Pet Health

การทำหมันสุนัขและแมว

ข้อดีและข้อเสียของการ ทำหมันสุนัข และแมว

การควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยง การทำหมันสุนัขและแมว โดยการผ่าตัด เป็นวิธีที่สัตวแพทย์แนะนำ เนื่องจากเป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพถาวร

อ่านต่อ

เมื่อสุนัขหรือแมวจมูกแห้ง แปลว่าป่วยจริงหรือไม่?

ผู้เลี้ยงสุนัขและแมวส่วนใหญ่มักจะเคยได้ยินมาว่า ความชื้นหรือแห้งของจมูกนั้น สามารถบอกถึงการเจ็บป่วยของสัตว์เลี้ยงได้ และบางครั้งเวลาที่เราเห็น สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง ผิดปกติ ก็อาจจะรู้สึกกังวลว่า ตอนนี้สัตว์เลี้ยงของเรากำลังป่วยอยู่หรือเปล่า หมาจมูกแห้ง บ้านและสวน Pets คงต้องขอเล่าว่าตามหลักกายวิภาคศาสตร์แล้ว จมูกสุนัขและแมวจะประกอบด้วย รูจมูก (Nares) ขีดแบ่งแยกตรงกลาง (Philtrum) และ พื้นผิวด้านบนปลายจมูกซึ่งเป็นตรงส่วนที่ไม่มีขน (Nasal planum) ซึ่งตรงส่วนที่เรียกว่า Nasal planum นี่ละคือส่วนที่เราสังเกตได้ว่า สุนัข หรือ แมวจมูกแห้ง อยู่หรือไม่ ปกติแล้วหน้าที่หลักของจมูก คือ การดมกลิ่น ซึ่งจมูกสุนัขสามารถรับกลิ่นได้ดีกว่ามนุษย์ถึงพันเท่า ส่วนอีกหน้าที่สำคัญสำหรับจมูกในสุนัขและแมว คือ การระบายความร้อน โดยบริเวณจมูกและฝ่าเท้าของสุนัขและแมวจะมีต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) ซึ่งเป็นต่อมเหงื่อที่มีลักษณะเป็นท่อเปิดออกบนพื้นผิวของผิวหนัง ทำให้สามารถขับน้ำออกมาได้ แต่การระบายความร้อนวิธีนี้ไม่ใช่วิธีหลักที่ร่างกายของสุนัขและแมวใช้ เพราะ การระบายความร้อนของสุนัขและแมวจะระบายออกจะใช้วิธีการการหายใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ที่มีต่อมเหงื่ออยู่ที่บริเวณผิวหนัง มีงานวิจัยที่ทดลองเทียบคุณสมบัติของเหงื่อมนุษย์และสุนัขแล้วพบว่า เหงื่อของมนุษย์และสุนัขมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก เนื่องจากมีองค์ประกอบของน้ำที่คล้าย ๆ กัน แต่ด้วยปริมาณต่อมเหงื่อของสัตว์ที่น้อยกว่ามนุษย์ ทำให้เราไม่เห็นเม็ดเหงื่อที่ชัดเจนเหมือนในมนุษย์หรืออาจทำให้ดูว่าแห้งได้ […]

