การเลี้ยงสุนัขและแมว อาจช่วยปกป้องสมองจากภาวะเสื่อมถอย

การเลี้ยงสุนัขและแมว อาจช่วยให้เจ้าของมีระบบการทำงานในสมองที่ยืนยาวมากขึ้น และเกิดภาวะสมองเสื่อมได้น้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ๆ

จากรายงานสถานการณ์แนวโน้มของประชากรทั่วโลก พบว่า ประชากรโลกมีจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับประชากรในช่วงวัยอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน ผู้สูงอายุก็มีอัตราการเกิดโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นด้วย แต่งานวิจัยที่เพิ่งรายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า การเลี้ยงสุนัขและแมว หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับพวกเขาเป็นประจำ อาจช่วยชะลอความเสื่อมถอยของสมองเมื่อเจ้าของอายุมากขึ้นได้

การเลี้ยงสุนัขและแมว นอกจากจะช่วยฝึกนิสัยความอดอทนของเจ้าของแล้ว ยังทำให้สมองของเราทำงานได้ตามปกติด้วย ทีมนักวิจับพบว่า เจ้าของสุนัขและแมวมีแนวโน้มลดลง ที่จะเกิดความเสื่อมถอยของการทำงานในสมอง และอาจช่วยรักษาการทำงานของสมองบางส่วนไว้ได้เมื่อเจ้าของอายุมากขึ้ย ซึ่งในทางการแพทย์ ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งในการวางแผนป้องกันโรคสมองเสื่อม

การเลี้ยงสุนัขและแมว

จุดที่น่าสนใจในงานวิจัยชิ้นนี้คือ สัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ แสดงความสัมพันธ์กับการทำงานในสมองแตกต่างกัน โดยพบว่า เจ้าของสุนัขแสดงให้เห็นว่ามีทักษะเรื่องความจำที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในขณะที่เจ้าของแมวโดดเด่นเรื่องการสื่อสารด้วยคำพูด และความคล่องแคล่วเรื่องการใช้ภาษาก็ลดลงช้า หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ เมื่ออายุมากขึ้น เจ้าของสุนัขความจำยังดีเยี่ยม ส่วนเจ้าของแมวยังสื่อสารด้วยคำพูดได้อย่างคล่องแคล่ว

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาเจ้าของสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ด้วย กลับพบว่า เจ้าของปลาและนก ที่แม้จะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าต่อใจ แต่ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานในสมองกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงสองชนิดนี้อย่างมีนัยสำคัญว่า

หนึ่งในนักวิจัยผู้เขียนรายงานการศึกษาครั้งนี้ แอเดรียนา รอสเตโควา กล่าว่า “การเลี้ยงสัตว์ส่งผลต่อการทำงานในสมอง และอาการเสื่อมถอยของสมองในวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย อย่างไรก็ตาม ความเขาใจเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดกับผลการทำงานสมองยังมีข้อมูลอย่างจำกัด” เธอเขียนรายงานในวารสาร Scientific Reports

รอสเตโควาทำงานในกลุ่มวิจัยจิตวิทยาการพัฒนาตลอดช่วงชีวิต มหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เธอและทีมได้สำรวจข้อมูลสุขภาพย้อนหลังกลับไป 18 ปี ซึ่งเก็บรวบรวมโดยหน่วยงานที่สำรวจด้านสุขภาพและการเกษียณอายุของผู้คนในยุโรปที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของสัตว์เลี้ยงกับการเสื่อมถอยของสมอง

การเลี้ยงสุนัขและแมว

เธอพิจารณาข้อมูลที่แตกต่างกันของการเป็นเจ้าของสุนัข แมว นก และปลา “ความแปลกใหม่ของการสำรวจข้อมูลชุดนี้ คือเราพบความแตกต่างที่เห้นได้ชัดระหว่างเจ้าของสัตว์เลี้ยงชนิดต่าง ๆ ” เธอกล่าว

รอสเตโควาตั้งสมมติฐานว่า เนื่องจากการเลี้ยงปลาและนกไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญต่อกสนเปลี่ยนแปลงความเสื่อมถอยของการทำงานในสมอง ดังนั้น รูปแบบโดยรวมของการเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงอาจเกี่ยวข้องกับสุนัขและแมว

