Pet Health

ไรขน

ไรขน (Cheyletiella) และ ไรในหู (Otodectes cynotis)

โรคไรขน ไรขน (Cheyletiella) อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมวและสุนัข โดยจะเข้าทำลายด้วยการกัดกินผิวหนังชั้นเคราตินและกินของเหลวที่อยู่ภายในเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดลักษณะของรังแค ขนร่วง และมีอาการคัน ไรชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทั่วไปในกระต่ายและสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย ซึ่งมันสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสามารถอยู่บนผิวของคนและทำให้เกิดผื่นคันได้อีกด้วย Cheyletiella มีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะชอบ Host ที่แตกต่างชนิดกันออกไป ไรขนจะตัวเต็มวัยมีขนาด 0.385 มิลลิเมตร มีขา 4 คู่ มีกรงเล็บที่บริเวณขา มีรยางค์ส่วนปากคล้ายคลึงกับคีมหนีบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่พบได้ในปรสิตชนิดนี้ ไรขนมักอาศัยอยู่ภายในผิวหนังชั้นเคราตินและพัฒนาตัวเองให้เข้าสู่ระยะตัวเต็มวัยและมีชีวิตอยู่รอดได้เพียง 10 วันเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำลายของ ไรขน มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “รังแคเดินได้” เนื่องจากไรชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปมาใต้ชั้นเคราติน และผลักเศษผิวหนังขึ้นมา จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีการเคลื่อนไหวของรังแค การวินิจฉัย สามารถสังเกตเห็นไรขนได้บ้างบนผิวหนัง มีลักษณะเหมือนรังแคที่กำลังเคลื่อนที่บนผิวหนัง สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน โดยใช้สก็อตเทปแปะไปที่บนผิวหนังที่สงสัยหรือใช้หวีสาง และนำไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาไรขน หรือไข่ของไรขน การรักษา มีทางเลือกหลายอย่างสำหรับการรักษา Cheyletiella โดยจะต้องรักษาทั้งตัวสัตว์และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น พื้นปูเตียง ของเล่น เป็นต้น […]

อ่านต่อ

โรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข

โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]

อ่านต่อ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)

ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]

อ่านต่อ

โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia : BPH)

หากพบสุนัขเพศผู้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย หรือเบ่งอุจจาระนานกว่าปกติ โรคสำคัญที่หมอมักจะต้องนึกถึงเป็นลำดับต้น ๆ ก็คือ “โรคต่อมลูกหมากโต” หรือ Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญทางระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและสัตว์เพศผู้เมื่ออายุมาก พบได้ในคน สุนัข และมีรายงานการเกิดโรคในลิงชิมแปนซี แต่ไม่พบโรคในแมว ต่อมลูกหมากของสุนัขจะทำหน้าที่ในการสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในการผสมพันธุ์ ต่อมจะมีรูปร่างกลมรีแบ่งเป็น 2 ก้อน ซ้ายและขวาอยู่ล้อมรอบบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้น และอยู่ใต้ลำไส้ตรง ดังนั้น หากต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น โรคต่อมลูกหมากโต ถุงน้ำ หรือฝีหนองในต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมลูกหมากจะส่งผลต่อระบบขับถ่ายเป็นหลัก โรคต่อมลูกหมากโต พบได้ในสุนัขทุกพันธุ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และอาจเรียกได้ว่าเป็นโรคของสุนัขแก่ เนื่องจากพบได้บ่อยในสุนัขเพศผู้อายุมากที่ยังไม่ได้ทำหมัน อุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับคน โดยผู้ชายอายุระหว่าง 60-70 ปี จะมีภาวะต่อมลูกหมากโตได้ร้อยละ 55 ส่วนในสุนัขอายุมากกว่า 5 ปี จะพบโรคได้มากกว่าร้อยละ 80 และมากกว่าร้อยละ 95 เมื่อสุนัขอายุ 9 ปี แต่สุนัขที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโต อาจจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ได้ สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด […]

อ่านต่อ
โรคต้อหิน

โรคต้อหิน (Glaucoma) จากความผิดปกติของความดันในลูกตา

โรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของความดันในลูกตาที่เพิ่มสูงขึ้น ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับลูกตา ซึ่งโดยทั่วไปสุนัขจะมีความดันในลูกตาอยู่ระหว่าง 16-30 มิลลิเมตรปรอท หากเพิ่มสูงขึ้นจนถึง 60-70 มิลลิเมตรปรอท อาจทําให้สูญเสียการมองเห็นได้ เนื่องจากความดันลูกตาที่สูงมาก ๆ จะไปทําให้จอประสาทตาเสียหาย โรคต้อหิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. โรคต้อหินแบบปฐมภูมิ (Primary Glaucoma) เป็นโรคต้อหินที่เกิดขึ้นเอง ไม่ได้เกิดจากการเป็นโรคอย่างอื่นมาก่อน เช่น โรคต้อหินชนิดมุมเปิด ซึ่งเกิดจากการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการระบายออกของน้ําในลูกตา แต่มุม iridocorneal angle ยังคงเปิดอยู่ปกติ เมื่อมีการตีบแคบของท่อตะแคงที่เป็นทางระบายน้ำเลี้ยงภายในรูปตา ทําให้การระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลงในขณะที่การสร้างน้ำเลี้ยงภายในลูกตามีปริมาณเท่าเดิม ทําให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้นทีละน้อย เปรียบได้กับรูระบายน้ำที่มีตะไคร่น้ำ คอยต้านการระบายของน้ำ โรคต้อหินชนิดมุมปิด ซึ่งเป็นความผิดปกติในส่วนของโครงสร้าง ทําให้มุม iridocorneal angle แคบลง เมื่อมีการปิดกั้นทางออกของท่อน้ำเหลืองภายในลูกตาจากการที่ฐานม่านตามาปิดด้านหน้าทําให้น้ำเลี้ยงภายในลูกตาไม่สามารถระบายออกได้ หรือระบายออกทีละน้อย ดังนั้น น้ำเลี้ยงภายในลูกตาจากช่องหลังของโรคตาไม่สามารถผ่านรูม่านตาที่ช่องหน้าของลูกตาได้ตามปกติ น้ำเลี้ยงภายในลูกตาจะพยายามดันออกมาทางข้างหน้า ทําให้ม่านตาที่ถูกดันโป่งออกมาทางด้านหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ช่องหน้าของลูกตาและมุมของม่านตาแคบลงอีก และมีการปิดกั้นทางออกของน้ำเลี้ยงภายในลูกตาเพิ่มขึ้น จึงทําให้ความดันภายในลูกตาสูงขึ้น หรือปิดไปเปรียบได้กับรูระบายน้ำที่คดงอผิดรูป ทําให้การระบายน้ำแย่ลง 2. โรคต้อหินทุติยภูมิ […]

อ่านต่อ

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]

อ่านต่อ
โรคหัวใจสุนัข

โรคหัวใจในสุนัข (Heart Disease)

โรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต คือโรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลังมักเป็นในสุนัขที่มีอายุมาก

อ่านต่อ

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS)

โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (Degenerative Lumbosacral Stenosis หรือ DLSS) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีการเสื่อมของโครงสร้างรอบ ๆ โพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ ทำให้เกิดการตีบแคบจนเกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้น อาการเด่นชัดของ โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ คือ จะพบอาการปวดที่บริเวณหลังด้านท้าย (Low Back Pain) ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขขนาดใหญ่และอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากหลากหลายความผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ การเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท cauda equina การบวมของเส้นเอ็นตรงรอยต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบ การงอกของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ตรงรูที่เส้นประสาทออกมา โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบมักมีรายงานบ่อยในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขที่นิยมนำมาฝึก เพื่อใช้งาน เช่น ใช้เป็นสุนัขตำรวจ หรือ สุนัขทหาร เป็นต้น ในประเทศไทยนอกจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถพบได้ในสายพันธุ์อื่นได้อีก ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ บางแก้ว ดัลเมเชียน รวมทั้งพันธุ์ผสม เป็นต้น นอกจากนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์เล็กได้บ้าง เช่น พูเดิ้ล มินิเจอร์พินเชอร์ เป็นต้น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากการที่สุนัขมีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างหนัก เช่น การกระโดด การวิ่ง หรือ การฝึก เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกเอวและก้นกบอย่างรุนแรงและเป็นประจำ […]

