อเมริกันพิทบูลเทอเรีย

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย (American Pit bull terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์

ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อก กับ สุนัขเทอร์เรีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สุนัขที่มีความแข็งแกร่ง  และความปราดเปรียว จนได้รับรางวัลสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีความแข็งแรงและความน่าประทับใจ นอกจากนี้ อเมริกันพิทบูลยังถูกใช้ช่วงสงครามในฐานะผู้พิทักษ์ ด้วยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ที่มีความก้าวร้าว และความน่าเกรงขาม ต่อมา ในปี 1920 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการล่อกระทิง และการต่อสู้อื่น ๆ อย่าง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) การไล่ล่า และการลากน้ำหนัก จนขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัข “Fighting dog”

จากนั้นในปี 1980 ในสื่อภาพยนต์ รูปภาพเริ่มมีการใช้ภาพของสุนัขสายพันธุ์นี้มากขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เริ่มมีความคุ้นชินกับมนุษย์มากขึ้น รักความสงบมากขึ้น รักธรรมชาติ มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากขึ้น และเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับสุนัขสายพันธุ์ Staffordshire terriers รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล จาก United Kennel Club (UKC) อีกด้วย

ลักษณะทางกายภาพ

อเมริกันพิทบูล เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดกลาง ขนาดรูปร่างปานกลางสันทัด มีสัดส่วนที่พอดี ลำตัวปกคลุมด้วยขนที่สั้น  มีความเงา หยาบเล็กน้อย พบได้หลายสี  กล้ามเนื้อแน่นสัน ดวงตากลมเรียวคล้ายรูปร่างเพชร ขากรรไกรแข็งแรงและกว้างใหญ่ ใบหูมีขนาดเล็กค่อนไปขนาดกลาง ขนาดหางหนาและเรียว มีกล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่รองรับน้ำหนักหัวได้เป็นอย่างดี สายพันธุ์นี้มีความสูงอยู่ที่ 18 -24 นิ้ว (46 to 61 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักประมาณ 35 – 60 ปอนด์ (16 and 27 กิโลกรัม)

อายุขัย

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 12 – 14 ปี ซึ่งถือว่าสูงกว่าสุนัขสายพันธุ์ที่อื่น ๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

ลักษณะนิสัย

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย มีชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีนักในเรื่องของความก้าวร้าว มีพละกำลังมากที่สุด แต่ก็น่าแปลกใจมากที่พวกเขานั้นเป็นที่รักของมนุษย์เสมอ เพราะเป็นสุนัขที่ เชื่อฟัง มีความภักดีและไว้ใจได้ พิทบูลก็ยังเป็นที่รู้จักในเรื่องของความซื่อสัตย์ จงรักภักดี สามารถตายแทนเจ้าของได้ด้วยเช่นกัน พิทบูลสามารถเรียนรู้ได้เร็วหากเราทำการฝึกพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งในครัวเรือน แต่ก็ต้องตระหนักด้วยว่า พิทบูลอาจไม่เชื่อฟังในคำสั่งได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวก็ยากที่จะควบคุมได้ทันท่วงที

การเข้ากับเด็ก

พิทบูลมีความกระฉับกระเฉงและเข้ากันได้ดีกับเด็ก ๆ มีความอดทน ขี้เล่น เข้ากันได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อเขาได้รับความรัก และได้รับการต้อนรับอย่างคนในครอบครัว

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย

การดูแล

การออกกำลังกาย

อเมริกันพิทบูลเทอเรียควรออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่ได้ใช้ร่างกายทุกส่วนอย่างเหมาะสม ด้วยความที่เป็นสุนัขที่ฉลาด จำเป็นที่จะต้องมีกิจกกรมที่ผ่อนคลายความเครียดบ่อยๆ เพื่อป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พาเดิน หรือ พาวิ่ง เดินเขา ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะเป็นเพื่อนวิ่งที่ทำให้คุณสนุกไปด้วยได้ทุกเวลา

อาหาร

ความต้องการอาหารของพิทบูลในหนึ่งวันควรจะให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ซึ่งควรคำนึงถึงอายุและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน สุนัขสายพันธุ์ขนาดกลางส่วนใหญ่กินอาหารประมาณ 20 ปอนด์ในหนึ่งเดือน

ปรึกษาสัตวแพทย์ เกี่ยวกับสูตรอาหารที่เหมาะกับสายพันธุ์ และควรจะมีน้ำสะอาดเตรียมไว้ให้สุนัขตลอดเวลา

โรคประจำพันธุ์

  • โรคระบบผิวหนัง
    • เรื้อนเปียก (Mange)
    • ภูมิแพ้ (Skin allergies)
    • โรคแอกทินิก เคอราโทซิส (Actinic keratosis)
  • โรคระบบประสาท
    • โรคไขสันหลังเสื่อม (Degenerative myelopathy)
    • โรคกล้ามเนื้อเกร็ง (Myotonia)
    • โรคเดินไม่สัมพันธ์ จากการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นผลมาจากสมองส่วนซีรีบรัม (Cerebellar ataxia)
  • โรคระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ
    • โรคลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบแคบ (Pulmonic stenosis)
    • โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Subvalvular aortic stenosis)
  • โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
  • โรคไตและทางเดินปัสสาวะ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)
  • โรคระบบกระดูกเอ็นและข้อต่อ
    • ภาวะเอ็นที่ข้อเข่าฉีกขาด (Cruciate ligament rupture)
    • โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip Dysplasia)
  • โรคตา
    • ขนตางอกผิดปกติ (Distichiasis)
    • เนื้อเยื่อรูม่านตาเหลือหลังคลอด (Persistent pupillary membrane)
    • โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive retinal atrophy)
  • โรคหู
    • โรคหูหนวก (Deafness)

เรื่อง : สุรภา ประติภาปกรณ์

ติดตามข้อมูล บ้านและสวน PETS ได้ที่นี่