“คำอธิบายจากงานวิจัยอื่น ๆ อาจจะมาช่วยเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปในงานวิจัยของเธอเกี่ยวกับเจ้าของปลาและนกก็ได้ โดยมีการศึกษาก่อนหน้านี้รายงานว่า เจ้าของปลาและนกมีสุขภาวะที่ดีในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องการรับรู้ในสมอง” เธอกล่าวเสริม

“อายุขัยเฉลี่ยของนกและปลาที่น้อยกว่าสุนัขและแมว อาจทำให้ระดับความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเจ้าของและสัตว์เลี้ยงลดลงได้” เธอกล่าวและเสริมว่า “การเลี้ยงนกบางชนิดไว้ในบ้าน อาจทำให้คุณภาพการนอนของเจ้าของลดลง เนื่องจากนกส่งเสียงร้องดังอย่างไร้การควบคุม ซึ่งพบว่า คุณภาพการนอนหลับส่งผลโดยตรงต่อการทำงานเรื่องการรับรู้ในสมอง”

นอกจากนี้ [มัน] การมีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขและแมวยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองในลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งอาจไม่เด่นชัดในสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ที่ไม่มีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจเหมือนสุนัขและแมว เธอกล่าวเสริม

งานวิจัยอื่น ๆ พบหลักฐานที่ชี้ไปในทางเดียวกัน คือเจ้าของที่มีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขเป็นประจำ สมองส่วนหน้าจะทำงานมากขึ้น และให้ความสนใจกับสิ่งต่าง ๆ รวมถึงความตื่นตัวทางอารมณ์ที่เพิ่มขึ้น

ส่วนในงานวิจัยก่อนหน้านี้ ที่สำรวจเจ้าของแมว พบว่า สมองคอร์เท็กซ์ส่วนส่วนหน้า และบริเวณสมองที่ชื่อว่า inferior frontal gyrus ถูกกระตุ้นมากขึ้นเมื่อเจ้าของใช้เวลากับแมว ซึ่งเชื่อมโยงกับพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยาก ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแมว และทาสแมวทราบกันดี

“มีความเป็นไปได้ว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขและแมว เป็นหนึ่งในรูปแบบการเข้าสังคม ซึ่งเมื่อพิจารณาของการเข้าสังคมในกลุ่มมนุษย์ด้วยกัน ก็พบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนบ้าน หรือกลุ่มผู้คนเป็นประจำ แสดงความเสื่อมถอยของสมองช้าลง”

แอนดรูว สก็อตต์ ผู้เขียนหนังสือ The Longevity Imperative และเจ้าของแมว ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยครั้งนี้ แสดงความเห็นว่า “พวกเราส่วนใหญ่มักคิดว่าเรื่องของโรคเป็นเรื่องของโรงพยาบาล แต่เมื่อเราอายุมากขึ้นเราต้องมุ่งเน้นที่วิธีการป้องกันให้เรามีสุขภาพแข็งแรงและยืนยาว เราจะพบว่า สุขภาพของเรานั้นขยายออกไปได้ไกลเกินว่าแพทย์และพยาบาล”

เขากล่าวเสริมว่า “แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิถีชีวิตเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล แต่ข้อดีของการศึกษาชิ้นนี้คือ เราเห็นวิธีการที่มีประโยชน์ในการยืดอายุสมองของเรา ซึ่งการดูแลสมองด้วยวิธีอื่น ๆ อาจไม่ได้สนุกเท่ากับวิธีนี้ ดังนั้น ถ้าการเลี้ยงสัตว์ทำให้คุณสนุกและสุขภาพดีด้วย นั่นก็ถือเป็นโบนัสที่ดี”

บทความโดย

ณภัทรดนัย

ข้อมูลอ้างอิง

Scientific Reports – Longitudinal relationships between pet ownership and cognitive functioning in later adulthood across pet types and individuals’ ages

Cognitive Vitality – Can pet ownership help protect against cognitive decline?

The Guardian – Owning dog or cat could preserve some brain functions as we age, study says


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – 7 ประโยชน์ในการเลี้ยงแมว ที่คุณอาจคาดไม่ถึง !!