อ่านต่อ

ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง

ในการทำงานทางคลินิก เราพบว่า “ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ” (Hyperadrenocorticism; ย่อว่า HAC) หรือ “กลุ่มอาการคุชชิ่ง (Cushing’s syndrome)” เป็นหนึ่งในโรคของต่อมไร้ท่อที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในสุนัข แต่ก่อนที่จะไปรู้จัก ภาวะต่อมหมวกไตชั้นนอกทำงานมากกว่าปกติ หรือกลุ่มอาการคุชชิ่ง กันให้ลึกซึ้งมากขึ้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับต่อมหมวกไตของสุนัขกันเสียก่อนดีกว่าครับ ว่ามีตำแหน่งอยู่ที่ใด และมีหน้าที่การทำงานอย่างไรบ้าง ต่อมหมวกไตหรือ adrenal gland เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ที่มีตำแหน่งอยู่ในช่องท้องบริเวณเหนือไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไตมีโครงสร้างสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ก็คือ ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) และต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) ซึ่งแต่ละชั้นจะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิดให้กับร่างกาย ฮอร์โมนที่สำคัญมากชนิดหนึ่งที่สร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) ซึ่งทำหน้าที่หลักในการควบคุมสมดุลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเผาผลาญ (metabolism) ในร่างกาย ซึ่งการเผาผลาญที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลการทำงานของฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้ จะเป็นกระบวนการที่สำคัญมากอย่างหนึ่งที่ร่างกายใช้ในการรับมือกับความเครียด (stress) ในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่มีอิทธิพลเหนี่ยวนำจากสภาพแวดล้อม ความเครียดจากการอยู่รวมฝูง หรือแม้แต่ความเครียดที่เกิดขึ้นจากอาการป่วยต่าง ๆ ในร่างกาย […]

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease : DJD)

โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA, degenerative joint disease : DJD) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติกับข้อต่อที่มีเยื่อบุข้อ (synovial joint) เป็นภาวะการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมทั้งมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ เยื่อหุ้มข้อต่อ (synovium) กล้ามเนื้อ (muscle) ถุงหุ้มข้อต่อ (joint capsule) กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เอ็นยึดกระดูก (ligament) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendon) นอกจากนี้จะพบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (biochemistry) และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของ กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้น ในที่สุดจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและไม่ใช้ขา สุนัขที่ข้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากโรคข้อเสื่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเสื่อมเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบมากที่สุด โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) หรือ โรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมอย่างช้า ๆ ของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวกระดูกข้อต่อ (articular cartilage) และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้นจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก คลำได้ ความรู้สึกมีการเสียดสี (crepitus) […]

อ่านต่อ

มดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย

สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]

อ่านต่อ

โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข (Canine Malassezia dermatitis)

สาเหตุ ปัจจุบันเมื่อพบว่ามีเชื้อยีสต์ (Malassezia) มีมากถึง 18 สปีชีส์ด้วยกัน โดย โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข มักเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ที่ชื่อว่า Malassezia pachydermatis ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัข ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ พบได้ในปริมาณน้อยกว่า เช่น Malassezia nana ในช่องหู หรือ Malassezia slooffiae บริเวณร่องเล็บ โดยโรคผิวหนังเป็นยีสต์มักพบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ยีสต์เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย สามารถเกิดจากพันธุกรรม และพบร่วมกันน้องหมาที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยสายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) และสุนัขที่มีโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดยีสต์ได้ นอกจากนี้ยังมีเคสที่เกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) อีกด้วย ยีสต์ตัวนี้สามารถพบได้ในสุนัขปกติอยู่แล้วจำนวนน้อย จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้ หากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สายพันธุ์ ภาวะภูมิแพ้ อายุ พันธุกรรม การได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ ความอับชื้น และอื่นๆ อีกมากมาย ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังสุนัขไม่สามารถควบคุมเชื้อตัวนี้ได้ ทำให้เชื้อเพิ่มปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดโรคตามมาได้ สายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) – Basset […]

อ่านต่อ