อ่านต่อ

ประเภท และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง

หากสุนัข หรือแมวที่เราเลี้ยงอยู่ในบ้านตลอด ไม่เคยได้ออกไปไหน หรือที่ทุกคนเรียก การดูแลแบบนี้ว่า “ระบบปิด” หรือแบบ Indoor ยังจะจำเป็นต้องให้น้อง ๆ ได้รับการฉีดวัคซีน หรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองของน้อง ๆ หลายท่านคงเคยมีความสงสัยกันว่า การฉีดวัคซีนในลูกขนปุยของเราจำเป็นจะต้องทำไหม ควรจะทำแบบไหน เมื่อไหร่บ้าง ถึงจะดีกับลูก ๆ ของเรามาที่สุด วันนี้ บ้านและสวน Pets มาไขข้อข้องใจกับประเภท วิธีการ และ ความสำคัญของการฉีดวัคซีนในสัตว์เลี้ยง กันค่ะ ต้องบอกตามตรงว่า การฉีดวัคซีนใน สุนัข และแมว รวมถึงสัตว์พิเศษบางชนิด (Exotic pet) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคร้ายแรงบางโรคหากติดแล้วอาจจะไม่มีทางรักษาให้หายได้ บางโรคก่อความผิดปกติ อาการรุนแรง รักษาได้ยากถึงแม้จะใช้ยา และนวัตกรรมที่ดีที่สุด ก็ทำได้อย่างยากลำบาก และอาจจะพรากชีวิตสมาชิกที่เรารักไปอย่างรวดเร็ว โดยโรคร้ายแรงเหล่านั้นล้วนประกอบอยู่ในวัคซีนป้องกันโรคหลัก ที่น้องหมา น้องแมวควรได้รับ นอกจากนี้โรคบางอย่างนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวน้อง ๆ เองแล้ว ยังสามารถส่งผ่าน ติดต่อมายังคน […]

อ่านต่อ

บี้เห็บ ไม่ได้ จริงหรือมั่ว

เจ้าของสุนัขและแมวหลาย ๆ บ้านน่าจะต้องมีประสบการณ์กับปัญหากวนใจอย่าง “เห็บ” มาบ้างไม่มากก็น้อย และเจ้าของหลาย ๆ ท่านก็คงอดใจไม่ได้ที่จะจับเห็บออกจากตัวน้องหมาแล้ว บี้เห็บ เหล่านั้นซะ แต่บ่อยครั้งเรามักได้ยินคำห้ามที่ว่า “ไม่ควร บี้เห็บ เพราะจะทำให้เกิดเห็บตามมามากมายเป็นทวีคูณ” ทำไมถึงมีคำกล่าวเช่นนี้ แล้วจริง ๆ มันเป็นตามที่เค้าบอกกันมาหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพาไปรู้กันครับ รู้จักเห็บ เห็บ (tick) เป็นแมลงชนิดหนึ่งมีหลายสปีชีส์พบได้ทั่วโลกตามลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเรา มักพบเห็บสุนัขสีน้ำตาล หรือ Brown dog tick มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhipicephalus sanguineus กินเลือดเป็นอาหาร ชอบอาศัยบนตัวสุนัข (จึงเรียกว่าเห็บสุนัขสีน้ำตาล) แต่ก็สามารถกัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นรวมถึงคนได้เช่นกัน นอกจากประเทศไทยแล้วเห็บชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อน เห็บสุนัขสีน้ำตาลมี 8 ขา ลำตัวแบนแต่เมื่อกินเลือดตัวจะพองขึ้น มีขนาดต่างกันไปตามระยะ (life stage) ของวงจรชีวิต (life cycle) ตั้งแต่ตัวเล็กเท่าหัวเข็ม จนถึงกินเลือดจนตัวเต่งเหมือนลูกเกด วงจรชีวิตเห็บ […]

อ่านต่อ
อายุหมา, อายุแมว, เมื่อเทียบกับมนุษย์

อายุหมา อายุแมว เมื่อเทียบกับมนุษย์ ?

