บาเซนจิ (Basenji) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์

สุนัขพันธุ์ บาเซนจิ (Basenji) ได้รับชื่อเล่นว่า สุนัขที่ไม่ค่อยเห่า (the barkless dog) เนื่องจากโดยธรรมชาติของ บาเซนจิ เป็นสุนัขที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยส่งเสียง และถือเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน โดยมีความเกี่ยวข้องทั้งในประเทศแอฟริกาและอียิปต์ ซึ่งสุนัขพันธุ์บาเซนจิตัวแรกที่ถูกนำไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรก ในฐานะของขวัญจากสมเด็จฟาร์โรแห่งแม่น้ำไนล์ ในปี 1940

บาเซนจิ นิยมใช้ในการฝึกทักษะในการล่า สุนัขสามารถใช้ทักษะสัญชาตญาณในการตามล่าหาชนเผ่าและพลเมืองยุคแรก ๆ เนื่องจากความถนัดในด้านการล่าทำให้สุนัขพันธุ์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขล่าเนื้อ และในปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้เป็นที่จดจำ เนื่องจากมีลักษณะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น คือ หน้าผากเหี่ยวย่น, หางม้วนงอ, และมีดวงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน นอกจากนี้สุนัขบาเซนจิยังเป็นสุนัขที่มีความเป็นมิตรและฉลาดอีกด้วย

ลักษณะทางกายภาพ

สุนัข บาเซนจิ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดเล็ก แต่มีความสง่างาม มีขนสั้น, หูตั้ง, หางม้วนงอขนาดเล็ก และมีคอที่สวยงาม บางคนมองว่าลักษณะของสุนัขบาเซนจิคล้ายกับกวางขนาดเล็ก นอกจากนี้ สุนัขพันธุ์นี้ยังมีบริเวณหน้าผากที่เหี่ยวย่นโดยเฉพาะในตอนเด็กและ ตอนที่แก่มาก ๆ และมีรูปทรงตาคล้ายกับเมล็ดแอลม่อน ทำให้สุนัขมีลักษณะดูเคร่งครึม

น้ำหนักเฉลี่ยของสุนัขบาเซนจิ ประมาณ 11 กิโลกรัม และสูงประมาณ 40.6 เซนติเมตร โดยปกติลำตัวจะมีรูปทรงเป็นเหลี่ยม ทำให้ความยามของลำตัวสัมพันธ์กับความสูง สุนัขบาเซนจิเป็นสุนัขที่เก่าแก่และมีความสามารถที่แตกต่างกับขนาดตัว พวกมันมีความสง่างาม มีท่าทางการเดินและวิ่งคล้ายกับม้าที่กำลังวิ่งเรียบ โดยมีหางที่ม้วนงอคอยเหยียดตึง เพื่อสร้างความสมดุลเวลาวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่

สีของสุนัขบาเซนจิมีทั้งหมด 4 แบบ คือ สีแดง, สีดำ, สามสี (สีดำร่วมกับสีแทน) และสี brindle (มีปื้นสีดำกระจายทั่วพื้นสีแดง) และทุกสีล้วนมีสีขาวร่วมด้วย จากการระบุในสมาคม  FCI, KC, AKC, และ UKC ทำให้มีความหลากหลายของสีมากขึ้น เช่น สี trindle คือ สีสามสีร่วมกับปื้นสีดำทั่วตัว เป็นต้น และมีอีกหลายสีที่พบในประเทศคองโก้ เช่น สี liver,  สีแดงเงา และ capped tricolors (creeping tan)

อายุขัย

อายุขัยเฉลี่ยของบาเซนจิอยู่ในช่วง 10-20 ปี ซึ่งจัดเป็นอายุขัยเฉลี่ยส่วนใหญ่ของสุนัขขนาดกลาง

