
Pet Health
- Home
- Pet Health
โรคหลอดลมตีบ ในสัตว์เลี้ยง
โรคหลอดลมตีบ (Tracheal Collapse) สามารถพบได้ทั้งในสุนัข และ แมว โดยพบในสุนัขได้มากกว่า เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากหลอดลม (Trachea) เสื่อมประสิทธิภาพลง โรคหลอดลมตีบ ในสัตว์เลี้ยง เกิดจากหลอดลมในระบบทางเดินหายใจยุบตัวลง โดยหลอดลมแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ หลอดลมส่วนคอและหลอดลมส่วนอก (ภายในช่องอก) ทั้งสองส่วนประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปตัวซี (C) โรคหลอดลมตีบเกิดจากความผิดปกติของกระดูกอ่อนโดยตรง หรืออาจเกิดจากปัจจัยรบกวนภายนอก ทำให้เกิดการยุบตัว (เสื่อมสภาพ) ของหลอดลม โดยความรุนแรงมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงรุนแรง ทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดอาการไอเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยคือ การหย่อนของผนังกล้ามเนื้อด้านบน ทำให้หลอดลมแคบลง และขัดขวางการไหลเวียนของอากาศ การยุบตัวของหลอดลมแบ่งเป็นระดับ 1 ถึง 4 ตามความรุนแรงของการยุบตัว โรคหลอดลมตีบเป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข โดยมีความชุกของโรคประมาณร้อยละ 1-5 อายุของสุนัขที่เริ่มมีอาการของโรคเป็นในสุนัขพันธุ์เล็กวัยกลางสุนัขถึงสุนัขวัยชรา พันธุ์พบบ่อยในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ยอร์คเชียร์เทอร์เรียร์ (Yorkshire Terrier) ปอมเมอเรเนียน (Pomeranian) ชิวาวา (Chihuahua) พุดเดิ้ลทอย (Poodle Toy) […]
อ่านต่อดูแลน้องแมว อย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคไต
โรคไตในแมว เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้มากที่สุดในบรรดาอาการเจ็บป่วยของแมว โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เพื่อให้น้องแมวของเรามีสุขภาพที่ดี และห่างไกลจากโรคไต เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไต สาเหตุของโรค รวมไปถึงวิธีการดูแลรักษา และวิธีป้องกัน โรคไตในแมว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไต ซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกายของแมว ควบคุมความเป็นกรดด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ รวมไปถึงควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย โรคไตในแมวสามารถแบ่งได้ตามระยะการเกิดโรคแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. โรคไตแบบเฉียบพลัน เกิดจากการทำหน้าที่ของไตลดลงอย่างเฉียบพลัน อาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แมวมักจะแสดงอาการป่วยภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์หรือไม่เกิน 1 เดือน โรคไตแบบเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากขาดน้ำอย่างรวดเร็ว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในร่างกาย เช่น FIV FeLV FIP และ Feline Morbillivirus และการได้รับสารพิษต่างๆ ที่มีผลต่อไต เช่น ยาฆ่าแมลงต่าง ๆ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด โดยส่วนใหญ่พบว่า แมวที่เลี้ยงแบบปล่อยให้ออกนอกบ้านได้อย่างอิสระ มักมีความเสี่ยงไปสัมผัสกับสารพิษมากกว่าแมวที่เลี้ยงระบบปิด 2. โรคไตแบบเรื้อรัง ที่ทำให้การทำหน้าที่ของไตค่อย ๆ ลดลงทีละน้อย […]
อ่านต่อโรคถุงน้ำในไตแมว โรคที่ยังรักษาไม่ได้
