โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข

โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)

จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น

ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป

โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD)

ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย

สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง เลยมีชื่อเรียกโรคนี้อีกชื่อหนึ่งว่า Metabolic toxic retinopathy แต่เป็นที่น่าเศร้าครับ เพราะปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผล ทําให้น้องหมาที่เป็นโรคนี้อาจต้องสูญเสียการมองเห็นไป

โรคจอประสาทตาหลุดลอก (Retinal Detachment)

อาจเกิดขึ้นได้จากหมาที่มีความดันโลหิตสูง มีอาการม่านตาขยายกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง อาจมีเลือดออกในช่องหน้าตาได้ หรืออาจเกิดจากการที่น้องหมาติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือดบางชนิด ทําให้เกิดจุดเลือดออกในจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตาตามมา ในรายที่มีอาการรุนแรง การหลุดลอกของจอประสาทตาอาจส่งผลให้น้องหมาตาบอดได้ในที่สุด สามารถเกิดได้กับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรืออาจเป็นทั้งสองข้างก็ได้

สาเหตุของโรคนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง ทั้งที่เกิดจากความผิดปกติของดวงตาเอง เช่น การอักเสบของยูเวียส่วนหลัง (posterior uveitis) เป็นผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดรักษาเลนส์ตา ฯลฯ และผลจากการป่วยเป็นโรคทางระบบร่างกายอื่น ๆ เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง ได้รับบาดเจ็บ มีการติดเชื้อรา เป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือด ชนิด Ehrlichia spp. ฯลฯ

การรักษาและวิธีการป้องกัน ใช้ทั้งการจัดการสาเหตุหลักและการรักษาโรคอื่น ๆ ที่หมาเป็น เช่น ให้ยาลดความดัน ให้ยาแก้อักเสบ ให้ยาฆ่าเชื้อ หรือแม้แต่การผ่าตัดรักษา แต่จะประสบผลสําเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างด้วย เช่น โรคทางระบบร่างกายที่หมาเป็นส่งผลต่อจอประสาทตารุนแรงแค่ไหน หรือเป็นมานานแล้วหรือไม่

สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม (Inherited Retinopathies) Collie, Shetland Sheepdogs, Border Collies, Australian Shepherds, Lancashire Heelers และ Nova Scotia Duck Tolling Retrievers ที่เป็นโรค Collie eye anomaly ซึ่งสามารถตรวจพบโรคจอประสาทตาหลุดลอก ได้ประมาณ 2–5%

โรคจอประสาทตาเสื่อม PRA (Progressive Retinal Atrophy)

เป็น โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข ที่เกิดจากพันธุกรรม ส่งผลกระทบต่อเซลล์ของจอประสาทตาที่เรียกว่าแท่งและกรวย และยังส่งผลกระทบต่อชั้นของเซลล์เม็ดสีใต้แท่งและกรวยแท่ง ช่วยให้สุนัขมองเห็นการเคลื่อนไหวและในสภาพที่มีแสงน้อย สามารถให้สุนัขมองเห็นสีได้ และชั้นเยื่อบุผิวเม็ดสีช่วยปกป้องและบํารุงรักษาแท่งและโคนเหล่านี้ ใน PRA แท่งกรวยและ / หรือชั้นเม็ดสีเหล่านี้เสื่อมสภาพและในที่สุดก็เสื่อมสภาพจนทําให้ตาบอด เนื่องจากอาการมองไม่เห็นในที่ที่มีแสงสลัว ๆ หรือในที่มืดสําหรับรายที่มีอาการรุนแรง แม้ในที่สว่างก็ไม่สามารถมองเห็นได้
– Generalized Progressive Retinal (GPRA) โรคจอตาเสื่อมแบบรวดเร็ว : อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคจอประสาทตาเสื่อม PRA, การฝ่อจอประสาทตาแบบรวดเร็ว สามารถเกิดขึ้นได้ในหมาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อเริ่มมีอาการทําให้หมามีปัญหาในการมองเห็น เห็นนั้นค่อยเป็นค่อยไป แต่จะเสื่อมลงเมื่อเวลาผ่านไป โรคจอตาเสื่อมแบบรวดเร็วนี้มักจะไม่แสดงอาการใหห้สังเกตจนกระทั่ง หมามีอายุอย่างน้อยสามปีขึ้นไปจะเริ่มแสดงอาการของการมองเห็นที่ผิดปกติ
– Central progressive retinal atrophy (CPRA) : คือการมองเห็นส่วนกลางหายไป เหลือแค่การมองเห็นแบบ (peripheral) คือการมองเห็นที่อยู่นอกจุดศูนย์กลางของสนามสายตา สักระยะอาจจะปีหนึ่ง จากนั้นม่านตาเริ่มเสื่อมสภาพและไม่สามารถมองเห็นแสงสว่างและจะตาบอด เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปน้อยกว่าของ PRA, ฝ่อจอประสาทตาแบบก้าวหน้ากลางยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ retinal pigment epithelial dystrophy (RPED) โรคตาที่หายากประเภทนี้ทําให้ชั้นสีของเรตินาเสื่อมลง และทําให้สุนัขมองเห็นได้ในที่แสงน้อย มันมักจะเห็นในสุนัขที่มีอายุมากกว่าและไม่ทําให้ตาบอดสมบูรณ์

วิธีสังเกตอาการ กระแทกเข้ากับวัตถุ หรือชนกับวัตถุที่ไม่ปกติในจุดนั้น สิ่งของเครื่องเขียนหรือสิ่งของที่ไม่เคลื่อนไหวตามสภาพแวดล้อมปกติของสุนัข เช่น เฟอร์นิเจอร์และทางเข้าประตู มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แสงน้อยความยากลําบากในการมองเห็นในแสงจ้า หลงทางในที่มืด ไม่พบของเล่นไม่สามารถทําตามสัญญาณ / คําสั่งมือ การปิดตา

การรักษาและวิธีการป้องกัน มักทําโดยการตรวจด้านหลังของตา ด้วยเครื่องส่องดูตา (Ophthalmoscope) เป็นการตรวจโดยใช้กล้องส่องขยายดูหลอดเลือดและเนื้อเยื่อเส้นประสาทบริเวณฐาน (fundus) ของลูกตา เพื่อค้นหาการเสื่อมของจอประสาทตา ต้องตรวจโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง หรือทําการทดสอบอิเล็กโทรเรติโนกราฟีด้วยการวัดการตอบสนองทางไฟฟ้าของเซลล์ต่าง ๆ ในจอตา ‘ERG’ (Electroretinogram) และวัดการทํางานของเรตินา นอกจากนี้ยังมีการตรวจดีเอ็นเอสําหรับสุนัขบางสายพันธุ์ การตรวจดีเอ็นเอมีประโยชน์อย่างยิ่งในสุนัขอายุน้อยหรือสุนัขที่อาจใช้ในการผสมพันธุ์เนื่องจากการทดสอบสามารถระบุสุนัขที่ได้รับผลกระทบก่อนที่จะมีอาการ PRA

สุนัขพันธุ์เสี่ยง PRA สามารถเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง Corgi, toy poodles, cocker spaniels , Labrador retrievers, Irish Setter, Mastiffs, Tibetan terriers, miniature long-haired dachshunds , Yorkshire terriers

การหลุดลอกของจอประสาทตา (Retinal detachments)

มักจะเกิดในหมาสูงอายุข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรืออาจเกิดขึ้นได้จากหมาที่มีความดันโลหิตสูง (Hypertension) จอตาอักเสบ เลือดออกใต้จอตา ซึ่งมักจะมีผลมาจากโรคของร่างกายอย่างอื่น ที่พบมากได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง และโรคของต่อมไทรอยด์ภาวะไทรอยด์ทํางานต่ำ โดยพบว่าน้องหมามีอาการม่านตาขยายกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง อาจมีเลือดออกในช่องหน้าตาได้ หรืออาจเกิดจากการที่น้องหมาติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือดบางชนิด ทําให้เกิดจุดเลือดออกในจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตาตามมา ในรายที่มีอาการรุนแรง การหลุดลอกของจอประสาทตาอาจส่งผลให้น้องหมาตาบอดได้ในที่สุด

วิธีสังเกตอาการ ม่านตาขยายกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง อาจมีเลือดออกในช่องหน้าตา กลางคืนตาแดงตาโต หรือมีหนองไหลออกมาจากดวงตา ถ้าเป็นข้างเดียวอาจจะไม่แสดงอาการ

การรักษาและวิธีการป้องกัน การรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีทําได้โดยการรักษาตามสาเหตุ ให้ยาลดความดันเลือด ถ้าอาการของโรครุนแรงมาก สุนัขจะตาบอดและการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ จะไม่สามารถทําให้ตาสัตว์สามารถกลับมามองเห็นได้ตาจะบอดไปตลอด

สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม English Springer Spaniel, Bedlington Terrier, American Cocker Spaniel, Miniature Schnauzer, Samoyed, Labrador Retriever, Border Collies, Shih Tzu สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสายพันธุ์ในทุกช่วงอายุ สุนัขที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือหมาเข้าสู่วัยสูงอายุ และหมาที่เกิดมา พร้อมกับความบกพร่องทางสุขภาพที่มีมาแต่กําเนิด

โรคจอประสาทตาเจริญผิดปกติ (Retinal dysplasia : RD) 

เกิดขึ้นจากการที่จอตาพัฒนาขึ้นอย่างผิดปกติ หรือมาจากการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารพิษ จะเกิดจุดบอดเล็ก ๆ ในลูกสุนัขอายุประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์ ส่งผลให้ตาบวม ตาแดง เดินชนวัตถุ จะเกิดรอยพับขนาดเล็ก หรือรูปแบบอื่นภายในเนื้อเยื่อของเรตินา ซึ่งโรคจอประสาทตาเจริญผิดปกติจะหายไปเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น หรือถ้าไม่หายในรายที่เป็นรุนแรงอาจทําให้ตาบอด

วิธีสังเกตอาการ เดินชนวัตถุ ตาแดงก่ำตาบวม มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ลังเลในการเดินในที่มืด เรตินาเจริญผิดปกติ ทําให้หมามีอาการลังเลที่จะกระโดดลงจากที่สูง เดินชนวัตถุต่างๆ ลังเลในการเดินไปในที่มืด ตาบวมตาแดงก่ำ และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

การรักษาและวิธีการป้องกันในปัจจุบันโรคเรตินาเจริญผิดปกติในสุนัขและแมว ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ได้ผล ป้องกันเรตินาเจริญผิดปกติในสุนัขและแมว โดยตรวจ DNA ของพ่อแม่พันธุ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรค

สุนัขพันธุ์เสี่ยง Labradors, Cavaliers, Golden Retrievers, Springer Spanielsม Bedlingtonม Sealyham Terriers, Beagle, Cocker Spaniels both English and American, Yorkshire Terrier, Akita, Afghan Hound, Doberman Pinscher, Old English Sheepdog, Rottweiler

ติดตามข้อมูลจาก บ้านและสวน PETS ได้ที่นี่