Pet Training
- Home
- Pet Training
แมวกินน้ำน้อย จะมีวิธีกระตุ้นให้น้องกินน้ำยังไง
แมวกินน้ำน้อย โดยธรรมชาติ เราเชื่อกันว่าเป็นพฤติกรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลทราย ทำให้แมวต้องมีการปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ และพฤติกรรมนี้ก็ถูกถ่ายทอดมายังปัจจุบัน ปริมาณน้ำ ที่ต้องการของร่างกายแมวเฉลี่ยจะอยู่ที่ 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กิโลกรัม ต่อวัน การที่ แมวกินน้ำน้อย จึงสามารถนำไปสู่ การเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้เช่น โรคไต , โรคระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น วันนี้ บ้านและสวน Pets เรามีทริปที่จะช่วยกระตุ้นให้น้องแมวกินน้ำมากขึ้น มาลองทำดูกัน วิธีกระตุ้นแมวให้กินน้ำมากขึ้น (How to encourage your cat to drink) 1. ชนิดของภาชนะใส่น้ำ : ต้องเลือกภาชนะใส่น้ำ ที่ทำให้แมวอยากกินน้ำ ปกติแล้ว แมวจะชอบชามแก้ว โลหะ และ เซรามิก มากกว่า ชามพลาสติก (ให้ทดลองดู ว่าแมวเราชอบแบบไหน) แมวส่วนใหญ่ชอบชามน้ำที่ ตื้น กว้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเอาหัวไปจุ่ม หรือ […]
อ่านต่อทำไมสุนัขบางพันธุ์ถึงอินดี้มากกว่าพันธุ์อื่น
เคยสงสัยบ้างไหมครับว่าทำไมสุนัขบางตัว ถึงทำบางพฤติกรรมแตกต่างไปจากตัวอื่น หรือทำไมสุนัขบางพันธุ์ถึงมีพฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น ทำไม Golden Retriever ส่วนใหญ่ถึงเป็นมิตร และชอบให้มนุษย์สัมผัสตัว ทำไม Shetland Sheepdog ส่วนใหญ่ถึงมีความสุขในการทำตามคำสั่งของเจ้าของ ในขณะพวกไทยหลังอาน Siberian Husky หรือพวก Shiba Inu ส่วนใหญ่ถึงเป็น สุนัขอินดี้ สามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองโดยไม่มีมนุษย์ก็ดูมีความสุขดี ** คำว่า “อินดี้” (อังกฤษ: Indy หรือ Indies) เป็นรูปย่อของคำว่า Independence ซึ่งแปลว่า “ความเป็นอิสระจากอิทธิพลของผู้อื่น” ผมเองก็เคยสงสัยครับ เมื่อสงสัย ทางออกก็คือการหาข้อมูลมา เพื่อทั้งเป็นความรู้ให้แก่ตัวเอง เพื่อนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นได้ทราบกันด้วย ปรากฏว่า เคยมีการทำวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องเหล่านี้ครับ โดยภาควิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เขาทำการทดลองโดยการวิเคราะห์แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของสุนัขร่วมกับแบบสอบถาม เพื่อการวิจัยและการประเมินพฤติกรรมสุนัข โดยใช้ตัวอย่างจากการสอบถามเจ้าของสุนัข 2,951 ท่านในประเทศญี่ปุ่น และอีก 10,389 ท่านในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผลลัพธ์แบบสอบถามให้ข้อมูลว่า ในสุนัขกลุ่มสายพันธุ์ดั้งเดิม และกลุ่มสปิทซ์ (เช่น พวกพันธุ์ไทยหลังอาน ชาร์เป่ย […]