อายุหมา ถ้าเทียบกับอายุเราแล้ว เค้าจะอายุเท่าไรบ้างนะ บางคนก็คงเคยได้ยินว่า ถ้าเอาอายุสุนัขคูณด้วย ‘7’ เราก็จะได้เป็นอายุที่เทียบเท่ามนุษย์ อายุหมา และอายุแมว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมนุษย์ ได้กลายเป็นการศึกษาที่ได้ลงรายละเอียดไว้ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2019 ได้มีงานวิจัยเผยแพร่ว่า “เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ไม่ได้เทียบแค่การคูณด้วยเจ็ดอย่างที่เราเคยได้ยินมา” โดยนักวิจัยได้ทำการเทียบสารพันธุกรรม (DNA) ของสุนัขพันธุ์ลาบาดอร์แต่ละช่วงอายุ กับ สารพันธุกรรมของมนุษย์ (ที่ใช้สุนัขเพียงพันธุ์เดียวก็เพื่อให้ได้สารพันธุกรรมเดียวกันทั้งหมดในการเทียบปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาแต่ละช่วงอายุที่เหมือน ๆ กัน) ด้วยวิธีการทดลอง เพื่อดูลักษณะของสารพันธุกรรม ทำให้ได้ผลเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ออกมา นักวิจัยสามารถแปรผลการทดลองนี้ออกมาได้เป็นสูตรคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เป็นค่า Logarithm คือ “อายุมนุษย์ = 16ln(อายุสุนัข)+31” ยกตัวอย่างเช่น สุนัขอายุ 4 ปี เมื่อเทียบในสูตรจะเทียบเท่าอายุมนุษย์ 53 ปี ซึ่งผลที่ได้จากการคำนวณจะเป็นอายุโดยคร่าว ๆ ของสุนัข แต่ทั้งนี้ด้วยความที่อายุขัยสุนัขพันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่มีความต่างกันออกไป จึงทำให้ค่า เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ ที่ได้อาจจะเป็นค่าประมาณการ เปรียบเทียบอายุสุนัขและแมวกับมนุษย์ เปรียบเทียบ อายุหมา กับมนุษย์ […]

อ่านต่อ

การปั๊มหัวใจ หรือ CPR สัตว์เลี้ยง (Cardiopulmonary Resuscitation)

การเรียนรู้วิธีการทำปฏิบัติการกู้ชีพ “การปั๊มหัวใจ” หรือ CPR สัตว์เลี้ยง สามารถช่วยชีวิตสัตว์เลี้ยงได้เบื้องต้น เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอาการหยุดหายใจ และชีพจรหยุดเต้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะสมองและหัวใจ ก่อนนำส่งถึงมือสัตวแพทย์ต่อไป เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินขั้นตอนแรกในการทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือ CPR สัตว์เลี้ยง คือการตรวจสอบว่าสัตว์เลี้ยงยังหายใจอยู่หรือไม่ ด้วยการวางมือหรือแก้มของคุณใกล้กับจมูกของสัตว์ แล้วสัมผัสถึงอากาศหรือลมหายใจ แต่ถ้าหากยังไม่มั่นใจให้นำสำลีหรือผ้าบาง ๆ มาอังที่จมูก พร้อมสังเกตบริเวณหน้าอกว่ากำลังขยับขึ้นลงหรือไม่ เพื่อประเมินความจำเป็นในการทำ CPR หากต้องทำ CPR สัตว์เลี้ยง อย่างเร่งด่วน ให้เจ้าของทำการตรวจสอบชีพจรของสัตว์เลี้ยง ด้วยการกดนิ้วลงเบา ๆ ที่บริเวณด้านบนตรงกลางอุ้งเท้าขนาดใหญ่ของสัตว์เลี้ยง หรือบริเวณข้างล่างขาหลังด้านใน เพื่อสัมผัสถึงชีพจรหรือเส้นเลือดแดง (femoral artery) หรือจะให้ง่ายที่สุดคือการใช้ฝ่ามือคลำตรง “ตำแหน่งหัวใจของสัตว์เลี้ยง” โดยใช้นิ้วหัวแม่มือวางบนหน้าอกด้านหนึ่ง และใช้อีก 4 นิ้ว วางบนหน้าอกอีกด้าน หัวใจจะอยู่ด้านหลังข้อศอกบริเวณกลางอก ถ้าสัตว์เลี้ยงไม่หายใจและไม่มีชีพจร คุณสามารถข้ามการกดหน้าอกไปที่การช่วยหายใจได้เลย * การทำปฏิบัติการกู้ชีพ หรือ CPR สัตว์เลี้ยง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า สัตว์เลี้ยงไม่มีเลือดออก […]

