่ในตอนนี้ ก็อาจจะมีความสงสัยว่า น้องแมวที่เราเลี้ยงอยู่จะเหงา หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราออกไปทำงานนอกบ้านระหว่างวัน แล้วจำเป็นต้องทิ้งน้องไว้ที่บ้านตัวเดียว ก็ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เราถามตัวเองอยู่ซ้ำ ๆ ว่า เราควรหาแมวอีกสักตัวมาอยู่เป็นเพื่อนน้อง ดีไหมนะ ก่อนที่จะเราจะตัดสินว่า เราจะ เลี้ยงแมวตัวเดียว หรือเพิ่มสมาชิกแมวเข้ามาในบ้าน เราลองเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับธรรมชาติความต้องการด้านสังคมของแมว กันดูก่อนครับ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า แมวบ้านที่เราเลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้ มีลักษณะนิสัย และพฤติกรรม ที่คล้ายคลึงกับบรรพบุรุษที่เป็นแมวป่า เนื่องจากระยะเวลาที่มนุษย์นำแมวเข้ามาเป็นสัตว์เลี้ยง ไม่ได้ยาวนานมาก เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น อย่างสุนัข นอกจากนี้ ในการเพาะพันธุ์แมวออกมาเป็นสายพันธุ์ต่าง ๆ ผู้เพาะพันธุ์แมวส่วนใหญ่คัดเลือกลักษณะของสายพันธุ์ โดยเน้นที่รูปร่างและหน้าตาของแมวเป็นหลัก โดยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแสดงออกทางพฤติกรรมของแมว แมวแต่ละสายพันธุ์ที่มีปรากฏอยู่ทุกวันนี้นั้น จึงมีลักษณะของพฤติกรรมโดยทั่วไปที่คล้ายคลึงกับแมวป่าในธรรมชาติค่อนข้างสูง ดังนั้น ในการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของแมวบ้านที่เราเลี้ยงกันอยู่ทุวันนี้ จึงสามารถศึกษาความต้องการตามธรรมชาติของแมวป่า แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับแมวบ้านได้เลย สังคมแบบแมวแมว ที่ผ่านมา การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมของแมว พบว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีโครงสร้างทางสังคมที่แบบ “ยืดหยุ่น” สูง หมายความว่า โดยส่วนใหญ่ตามธรรมชาติ แมวเป็นสัตว์ที่อยู่เพียงลำพัง ใช้ชีวิตเพียงตัวเดียว […]
อ่านต่อคุณ สติ เต่าอัลดาบรา ของคุณปลาทู
“เต่าอัลดาบรา เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ช้า ซึ่งเราก็ได้เรียนรู้เรื่องความนิ่ง และความสงบ ผ่านวิถีชีวิตของเขาด้วย” คุณปลาทู – ดิฐวัฒน์ อิสสระ วันนี้ บ้านและสวน Pets ได้รับเกียรติอย่างสูงจากคุณปลาทู – ดิฐวัฒน์ อิสสระ ที่เปิดบ้านต้อนรับทีมงานให้เข้าไปเยี่ยมชมการเลี้ยงดูคุณ “สติ” เต่าอัลดาบรา ตัวเขื่อง ที่ตอนนี้อายุล่วงเข้าสู่วัย 5 ปีแล้ว และขนาดตัวก็ใหญ่โตสมกับนามเต่ายักษ์ การพูดคุยวันนี้ คุณปลาทูเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงเต่ายักษ์ไปจนถึงความรู้สึกผูกพันที่เกิดขึ้น และมุมมองบางอย่างที่ได้จากการสังเกตเพื่อนต่างสายพันธุ์ เริ่มต้นเลี้ยงเต่าด้วยความรักสัตว์ และเข้ากับไลฟ์สไตล์ จุดเริ่มต้นคือ ช่วงวัยเด็กที่บ้านของผมเลี้ยงน้องหมามาอย่างต่อเนื่อง เป็นครอบครัวที่ทุกคนรักสัตว์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วนตัวผมเองก็เคยเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น ซึ่งก็รู้สึกว่าเลี้ยงง่ายดี แต่หลังจากนั้น ผมก็ต้องเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ จึงไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับน้องเต่าตัวนั้น โดยช่วงที่ผมเดินทางกลับมาประเทศไทย จึงได้รับน้องหมาเข้ามาอยู่ในบ้านหนึ่งตัว