สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด ลักษณะสายพันธุ์ และการเลี้ยงดู

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด สุนัขพันธุ์พื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขขี้เล่น กระตือรือร้น กล้าหาญ ร่าเริง คล่องแคล่ว เป็นมิตร ไม่ก้าวร้าว และมีนิสัยคล้ายคน

ประวัติ สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด (Australian Shepherd)

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดมีถิ่นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมือง ที่ในอดีตถูกนำเข้ามาใช้เป็นสุนัขต้อนฝูงแกะเมริโนที่เมืองบาสก์ ในประเทศสเปน

โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับสุนัขพันธุ์บาสก์เชพเพิร์ด (Basque Shepherd) ที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย และถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา จากบันทึกคาดว่าในระหว่างนั้นได้มีการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์หนึ่ง (ที่คาดว่ามีสายพันธุ์คอลลี่ผสมอยู่) ในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุผลที่สุนัขสายพันธุ์นี้ถูกตั้งชื่อเป็น ออสเตรเลียน เชพเพิร์ด

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด

ในปี 1950 สุนัขพันธุ์นี้ได้เป็นที่รู้จักและเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ได้มีการจัดตั้งองค์กร The Australian Shepherd Club of America (ASCA) เป็นองค์กรหลักในการจดทะเบียนสายพันธุ์สุนัขพันธุ์นี้ ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนของสมาคม The American Kennel Club (AKC) ในเวลาต่อมา

ในปี 1979 สมาคม The United Kennel Club (UKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มในกลุ่มสุนัขต้อนฝูงสัตว์ (herding group) จากนั้นในปี 1993 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขต้อนฝูงสัตว์ (herding group)

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด

ลักษณะทางกายภาพ

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดเป็นสุนัขขนาดกลาง มีรูปร่างสมส่วน แข็งแรง ตาใส ลักษณะคล้ายอัลมอนด์ (almond shape) สีตาที่พบได้บ่อย ได้แก่ สีน้ำตาล สีฟ้า และสีเหลืองอำพัน หูพับลงมาประมาณ ¼ – ½ จากฐานหู ลำตัวแน่นเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ หางชี้ตรง ขนยาวปานกลาง มีลักษณะตรงและหยักผสมกัน ในเพศผู้มีขนขึ้นบริเวณแผงคอเด่นชัดมากกว่าเพศเมีย สีขนที่พบได้บ่อย ได้แก่ สีฟ้า สีแดง สีดำ หรือสามารถพบสีทั้ง 3 สีได้ใสตัวเดียว

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด

สุนัขเพศผู้มีลักษณะส่วนสูงวัดจากพื้นถึงหัวไหล่ 20-23 นิ้ว (ประมาณ 50-58 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักอยู่ที่ 50-65 ปอนด์ (ประมาณ 22-29 กิโลกรัม) และสุนัขเพศเมียมีลักษณะส่วนสูงวัดจากพื้นถึงหัวไหล่ 18-21 นิ้ว (ประมาณ 45-53 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักอยู่ที่ 40-55 ปอนด์ (ประมาณ 18-25 กิโลกรัม)

อายุขัย

โดยทั่วไป สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดมีอายุขัยอยู่ที่ประมาณ 12-15 ปี

ลักษณะนิสัย

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดเป็นสุนัขขี้เล่น กระตือรือร้น กล้าหาญ ร่าเริง คล่องแคล่ว เป็นมิตร ไม่ก้าวร้าว มีนิสัยคล้ายคน และชอบทำกิจกรรม เช่น เดิน วิ่ง วิ่งไล่จับ เป็นต้น สามารถเข้ากับคนแปลกหน้าและสัตว์ตัวอื่นได้ดี แต่ถ้าเจ้าของไม่ได้ดูแลเอาใจใส่หรือสุนัขไม่ได้รับการฝึกฝนตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้สุนัขดื้อ หรือคุมสุนัขไม่ได้

การเข้ากับเด็ก

หากสุนัขได้รับการฝึกฝนตั้งแต่อายุยังน้อยจะสามารถเข้ากับเด็กได้ดี แต่ถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนไม่แนะนำให้อยู่กับเด็กเล็ก เนื่องจากอาจเกิดการเล่นแรง หรือกัดจนทำให้เกิดอุบัติเหตุแบบไม่ตั้งใจขึ้นมาได้

การออกกำลังกาย

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดจำเป็นต้องพาไปออกกำลังกายเป็นประจำ ให้สุนัขใช้พลังงานมาก ๆ ในแต่ละวัน การพาสุนัขเดินเล่นอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของสุนัข กิจกรรมที่เหมาะสมกับสุนัขพันธุ์นี้ เช่น การวิ่งบริเวณสนามหญ้า หรือพื้นที่โล่ง ว่ายน้ำ หรือการวิ่งเล่นเก็บบอล เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยกระตุ้นสมองให้พัฒนาได้อีกด้วย

อาหาร

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดต้องปริมาณอาหาร โดยขึ้นอยู่กับพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของสุนัข การทำกิจกรรม อายุ และน้ำหนัก ซึ่งเจ้าของสามารถพาไปปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อปรับอาหารให้เหมาะสมเพียงพอต่อสุนัข รวมถึงการทำความสะอาดชามกินข้าว และชามน้ำเสมอ ก็เป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นความอยากกินอาหารของสุนัขได้ และการให้อาหารที่น้อย หรือมากเกินไปจะมีผลต่อพฤติกรรม และลักษณะภายนอกของสุนัข

โรคประจำพันธุ์

  • โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Skin allergies)
  • ผิวหนังอักเสบบริเวณจมูกจากการแพ้แสงแดดตั้งแต่กำเนิด (Nasal Solar Dermatitis หรือ Collie Nose)
  • โรคลมชัก (Epilepsy)
  • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • ภาวะต่อมหมวกไตทำงานมากกว่าปกติ (Hyperadrenocorticism)
  • โรคข้อศอกเจริญผิดปกติ (Elbow dysplasia)
  • โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip dysplasia)
  • ข้ออักเสบ (Arthritis)
  • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive retinal atrophy)
  • โรคต้อกระจก (Cataract)
  • ความผิดปกติของตาในสุนัขพันธุ์คอลลี่ (Collie eye anomaly (CEA))
  • เนื้อเยื่อรูม่านตาเหลือหลังคลอด (Persistent Pupillary Membrane (PPM))
  • โรคหูหนวกตั้งแต่กำเนิด (Congenital deafness หรือ Hearing loss)
  • โรคอ้วน

บทความโดย
ทรงภูมิ อานันทคุณ

ข้อมูลอ้างอิง

American Kennel Club – Australian Shepherd

United Kennel Club – Australian Shepherd


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย