การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครฯ ที่กำลังประกาศบังคับใช้ ให้เจ้าของที่ครอบครองสัตว์เลี้ยงทุกตัวต้องขึ้นทะเบียน และฝังไมโครชิป
การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง คือขั้นตอนที่ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ที่สัตวแพทย์จะใช้เครื่องมือฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร หรือไมโครชิป ซึ่งถูกออกแบบมาโดยใช้วัสดุพิเศษ ให้สามารถฝังอยู่ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงได้ตลอดชีวิต และไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย
ตำแหน่งที่นิยมใช้ฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยงคือ บริเวณด้านหลังของสัตว์เลี้ยง ระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้าง (ยกเว้นนก ที่ฝังบริเวณช่วงอก) สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่สามารถฝังไมโครชิปเกือบทั้งหมด ในต่างประเทศที่บังคับใช้กฎหมายสัตว์เลี้ยงแล้ว เจ้าของมักจะฝังไมโครชิปให้สัตว์เลี้ยงพร้อมกับการทำหมัน
การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง เปรียบเสมือน บัตรประจำตัวของสัตว์เลี้ยง
สัตว์เลี้ยงตั้งแต่อายุ ภายในไมโครชิปประกอบด้วยเลขประจำตัวของสัตว์เลี้ยง จำนวน 15 หลัก ซึ่งไมโครชิปแต่ละตัวจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุข้อมูลประจำตัวของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น ๆ และเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับในอนาคต โดยข้อมูลที่ระบุในไมโครชิป ประกอบด้วย
- ข้อมูลสัตว์เลี้ยง เช่น พันธุ์ เพศ และอายุ เป็นต้น
- ข้อมูลของเจ้าของสัตว์เลี้ยง เช่น ชื่อ ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และเบอร์โทรของเจ้าของสัตว์เลี้ยง
- ข้อมูลของสถานพยาบาลที่ทำการฝังไมโครชิป
การอ่านข้อมูลในไมโคชิปทำได้โดยการสแกนด้วยเครื่องอ่านไมโครชิป จากนั้นข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในไมโครชิปก็จะไปปรากฎบนเครื่องอ่าน ทำให้ทราบข้อมูลสำคัญของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น ๆ
ดังนั้น ในแง่ของ ประโยชน์จากการฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง จึงทำให้เกิดการระบุอัตลักษณ์ที่ชัดเจนให้กับตัวสัตว์มากขึ้น และยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก เช่น
- กรณีสัตว์เลี้ยงพลัดหลง สูญหาย หรือถูกขโมย จะทำให้การติดตามตัวเจ้าของถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
- บางประเทศมีกฎหมายระบุว่า สัตว์เลี้ยงที่เดินทางมาพร้อมเจ้าของ จำเป็นต้องฝังไมโครชิปมาตั้งแต่ประเทศต้นทาง
- การประกวดสัตว์เลี้ยงระดับสากล หนึ่งในเงื่อนไขการส่งสัตว์เลี้ยงเข้าประกวดคือ การฝังไมโครชิป
- การซื้อขายสัตว์เลี้ยง ข้อมูลในไมโครชิปจะเป็นการยืนยันว่า เราได้รับสัตว์เลี้ยงไม่ผิดตัวที่เราต้องการซื้อ
- การระบุความเจ็บป่วย และโรคประจำตัว เพื่อทราบประวัติทางการแพทย์ของสัตว์เลี้ยง
ขั้นตอนในการฝังไมโครชิพ
- ก่อนเริ่มการฝังไมโครชิป สัตวแพทย์ใช้เครื่องอ่านไมโครชิปสแกนรอบตัวสัตว์เลี้ยงจนทั่ว เพื่อตรวจสอบว่า สัตว์เลี้ยงเคยฝังไมโครชิปมาก่อน หรือไม่ ทำการตรวจเช็คไมโครชิพซึ่ง
- ไมโครชิปที่ได้มาตรฐานจะต้องอยู่ในซองที่อบฆ่าเชื้อเท่านั้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- นำเครื่องอ่านไมโครชิป สแกนเข้มที่บรรจุไมโครชิป เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า ในเข็มได้บรรจุไมโครชิปไว้แล้ว และตรวจสอบระหัสของไมโครชิปให้ตรงกับที่ระบุไว้บนซองบรรจุ หรือไม่
- เริ่มฝังไมโครชิป โดยการใช้เข็มฉีดเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง บริเวณระหว่างหัวไหลทั้ง 2 ข้าง
- จากนั้น สัตวแพทย์จะสแกนหาไมโครชิปบนตัวสัตว์เลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยืนยันว่าไมโครชิปเข้าไปอยู่ใต้ผิวหนังแล้ว
- ขั้นตอนสุดท้าย สัตวแพทย์จะออกใบรับรองการฝังไมโครชิป ที่ปรากฏหมายเลขประจำตัวของสัตว์เลี้ยง
ไมโครชิปแตกหักเสียหายได้ หรือไม่
เนื่องจากไมโครชิปที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงมีขนาดเล็กมาก จึงยากต่อการแตกหักเสียหาย และเมื่อฝังลงไปแล้ว ไม่สามารถนำออกได้ และการฝังจะทำเพียงครั้งเดียว ยกเว้น เมื่อทำการสแกนซ้ำด้วยเครื่องอ่าน แล้วไม่สามารถระบุตำแหน่งของไมโครชิปในตัวสัตว์เลี้ยงได้ อาจจำเป็นต้องฝังใหม่ แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นยากมาก
สัตว์เลี้ยงสามารถฝังไมโครชิพได้ตั้งแต่อายุเท่าไร
โดยปกติสำหรับสุนัขและแมว สามารถฝังไมโครชิพได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป และน้ำหนักตัวต้องมากกว่า 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงด้วย
โดยสรุปแล้ว การฝังไมโครชิปมีความสำคัญต่อการการดูแล และความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงที่เรารัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราจำเป็นต้องคลื่อนย้ายสัตว์ การฝังไมโครชิปก่อนการเคลื่อนย้ายเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง
หากเกิดการพลัดหลง หรือสูญหาย การฝังไมโครชิปยังเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยติดตามตัวเจ้าของได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการรักษาของสัตวแพทย์ ที่สามารถอ่านประวัติการรักษาได้ครั้งก่อนหน้า ได้จากข้อมูลที่อยู่ในไมโครชิป ทำให้ข้อมูลการวินิจฉัย และการรักษาแม่นยำ มากขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง
Ferndale Kennels & Travel – Everything You Need to Know About Pet Microchipping
โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน – หลายคนอาจสงสัยว่าไมโครชิพคืออะไร ?
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ – ทำไมต้องฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยง
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – กทม. เร่งสร้างแรงจูงใจจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