โรคในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง, วิธีรักษา, โรคผิวหนังในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง : 10 ปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพของสุนัขที่พบได้บ่อย และเจ้าของหลายท่านก็กำลังมองหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่เหมาะสม สุนัขเป็นโรคผิวหนัง หรือเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ได้จากหลายสาเหตุ และเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่สัตวแพทย์กล่าวว่า พบได้บ่อยในสุนัข ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข จึงช่วยให้เจ้าของสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง อาการที่กำลังบ่งบอกว่า สุนัขกำลังเผชิญกับปัญหาโรคผิวหนัง สุนัขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมักไม่มีอาการของโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นจนสังเกตได้ บนผิวหนังของสุนัขก็เช่นกัน ผิวหนังและเส้นขนของสุนัขที่มีสุขภาพดี ควรมีสัมผัสที่นุ่มลื่น ไม่มีตุ่ม ไม่ลักษณะผิวหนังแห้งจนลอก หรือไม่มีสีแดง โดยสุนัขที่มีปัญหาเรื่องผิวหนังมักแสดงอาการต่อไปนี้ 10 โรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข 1. โรคภูมิแพ้ อาการแพ้สิ่งต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยบนผิวหนังของสุนัข ตั้งแต่การแพ้ปรสิต อย่างเห็บและหมัด แพ้อาการ ไปจนถึงสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น เชื้อรา และสารเคมี เป็นต้น เมื่อสุนัขสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น หรือสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ จะทำให้กลไกในร่างกายต่อต้าน และเกิดอาการคันอย่างรุนแรงตามมา โดยการรักษาเบื้องต้น เจ้าของต้องรีบหาสาเหตุของการแพ้ให้พบก่อน และพยายามไม่ให้สุนัขไปสัมผัส หรือได้รับสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ และถ้ามีอาการแพ้รุนแรง ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ 2. ปรสิตภายนอก ปรสิตภายนอกที่พบได้บ่อยในสุนัขได้แก่ เห็บ […]

อ่านต่อ
สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ,

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่เฉย ๆ

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ เป็นอาหารปกติหลังจากที่สุนัขวิ่งเล่น หรือออกกำลังกายจนเหนื่อย ซึ่งเป็นกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุนัข อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เรากลับพบว่า สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่สุนัขไม่ได้ทำกิจกรรมหนักจนเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหมายถึงร่างกายของสุนัขกำลังเกิดความผิดปกติบางอย่าง ที่เราต้องรีบหาสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่สุนัขหายใจหอบและถี่ อาการแลบลิ้น และหายใจหอบเหนื่อย เป็นกระบวนการระบายความร้อนตามธรรมชาติของสุนัข ซึ่งเป็นจังหวะการหายใจที่มีลักษณะเร็วและตื้น ร่วมกับการแลบลิ้น โดยปกติแล้ว อัตราการหายใจปกติของสุนัขคือ 30-40 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อสุนัขมีอาการหอบอัตราการหายใจอาจเพิ่มขึ้นได้เป็น 10 เท่าหรือ 300-400 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเป็นการหายใจหอบแบบผิดปกติ สุนัขจะแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น ลิ้นห้อย น้ำลายยืด อ้าปากค้าง เหงือกเปลี่ยนเป็นสีซีด หรือมีอาการส่งเสียงร้องครางผ่านทางจมูก ดังนั้น เจ้าของจึงต้องคอยสังเกตอาการหอบปกติของสุนัขและเปรียบเทียบกับอาการหอบที่เกิดขึ้นว่าแตกต่างไปจากปกติหรือไม่ เหล่านี้คือ สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการหายใจหอบผิดปกติ 1. ฮีตสโตรกอากาศร้อนในประเทศไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้สุนัขเกิดภาวะฮีตสโตรก หรือลมแดด ได้ง่าย โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่สุนัขอยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันและเมื่อความร้อนสะสมเป็นเวลานานฃ ก็จะทำให้สุนัขลิ้นห้อย หอบหายใจแรง น้ำลายไหล เหงือกเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม และอาจอาเจียนออกมาได้ […]

อ่านต่อ

สุนัขเดินยกขา หรือท่าทางการเดินผิดปกติ อาจกำลังมีปัญหาสะบ้าเคลื่อน

สุนัขเดินยกขา หรือร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม สัญญาณเบื้องต้นของโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข ในระหว่างการเจริญเติบโตทางร่างกายของสุนัข ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่สามารถพบเจอได้คือ การเจริญของกระดูกโครงร่างผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patella luxation) โดยอาการที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น สุนัขเดินยกขา ท่าทางการเดินผิดจากปกติ หรือส่งเสียงร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม “ส่วนใหญ่ โรคสะบ้าเคลื่อนมักเกิดในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ปอมเมอเรเนียน มอลทีส และชิวาวา เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็พบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ได้เช่นกัน” น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ สัตวแพทย์ แผนกระบบกระดูกและข้อต่อ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน กล่าวและเสริมว่า “ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ โรคนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น การเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกไม่สัมพันธ์กัน” ดังนั้น ในการวินิจฉัยจึงเรียกรวมๆ ว่า ความผิดปกติทางโครงสร้างในระหว่างสุนัขกำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ น.สพ.บูรพงษ์ กล่าวว่า สะบ้าเคลื่อนอาจเกิดได้จากการกระทบ กระแทก การถูกรถชน หรือการถูกตี ก็อาจทำให้แนวการเจริญเติบโตที่ขาของสุนัขเสียหายได้ ส่งผลให้ขาของสุนัขคดงอ และบิดเบี้ยว เมื่อสุนัขต้องเผชิญโรคสะบ้าเคลื่อน  น.สพ.บูรพงษ์ อธิบายว่า “โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นความผิดปกติของตำแหน่งลูกสะบ้าในท่าที่สุนัขอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้ สะบ้าที่ผิดจากตำแหน่งปกติสามารถหลุดไปอยู่ได้ทั้งด้านนอกและด้านในของข้อเข่า ซึ่งร้อยละ 80 – […]

อ่านต่อ

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)

Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ  Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV)  ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]

อ่านต่อ

โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)

กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]

อ่านต่อ