ซึ่งอาจนับได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงตัวแรกทีเรากลายเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มตัว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นก็พบว่า การเลี้ยงน้องหมาหนึ่งตัวเป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่มากพอสมควร ดังนั้น ผมจึงเกิดความคิดว่า สัตว์เลี้ยงตัวต่อไปอาจจะต้องเป็นสัตว์เลี้ยงที่อายุยืนยาว เลี้ยงง่าย ไม่ต้องใช้เวลาดูแลมาก จึงกลายเป็นที่มาของการเลี้ยงเต่าอัลดาบราในปัจจุบัน แม้ว่าบนโลกมีสัตว์เลี้ยงพิเศษหลายชนิด แต่ก็มาลงเอยที่เต่าอัลดาบรา อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนแรกว่า ผมเคยเลี้ยงเต่าญี่ปุ่นมาก่อน และผมเคยมีประสบการณ์ไปท่องเที่ยวสวนสัตว์กับครอบครัว […]
อ่านต่องูบอลไพธอน ของหญิงสาวผู้เห็นความงามในสัตว์เลี้ยงพิเศษ
งู้ยยย น้องงง !!! ในยุคสมัยที่เราเรียกสัตว์เลี้ยงว่าน้อง และเรียกเพื่อนสนิทเป็นชื่อสัตว์เลื้อยคลาน ความน่ารักของสัตว์เลี้ยงได้เข้าไปครอบครองพื้นที่ในใจของเหล่าบรรดาคนรักสัตว์เลี้ยง เราจึงพบเห็นความน่ารักของสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สัตว์เลี้ยงยอดนิยม อย่างน้องหมาและน้องแมว อีกต่อไป แต่ยังรวมไปถึง สัตว์แปลก หลากหลายสายพันธุ์ อย่าง งูบอลไพธอน สัตว์แปลก หรือสัตว์เลี้ยงพิเศษ (exotic pets) อย่างนกฟอร์พัส หนูแฮมสเตอร์ งูบอลไพธอน และกระต่ายสายพันธุ์ต่าง ๆ ก็เป็นสัตว์เลี้ยงอีกหนึ่งประเภท ที่ได้เข้าไปยึดพื้นที่ห้องนั่งเล่นของหลายบ้าน รวมไปถึง ความนิยมของผู้คนที่ชื่นชอบชื่นชมวิถีชีวิตของเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่อยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงในบ้าน ก็ได้สร้างปรากฏการณ์ให้สัตว์เลี้ยงพิเศษ กลายเป็นที่รู้จักของสังคมในวงกว้างมากขึ้น คุณพิม ผู้ก่อตั้งช่อง “ไอ้ต้าวงู้ยยย” ก็เป็นหนึ่งในคุณแม่ของน้องงูจำนวน 10 ตัว ที่ได้รับการยกย่องในฐานะอินฟลูเอนเซอร์ และมีผู้ชมเรื่องราวของเธอกับน้องงูแสนน่ารักนับล้านครั้งทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้ง Facebook, Instagram และ Tiktok กว่าจะพาน้องงูเข้าบ้านได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย “ตอนเด็ก ๆ พิมชอบตัวการ์ตูนสัตว์ประหลาด ที่มองเข้าไปในดวงตาของตัวละครเหล่านี้แล้วรู้สึกมีเสน่ห์ และน่าค้นหา” คุณพิมกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของความชอบสัตว์เลี้ยงพิเศษ “หลังจากนั้น ครอบครัวก็พาไปเที่ยวสวนสัตว์ และได้จับงูเป็นครั้งแรก ก็รู้สึกว่าความฝันถูกเติมเต็ม […]
อ่านต่อสุนัข K-9 ในระบบรถไฟฟ้า กับเบื้องหลังที่หลายคนไม่เคยรู้
ภาพความน่ารักน่าเอ็นดูระหว่างการปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ สุนัข K-9 ภายในระบบรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. (MRTA) ได้สร้างรอยยิ้มให้แก่ผู้โดยสารในขบวน และนั่นก็อาจกลายเป็นวันที่ดีของหลาย ๆ คนที่ได้พบเจอน้อง ๆ ทีม K-9 ระหว่างการเดินทางในชีวิตประจำวัน สุนัข K-9 เป็นชื่อพ้องเสียงของคำว่า Canine (เค-นาย) แปลว่า สัตว์ในกลุ่มสุนัข จากนั้นจึงได้ใช้คำนี้เพื่อเรียกสุนัขที่ผ่านการฝึกฝนเพื่อการปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ โดยหน่วยงานแรก ๆ ที่ได้ฝึกฝนสุนัข K-9 เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคงคือ หน่วยงานด้านการทหารและตำรวจ เหตุผลหลักที่นำสุนัขเข้ามามีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ คือ สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่ฝึกฝนให้ทำตามคำสั่งได้ดี มีความซื่อสัตย์ มีสัญชาตญาณการค้นหาที่ดีเยี่ยม และมีความสามารถในการรับรู้สิ่งเร้ารอบตัวได้ดีกว่ามนุษย์ โดยเฉพาะ การดมกลิ่น และการฟังเสียง โดยจมูกของสุนัขสามารถรับกลิ่นได้มากกว่ามนุษย์ถึง 40 เท่า ด้วยความโดดเด่นเฉพาะตัวในเรื่องเหล่านี้ จึงทำให้สุนัขมีความเหมาะสมกับงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัย และความมั่นคง จากจุดเริ่มต้นของการฝึกฝนสุนัข K-9 ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สุนัข K-9 ได้มีบทบาทในการช่วยปฏิบัติงานที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การตรวจหาวัตถุแปลกปลอมภายในสนามบิน งานตรวจรักษาความปลอดภัยของพื้นที่ และการตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยภายในระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น […]
อ่านต่อฟาร์มแมวไทย ที่เกิดจากความรักของนักเพาะพันธุ์รุ่นใหม่
“จากวันนั้นที่เราไม่มีความรู้เรื่องแมวไทยเลย ตอนนี้ ฟาร์มแมวไทย ของเรามีแมวไทยสายพันธุ์ใหม่ ที่เราพัฒนาขึ้นมาได้จนกลายเป็นพันธุ์แท้ เป็นความภูมิใจที่ได้รักษามรดกที่มีลมหายใจ” คุณพี-สุเมธ อุบลวิรัตนา เจ้าของบ้านแมวไทยพีพี (PP Thai Cattery) กล่าว ความนิยมการเลี้ยงแมวในยุคปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตตามไปด้วย โดยหนึ่งในนั้นคือ ฟาร์มแมวไทย ที่เจ้าของฟาร์มระดับพ่อแม่พันธุ์สายประกวด บอกกับบ้านและสวน Pets ว่า ตอนนี้ ทาสแมวขอจองลูกแมวตั้งแต่อยู่ในท้องเลยทีเดียว แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้นำเข้าแมวหลากหลายสายพันธุ์จากทั่วโลก และได้รับความนิยมจากทาสแมวอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ความนิยมของคนไทยต่อ “แมวไทยโบราณ” ก็ยังคงอยู่เสมอมา ส่วนหนึ่งเกิดจากความร่วมมือที่เข้มแข็งของสมาคมแมวไทยโบราณนานาชาติ หรือ TIMBA ที่ช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์แมวไทยที่ตรงตามลักษณะในตำราให้ยังอยู่คู่กับคนไทย อีกหนึ่งส่วนที่มีบทบาทสำคัญเรื่องการอนุรักษ์แมวไทยโบราณ คือนักเพาะพันธุ์แมวไทย ที่ได้รักษาคุณค่าของชาติผ่านการเลี้ยงดู และการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ที่มีลักษณะตามมาตรฐานแมวไทย เพื่อให้เป็นเสมือนแหล่งรวบรวมพันธุกรรมคุณภาพ สำหรับการสืบทอดมรดกทางพันธุกรรมนี้ไปยังยังรุ่นต่อไป บ้านและสวน Pets ได้รับเกียรติอย่างสูงที่ได้พูดคุยกับ คุณพี-สุเมธ อุบลวิรัตนา เจ้าของบ้านแมวไทยพีพี (PP Thai Cattery) หนึ่งในนักเพาะพันธุ์แมวไทย ที่ดูแลแมวไทยมาตรฐานครบทุกสายพันธุ์ และยังเป็นคนแรก ๆ ในประเทศไทย […]
อ่านต่อจากคนที่ไม่รู้จัก บูลล์เทอร์เรีย สู่เจ้าของฟาร์มระดับแชมป์