ลองสังเกตน้องแมวที่บ้านว่า น้ำหนักลดลง กินน้ำเยอะ ปัสสาวะเยอะ หรือไม่ นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคไตเรื้อรังที่เรียกว่า โรคถุงน้ำในไตแมว โรคเกี่ยวกับระบบกำจัดของเสียในแมวมักเกิดขึ้นเนื่องจากไตทำงานผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปมักเรียกรวม ๆ ว่า โรคไต โดยแบ่งเป็น การเกิดแบบเฉียบพลัน อย่างโรคไตวายเฉียบพลัน และการเกิดแบบเรื้อรัง ที่อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมอย่าง โรคถุงน้ำในไตแมว วันนี้ เรามาเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับ โรคถุงน้ำในไตแมว กันนะคะว่า ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร และจะดูแลน้องที่ป่วยเป็นโรคนี้ อย่างไร โรคถุงน้ำในไตแมว มีชื่อเรียกในทางสัตวแพทย์ว่า Polycystic Kidney Disease หรือ PKD เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นในไตของแมว โดยมีถุงน้ำ หรือถุงซีสต์ หลายถุงแทรกอยู่ในเนื้อไต โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่สู่รุ่นลูกได้ โดยลักษณะของโรคมักจะไม่แสดงอาการในช่วงแรกเกิด แต่แมวจะมีภาวะแฝง จนกระทั่งเมื่อน้องแมวเจริญเติบโตมีอายุมากขึ้น ถุงน้ำที่อยู่ในไตของน้องก็จะขยายขนาดตามไปด้วย ทำให้เกิดอาการของโรคเมื่อน้องมีอายุมากแล้ว ความผิดปกติที่มีถุงน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากอยู่ภายในไตแมวจะส่งผลให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติ และนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง จนเสียชีวิตในที่สุด โดยจำนวนและระยะเวลาการขยายของถุงน้ำยังไม่มีสามารถวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน จะมากหรือน้อย หรือเกิดขึ้นเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว ที่ผ่านมา การศึกษาและวิจัยทางสัตวแพทย์พบว่า น้องแมวส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการของไตวายเรื้อรังในช่วงอายุประมาณ 7 ปี มีเพียงส่วนน้อยที่พบว่า […]
อ่านต่อวิธีดูแลน้องแมว ให้ก้าวสู่วัยผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
การเจริญเติบโตของแมวแต่ละช่วงวัย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนสับสนระหว่าง “ช่วงโตเต็มวัย” กับ “ช่วงเจริญพันธุ์” และอาจส่งผลต่อ วิธีดูแลน้องแมว โดยทั่วไปแล้ว ลูกแมวจะเริ่มเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 1 ปี หมายถึงร่างกายได้พัฒนาและเจริญเติบโตเต็มที่ตามลักษณะสายพันธุ์ กล้ามเนื้อแข็งแรง อวัยวะทุกส่วนทำงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในบางสายพันธุ์ที่มีโครงร่างกายใหญ่ อย่างสายพันธุ์เมนคูน จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยประมาณ 15 เดือน ที่ช้ากว่าแมวสายพันธุ์อื่นๆ ส่วนวัยเจริญพันธุ์ คือ ช่วงที่น้องแมวพร้อมสืบพันธุ์ได้ โดยในแมวจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 4 – 18 เดือน หรือที่เรียกว่า “การเป็นสัดหรือฮีท” การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งภาวะร่างกายของแมว น้ำหนักของแมว สายพันธุ์ของแมว และช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่มีแสงอาทิตย์ยาวนานอย่าง เช่นฤดูร้อนในพื้นที่เขตหนาว หรือสภาพภูมิอากาศบ้านเรา ก็จะกระตุ้นให้แมวเป็นสัดได้เร็วขึ้น ในช่วงระหว่างการเป็นสัดหรือฮีท แมวตัวเมียจะแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น ส่งเสียงร้องหาคู่ ใช้ตัวถูไถสิ่งของตามพื้นและกลิ้งไปมา แอ่นหลังลงและกระดกก้นขึ้น เบี่ยงหางไปด้านข้างและย่ำเท้าหลังไปมา ลำตัวและหางสั่น หรือเกร็งลำตัว ระยะเวลาในการเป็นสัดของแมวตัวเมียอยู่ระหว่าง 2 – 14 วัน แบ่งออกเป็น 5 ระยะ […]