อ่านต่อ7 ขั้นตอน ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ในช่วง COVID-19
สวัสดีท่านผู้อ่าน ทุกท่านครับ ณ วันที่ผมเขียนบทความนี้ คนไทยเราก็ยังคงอยู่ในช่วง Social Distancing คือยังไม่ควรอยู่ใกล้กันจนเกินไป เพื่อป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 ตามสโลแกนที่ว่า “โรคติดต่อ จะไม่ติดต่อ ถ้าเรา ไม่ติดต่อกัน” ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง แต่สำหรับท่านที่กำลังเลี้ยงลูกสุนัข บางท่านที่พอจะศึกษามาบ้าง ก็อาจจะลำบากใจ เพราะในช่วงอายุของสุนัขนั้น วัยที่ควรจะปูพื้นพฤติกรรมให้ลูกสุนัขรู้สึกดีหรือคุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเขา เพื่อให้เขาโตขึ้นมาเป็นสุนัขที่มีจิตประสาทและอารมณ์เหมาะสม มันจำกัดอยู่แค่ประมาณช่วงอายุระหว่าง 3-20 สัปดาห์เท่านั้น หลักจากที่เลยวัยนี้ไปแล้ว ประตูแห่งการเปิดรับมันจะค่อย ๆ ปิดลง และหลายกรณีถ้าลูกสุนัขมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับอะไรไปแล้ว มักจะติดไปจนโต สิ่งที่ทำได้คือการมาปรับแก้ไขซึ่งจะใช้เวลาในการแก้ไขจากให้รู้สึกไม่ดีกลับมาเป็นรู้สึกดีนานกว่า และหลายเคสอาจไม่สามารถแก้ไขให้สุนัขกลับมามีจิตประสาทหรืออารมณ์ที่ดีอย่างที่เขาควรจะเป็นได้ 100% ถ้าเทียบกับการได้ปูพื้นพฤติกรรมให้แต่เนิ่น ๆ ในช่วงอายุ 3-20 สัปดาห์ ฝึกลูกสุนัขที่บ้านด้วยตนเอง ซึ่งการปูพื้นฐานนี้ จะไม่เหมือนกับการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง ที่เราสามารถฝึกให้สุนัขเรียนรู้ไปได้ตลอดชีวิตครับ ถ้าเรามีสิ่งจูงใจสุนัขที่แรงพอ (ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่สุนัขชอบ หรือการทำโทษที่สุนัขไม่ชอบ) ถ้าสิ่งจูงใจแรงพอ สุนัขจะทำตามเสมอ ไม่ว่าจะอายุในช่วงใด ดังนั้น การปูพื้นพฤติกรรมตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขช่วงอายุตั้งแต่ 3-20 สัปดาห์ จึงมีความสำคัญมากครับ การเข้าสังคม […]
อ่านต่อระดับความดุของสุนัข !! ที่คุณต้องรู้ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต
การเจอสุนัข “ดุ” นั้น เรามักเจอหรือประสบกันมาทุกท่าน แต่ ระดับความดุของสุนัข นั้น อยู่ในระดับไหน เรามาเรียนรู้กันครับ เผื่อในอนาคต ท่านผู้อ่านมีโอกาสได้เจอสุนัข “ดุ” จะได้ประเมินได้ว่า สุนัขตัวนั้น “ดุ” ในระดับไหน และควรทำอย่างไรกับสุนัขตัวดังกล่าวดี สำหรับ ระดับความดุของสุนัข บ้านและสวน Pets สามารถแบ่งออกได้ 6 ระดับ ตามระดับความรุนแรงของการกัดโดย ดร. เอียน ดันบาร์ สัตวแพทย์นักพฤติกรรมสัตว์และครูฝึกสุนัขที่ได้รับปริญญาเอกด้านพฤติกรรมสุนัขโดยตรง ซึ่งมีประสบการณ์ในการสอนและปรับพฤติกรรมสุนัขมาเกือบ 40 ปี มาเผยแพร่ให้ทราบกัน ระดับ 1 : ระดับนี้เกิดจากความกลัว ความก้าวร้าว หรือความไม่พอใจของสุนัขต่อสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง จนหันมากัดเรา ซึ่งในระดับนี้เป็นแค่การ “แง่ง” ใส่มากกว่า การงับลงไปบนผิว หรือฟันยังไม่ได้สัมผัสผิว ระดับ 2 : ระดับนี้มีการสัมผัสของฟันต่อผิวหนัง แต่มักจะเกิดเป็นเพียงรอยขีดข่วน หรืออาจเกิดเลือดซิบ ๆ เท่านั้น โดยมักเกิดจากการขยับของฟันมาบาด หรือการขยับผิวหนังหนี […]
อ่านต่อความสำคัญและความจำเป็นของชั้นเรียน Puppy Class
ผมเชื่อว่าหลายท่านที่เลี้ยงสุนัข มักไม่สนใจในเรื่องของการฝึก หรือศึกษาในแนวทางการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข เพื่อให้โตขึ้นไปเป็นสุนัขโตที่ดี หรือมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญ มักมองแค่ว่าสุนัขก็คือสุนัข เลี้ยง ๆ ไว้ในบ้านมีอาหารให้กิน มีที่นอน มีของเล่นให้เล่น ก็เพียงพอแล้ว หรือบางท่านก็เน้นแต่การตามใจโดยไม่ได้คำนึงถึงการฝึกหรือปูพื้นฐานที่ดีให้แก่ลูกสุนัข แต่เกือบทุกท่านจะกลับมาคำนึงหรือรู้สึกถึงความสำคัญของการฝึกหรือศึกษาวิธีการเลี้ยงดู เมื่อสุนัขของตัวเองเริ่มมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นเช่น ขับถ่ายไม่เป็นที่เป็นทาง เห่าหอน ขี้กลัว ดุ ก้าวร้าว ฯลฯ บางตัวแสดงอาการตั้งแต่ยังเล็ก (ก่อน 4 เดือน) ก็ยังพอจะกลับมาปรับปรุงให้เข้ารูปเข้ารอยได้เร็ว แต่หลายตัวกว่าเจ้าของจะสังเกตเห็นก็คือตอนหลังจากเป็นวัยรุ่นแล้ว (ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป) แบบนี้ก็จะลำบากทั้งเจ้าของและคนฝึกครับ ทั้งที่เรื่องเหล่านี้สามารถป้องกันได้ถ้าเลี้ยงถูกวิธีหรือปูพื้นฐานที่ดีตั้งแต่ตอนเป็นลูกสุนัข ด้วยเหตุนี้ การฝึกและการสอนตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัขจึงเป็นวิ่งจำเป็นและสำคัญมากครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า 1. ระบบการเรียนรู้ของสุนัข แม้จะเรียนรู้ไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต แต่ช่วงสำคัญของสุนัขที่จะเปิดรับเพื่อดูดซับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือเพื่อการปรับตัวให้มีพื้นฐานทางนิสัยที่ดี จะอยู่ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 3 เดือนครับ ช่วงนี้ลูกสุนัขจะเปิดรับและสร้างความคุ้นเคยกับสิ่งที่เราป้อนให้เขาได้อย่างรวดเร็ว และหลังจากนั้นประตูที่เปิดบานนี้จะค่อย ๆ ปิด ซึ่งพอปิดแล้ว ปัญหาคือการภายหลังจากการปิดแล้ว การจะปูพื้นพฤติกรรมใหม่มันจะเริ่มอยู่ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมใหม่ ซึ่งถ้ามาปรับแก้ไขหลังจากประตูปิดไม่นานเร็วก็จะยังแก้ไขได้เร็ว แต่ถ้าปล่อยไว้นาน […]
อ่านต่อ“สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” โดยทีมวิจัยจุฬาฯ
สำเร็จแล้ว! ทีมวิจัยจุฬาฯ เผยผลงานวิจัย “สุนัขดมกลิ่นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ได้ผลถูกต้องแม่นยำ สำเร็จเป็นที่แรกในประเทศไทย พร้อมประจำการท่าอากาศยาน เสริมปฏิบัติการคัดกรอง การวิจัยดังกล่าวเป็นการนำศักยภาพของสุนัขที่มีความสามารถในการดมกลิ่นดีกว่าคนถึง 50 เท่ามาใช้ในงานวิจัย โดยจะซับเหงื่อบริเวณใต้รักแร้ด้วยสำลีและถุงเท้า เก็บไว้ในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพ แล้วนำสำลีและถุงเท้าดังกล่าวมาใส่กระป๋องเพื่อให้สุนัขดมกลิ่น เมื่อสุนัขได้กลิ่นก็จะนั่งลงทันที เพื่อบอกว่าคน ๆ นี้ติดเชื้อแม้จะไม่แสดงอาการ โดยคณะวิจัยได้นำสุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ทั้ง 6 ตัว ซึ่งเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีโพรงจมูกยาว มีประสาทสัมผัสรับรู้กลิ่นที่ไวและดี อุปนิสัยเป็นมิตรและฝึกง่าย ซึ่งจากการทดสอบสุนัขฝูงนี้มีความแม่นยำในการพบผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการสูงถึง 94.8% เทียบเคียงกับประเทศอื่น ๆ ที่มีการวิจัยใช้สุนัขตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ อาทิ ฟินแลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย โครงการนี้นับเป็นต้นแบบในการฝึกสุนัขเพื่องานทางการแพทย์ชุดแรกของประเทศไทย ในอนาคตจะมีการต่อยอดฝึกสุนัขเพื่อตรวจโรคอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน ซึมเศร้า มาลาเรีย และโรคอัลไซเมอร์ ฯลฯ ซึ่งที่มาของโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” นี้มาจากเหตุว่า การตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ เป็นวิธีการคัดกรองเบื้องต้นและได้ผลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่สามารถตรวจพบได้ แต่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำสิ่งนี้ได้ […]
อ่านต่อสุนัขกับการสำนึกผิด
การวิจัยจากหลากหลายแหล่งบ่งชี้ว่า แน่นอนว่าสุนัขมีความรู้สึกภายในจิตใจ แต่ก็ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่า เวลาสุนัขกระทำความผิดแล้ว สุนัขรู้สึกสำนึกผิด หรือไม่ เพราะความรู้สึกสำนึกผิดน่าจะเป็นความรู้สึกที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าพวกความรู้สึกพื้นฐานทั่ว ๆ ไป แต่ที่แน่ชัดคือ ท่าทางที่สุนัขแสดงออกมาให้เจ้าของเห็นเสมือนว่า เขารู้สึกสำนึกในความผิดที่ได้ทำลงนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความรู้สึกสำนึกผิดภายในใจเขาเลยครับ เคยมีการทดลองจากนักวิจัยมากมายเรื่อง สุนัขรู้สึกสำนึกผิด ในทำนองคล้ายกัน และได้ผลลัพธ์อย่างเดียวกัน ตัวอย่างการทดลอง คือ เอาสุนัขที่พอจะเรียนรู้คำสั่งได้ มานั่งอยู่กับของกิน แล้วให้เจ้าของสั่งสุนัขว่าอย่ากิน จากนั้นเจ้าของเดินออกไปจากห้อง ซึ่งผลที่ออกมาจะมี 4 แบบคือ 1. สุนัขไม่กิน เจ้าของกลับมาเห็นว่าขนมยังอยู่ สุนัขได้รับคำชม 2. สุนัขกิน เจ้าของกลับมาไม่เห็นขนม สุนัขโดนดุ 3. สุนัขกิน แต่นักวิจัยคนอื่นเอาของกินชิ้นอื่นมาวางแทน เจ้าของกลับมาเห็นว่าขนมยังอยู่ สุนัขได้รับคำชม 4. สุนัขไม่กิน แต่นักวิจัยคนอื่นเก็บขนมไป เจ้าของกลับมาไม่เห็นขนม สุนัขโดนดุ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่ว่าสุนัขจะกินของกินไปเอง หรือนักวิจัยจะแอบเก็บของกินไปทิ้ง แต่สุนัขก็จะแสดงอาการ “สำนึกผิด” ออกมาเหมือนกันทั้ง 2 กรณีครับ เช่น หลบสายตา ทำหูลู่ […]