“พี่เข้าวงการนี้เพราะผู้ชาย ถึงวันนี้ ผู้ชายไม่อยู่แล้ว แต่ บูลล์เทอร์เรีย ยังอยู่กับพี่ และพี่มีความสุขมาก” คุณฟ้า กล่าวกับบ้านและสวน Pets ระหว่างการสัมภาษณ์ พร้อมใบหน้า และแววตาที่มีความสุข และมีบูลล์เทอร์เรียวิ่งป่วนอยู่เป็นระยะ คุณฟ้า – สถิดาพร สุคนธมัต เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ บูลล์เทอร์เรีย มานานกว่า 18 ปีแล้ว และปัจจุบันเป็นเจ้าของ บูลบัสเตอร์ ฟาร์มเพาะพันธุ์บูลล์เทอร์เรียระดับแชมป์ของประเทศไทย แต่ก่อนหน้านี้ คุณฟ้าเคยเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์เยอรมันเชเพิร์ด และสุนัขบางแก้ว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีพลังล้นเหลือเช่นกัน “พี่คิดว่า สุนัขที่เราเลี้ยงสะท้อนตัวตนบางอย่างของผู้เลี้ยงได้ อย่างพี่เป็นคนที่มีพลังขับเคลื่อนตลอดเวลา สุนัขที่พี่เลือกเลี้ยงก็เลยเป็นพันธุ์ที่มีพลังเล่นกับเราได้ทั้งวัน” หลังจากที่มีผู้แนะนำให้รู้จักกับสุนัขบูลล์เทอร์เรีย “ตอนนั้น เราไม่รู้จักบูลล์เทอร์เรีย แต่คิดว่าน่าจะรับมาเลี้ยงได้ เพราะเคยมีประสบการณ์เลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญมาก่อน” คุณฟ้ากล่าว และเสริมว่า “แต่พอรับมาจริง ๆ แล้วคนละเรื่องเลย เราไปรับมาถึงบ้านวันแรก น้องไม่ฟัง และวิ่งไปทั่วตลอดเวลา” หลังจากเห็นพฤติกรรมของบูลล์เทอร์เรียแล้ว คุณฟ้าเครียดมาก และกังวลว่า จะจัดการเรื่องการดูแลน้องอย่างไร จึงจำเป็นต้องมานั่งพิจารณาใหม่ เพราะการรับน้องเข้ามาในบ้านแล้ว นั่นหมายความว่า เขาคือหนึ่งชีวิตที่ผู้เลี้ยงต้องรับผิดชอบ […]
อ่านต่อช่างท๊อป ด็อกอาร์ท กับชีวิตบนเส้นทางธุรกิจสัตว์เลี้ยง
ช่างท๊อป ด็อกอาร์ท จากคนที่เคยผิดพลาดเรื่องการใช้ชีวิต สู่เจ้าของแบรนด์อาบน้ำตัดขนสัตว์เลี้ยง ที่มีผู้ติดตามหลักล้าน ช่างท๊อป ด็อกอาร์ท หรือท๊อป-ภานุพงศ์ จงจิตร เป็นเจ้าของร้านอาบน้ำตัดขนสัตว์เลี้ยง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากคลิปวิดีโอระหว่างการทำงานกับน้องหมาน้องหมาน้องแมว ที่สร้างเสียงหัวเราะและรอยยิ้มของผู้คน จนได้รับความนิยม ทำให้ปัจจุบันเฟซบุ๊กของเขามีผู้ติดตามกว่าล้านคน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2004 เด็กหนุ่มชาวนครศรีธรรมราชได้เดินทางมาศึกษาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครฯ และด้วยข้อจำกัดเรื่องการเงิน เขาต้องทำงานเสริมเพื่อจัดหาค่าใช้จ่ายให้เพียงพอสำหรับชีวิตในเมืองหลวง “เริ่มต้นชีวิตในกรุงเทพฯ ผมได้เข้าทำงานบริการในร้านอาหาร แต่รู้สึกว่าจะไม่เหมาะกับตัวตนของเรา จึงอยากเปลี่ยนงานใหม่” ช่างท๊อปเล่าเกี่ยวกับชีวิตตัวเองในช่วงที่ต้องทำงานและเรียนไปด้วย และเสริมว่า “ผมจึงลองเดินหางานใหม่ที่เหมาะกับเรามากกว่า และได้เห็นป้ายประกาศรับสมัครคนอาบน้ำสุนัข ของร้านอาบน้ำตัดแห่งหนึ่งในห้างสรรพสินค้า” หลังจากโทรศัพท์ไปตามข้อมูลที่ให้ไว้บนป้ายประกาศ และจบบทสนทนา ทางร้านให้ช่างท๊อปเริ่มงานได้ทันที ในขณะที่ตอนนั้น เขาไม่มีประสบการณ์การทำงานบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเลย และนี่คือจุดเริ่มต้นชีวิตบนเส้นทางการให้บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง “วันแรกที่เริ่มงานผมสอบถามทางร้านว่า ‘อาบน้ำน้องหมาเสร็จแล้ว จะเอาน้องไปตากแดดทีไหนครับ’ ” ช่างท๊อปเล่าถึงความไม่มีประสบการณ์ในตอนนั้น เพราะว่า ที่ต่างจังหวัด ช่างท๊อปเคยอาบน้ำให้สุนัข และนำน้องไปเช็ดตัวตากแดดเพื่อให้ขนแห้ง ช่วงแรก เขาบรรยายายถึงความรู้สึกท้อใจต่อการทำงานในร้านอาบน้ำตัดขนสัตว์เลี้ยงว่า เขาอาจจะไม่สามารถทนทำงานนี้ได้ตลอดแน่นอน เพราะไม่คุ้นชินกับกลิ่น และขนของสุนัขที่ปลิวฟุ้งไปทั่วร้าน อย่างไรก็ตาม เขาก็ทำงานที่ร้านอาบน้ำตัดขนแห่งนี้ได้ครบหนึ่งปี และจุดนั้น เขาค้นพบตัวเองว่า ตัวเองมีความชอบในสิ่งที่กำลังทำอยู่ จึงตัดสินใจหยุดเรียน […]
อ่านต่อ