ลักษณะนิสัย

สุนัขพันธุ์บาเซนจิเป็นสุนัขที่มีความรักและซื่อสัตย์กับเจ้าของ และต้องการความสนใจและเห็นอกเห็นใจจากเจ้าของ นอกจากนี้สุนัขบาเซนจิยังมีพฤติกรรมที่เฉพาะเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งทำให้บางครั้งขาดการเชื่อฟังจากเจ้าของ และยังมีพฤติกรรมนักล่าหลงเหลืออยู่ พวกมันมีแนวโน้มจะไล่ล่ากระรอกหรือกระต่ายได้ในทุกครั้งที่พาออกไปเดินเล่น ทำให้บาเซนจิมีลักษณะและพฤติกรรมที่คล้ายกับสุนัขล่าเนื้อ

เมื่อสุนัขบาเซนจิอยู่กับแมว พวกมันสามารถปรับตัวให้อยู่กับแมวได้ หากได้รับการฝึกให้อยู่ด้วยกันตังแต่อายุยังน้อย ระวังว่าสุนัขบาเซนจิอาจไม่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าและไม่ควรเข้าใกล้สุนัขทางด้านหลังอย่างกระทันหัน

การเข้ากับเด็ก

สุนัขพันธุ์บาเซนจิมีความขี้เล่นในตัวอยู่แล้ว ทำให้สามารถเข้ากับเด็กได้ดี และเพื่อเพิ่มความมั่นใจควรเลี้ยงสุนัขให้โตมาพร้อม ๆ กับเด็ก เพื่อเพิ่มทักษะการเข้าสังคมและสามารถเข้ากับคนแปลกหน้าได้ง่ายขึ้น เพื่อให้สุนัขพัฒนาพฟติกรรมการเข้ากับคนได้ดียิ่งขึ้น

การดูแล

การออกกำลังกาย

สุนัขพันธุ์บาเซนจิเป็นสุนัขที่ต้องการกิจกรรมสูง และต้องการการออกกำลังกาย 1-2 ชั่วโมงต่อวัน และทุกครั้งที่พาออกไปเดินเล่นควรใส่สายจูงให้สุนัขตลอดเวลา และเนื่องจากพฤติกรรมนักล่าและไม่ฟังใคร ทำให้พวกมันวิ่งไปไกลและวิ่งไล่สัตว์ขนาดเล็กที่เห็นหากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

อาหาร

สุนัขบาเซนจิ ควรได้รับอาหารคุณภาพสูงเฉลี่ย 1 ถ้วยต่อวัน โดยแบ่งให้เป็น 2 มื้อต่อวัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง, ข้าวโพด, และเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ เนื่องจากจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายและทำให้ย่อยได้ยากมากขึ้น ส่วนปริมาณอาหารที่ให้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงอายุ อัตราการเผาผลาญ ขนาดของสุนัข และกิจกรรมที่สุนัขทำ นอกจากนี้คุณภาพของอาหารก็เป็นส่วนที่สำคัญ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ การเจริญเติบโต ความแข็งแรง และเพื่อให้สุนัขได้รับสารอาหารที่ดีที่สุด

โรคประจำพันธุ์

  • โรคระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ
    • ภาวะโลหิตจางจากการแตกของเม็ดเลือด (Pyruvate Kinase Deficiency : Hemolytic Anemia)
  • โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด MALT (Immunoproliferative Systemic Intestinal Disease)
    • ไส้เลื่อนสะดือ (Umbilical hernia)
  • โรคไตและทางเดินปัสสาวะ
    • ความผิดปกติในหน้าที่ของท่อกรองส่วนต้นของไต (Fanconi Syndrome)
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ
    • การสร้างไทรอยด์ ฮอร์โมนบกพร่อง (Hypothyroidism)
  • โรคระบบกระดูกเอ็นและข้อต่อ
    • ข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia)
  • โรคระบบเลือดและภูมิคุ้มกัน
    • ภาวะที่เกิดการทําลายเม็ดเลือดแดง (Hemolytic anemia)
  • โรคตา
    • การบกพร่องของรอยปิดม่านตา (Coloboma)
    • การคงเหลือของเนื้อเยื่อรูม่านตา (Persistent Pupillary Membrane)
    • จอตาเสื่อม (Progressive Retinal Atrophy)
  • โรคมะเร็ง
    • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในลำไส้ (immunoproliferative systemic intestinal disease : IPSID)

เรื่อง : สุรภา ประติภาปกรณ์

ติดตามข้อมูล บ้านและสวน PETS ได้ที่นี่