Pet Health
- Home
- Pet Health
โรคข้อเสื่อม (Degenerative Joint Disease : DJD)
โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis; OA, degenerative joint disease : DJD) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดความผิดปกติกับข้อต่อที่มีเยื่อบุข้อ (synovial joint) เป็นภาวะการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมทั้งมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ เยื่อหุ้มข้อต่อ (synovium) กล้ามเนื้อ (muscle) ถุงหุ้มข้อต่อ (joint capsule) กระดูกที่อยู่ใต้กระดูกอ่อน (subchondral bone) เอ็นยึดกระดูก (ligament) และเอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendon) นอกจากนี้จะพบการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี (biochemistry) และเมแทบอลิซึม (metabolism) ของ กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้น ในที่สุดจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อและไม่ใช้ขา สุนัขที่ข้ออักเสบมักมีสาเหตุมาจากโรคข้อเสื่อมแสดงให้เห็นว่าข้อเสื่อมเป็นสาเหตุของโรคที่เกี่ยวกับข้อที่พบมากที่สุด โรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) หรือ โรคข้อเสื่อม (degenerative joint disease) เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมอย่างช้า ๆ ของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวกระดูกข้อต่อ (articular cartilage) และเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ซึ่งความผิดปกติที่กล่าวมานั้นจะส่งผลทำให้สัตว์เกิดอาการปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบาก คลำได้ ความรู้สึกมีการเสียดสี (crepitus) […]
อ่านต่อมดลูกอักเสบ (pyometra) ความผิดปกติของสุนัขและแมวเพศเมีย
สำหรับผู้เลี้ยงสุนัขและแมวเพศเมีย สิ่งที่ต้องเข้าใจเขาอีกส่วนคือเรื่องของระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ตั้งแต่เรื่องวงรอบการเป็นสัด การตั้งท้อง การเลี้ยงลูก โดยทาง บ้านและสวน Pets ได้มีบทความบอกเล่าไปบ้างแล้ว วันนี้เรามาเพิ่มเติมส่วนของความผิดปกติของเพศเมีย อย่าง มดลูกอักเสบ แบบผู้หญิง ๆ กันค่ะ มดลูก (uterus) ก่อนเข้าสู่เรื่องความผิดปกติของ มดลูกอักเสบ หมอต้องขออธิบายโครงสร้างของมดลูกให้เห็นภาพคร่าว ๆ กันก่อนค่ะ โดยมดลูกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ปีกมดลูก (uterine horn) ตัวมดลูก (uterine body) และปากมดลูก (uterine cervix) ปีกมดลูกมี 2 ข้าง ข้างซ้ายและข้างขวาต่อจากรังไข่และท่อนำไข่ เชื่อมรวมกันที่ตัวมดลูก และมีปากมดลูกเป็นส่วนเชื่อมต่อสู่ช่องคลอด สาเหตุ มดลูกอักเสบ (pyometra) ทุกอวัยวะของร่างกายมีความผิดปกติเกิดขึ้นได้เสมอ…มดลูกก็เช่นกันค่ะปัญหาส่วนมากที่พบ คือ โรคมดลูกอักเสบแบบมีหนอง บางครั้งอาจถูกเรียกสั้นลงว่า “มดลูกอักเสบ” หรือ ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “pyometra” เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งในสุนัขและแมว สาเหตุการเกิดนั้นมักประกอบด้วยหลายปัจจัยดังนี้ […]
อ่านต่อโรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข (Canine Malassezia dermatitis)
สาเหตุ ปัจจุบันเมื่อพบว่ามีเชื้อยีสต์ (Malassezia) มีมากถึง 18 สปีชีส์ด้วยกัน โดย โรคผิวหนังเป็นยีสต์ในสุนัข มักเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ที่ชื่อว่า Malassezia pachydermatis ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัข ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ พบได้ในปริมาณน้อยกว่า เช่น Malassezia nana ในช่องหู หรือ Malassezia slooffiae บริเวณร่องเล็บ โดยโรคผิวหนังเป็นยีสต์มักพบในสัตว์ที่มีผิวหนังเปียกชื้น อับชื้น ยีสต์เป็นเชื้อที่ฉวยโอกาส มักเกิดแทรกซ้อนในสัตว์ที่เป็นโรคผิวหนังแบบอื่นๆได้ง่าย