กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์

3 เกร็ดข้อ กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขเร่ร่อน

มีหลายท่านที่สนใจความรู้กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขมากพอสมควร โดยเฉพาะพวกที่มีลักษณะร่อนเร่ไปมาไม่มีเจ้าของที่แน่นอน (จรจัด) ว่าจะมี กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขเร่ร่อน หรือสามารถดำเนินการอย่างไรกับสุนัขเหล่านี้ได้บ้าง วันนี้ บ้านและสวน Pets เลยขอเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางด้าน กฎหมายที่เกี่ยวกับสุนัขเร่ร่อน มาให้เป็นความรู้แก่ผู้อ่านเพิ่มเติมอีกนะครับ โดยจะพยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อให้เข้าใจโดยทั่วกันครับ เกร็ดที่หนึ่ง – ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ใจบุญที่ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ ไม่ถือว่าผู้นั้นเป็น “เจ้าของสุนัข” ตัวนั้นครับ เดิมทีนั้นในข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2548 ได้ให้ความหมายว่า เจ้าของสุนัข หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสุนัข หรือผู้ให้อาหารสุนัขเป็นประจำด้วย ทีนี้ ก็มีคนเอาไปฟ้องศาลปกครองครับ โดยมองว่าผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำด้วยความเมตตาไม่ควรถือว่าเป็นเจ้าของตัวนั้น ซึ่งศาลปกครองก็ได้พิพากษาว่า การที่กรุงเทพมหานครไปกำหนดความหมายผู้ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำว่า ถือเป็นเจ้าของสุนัข อาจทำให้คนเหล่านั้นทำผิดข้อบัญญัติ กทม. ไปโดยไม่รู้ตัว ทั้งเรื่องการควบคุมสุนัข และการที่ต้องพาสุนัขของตัวเองไปฝังไมโครชิพและจดทะเบียนตัวสุนัขด้วย (ซึ่งในความเป็นจริง คนที่ให้อาหารสุนัขจรจัดเป็นประจำ คงไม่ได้นำสุนัขจรจัดเหล่านั้นไปฝังไมโครชิพหรือจดทะเบียนตัวอย่างแน่นอน) ทั้งที่จริง ๆ แล้ว กรุงเทพมหานครมีหน้าที่ในการจัดการ ควบคุม ดูแลสุนัขจรจัดในเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย การเขียนนิยามศัพท์ในข้อบัญญัติดังกล่าวที่รวมคนให้อาหารสุนัขเป็นประจำว่าถือเป็นเจ้าของสุนัขด้วย จึงถือเป็นการผลักภาระมาให้แก่ประชาชนครับ ดังนั้นศาลจึงพิพากษาให้เอาคำนิยามในส่วนนี้ออกจาก ข้อบัญญัติ […]

อ่านต่อ