อ่านต่อโรงพยาบาลสัตว์คชาเว็ท รักษาลูกรักของคุณอย่างเข้าใจ
ในปัจจุบัน ความรักและความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อสัตว์เลี้ยงแตกต่างจากยุคก่อนที่มองว่าตนเองเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงหนึ่งตัว สายสัมพันธ์และการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงจึงเกิดเป็นกระแสการเลี้ยงดูเสมือนว่าพวกเขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว การเลือกสรรสิ่งต่างๆ ให้สัตว์เลี้ยงในยุคนี้ได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถัน และผู้คนก็ตื่นตัวกันมากเรื่องการดูแลสัตว์เลี้ยง ไม่เพียงแค่เลี้ยงให้มีชีวิตรอด แต่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยง และแบ่งปันชีวิตที่มีคุณภาพร่วมกัน หนึ่งในความพร้อมที่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านทราบกันเป็นอย่างดี ก่อนนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาดูแล คือความพร้อมด้านการรักษาพยาบาล เมื่อสัตว์เลี้ยงเกิดความเจ็บป่วย ดังนั้น สถานพยาบาลสัตว์เลี้ยง จึงเป็นสถานที่ที่คุณพ่อคุณแม่ฝากความหวังไว้ เมื่อต้องนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปรับการรักษา ด้วยปัจจัยเรื่องความต้องการของคุณพ่อคุณแม่ในยุคนี้ บวกกับความเอาใจใส่ต่อสัตว์เลี้ยงที่มีมากขึ้น ได้ผลักดันให้สถานพยาลสัตว์เลี้ยงหลายแห่งต้องเร่งปรับตัว และสร้างมาตรฐานการรักษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีบริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงเพื่อรองรับความต้องการด้านอื่นๆ ด้วย โรงพยบาลสัตว์คชาเว็ท เป็นหนึ่งในสถานพยาบาลสัตว์เลี้ยงที่มองเห็นความต้องการในจุดนี้ และด้วยความเข้าใจเรื่องการรักษาสัตว์ที่มีประสบการณ์ ทางโรงพยาบาลฯ จึงพร้อมมอบการรักษาและบริการให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างครบวงจร ก่อนจะก้าวขึ้นมาเป็นโรงพยาบาลสัตว์คชาเว็ท โรงพยาบาลสัตวคชาเว็ท เดิมชื่อโรงโรงพยาบาลสัตว์จัสโก้รัชดา ก่อตั้งครั้งแรกปี 2535 เป็นคลินิกขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในห้างจัสโก้ บนถนนรัชดาภิเษก โดยเปิดให้บริการรักษาโรคทั่วไป หลังจากดำเนินกิจการมาจนถึงปี 2554 ทางผู้บริหารได้ตัดสินใจย้ายที่ตั้งไปยังอาคารพาณิชย์บนถนนรัชดาภิเษก เพื่อขยายพื้นที่ไว้รองรับกับจำนวนผู้ใช้บริการที่มากขึ้น และขยายเป็นโรงพยาบาลสัตว์ขนาดกลาง ที่ให้บริการรักษาโรคทั่วไป และการผ่าตัด เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ปี 2559 น.สพ.วริทธิ์วงศ์ ลิขิตชัยกุล และ สพ.ญ.วัลลิยา กาญจนพงศ์กิจ คุณหมอนักบริหารทั้ง […]
อ่านต่อแมวใช้กลิ่นสื่อสาร อย่างไร
บางครั้ง คุณพ่อคุณแม่น้องแมวพบว่า แมวเอาตัวมาถูไถไปมาตามลำตัวและเสื้อผ้าของเรา การแสดงออกเช่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการสื่อสารที่ แมวใช้กลิ่นสื่อสาร กับมนุษย์ การสื่อสารในสัตว์เป็นหนึ่งในกลไกตามธรรมชาติ เพื่อคงความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ และเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงที่วิวัฒนาการเข้ามาอยู่กับสังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน พวกเขาก็ต้องการสื่อสารกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น แมวใช้กลิ่นสื่อสาร กับสมาชิกในบ้าน และแมวด้วยกันเอง สุนัขส่งเสียงเห่าหอน และแสดงท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นต้น แมวใช้กลิ่นสื่อสารในชีวิตประจำวันเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง สพ.ญ.ปิยวรรณ ภู่ระหงษ์ สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมว PURRfect Cat Hospital กล่าวว่า แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใช้กลิ่นสื่อสารเพื่อแสดงการทักทาย การวางอาณาเขต แสดงความเป็นเจ้าของ และความเป็นศัตรู การสื่อสารด้วยกลิ่นเป็นวิธีการสื่อสารในแมวที่มีความคงทนมากกว่าวิธีอื่น ด้วยโครงสร้างทางร่างกายของแมวที่มีต่อมกลิ่นอยู่หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณโคนหาง บริเวณผิวหนังรอบหัวและหนวด รวมไปถึงบริเวณฝ่าเท้า เป็นต้น คุณพ่อคุณแม่จึงพบว่าน้องแมวแสดงพฤติกรรมต่างๆ ที่พยายามใช้กลิ่นสื่อสารกับแมวกับมนุษย์ และแมวด้วยกันเอง การสื่อสารโดยการใช้กลิ่น สพ.ญ.ปิยวรรณ กล่าวว่า “น้องแมวจะแสดงพฤติกรรม 3 รูปแบบ ได้แก่ การถูไถ (Rubbing) การข่วนวัตถุ (Scratching) และการใช้สิ่งขับถ่าย (Excrement marking)” เหล่านี้คือคำอธิบายพฤติกรรมการใช้กลิ่นของน้องแมว […]
อ่านต่อทำไม ลิ้นของแมว หยาบเหมือนกระดาษทราย
รู้หรือไม่ทำไม ลิ้นของแมว ถึงหยาบและมีหนาม ทาสแมวทั้งหลายอาจเคยสงสัยว่า เมื่อน้องแมวมาเลียตัวเรา ทำไมจึงรู้สึกสากเหมือนเอากระดาษทรายมาถูตัว และหากใช้มือเปิดดูภายในบริเวณช่องปากแมว จะพบว่าบริเวณ ลิ้นของแมว จะมีลักษณะคล้ายตุ่มหนามเล็ก ๆ กระจายอยู่เต็มบริเวณด้านบนของลิ้น เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยจนค้นพบว่า ลิ้นของแมวเป็นอวัยวะที่น่าทึ่ง เพราะมีความสำคัญหลายอย่างนอกเหนือไปจากการรับรสอย่างเช่นในมนุษย์เรา ตามการศึกษาวิจัย ลิ้นของแมว มีลักษณะอย่างไร หากเราสังเกตที่ลิ้นของแมวด้วยตาเปล่า เราจะเห็นว่ามีลักษณะเป็นเส้นขนคล้ายหนาวเล็กๆ หลายชิ้นเรียงกัน แต่ละชิ้นมีปลายแหลมชี้ไปทางด้านในลำคอ โครงสร้างเล็กเรียวนี้เรียกว่า “ปุ่มลิ้น” หรือ Papillae ซึ่งมีเคราตินเป็นส่วนประกอบ โดยเคราตินเป็นโปรตีนชนิดเดียวกันกับที่พบในเส้นผมและเล็บของมนุษย์ ความน่าสนใจของโครงสร้างลิ้นลักษณะนี้ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ลิ้นที่มีหนามสามารถพบได้ในสัตว์ตระกูลแมวป่าทั้งหมด เช่น เสือคูการ์ เสือดาวหิมะ เสือโคร่ง และสิงโต เป็นต้น 3 เหตุผลที่ลิ้นแมวหยาบคล้ายกระดาษทราย เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของลิ้นแมว จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อแมวมาเลียมือเรา เราจึงรู้สึกเหมือนเอากระดาษทรายมาถูมือ แล้วโครงสร้างลักษณะนี้ทำไมจึงพบในแมว เมื่อแมวใช้ลิ้นเลียขนตัวเอง เหมือนพวกเรากำลังแปรงขนให้ตัวเอง ปุ่มลิ้นนับหลายร้อยหลายพันชิ้นที่อยู่บนลิ้นของแมวเปรียบมือซี่หวีถี่ๆ โดยตำแหน่งปลายแหลมของตุ่มลิ้นสามารถแทรกผ่านเส้นขนที่ปกคลุมร่างกายได้ รวมถึงยังมีท่อขนดาเล็กในตุ่มลิ้นที่สามารถดูดกลับน้ำลายในช่องปากได้ การเลียขนตัวเอง หรือ grooming มีจุดประสงค์หลายอย่าง ซึ่งแมวส่วนใหญ่ใช้เวลากว่าหนึ่งในสี่ของชีวิตประจำวันเพื่อเลียขนตัวเอง เพื่อให้กำจัดแมลงรำคาญ […]