สามารถเกิดจากพันธุกรรม และพบร่วมกันน้องหมาที่เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โดยสายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) และสุนัขที่มีโรคภูมิแพ้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดยีสต์ได้ นอกจากนี้ยังมีเคสที่เกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) อีกด้วย ยีสต์ตัวนี้สามารถพบได้ในสุนัขปกติอยู่แล้วจำนวนน้อย จึงไม่สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้ หากมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สายพันธุ์ ภาวะภูมิแพ้ อายุ พันธุกรรม การได้รับยากดภูมิคุ้มกันนานๆ ความอับชื้น และอื่นๆ อีกมากมาย ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังสุนัขไม่สามารถควบคุมเชื้อตัวนี้ได้ ทำให้เชื้อเพิ่มปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดโรคตามมาได้ สายพันธุ์ที่สุ่มเสี่ยง (Breed predisposition) – Basset […]
อ่านต่อโรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Wobbler Syndrome)
โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข (Cervical Spondylomyeloathy หรือ Wobbler syndrome) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ โดยมีลักษณะเฉพาะของโรค คือ เกิดการเคลื่อนของกระดูกคอร่วมกับโครงสร้างรอบ ๆ กระดูกคอไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง โดยมีลักษณะจำเพาะ คือ เป็นการเคลื่อนกดทับแบบไดนามิค (dynamic compression) เช่น เมื่อเงยคอจะทบการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง แต่พอก้มคอจะพบการกดทับนั้นลดลง เป็นต้น โรคกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในสุนัข มักพบในสุนัขพันธุ์ใหญ่ โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่มีโอกาสในการเกิดการกดทับของไขสันหลัง (spinal cord) และปมรากประสาท (spinal nerve root) ได้ง่าย ส่งผลให้ระบบการทำงานของกระแสประสาทที่บริเวณดังกล่าวถูกรบกวนหรือทำให้เกิดความเจ็บปวดในตำแหน่งที่เกิดการกดทับได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 50% ของสุนัขที่ป่วยโรคนี้พบว่ามักเป็นสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนพินเชอร์ (Doberman pinschers) นอกจากนี้ยังสามารถพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ไวมาราเนอร์ (Weimaraner) เกรทเดน (Great Dane) ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) และดัลเมเชี่ยน (Dalmation) แม้ความผิดปกติดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บ่อยในบางสายพันธุ์ที่กล่าวมา แต่สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ รวมถึงสุนัขพันธุ์เล็กเช่นกัน สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดสามารถแบ่งออกได้ 4 สาเหตุ […]
อ่านต่อภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร (Persistent right aortic arch : PRAA)
ภาวะเส้นเลือดรัดหลอดอาหาร Persistent right aortic arch (PRAA) หรือ Vascular ring anomaly เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่เส้นหนึ่งบริเวณหัวใจ โดยตามปกติแล้ว เส้นเลือดเส้นนี้ควรจะหายไปเมื่อสัตว์โตขึ้น หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือด Right subclavian artery ซึ่งความผิดปกติทั้ง 2 แบบ จะทำให้เส้นเลือดแดงอ้อมไปรัดบริเวณหลอดอาหาร (Esophagus) เป็นลักษณะวงแหวน (Complete ring around) และมีโอกาสพบมากในลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนมากถึง 90% โดยเฉพาะสายพันธุ์ บอสตัน เทอร์เรีย (Boston Terriers), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherds), ไอริช เซตเทอร์ (Irish Setter) และ เกรทเดน (Great Dane) การพัฒนาในระยะตัวอ่อน ส่วนโค้งเส้นเลือดแดงเอออร์ต้าด้านขวา (Right aortic arch) มีการเจริญผิดปกติ โดยมีการพัฒนาไปเป็นเส้นเลือดแดงหลัก แล้วทำให้เส้นเลือดแดงด้านซ้าย […]
