โรคตาในสุนัข
- Home
- โรคตาในสุนัข
สุนัขตาอักเสบ ดูแล และรักษาอย่างไร
สุนัขตาอักเสบ หนึ่งในโรคเกี่ยวกับดวงตาของสุนัข ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เจ้าของจึงควรป้องกัน และดูแลพวกเขาตั้งแต่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติ อาการ และสาเหตุ สุนัขตาอักเสบ สุนัขสามารถเกิดอาการตาอักเสบได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณดวงตา และเปลือกตา สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตาในสัตว์เลี้ยง กล่าวว่า อาการดวงตาอักเสบจากการติดเชื้อ แสดงออกได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค และระยะเวลาที่ได้รับเชื้อ โดยอาการจะรุนรงขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการในช่วง 24 ชั่วโมง หลังจากดวงตาติดเชื้อ สุนัขจะมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ กระพริบตาถี่ ๆ บ่อยขึ้น เปลือกตาบวมแดง มีขี้ตาที่ข้นเหนียวผิดปกติ และอาจจะไม่ยอมลืมตา หลังจากนั้น หากยังไม่ได้รับการรักษา อาการอักเสบจะรุนแรงขึ้น อาจมีหนองที่บริเวณดวงตา เปลือกตาบวมแดงรุนแรง และดวงตาปิดสนิท สุนัขบางตัวอาจส่งเสียงร้องเนื่องจากความเจ็บปวด สาเหตุการติดเชื้อที่พบได้บ่อยคือ การเกิดแผลถลอกบริเวณดวงตา หรือเกิดรอยขีดข่วนที่กระจกตา โดยรอยแผลถลอกอาจเกิดได้จากปัจจัยภายนอก เช่น ฝุ่นหรือเม็ดทรายเข้าตา กิ่งไม้ข่วนตาขณะวิ่งผ่านพุ่มไม้ และแชมพูเข้าตาระหว่างการอาบน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ สุนัขที่เกา หรือขยี้ตาแรง ๆ ก็มีโอกาสเกิดบาดแผลที่ดวงตา จนนำไปสู่การติดเชื้อได้ […]
อ่านต่อโรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)
จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD) ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง […]
อ่านต่อ