
ภูมิแพ้
- Home
- ภูมิแพ้
สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน – ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ตัวเล็ก ขนฟู และหน้าแหลม เป็นลักษณะอันโดดเด่นของ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน ที่เป็นลูกรัก และเป็นสายพันธุ์ยอดนิยม ที่ครองใจเหล่าบรรดาที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์เล็ก ประวัติ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน (Pomeranian) มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 16 จากแคว้นปอมเมอเรเนีย (Pomerania) แถบทะเลบอลติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมันตะวันออกและโปแลนด์ในปัจจุบัน โดยบรรพบุรุษของปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่อยู่ในตระกูลสปิตซ์ (Spitz) รวมถึงสุนัขสายพันธุ์นอร์วีเจียน เอลก์ฮาวด์ (Norwegian Elkhound), ชิปเพิร์ก (Schipperke), เยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz), อเมริกัน เอสกิโม (American Eskimo) และซามอยด์ (Samoyed) สุนัขเหล่านี้ทั้งหมดมีลักษณะที่โดดเด่นเหมือนกัน คือมีหน้าที่ยื่น, หูตั้งและขนยาวหนา ในอดีต ปอมเมอเรเนียน ถูกเพาะพันธุ์ให้เป็นสุนัขลากเลื่อนและมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ ตั้งแต่ปอมได้รับการแนะนำให้เป็นที่รู้จักในฐานะสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน สายพันธุ์ปอมเมอเรเนียนจึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นเจ้าของสุนัขปอมเมอเรเนียน ได้แก่ นักศาสนศาสตร์มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther), จิตรกรไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) และนักฟิสิกส์ไอแซก […]
อ่านต่อเยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ เยอรมันเชพเพิร์ด (German Shepherd) หรือที่รู้จักกันในชื่ออัลเซเชี่ยน (เยอรมัน : Deutscher Schäferhund) เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเยอรมนี เยอรมันเชพเพิร์ดเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ค่อนข้างใหม่ มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1899 โดยจัดอยู่ในกลุ่มของสุนัขต้อนสัตว์และถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อต้อนแกะ เนื่องจากมีความแข็งแรง, ฉลาดและถูกฝึกให้เชื่อฟังตามคำสั่ง จึงมักจะถูกฝึกให้ช่วยงานตำรวจและทหารทั่วโลก เนื่องจากความจงรักภักดีและมีสัญชาตญาณในการปกป้อง จึงทำให้ เยอรมันเชพพิร์ด เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ได้รับการจดทะเบียนมากที่สุด ลักษณะทางกายภาพ เยอรมันเชพเพิร์ด เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ซึ่งขนาดโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 55 – 65 เซนติเมตร (22 – 26 นิ้ว) วัดจากส่วนที่สูงที่สุดของหลัง และมีน้ำหนักระหว่าง 22 – 40 กิโลกรัม (49 – 88 ปอนด์) ความสูงในอุดมคติคือ 63 เซนติเมตร (25 นิ้ว) ตามมาตรฐานของ Kennel Club เยอรมันเชพเพิร์ดจะมีหน้าผากที่เป็นรูปโดม, จมูกและปากส่วนบนเป็นทรงสี่เหลี่ยมยาวและมีจมูกสีดำ ขากรรไกรมีความแข็งแรงร่วมกับฟันที่คมเหมือนกรรไกร […]
อ่านต่ออเมริกันพิทบูลเทอเรีย (American Pit bull terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อก กับ สุนัขเทอร์เรีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สุนัขที่มีความแข็งแกร่ง และความปราดเปรียว จนได้รับรางวัลสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีความแข็งแรงและความน่าประทับใจ นอกจากนี้ อเมริกันพิทบูลยังถูกใช้ช่วงสงครามในฐานะผู้พิทักษ์ ด้วยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ที่มีความก้าวร้าว และความน่าเกรงขาม ต่อมา ในปี 1920 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการล่อกระทิง และการต่อสู้อื่น ๆ อย่าง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) การไล่ล่า และการลากน้ำหนัก จนขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัข “Fighting dog” จากนั้นในปี 1980 ในสื่อภาพยนต์ รูปภาพเริ่มมีการใช้ภาพของสุนัขสายพันธุ์นี้มากขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เริ่มมีความคุ้นชินกับมนุษย์มากขึ้น รักความสงบมากขึ้น รักธรรมชาติ มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากขึ้น และเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับสุนัขสายพันธุ์ Staffordshire terriers รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล จาก United Kennel Club (UKC) อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ อเมริกันพิทบูล […]
อ่านต่อบิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
ประวัติสายพันธุ์ สุนัขสายพันธุ์ บิชอง ฟริเซ่ (Bichon Frise) เดินทางมาถึงประเทศฝรั่งเศสช่วงก่อนศตวรรษที่ 14 ในขณะที่ถิ่นกำเนิดที่แน่นอนของสุนัขพันธุ์นี้ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ความเชื่อส่วนใหญ่ได้กล่าวไว้ว่าบิชอง ฟริเซ่ ถือกำเนิดขึ้นมาจากสุนัขพันธุ์บาร์เบท (Barbet) ซึ่งเป็นสุนัขขนาดกลาง ส่วนวิธีที่มันเดินทางมาถึงฝรั่งเศสยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ หลายคนกล่าวว่าพ่อค้านำมันมาจากอิตาลีและสเปนตามเส้นทางการค้า ในขณะที่คนอื่นเชื่อว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสนำพวกมันกลับมาหลังจากที่พวกเขาทำการบุกอิตาลีในศตวรรษที่ 16 อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทราบกันดีคือสุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมในยุโรปในช่วงระยะเวลานั้น บิชอง ฟริเซ่ได้รับความนิยมจากกลุ่มชนชั้นสูง กษัตริย์ ราชวงศ์ และศิลปินที่มีชื่อเสียง บิชอง ฟริเซ่ได้รับการยกระดับในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียน แต่ความนิยมก็ได้ลดลงภายหลังจากที่ผู้เพาะพันธุ์จำนวนมากได้สร้างความหลากหลายของสายพันธุ์ ทำให้บิชอง ฟริเซ่สูญเสียความพิเศษเฉพาะตัวและกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงทั่ว ๆ ไป หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้เพาะพันธุ์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการคงไว้ซึ่งเชื้อสายของบิชอง ฟริเซ่ เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์ลาบราดอร์ (Labradors) อันที่จริงสายพันธุ์นี้เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงของการฟื้นฟูประเทศ อย่างไรก็ตามผู้เพาะพันธุ์สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ของบิชอง ฟริเซ่ สร้างชื่อเสียงให้กับสุนัข และได้ทำการส่งออกไปยังทวีปอื่น ๆ โดยสุนัขสายพันธุ์บิชอง ฟริเซ่ได้เข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และได้รับการยอมรับจาก AKC ในปี 1975 ลักษณะทางกายภาพ บิชอง ฟริเซ่ เป็นสุนัขขนาดเล็กที่มีน้ำหนักประมาณ 5 […]
อ่านต่อ