อ่านต่อโรคผิวหนังอักเสบเป็นหนองในสุนัข (Pyoderma)
โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง หรือ Pyoderma เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังและรูขุมขน โดยการอักเสบหรือเกิดบาดแผล จะทำให้สภาพแวดล้อมบนผิวหนังบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นความชื้น และอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้แบคทีเรียประจำถิ่น หรือจุลินทรีย์ประจำถิ่น (Normal flora) ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนแอลง แบคทีเรียกลุ่มที่ก่อโรคจึงเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเป็น โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง แบคทีเรียก่อโรคชนิดแกรมบวกที่พบได้มากในสุนัขที่เป็นโรคนี้ คือกลุ่ม Staphylococcus intermedius และยังพบแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus และ Staphylococcus hyicus อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมวทั่วไปที่มีสุขภาพผิวหนังดี แต่จะพบในปริมาณที่ต่ำมาก และอยู่แบบชั่วคราวมากกว่าถาวร นอกจากนี้แบคทีเรียกลุ่มนี้ยังอาศัยอยู่บริเวณเยื่อเมือกของทวารหนักจมูก ปาก ตาขาว และอวัยวะสืบพันธุ์อีกด้วย เมื่อสัตว์เลียขน หรือกัดแทะผิวหนัง ก็สามารถพบเชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้บนผิวหนังและขุมขนได้เช่นกัน หากมีบาดแผลหรือการอักเสบบริเวณที่เลียก็จะก่อให้เกิดบาดแผลอักเสบ และติดเชื้อเป็นหนองในเวลาต่อมา สาเหตุ (Cause) ช่วงอายุของสุนัขที่มักเกิดโรคและระยะเวลาการเกิดโรคนั้นขึ้นอยู่กับ สาเหตุแท้จริง (underlying cause) หรือสาเหตุเริ่มต้น (Primary cause) ที่ทำให้เกิดโรค ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบหรือเกิดบาดแผลจนทำให้เกิด โรคผิวหนังอักเสบเป็นหนอง มีหลายสาเหตุด้วยกัน แบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้ […]
อ่านต่อโรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc Disease : IVDD)
ไขสันหลังจัดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญและอ่อนไหวได้ง่ายในร่างกาย หากได้รับความเสียหายเซลล์ประสาทจะไม่สามารถสร้างใหม่ แต่จะถูกทดแทนด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บของไขสันหลังมักจะไม่สามารถกลับมาทำงานปกติแบบเดิมได้ ดังนั้นเพื่อปกป้องไขสันหลัง ไขสันหลังจึงอยู่ภายในบริเวณกระดูกสันหลังที่มีกระดูกรอบข้างปกคลุมในทุกด้าน ยกเว้นบริเวณที่มีรอยต่อของกระดูกสันหลัง บริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Discs) ที่มีลักษณะคล้ายยางนิ่ม ๆ ซึ่งกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกช่วยให้บริเวณหลังสามารถขยับขึ้นลงได้หรือไปด้านข้างได้ โดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับไขสันหลัง โรคหมอนรองกระดูก หมอนรองกระดูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนด้านนอก เรียกว่า Annulus Fibrosus ทำหน้าที่คล้ายกับเปลือกหอย ซึ่งมีส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวทำให้สามารถปกป้องและรักษาส่วนด้านในไว้ได้ โดยส่วนด้านใน เรียกว่า Nucleus Pulposus มีลักษณะนุ่มกว่าด้านนอก เนื้อสัมผัสคล้ายกับเยลลี่ หมอนรองกระดูกส่วนปลายทั้งสองข้างมีลักษณะบางเรียว ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ด้านใต้ของไขสันหลัง การเกิด โรคหมอนรองกระดูก มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกส่วนด้านนอก หรือเกิดการฉีกขาดทำให้ส่วนด้านในทะลักออกมา เรียกว่า slipped disc หรือ herniated disc ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการปวด สูญเสียการทำงานของขาจนทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ หรือถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ และบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นไม่มีความรู้สึกที่ขาได้ ความผิดปกติของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้หลายตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical), ส่วนอกและเอว (thoraco–lumbar region), หรือตำแหน่งเอวต่อก้นกบ (lumbosacral) ลักษณะการกดทับมีอยู่ […]