อ่านต่อโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง ที่พบได้บ่อย
ความเจ็บป่วยในสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยของมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่ สัตว์เลี้ยงไม่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้โดยตรง โดยสัตวแพทย์ และคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้วิธีการสังเกตอาการ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งบางโรคก็ต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะ โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง เมื่อสัตว์เลี้ยงที่เจ็บป่วยเข้ามารักษากับสัตวแพทย์ การวินิจฉัยเบื้องต้นที่สัตวแพทย์มักใช้เป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็น โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง หรือไม่ คือการพิจารณาอาการที่ผิดปกติ ร่วมกับระยะเวลาที่เกิดความผิดปกติ โดยอาการที่ร่างกายมักแสดงออกส่วนใหญ่จะเกิดความปกติของท่าทาง หรือการเคลื่อนไหว หลังจากพบความผิดปกติของการเคลื่อนไหว หรือท่าทาง สัตวแพทย์จะวินิจฉัยโรคในลำดับต่อไป เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการตรวจทางระบบประสาท เพื่อกำหนดตำแหน่งของจุดที่ผิดปกติ แล้วเลือกวิธีการรักษา หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม และประเมินโรคที่อาจเกิดขึ้นต่อไป โรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง 1. ลมชัก หรือการชักในสัตว์เลี้ยง โรคลมชักในสัตว์เลี้ยง เป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อย และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะจุด เช่น กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก กระพริบตาเป็นจังหวะ หัวสั่น และกล้ามเนื้อขากระตุก ไปจนถึงระดับความรุนแรงที่อันตราย อย่างการชักเกร็งทั้งตัว และหมดสติ โดยสาเหตุการเกิดโรคลมชักในสัตว์เลี้ยงเป็นไปได้ทั้ง – กรรมพันธุ์ ที่ผ่านมา สัตวแพทย์พบว่า กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 60 ของการเกิดโรคลมชักในสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีกรรมพันธุ์โรคลมชักจะแสดงอาการในช่วงอายุ 6 เดือน – […]
อ่านต่อโรคเอดส์แมว หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว
โรคเอดส์แมว เป็นหนึ่งโรคที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่วนใหญ่การแพร่ระบาดจากแมวสู่แมวมักเกิดขึ้นในกลุ่มแมวจร และแมวที่เลี้ยงในระบบเปิดไปรับเชื้อจากแมวที่อยู่ภายนอกบ้าน โรคเอดส์แมว หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว เกิดกจาการติดเชื้อ Feline immunodeficiency virus (FIV) ในกลุ่ม retrovirus ซึ่งมีกระบวนการก่อโรคคล้ายกับโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม โรคเอดส์แมวก็ไม่สามารถแพร่ระบาดสู่คนได้ ปัจจุบัน สัตวแพทย์และนักวิจัยได้คนพบเชื้อ FIV ทั้งหมด 6 สายพันธุ์ย่อย คือ A , B , C , D , E และ F โดยในประเทศไทย พบว่า สายพันธุ์ย่อย D แพร่กระจายมากที่สุด และยังพบความชุกชุมของโรคสูงในกลุ่มแมวจร แมวที่เลี้ยงในระบบเปิด และแมวเพศผู้ ที่มีพฤติกรรมต่อสู้กับแมวตัวอื่น เพื่อแย่งอาณาเขต จึงเกิดการแพร่เชื้อระหว่างการกัดกัน หลังจากแมวได้รับเชื้อ FIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อไวรัสจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายแมวต่ำลง และแสดงอาการของโรคตามมา โดยแบ่งระยะของอาการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน […]
