© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ส่วนแรกที่ควรทำความเข้าใจก่อนเกี่ยวกับ นิ่วในสุนัข คือกระบวนการการเกิดขึ้นของนิ่ว เพื่อที่จะได้เข้าใจบทบาทของอาหารในการช่วยรักษานิ่วอย่างชัดเจนมากขึ้น สาเหตุของนิ่ว นิ่วเกิดจากการรวมตัวกันของสารก่อนิ่วที่อยู่ในปัสสาวะ โดยต้องอาศัยสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเกิดนิ่ว ได้แก่ 1. ความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะ : นิ่วแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลาย และรวมตัวกันของสารก่อนิ่วในสภาวะความเป็นกรดด่างที่แตกต่างกัน2. ความเข้มข้นของปัสสาวะ : การเกิดนิ่วอาศัยหลักการคล้ายการตกผลึก ยิ่งปัสสาวะเข้มข้นมาก นิ่วยิ่งมีโอกาสตกผลึกเป็นนิ่วได้ง่ายขึ้น3. ปริมาณของสารก่อนิ่วที่อยู่ในปัสสาวะ : ยิ่งสารก่อนิ่วมีปริมาณเยอะในปัสสาวะ ยิ่งทำให้โอกาสในการรวมตัวกันเป็นนิ่วเพิ่มขึ้น ประเภทของนิ่วกับการรักษา ในการรักษานิ่ว เรามีเป้าหมายเพื่อลดปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งอาหารมีส่วนช่วยอย่างมากในการบรรลุเป้าหมาย หรือช่วยลดโอกาสในการเกิดนิ่วเพิ่ม ซึ่งนิ่วมี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือนิ่วที่สามารถสลายได้ด้วยการปรับอาหาร และนิ่วที่ไม่สามารถสลายได้ 1. นิ่วที่สามารถสลายได้ด้วยอาหาร : นิ่วที่พบได้บ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่นิ่วสตรูไวท์ (struvite) หรือนิ่วแมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต (MAP) ซึ่งส่วนใหญ่จะโน้มนำจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างมากขึ้น และสภาวะในกระเพาะปัสสาวะเหมาะกับกับการรวมตัวของสารก่อนิ่วชนิดนี้ เกิดการรวมตัวเป็นก้อนนิ่วขึ้น อาหารที่ใช้ในการสลายนิ่วชนิดนี้ อาศัยหลักการที่จะทำให้ปัสสาวะเป็นกรดมากพอที่จะทำให้นิ่วชนิดนี้สลายได้2. นิ่วที่ไม่สามารถสลายได้ด้วยอาหาร : นิ่วในกลุ่มนี้มีหลายชนิด แต่ที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด […]
แมวตัวเมียติดสัตว์ หรือที่ถูกต้องคือ ติดสัด เป็นพฤติกรรมเริ่มต้นของวงรอบการผสมพันธุ์ ในแมว และสัตว์เลี้ยง วงรอบติดสัดของแมวและสุนัข มีความแตกต่างกันกันอย่างไร ไปติดตามกันเลยค่ะ แมวตัวเมียติดสัตว์ เป็นอย่างไร เป็นคำถามยอดฮิตที่เหล่าพ่อแม่มือใหม่สอบถามกันเข้ามาอยู่เรื่อย ๆ เลยค่ะ จริงแล้วคำว่า ติดสัตว์ หรือที่ถูกต้องคือ ติดสัด เป็นพฤติกรรมการสืบพันธุ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติเมื่อสัตว์เลี้ยงเติบโตถึงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อทำความเข้าใจกับเรื่องนี้มากขึ้น บ้านและสวน Pets จะให้คุณหมอมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ วงรอบสัดของแมว แมวเพศเมียจะเริ่มแสดงอาการเป็นสัด (แมวตัวเมียติดสัตว์) เมื่ออายุประมาณ 4-10 เดือน โดยมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ได้แก่ น้ำหนักตัว สายพันธุ์ (แมวขนยาวหรือขนสั้น) และแสงแดด ส่วนเรื่องน้ำหนักตัว ใช้ในการประเมินเรื่องความสมบูรณ์ของร่างกายที่โตเต็มที่ และไม่ผอมจนเกินไป เนื่องจากฮอร์โมนเพศที่ควบคุมพฤติกรรมการสืบพันธุ์ สร้างมาจากไขมันประเภทโคเลสเตอรอล ถ้าอายุถึงเกณฑ์แต่สัตว์ผอมมาก ระดับไขมันที่ขาดพร่องอาจมีผลต่อการสร้างอนุพันธ์ต่าง ๆ ของฮอร์โมนเพศที่น้อยลงด้วย สัตว์ที่ผอมจึงมักจะแสดงอาการสัดช้า ส่วนเรื่องของสายพันธุ์แมวขนสั้นหรือขนยาว พบว่า แมวกลุ่มขนสั้นจะเป็นสัดแรกได้เร็วกว่ากลุ่มแมวขนยาว และปัจจัยสุดท้ายที่สำคัญต่อวงรอบสัดในแมวมาก คือ แสง เนื่องจากแสงเป็นปัจจัยการกระตุ้นการทำงานของระบบฮอร์โมนเพศในแมว ความเข้มแสงที่เพียงพอและยาวนานกว่า 14 ชั่วโมงต่อวัน […]
โรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้มากทั้งในสุนัขและแมว โดยนิ่วเกิดจากการสะสมรวมกันของตะกอนแร่-ธาตุในทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็นที่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ สำหรับ ภาวะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะของสุนัขและแมว ปัจจุบันมีการแบ่งชนิดของนิ่วตามองค์ประกอบแร่ธาตุของนิ่วชนิดนั้น ๆ โดยนิ่วที่พบมีทั้งหมด 8 ชนิด ได้แก่ 1. Magnesium ammonium phosphate(แมกนีเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟตหรืออีกชื่อเรียกว่า struvite (สตรู-ไวท์) หรือ MAP)2. Calcium oxalate (แคลเซียมออกซาเลต) หรือ CaOx3. Urate (ยูเรต)4. Cystine (ซีสทีน)5. Calcium phosphate (แคลเซียมฟอสเฟต) หรือ CaPo6. Silica (ซิลิกา)7. Compound8. Mixed แต่จะพบว่ามี 2 ชนิดที่พบได้บ่อยในสุนัขและแมว คือ MAP และ CaOx ซึ่งมีอัตราการกลับมาเป็นซ้ำสูง สาเหตุการเกิดภาวะโรคนิ่ว การเกิดนิ่วมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น สายพันธุ์ อายุ เพศ อาหาร […]
คุณเคยสงสัยว่าน้องหมาน้องแมวมองเห็นภาพต่าง ๆ เหมือนกับที่มนุษย์เรามองเห็นหรือไม่ มาไขข้อสงสัยและหาคำตอบ เรื่อง การมองเห็นในสุนัขและแมว กับคุณหมอกันค่ะ
มาดูเทคนิค การป้อนยาสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาหยอด สารพัดที่เป็นปัญหาปวดหัวให้กับเจ้าของ เพื่อที่น้องหมาจะได้กินยาครบ หายป่วยในเร็ววันกันค่ะ
สัตว์เลี้ยงที่มีสุขภาพแข็งแรงเปรียบได้กับมีระดับการทำงานของไต 100% หากไตเกิดความเสื่อมและเหลือการทำงานเพียง 33% จะสามารถพบความผิดปกติได้จาก การตรวจปัสสาวะ
PM2.5 คือฝุ่นละเอียดขนาดเล็กจิ๋วที่ล่องลอยปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งการป้องกันสัตว์เลี้ยงด้วยการหลีกเลี่ยงก็จะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้
โคโรนา (corona) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่สามารถก่อโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข แมว สุกร เป็นต้น ซึ่งไวรัสโคโรนาถูกค้นพบในสัตว์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ในช่วงปลายปี 2019 พบว่าโคโรนาสามารถก่อโรคในคนที่ประเทศจีนและขณะนี้พบว่าการระบาดเชื้อไวรัสโคโรนากำลังแพร่กระจายไปทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทยที่พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสนี้อยู่ ความน่ากลัวของ ไวรัสโคโรนา สามารถทำให้คนเกิดอาการปอดอักเสบรุนแรงและเสียชีวิตได้ ข้อมูลปัจจุบันยังไม่มีรายงานการติดต่อของไวรัสอู่ฮั่น (โคโรนาไวรัสในคน) มายังสัตว์เลี้ยงและยังไม่มีการรายงานว่า ไวรัสโคโรนาในสุนัข สามารถติดคนได้ เนื่องจากเป็นคนละสายพันธุ์กันและไม่สามารถติดต่อข้ามสายพันธุ์กันได้ ไวรัสโคโรนาก่อให้เกิดโรคสำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข ถูกค้นพบในปี 1971 จะก่อโรครุนแรงมากในลูกสุนัข โดยเฉพาะลูกสุนัขอายุ 2-4 เดือน การติดต่อของโรคเกิดได้จากการกินอาหาร หรือ น้ำที่มีการปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ มักจะเกิดในสุนัขที่เลี้ยงหนาแน่น เเละสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยเชื้อไวรัสจะเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหาร และจะเกิดการแบ่งตัวทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ ทำให้เซลล์ลำไส้ถูกทำลาย ลอกหลุด ฝ่อตัว บางเซลล์สำไส้ตายลง ลูกสุนัขจะแสดงอาการท้องเสียรุนแรง ท้องเสียเรื้อรัง อาเจียน เบื่ออาหาร ซึม มีไข้ เกิดภาวะแห้งน้ำ เนื่องจากสูญเสียน้ำไปกับการอาเจียนและท้องเสีย ถ้าสุนัขติดเชื้อโคโรนาไวรัสร่วมกับพาโวไวรัสอาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ท้องเสียเป็นเลือด มีเมือกปนและอาจจะเสียชีวิตได้ ในสุนัขโตบางทีจะไม่แสดงอาการ แต่บางตัวจะแสดงอาการอาเจียนและท้องเสีย อุจจาระเหลวเป็นสีเหลืองเขียวหรือสีส้ม ไม่ค่อยมีไข้ […]
ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาข่าวการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไวรัสอู่ฮั่น” เนื่องจากพบการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ต่อมาองค์กรอนามัยโลก (WHO) ประกาศตั้งชื่อไวรัสชนิดนี้ว่า Covid-19 ซึ่งย่อมาจาก “coronavirus disease starting in 2019” ไวรัสโคโรนา มีความรุนแรงมาก ทำให้ผู้ป่วยมีปอดอักเสบรุนแรงจนถึงเสียชีวิตได้ ที่มาของเชื้อสันนิฐานว่าน่าจะมาจากเนื้อสัตว์ที่ขายในตลาดสดและสามารถติดต่อมาสู่คนได้ การแพร่กระจายของเชื้อมาจากการสูดดมละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ โดยที่เชื้อจะเข้าไปอยู่ที่เนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดติดเชื้อและเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว นอกจากนี้แล้วไวรัสโคโรนาสามารถก่อโรคในแมวแต่เป็นคนละสายพันธุ์กับ ไวรัสโคโรนาในคน (Covid-19) ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในสัตว์ โดยเฉพาะในสุนัขและแมว ทางการแพทย์ได้ค้นพบไวรัสชนิดนี้มานานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 มีการติดเชื้อได้ทั่วโลก ไวรัสโคโรนาในแมว มีชื่อว่า Feline coronavirus หรือ FCoV เป็นไวรัสที่ติดต่อระหว่างแมว เชื้อไวรัสตัวนี้ติดได้ง่ายจากการเลี้ยงแมวในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้กระบะทรายร่วมกันหลายตัว การเลี้ยงรวมกันอย่างหนาแน่น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แมวเกิดความเครียดและเป็นผลทำให้ติดเชื้อไวรัสง่ายขึ้น เนื่องจาการแพร่ของเชื้อเกิดได้จากการกินน้ำและอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อไวรัสปนอยู่ รวมไปถึงปัจจัยช่วงอายุมีผลเช่นกัน พบว่าช่วงอายุที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสได้ง่ายคือแมวอายุน้อยกว่า 2 ปี และ แมวแก่อายุมากกว่า 17 ปี เพราะ เป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่แข็งแรง ไวรัสโคโรนาในแมว มี […]
ความผิดปกติหนึ่งที่พบได้บ่อยในแมวนั้นก็คือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบในแมว หรือ ที่มักนิยมเรียกกันติดปากว่า “แมวปัสสาวะ(ฉี่)ไม่ออก”
พยาธิหนอนหัวใจในแมว เป็นพยาธิชนิดเดียวกับในสุนัขโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค เจ้าของจึงควรให้ยาป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุที่ยืนยาว
โรคอัลไซเมอร์ในสัตว์เลี้ยง หรือ โรคสมองเสื่อมในสัตว์เลี้ยง (Cognitive dysfunction syndrome) เป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในสุนัข อายุ 7-8 ปีขึ้นไป