อ่านต่อสัญญานมือสำหรับฝึกสุนัข
สัญญาณมือเป็นภาษามือ ที่เราใช้กับสุนัข เพื่อบอกให้สุนัขของเราทำตามในสิ่งที่เราต้องการ เช่น นั่ง หมอบ หรือคอย เป็นต้น และเพราะเหตุใดเราจึงควรเรียนรู้เรื่อง สัญญานมือสำหรับฝึกสุนัข ด้วยล่ะ บ้านและสวน Pets จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ มีสาเหตุหลายประการที่ผู้คนใช้ สัญญานมือสำหรับฝึกสุนัข สุนัขสามารถอ่าน ภาษากาย ได้เป็นอย่างดี และเรียนรู้ง่ายกว่าภาษาพูด จากการวิจัยพบว่า การเชื่อฟังคำสั่งพื้นฐานของสุนัขมาจากการใช้สัญญาณมือ ก่อนใช้คำพูด ทำให้เจ้าของสุนัขที่หูหนวก สามารถสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงของตนได้ สุนัขหูหนวกจะไม่สามารถตอบสนองต่อคำสั่งที่พูดได้ สัญญาณมือช่วยให้เจ้าของของพวกเขาในการฝึกอบรมพวกเขาเช่นเดียวกับคุณสุนัขอื่น ๆ เพื่อแข่งขันในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการเล่นกีฬา มีหลายกรณีที่สัญญาณมือใช้งานได้ง่ายขึ้นหรือมีความจำเป็นเมื่อต้องมีส่วนร่วมในการฟังกติกาการแข่งขันนั่นเอง มันสนุก! หากคุณสนุกกับการฝึกสุนัขของคุณ นี่เป็นเพียงสิ่งที่จะช่วยเพิ่มทักษะของคุณ สร้างความประทับใจให้คุณเมื่อสุนัขสามารถทำตามคำสั่งต่าง ๆ ได้เพียงแค่คุณเคลื่อนไหวมือเล็กน้อยเท่านั้น Tips สำหรับการฝึกน้องหมา 1. การฝึก คือ การเล่นกับน้องหมา ไม่ใช่การบังคับให้ทำ ดังนั้น ไม่ควรอารมณ์เสีย หรือ หงุดหงิด ถ้าน้องหมาทำไม่ได้ 2. ควรควบคุมระยะเวลาการฝึกในแต่ละวัน อาจจะแบ่งเป็น รอบเช้า […]
อ่านต่อ“Therapy Dog” สุนัขนักบำบัดคืออะไร แตกต่างจากสุนัขผู้ช่วยเหลือประเภทอื่นอย่างไร
ถ้าเลือกได้ … คุณจะเลือกเพื่อนซี้แบบไหน จะภาพซ้ายหุ่นยนตร์อัจฉริยะหรือภาพขวาสุนัขดีนะ เมื่อจินตนาการตามภาพถ่ายของ อีฟ เจลลี ช่างภาพชาวฝรั่งเศสว่าในอนาคต หุ่นยนต์จะกลายเป็นเพื่อนอัจฉริยะของมนุษย์ เป็นเพื่อนคู่คิด ผู้ช่วยคอยบำบัดปลอบประโลมใจ คลายความเหงาความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในพักคนชราแล้วนั้น โดยส่วนตัวเมื่อเห็นภาพแล้วกลับรู้สึกเหงาจับใจ ทั้งๆ ที่รู้ว่าความอัจฉริยะของหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นมีความสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ได้มากเพียงไร เพราะไม่ว่าอย่างไร ในใจลึกๆ ยังเชื่อว่า “สุนัข” คือเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์เสมอ เมื่อเดือนก่อน บ้านและสวน Pets ได้รับเชิญจาก allfine ให้ไปร่วมงานเปิดตัวหลักสูตร Therapy Dog Thailand หรือ สุนัขนักบำบัด รุ่นแรก และเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก Therapy Dog Assocaition Switzerland VTHS มาตรฐานระดับโลก ภายในงานได้เล่าถึงความเป็นมาของ สุนัขนักบำบัดว่า คืออะไร เป็นมาอย่างไร มีความแตกต่างจากสุนัขฝึกประเภทอื่นอย่างไร ซึ่งได้ความรู้และมีประโยชน์มาก วันนี้มีโอกาสจึงขอมาเล่าให้ผู้อ่านครอบครัวบ้านและสวน Pets ได้ทราบกันนะคะ ในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แนวคิดของการนำสุนัข หรือสัตว์มาช่วยในการบำบัด โดยในปี […]
อ่านต่อตะลุย 7 ด่านอรหันต์ ทดสอบ “สุนัขนิสัยดี”
วันนี้พี่ฮอลล์ของเรามีภารกิจสำคัญคือ ต้องพาพี่หมูลูกชายสุดที่รัก น้องหมาพันธุ์มินิบูลเทอร์เรียร์ไปทำกิจกรรม ทดสอบสุนัขนิสัยดี โดยชมรมสุนัขนิสัยดี (Good Dog Club) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีการทดสอบทั้งหมด 7 ด่าน เรียกได้ว่าท้าทาย ทั้งน้องหมาและเจ้าของเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่พี่ฮอลล์ต้องบรีฟงานกับเจ้าหมาหมูไว้ก่อนล่วงหน้าเลยทีเดียว 5555 เวลา 9.30 โมงเช้า พี่ฮอลล์กับพี่หมูน้องหมาคู่ใจเดินทางมาถึงสถานที่ ทดสอบสุนัขนิสัยดี ก่อนเวลาครึ่งชั่วโมง เพื่อให้พี่หมูได้ทำการเดินสำรวจรอบ ๆ สถานที่ทดสอบ ให้เกิดความคุ้นชิน ไม่ตื่นสนาม ถือว่าเป็นเทคนิคสำคัญที่พี่ฮอลล์วางแผนมาอย่างดี เนื่องจากเราเป็นเจ้าของน้องหมาเราจะรู้จักนิสัยใจคอของหมาเราดีที่สุด ซึ่งพี่หมูนั้นเพิ่งผ่านคำว่าหมาเด็กมาได้ไม่นาน ความนิ่งยังน้อย มีความอยากรู้อยากเห็นมากตามวัยของน้อง ที่สำคัญที่สุดคือพี่หมูจัดเป็นหมาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เฟรนด์ลี่กับทุกคนและสุนัขตัวอื่นๆ พูดง่ายๆอยากเล่นกับเค้าไปหมดนั่นล่ะ ดังนั้นการมาก่อนเวลาสักนิดจึงเป็นผลดีในเรื่องสมาธิทั้งของคนและน้องหมาก่อนเข้าทำการทดสอบ อ้อ! ลืมบอกไปการทดสอบทั้ง 7 ด่านนี้เจ้าของต้องเข้าทดสอบด้วย ต้องเป็นคนควบคุมน้องหมาทำตามคำสั่งในแต่ละด่าน 10 โมงเช้า พี่ฮอลล์และพี่หมู รายงานตัวและลงทะเบียน พร้อมทำการทดสอบ ซึ่งทางกรรมการจะมีสมุดพกให้เรานำไปยื่นในแต่ละด่าน เพื่อให้กรรมการตัดสินและลงคะแนนให้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็น 1- 5 คะแนน ด่านที่ 1 […]
อ่านต่อ6 ขั้นตอนการฝึก เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมสุนัขที่มีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง พลุ หรือ ประทัด
สุนัขที่มีอาการกลัวเสียงฟ้าร้อง มักเป็นสุนัขที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง ขี้ระแวง ไม่ไว้ใจ มักจะกลัวเสียงแปลกๆ ที่ไม่คุนชินและเสียงที่ดังเกินไป
อ่านต่อเหตุผลที่คุณควรพาสุนัขไปออกกำลังกาย
การพาสุนัขไปออกกำลังกาย ช่วยให้สุนัขมีสมาธิและช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่างสุนัขและเจ้าของได้อีกด้วย
อ่านต่อการฝึกสุนัขจำเป็นหรือไม่?
เรามักจะพูดอยู่เสมอว่า “สุนัขฉลาดกว่ามนุษย์ ไม่ต้องสร้างภาษามาพูดเยอะหรือมีกฎหมายมาควบคุม ใช้แค่เพียงสัญชาตญาณกับภาษากาย” หมายความเราต้องมองให้ออกว่าสุนัขต้องการจะสื่อสารอะไร หรือเราจะสื่อสารกับพวกเขาอย่างไร เพื่อให้เราเข้าใจเขาและเขาเข้าใจเรา การฝึกสุนัข จึงเป็นสิ่งที่จะมาช่วยให้เจ้าของและน้องหมาเข้าใจกันได้ดียิ่งขึ้น คนส่วนมากมักเข้าใจว่าสุนัขกระดิกหางทุกตัวเป็นมิตร แต่ไม่ได้สังเกตความเร็วหรือองศาของหางว่าตอนนั้นสุนัขอยู่ในอารมณ์ไหน เราควรจะเข้าไปเล่นด้วยหรือเปล่า เช่น ถ้ากระดิกหางเบา ๆ แปลว่าผ่อนคลาย แต่ถ้าตั้งขึ้น 90 องศา แล้วกระดิกเบา ๆ เหมือนแมว นั่นแสดงว่าสุนัขกำลังบอกเราว่า “อย่ามายุ่งนะเว้ย !” หรือหากคุณเจอสุนัขก้มหัวลงต่ำเหมือนว่ายอมให้ลูบหัว อย่าเพิ่งแน่ใจแล้วปรี่เข้าไปทำความรู้จักเลย ขอให้ดูก่อนว่าไหล่ตั้งตรง ตัวเกร็ง หรือก้มมองต่ำเหมือนเวลาดูหนังโรคจิตที่มองแรงแถมตาลอยใส่ด้วยหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นเราคงต้องให้เตรียมเงินไปเป็นค่าเย็บแผลกับฉีดยารอบสะดือได้เลย เพราะรับประกันว่า เขากัดแน่ ๆ แต่ถ้าสุนัขอ่อนน้อมและเป็นมิตรจริง ๆ ทั้งหัว หู ไหล่ ตา โครงสร้างขาจะไม่เกร็ง ซึ่งทางที่ดีคือควรเข้าหาสุนัขทุกตัวอย่างมีสติ หัดสังเกต และอย่าลืมทำอารมณ์ของตัวเองให้มั่นคงเข้าไว้ด้วย จะเห็นได้ว่าสุนัขมีรายละเอียดของท่าทางบางอย่างที่เราอาจจะมองข้ามหรือเข้าใจกันแบบผิด นอกจากนี้ อย่างที่บอกว่าสุนัขอ่านเราจากภาษากาย ที่มีพลังงาน เราก็ต้องอ่านเค้าจากภาษากาย มองให้ออกว่าสุนัขกำลังจะบอกอะไรเรา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แล้วมาโทษตัวสุนัขว่าผิดเองฝ่ายเดียว ทั้งที่จริงคนเราเองกลับไม่มองให้ดี ๆ เสียก่อนต่างหาก […]
อ่านต่อ5 ขั้นตอนง่ายๆ กับ การฝึกใช้สายจูงให้น้องหมา
น้องหมาหลายตัวอาจจะไม่คุ้นชินกับการฝึกใส่ปลอกคอ และ การฝึกใช้สายจูง ทำให้เวลาใส่ให้เมื่อไหร่ก็มักจะกลายร่างเป็นหมาพยศ มาเรียนรู้เทคนิคการฝึกง่ายๆ กันค่ะ
อ่านต่อการสื่อสารระหว่างเจ้าของกับสัตว์เลี้ยง เมื่อต้องฝึกหรือทำโทษ
หลายบ้านที่เลี้ยงสัตว์อาจพบปัญหาจากพฤติกรรมที่ไม่เข้าที่เข้าทาง ซึ่งเราต้องมี การสื่อสาร ให้เค้ารู้ว่าเค้าไม่ควรทำหรือควรทำอะไรในบ้านบ้าง
อ่านต่อเมื่อสัตว์เลี้ยงมี อาการกลัว มากกว่าปกติ ต้องทำอย่างไรบ้าง?
อาการกลัว (fear) คือการตอบสนองของร่างกายต่ออันตราย แต่ความกลัวที่มากเกินไป หรือ ที่เรียกว่า โฟเบีย (phobia) จะเป็นความกลัวที่ไม่ได้มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
อ่านต่อวิธีเตรียมความพร้อม เมื่อต้องฝึกสุนัขให้อยู่บ้านเพียงลำพัง
สุนัขเป็นสัตว์สังคม เมื่อต้องอยู่ตัวเดียวหรือถูกแยกเดี่ยวก็มักจะมีอาการวิตกกังวล (Separation anxiety) มาดูวิธีรับมือและฝึกสุนัขให้อยู่บ้านเพียงลำพังกันค่ะ
อ่านต่อเข้าใจภาษากายด้วยท่าทางและหางสุนัขบอกอารมณ์
เพื่อให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกของน้องหมาได้ วันนี้ my home อยากชวนทุกคนมาลองมาสังเกตกันดูนะคะว่า หางสุนัขบอกอารมณ์ อะไรกันบ้าง
อ่านต่อ