อ่านต่อโรคลิวคีเมียในแมว รู้วิธีดูแลก่อน ป้องกันได้
โรคลิวคีเมียในแมว หรือโรคมะเร็งโลหิตขาว เป็นหนึ่งในโรคแมวที่สามารถพบได้ในแมวทั่วโลก และแมวทุกตัวก็มีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้ทุกช่วงวัย ดังนั้น การดูแลที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่แมวตั้งแต่แรก จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคที่รุนแรงได้ โรคลิวคีเมียในแมว เกิดจากเชื้อไวรัส feline leukemia virus เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะแมวที่เลี้ยงในระบบเปิด เนื่องจากแมวในระบบเปิดมีโอกาสสัมผัสกับแมวตัวอื่นๆ ตลอดเวลา เช่น การสัมผัสน้ำลายจากการเลียขนให้กัน การกินอาหารร่วมกัน หรือการสัมผัสปัสสาวะของแมวที่ติดเชื้ออย่างไม่ตั้งใจ เป็นต้น นอกจากนี้ โรคลิวคีเมียในแมวยังสามารถแพร่ผ่านจากแม่แมวสู่ลูกแมวใรระหว่างการตั้งท้อง หรือระยะให้นมได้เช่นกัน เมื่อแมวติดเชื้อไวรัสลิวตีเมียจะส่งผลให้เกิดความผิดปกในร่างกาย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มอาการ ได้แก่ กดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย มีภาวะเลือดจาง เม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งแมวแต่ละตัวจะมีความรุนแรงของการกดภูมิที่แตกต่างกันไป การเกิดมะเร็งเม็ดโลหิตขาวตามอวัยวะน้ำเหลืองต่างๆ อาการของ โรคลิวคีเมียในแมว แมวที่ติดเชื้อไวรัสลิวคีเมียจะแสดงอาการที่ผิดปกติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุของแมว ชนิดย่อยของไวรัส และจำนวนของไวรัสที่ติดเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น โดยอายุของแมวยิ่งน้อยอาการยิ่งรุนแรง สำหรับแมวที่โตเต็มวัย บางกรณีได้รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว แต่เชื้อยังไม่แสดงอาการ และเชื้อจะแฝงตัวอยู่ในร่างกายตลอดไป อาการที่มักจะแสดงออกเมื่อแมวติดเชื้อลิวคีเมีย ประกอบด้วย ซึม มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง ร่างกายผอม […]
อ่านต่ออาการหอบเหนื่อย และหายใจเร็ว สัญญาณของโรคฮีตสโตรก
สัตว์เลี้ยงของคุณกำลังมี อาการหอบเหนื่อย และหายใจเร็วหรือไม่ ถ้ามีอาการเหล่านี้ อาจหมายถึงสัตว์เลี้ยงกำลังเผชิญ ภาวะฮีตสโตรก ภาวะ “ฮีตสโตรก” (heatstroke) หรือ “โรคลมแดด” สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในคนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิด โดยเฉพาะในสุนัขและแมวสายพันธุ์ขนยาว ขนหนา หรือหน้าสั้น โดยสัตว์เลี้ยงจะแสดงสัญญาณเบื้องต้นคือ อาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว และแลบลิ้นออกมาตลอดเวลา สาเหตุของโรคลมแดด โรคลมแดดเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลอุณหภูมิในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับอุณหภูมิจากภายนอกสูงเกินไป จะส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น วิธีการระบายความร้อนของสุนัขและแมวคือ การระบายความร้อนออกมาตามต่อมเหงื่อที่บริเวณอุ้งเท้าและจมูก ซึ่งไม่เพียงพอ จึงต้องใช้การระบายความร้อนผ่านทางระบบทางเดินหายใจ เพื่อพาความร้อนภายในร่างกายออกมา เราจึงเห็นอาการหายใจหอบถี่ และแลบลิ้นออกมาตลอดเวลา โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลาและทุกฤดูกาล แต่ช่วงฤดูร้อนมีความเสี่ยงมากที่สุด นอกจากนี้ โรคลมแดดยังเกิดกับสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง หรืออยู่ในพื้นที่ที่ร้อนอบอ้าวและอากาศถ่ายเทไม่ดี ผลกระทบของโรคลมแดดต่อร่างกายสัตว์เลี้ยง ความร้อนสะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่โรคลมแดด เมื่ออุณหภูมิในร่างกายของสัตว์เลี้ยงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถลดอุณหภูมิในร่างกายลงได้ หรือระบายความร้อนออกจากร่างกายไม่ทัน เมื่อความร้อนสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดอันตรายต่อการทำงานของอวัยวะภายในต่าง ๆ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่หมุนเวียนในร่างกายลดลงจนความดันเลือดต่ำ และหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง อาการของโรคลมแดด นอกจาก อาการหอบเหนื่อย เมื่อร่างกายของสัตว์เลี้ยงมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส สัตว์เลี้ยงจะเริ่มกระวนกระวาย […]
อ่านต่อสุนัขเดินยกขา หรือท่าทางการเดินผิดปกติ อาจกำลังมีปัญหาสะบ้าเคลื่อน
สุนัขเดินยกขา หรือร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม สัญญาณเบื้องต้นของโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข ในระหว่างการเจริญเติบโตทางร่างกายของสุนัข ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่สามารถพบเจอได้คือ การเจริญของกระดูกโครงร่างผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patella luxation) โดยอาการที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น สุนัขเดินยกขา ท่าทางการเดินผิดจากปกติ หรือส่งเสียงร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม “ส่วนใหญ่ โรคสะบ้าเคลื่อนมักเกิดในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ปอมเมอเรเนียน มอลทีส และชิวาวา เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็พบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ได้เช่นกัน” น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ สัตวแพทย์ แผนกระบบกระดูกและข้อต่อ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน กล่าวและเสริมว่า “ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ โรคนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น การเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกไม่สัมพันธ์กัน” ดังนั้น ในการวินิจฉัยจึงเรียกรวมๆ ว่า ความผิดปกติทางโครงสร้างในระหว่างสุนัขกำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ น.สพ.บูรพงษ์ กล่าวว่า สะบ้าเคลื่อนอาจเกิดได้จากการกระทบ กระแทก การถูกรถชน หรือการถูกตี ก็อาจทำให้แนวการเจริญเติบโตที่ขาของสุนัขเสียหายได้ ส่งผลให้ขาของสุนัขคดงอ และบิดเบี้ยว เมื่อสุนัขต้องเผชิญโรคสะบ้าเคลื่อน น.สพ.บูรพงษ์ อธิบายว่า “โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นความผิดปกติของตำแหน่งลูกสะบ้าในท่าที่สุนัขอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้ สะบ้าที่ผิดจากตำแหน่งปกติสามารถหลุดไปอยู่ได้ทั้งด้านนอกและด้านในของข้อเข่า ซึ่งร้อยละ 80 – […]
อ่านต่อ