อ่านต่อโรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Hip Dysplasia)
โครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การเดิน การรับน้ำหนักตัวของคนและสัตว์ จำเป็นที่จะต้องมีกระดูก และข้อต่อในจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการหมุน การเหวี่ยง ซึ่งการยึดติดกันของกระดูกแต่ละชิ้น จะทำให้ประกอบขึ้นเป็นร่างกาย ข้อสะโพกเป็นข้อต่อที่จะยึดระหว่างแนวกระดูกเชิงกราน กับกระดูกท่อนขาหลังในสัตว์ ซึ่งข้อต่อนี้เป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวอยู่ 40 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของร่างกาย จึงเป็นข้อต่อที่จำเป็นมากในการยืน การเคลื่อนไหว หากเกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อมในสัตว์เลี้ยง มักทำให้สัตว์ไม่อยากลุกยืน หรือเดิน ที่น้อยลงกว่าปกติ ลักษณะทางกายวิภาคของข้อต่อสะโพกจะประกอบด้วย หัวกระดูกที่มีลักษณะกลมมน ( Femoral Head ) สวมเข้ากับกระดูกเชิงกราน ที่มีลักษณะเป็น เบ้า โค้ง ( Acetabulum ) ซึ่งจะรับพอดี เข้ารูปกับหัวกระดูก โดยจะมีเยื่อหุ้มข้อ ปกคลุมระหว่างหัวกระดูก และเบ้ากระดูก ซึ่งจะทำให้น้ำที่เป็นเหมือนสารหล่อลื่นเหนียว ๆ ไม่หลุด รั่ว ออกไปที่อื่น น้ำหล่อลื่นนี้จะทำให้กระดูกสองส่วนนี้ไม่มีการเสียดสี ชนกัน ลดความร้อนที่เกิดระหว่างการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ทำให้ผิวกระดูกทั้งสองส่วนนี้ไม่เกิดความเสียหายจากการสัมผัสกัน หรือจากความร้อนที่เกิดขึ้น อีกทั้งระว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ยังมีเอ็นที่ช่วยยึดเข้าด้วยกัน โดยเส้นเอ็นนี้จะมีลักษณะที่เหนียว […]
อ่านต่อโรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease)
โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หรือ Legg-Calve-Perthes Disease, Perthes disease หรือ coxa plana เป็นโรคที่เกิดจากปัญหาขาดเลือดไปเลี้ยงในตำแหน่งของหัวกระดูก (femur) ทำให้บริเวณที่เกิดมีอาการกระดูกตาย ซึ่งหัวของกระดูก femur โดยปกติจะสวมเข้าไปในเบ้า (Acetabulum) ของกระดูก pelvis ซึ่งเป็นบริเวณของข้อสะโพก (Hip joint) มีลักษณะของข้อเป็น ball and socket ถ้าหากหัวกระดูก femur มีการพัฒนาของเนื้อตายหรือมีเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จะทำให้การทำงานของข้อผิดปกติไป และอาจทำให้เกิดข้ออักเสบตามมา กระดูกที่ตายส่งผลให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรง และการยุบตัวของหัวกระดูก femur ได้ ซึ่งชื่อโรค เป็นการตั้งชื่อ โรคหัวกระดูกต้นขาตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง (Legg-Calve-Perthes Disease) โดยการรวมนายแพทย์ 3 คนที่ค้นพบโรคนี้ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันใน ค.ศ. 1910 สาเหตุการเกิดโรค สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีการศึกษาถึงสาเหตุอาจจะเกิดจากมีการรบกวนการไหลเวียนของเลือดมายังส่วนของสะโพกโดยตรง หรือมีการขัดขวางการไหลเวียนเลือดจากการอุดตันของก้อนเลือดที่แข็งตัวภายในหลอดเลือดเอง ทำให้กระดูกมีความอ่อนแอ และเสื่อมสภาพลง ซึ่งอาจนำไปสู่การหักของกระดูกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปจะมีการพัฒนาของเยื่อไฟบรัส (Fibrous tissue) […]
อ่านต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (dilated cardiomyopathy : DCM)
โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ หรือ dilated cardiomyopathy (DCM) เป็นโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข และถือเป็นโรคหัวใจอันดับที่สองที่พบได้มากรองจากโรคลิ้นหัวใจเสื่อม หรือ degenerative mitral valve disease (DMVD) โรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ เป็นโรคที่พบได้มากในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น บ๊อกเซอร์ โดเบอร์แมน เกรทเดน และอาจพบได้บ้างในสุนัขพันธุ์ขนาดกลาง เช่น ค๊อกเกอร์ สเเปเนียล โดยโรคนี้จะพบได้มากในสุนัขอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรค อาจเกิดจากความผิดปกติของยีน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติโดยตรง หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ โน้มนำ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือโปรโตซัว ความเป็นพิษจากยาบางชนิดที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง เช่น ยาดอกโซรูบิซิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษามะเร็ง หรืออาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ นอกจากนั้นอาจเกิดจากการขาดโปรตีนบางชนิด เช่น ทอรีน หรือ แอล คาร์นิทีน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีความสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ การขาดโปรตีนดังกล่าวอาจเกิดจากชนิดของอาหารที่กิน ที่อาจส่งผลต่อเมตาบอริซึมหรือการสร้างโปรตีน เมื่อระดับโปรตีน โดยเฉพาะ ทอรีน และ แอล […]
อ่านต่อโรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)
โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]
อ่านต่อโรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease)
โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข (Degenerative Valve Disease) หรือโรคลิ้นหัวใจรั่ว (Valve Regurgitation) เป็นโรคหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสุนัข โดยพบได้มากในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ พุดเดิ้ล ดัชชุน เนื่องจาก โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจ จึงพบได้มากในสุนัขที่อายุมาก โดยมักพบในสุนัขที่อายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ยกเว้นในสุนัขบางพันธุ์ เช่น คาร์วาเลียร์ คิงส์ ชาล์ส สเปเนียล อาจเป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก โดยอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-5 ปี อุบัติการณ์การเกิดโรคจะพบในเพศผู้มากกว่าเพศเมีย และตัวผู้มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าเพศเมีย ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของลิ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ด้วยเหตุนี้พ่อแม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จึงสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติสู่ลูกและอาจส่งผลให้ลูกเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ได้โดยการไม่นำสุนัขที่เป็นโรคนี้ไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม มักเกิดรอยโรคที่ลิ้นหัวใจไมทรัล ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้าย ในภาวะปกติลิ้นไมทรัลจะทำหน้าที่ในการกั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ในขณะที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว เมื่อเกิดการเสื่อมของลิ้นไมทรัล อาจทำให้ลิ้นหนาตัว หรือโป่ง จึงทำให้ปลายลิ้นสบกันไม่สนิท และทำเกิดการรั่วขึ้น เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวเพื่อไล่เลือดออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จึงมีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้าย เมื่อความรุนแรงของการเสื่อมเพิ่มมากขึ้น […]
อ่านต่อ