อ่านต่อ

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น

โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น (Brachycephalic syndrome) เป็นกลุ่มโรคของสุนัขและแมวที่มีจมูกสั้น เกิดปัญหาที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น (Upper airway abnormalities) โดยการตั้งชื่อ โรคระบบทางเดินหายใจผิดปกติของสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น หรือ Brachycephalic syndrome มาจาก Brachy หมายถึงสั้น และ Cephalic หมายถึงส่วนหัว เนื่องจากมีลักษณะกะโหลกศีรษะขนาดใหญ่แต่สั้นแบน ทำให้โครงสร้างของหน้า จมูก และปากสั้น นอกจากนี้ยังสามารถเรียกชื่อโรคทางภาษาอังกฤษได้อีกหลายแบบ ได้แก่ Brachycephalic respiratory syndrome, Brachycephalic airway obstructive syndrome หรือ Congenital obstructive upper airway disease เป็นต้น องค์ประกอบของการเกิดโรค Brachycephalic syndrome เกิดจากความผิดปกติจากหลายองค์ประกอบ  สามารถพบความผิดปกติได้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเกิดความผิดปกติร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การหายใจเข้าไปยังปอดเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยลักษณะความผิดปกติที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ได้ มีดังนี้ ความผิดปกติที่สามารถพบได้บ่อยในสุนัขและแมวพันธุ์หน้าสั้น รูจมูกตีบแคบ (Stenotic nares) เป็นการเจริญผิดปกติของรูจมูก ทำให้มีรูแคบหรือยุบแฟบเข้าไปเมื่อหายใจเข้า ทำให้สัตว์หายใจติดขัดเนื่องจากมีปัญหารูจมูกตีบแคบ เพดานอ่อนยาวกว่าปกติ […]

อ่านต่อ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง (First aid)

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง คือ การดูแลเมื่อสัตว์มีอาการป่วย หรือบาดเจ็บ โดยไม่จำเป็นต้องมีสัตวแพทย์อยู่ แต่ควรจะรู้จักคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ที่ใกล้ที่พักและเวลาเปิด-ปิด แต่ที่สำคัญที่สุด คือ เจ้าของจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อลดความเจ็บปวดและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ วิธีการนำสัตว์เลี้ยงมายังโรงพยาบาล หลังจาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับสัตว์เลี้ยง ควรพาสัตว์เลี้ยงไปยังโรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการอย่างถูกต้อง ด้วยภาชนะที่นำสัตว์ที่เหมาะสม เช่น • สุนัขพันธุ์เล็ก หรือแมว ให้ใส่กระเป๋า หรือกล่องกระดาษแข็ง• สุนัขพันธุ์ใหญ่ สามารถใช้เปลหาม หรือจูงสัตว์มา หากสุนัขยังสามารถเดินได้ โดยเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง และจับสัตว์เลี้ยงอย่างระมัดระวัง เพราะเมื่อสัตว์อยู่ในภาวะเครียด จะทำให้สัตว์เลี้ยงแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้• ใช้อุปกรณ์ในการช่วยจับบังคับสัตว์ เพื่อป้องกันสัตว์กัดเจ้าของ เช่น ที่ปิดปากสัตว์ (Muzzling), การใช้ผ้าห่อตัวสัตว์ (Wrapping), การทำให้สัตว์นอนอยู่กับที่ (Immobilizing) ภาวะฉุกเฉินที่สามารถพบได้บ่อย  1.การได้รับสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นจากการกิน การหายใจเข้าไป หรือการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจากสารเคมีชนิดต่าง ๆ เช่น สารเคมีในครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด, ยาตามใบสั่งแพทย์, สารกำจัดหนู หรือ อาหารที่เป็นพิษต่อสัตว์ (ช็อคโกแลต) อันตรายจากช็อคโกแลต […]

อ่านต่อ

7 พืชผักสมุนไพร ยาธรรมชาติสำหรับสัตว์เลี้ยง

ขึ้นชื่อว่าสมุนไพร ต่างก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ หรือมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยในการบำรุงรักษา ไม่ว่าจะต่อมนุษย์ หรือ สัตว์เลี้ยงเองก็ตาม โดยเฉพาะสำหรับสัตว์เลี้ยงที่เราไม่ควรใช้ยาของคน อย่าง พาราเซตามอล ยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ ในการเยียวยาหรือรักษา เพราะ อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ วันนี้ บ้านและสวน Pets จึงมีอีกหนึ่งทางเลือก อย่าง พืชผักสมุนไพร ยาธรรมชาติสำหรับสัตว์เลี้ยง มาแนะนำกันค่ะ แต่ทั้งนี้ผู้เลี้ยงควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนทุกครั้ง ในทุกกรณี เพื่อกำหนดปริมาณที่เหมาะสม และป้องกันการเกิดอาการแพ้ หรืออันตรายด้วยนะคะ 1.สะระแหน่ (Mint) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mentha cordifolia Opizวงศ์: Lamiaceae (Labiatae) เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม ช่วยบรรเทาอาการระบบทางเดินอาหาร ลดอาการอาเจียน ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ ปั่นป่วน อาการเมารถ สำหรับน้องแมวยังช่วยละลายเสมหะ ลดน้ำมูก และช่วยให้รู้สึกสดชื่น อารมณ์ดีได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากเลือกใช้เป็นประเภทน้ำมันหอมระเหยต้องเลือกเป็นเกรดที่สามารถทานได้ นอกจากนี้ยังควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ เพราะการใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปก็อาจมีผลกระทบต่อตับ หรือไตได้เช่นกันนะคะ 2.อบเชย (cinnamon) ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum verumวงศ์: Lauraceae […]

อ่านต่อ

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)

Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ  Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV)  ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]

อ่านต่อ

โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)

กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]

อ่านต่อ
การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง

8 สิ่งที่ควรรู้ก่อนรักษาด้วยศาสตร์ การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง

ในปัจจุบันการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกเริ่มเป็นที่นิยมและมีความต้องการมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการรักษาอาการป่วยต่างๆ ในคน ไม่ว่าจะเป็น การใช้สมุนไพร การฝังเข็ม ครอบแก้ว หรือ แม้แต่การนวดกดจุด เพื่อบำบัดอาการต่างๆ จนเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ซึ่งวิธีการรักษาทางเลือกนี้ ก็สามารถใช้ในสัตว์เลี้ยงได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ยังคงจำกัดในวงแคบๆ อยู่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะมาอธิบาย เรื่อง การฝังเข็มสัตว์เลี้ยง ให้เข้าใจง่ายที่สุดกันครับ 1.ที่มาของการฝังเข็มในสัตว์เลี้ยง ประเทศจีนเป็นต้นกำเนิดของการฝังเข็ม โดยมีการขุดพบหลักฐานช่วงยุคหินใหม่ อายุไม่ต่ำกว่าสี่พันปีซึ่งเป็นเครื่องมือที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด ทำมาจากหินที่ถูกปรับแต่งให้บางและเล็กลง เพื่อนำมาใช้รักษาโรค เราเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า “เปี่ยนสือ” ต่อมาก็มีพัฒนาการทำเข็ม มาจากวัสดุพวก กระดูก ไม้ไผ่ ทองแดง เหล็ก ทองคำ และ เงิน นอกจากนี้ ยังมีตำราการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดและตกทอดมาในยุคปัจจุบัน คือ ตำราหวงตีเน่ยจิง ซึ่งเป็นการรวบรวมทฎษฎีทางการแพทย์และการรักษาโรคต่างๆ เอาไว้อย่างครบครัน รวมถึงศาสตร์ของการฝังเข็ม อีกทั้งหมอยังมีตำนานบทหนึ่งเกี่ยวกับหมอฝังเข็มที่เล่าต่อกันมา นามว่า “มาซือหวง” มาเล่าให้ฟัง โดยมาซือหวงหรือหมอฝังเข็มท่านนี้เป็นหมอที่มีความสามารถเก่งกาจในการรักษาม้าด้วยสมุนไพรจนชื่อเสียงระบือไปไกล ไปถึงหูของเทพพระเจ้ามังกร ซึ่งประจวบเหมาะพอดีที่ตอนนั้นเทพพระเจ้ามังกรกำลังป่วย ท่านจึงได้บินลงมาหามาซือหวง เพื่อทำการรักษา จากนั้นเมื่อมาซือหวงได้มอบสมุนไพร่ให้แก่เทพมังกรและรักษาอาการจนหายเป็นปกติแล้ว […]

อ่านต่อ