แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน รวมถึงน้องหมาด้วย

แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน เป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญที่ผู้ปกครองต้องรู้ก่อนจะรับน้องเข้าบ้านรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว

วันนี้ บ้านและสวน Pets จึงรวบรวมคำตอบของคำถามที่ว่า “แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน” รวมไปถึงโปรแกรมฉีดวัคซีนของน้องหมา มาไว้ในบทความเดียว เพื่อให้ผู้ปกครองสัตว์เลี้ยง ได้วางแผนฉีดวัคซีนให้น้อง ๆ กันค่ะ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับวัคซีนก่อนค่ะ วัคซีน คือ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ประกอบด้วยเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย โดยการนำเชื้อเหล่านี้ไปผ่านกระบวนการ เพื่อให้เชื้อตาย หรือทำให้มีฤทธิ์อ่อนแรงลง ทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้

เมื่อร่างกายได้รับ โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว อย่างครบถ้วน ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดจากเชื้อนั้นๆ โดยเมื่อสัตว์เลี้ยงสัมผัสกับโรคนั้นในเวลาต่อมา ร่างกายก็จะต่อสู้ทำลายเชื้อที่ก่อโรคนั้นได้

แมวฉีดวัคซีนได้ตอนกี่เดือน, วัคซีนแมว, วัคซีนหมา,
ภาพถ่าย Nadia Vasil’eva

โปรแกรมวัคซีนแมว

ความสำคัญของวัคซีนแมว เพื่อป้องโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยโรคที่สำคัญในแมวได้แก่ โรคไข้หัดแมว (Feline panleukopenia, Cat distemper) โรคหวัดแมว / โรคระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในแมว (Feline infectious upper respiratory tract disease) มะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว (Feline leukemia virus : FeLV) และ โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) และแมวสามารถรับวัคซีนเข็มแรกได้ตอนอายุ 6 – 8 สัปดาห์

โรคที่กล่าวมา เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่เกิดขึ้นในแมว ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่มีการป้องกันโรค กล่าวคือ การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการป้องกันการเกิดโรค ควรนำแมวมาพบสัตว์แพทย์ เพื่อตรวจร่างกายเบื้องต้นและทำวัคซีนตามโปรแกรมดังต่อไปนี้

โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว

โปรแกรมวัคซีนในสุนัข

การฉีดวัคซีนในสุนัขถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เนื่องจากมีโรคติดเชื้อหลายโรคที่มีการระบาดสูงในประเทศไทย ซึ่งโรคที่สำคัญในสุนัขมีดังนี้ โรคไข้หัดสุนัข (Canine distemper) โรคลำไส้อักเสบในสุนัข (Canine Parvo Virus) โรคตับอักเสบของสุนัข (Infectious Canine Hepatitis, Canine Adenovirus Infection) โรคหลอดลมอักเสบของสุนัข  (Canine Infectious Tracheobronchitis : CIT,  Kennel cough) โรคเลปโตสไปโรซีส หรือโรคฉี่หนู (Leptospirosis)

โรคดังกล่าวข้างต้นเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง มีแพร่กระจายของโรคอย่างรวดเร็ว เมื่อสุนัขติดโรคเหล่านี้แล้วมีโอกาสหายจากโรคได้ยากหรือเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง ซึ่งจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สุนัข โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อบางชนิดสามารถติดต่อถึงคนได้ นั่นก็คือโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่สามารถติดต่อจากสุนัขไปยังคนได้ โดยผ่านทางการกัดหรือข่วน เชื้อไวรัสจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง และมีความรุนแรงมากจนถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือฉีดวัคซีนป้องกันทันเวลา

ดังนั้นการฉีดวัคซีนในสุนัขจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะเป็นการป้องการเกิดโรคที่รุนแรงในสุนัขแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคที่สามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย โดยโปรแกรมวัคซีนในสุนัขแสดงในตารางดังนี้

โปรแกรมวัคซีนในสุนัขและแมว

อย่างไรก็ตาม โปรแกรมการฉีดวัคซีน อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลยพินิจของสัตวแพทย์ และการทำวัคซีนขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยจากตัวสัตว์ ปัจจัยการเลี้ยง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น การจะทำวัคซีนควรพาสุนัขและแมวไปตรวจสุขภาพเบื้องต้นกับสัตวแพทย์ หากสุนัขหรือแมวป่วยอยู่แล้วได้รับวัคซีนจะทำให้การสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ 

การทำวัคซีนถือว่าเป็นการสร้างคุ้มกันเปรียบเหมือนเกราะป้องกันโรคติดเชื้อรุนแรงที่มีการแพร่ระบาด สุนัขและแมวควรได้รับการฉีดวัคซีนตามโปรแกรม เพื่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงเอง รวมไปถึงเป็นเกราะป้องกันในการนำพาโรคจากสุนัขหรือแมวไปติดคน โดยเฉพาะการเลี้ยงสุนัขและแมวในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

บทความโดย

สพ.ญ.อาภาพร เจตนาวณิชย์

Apaporn Chettanawanit, DVM

โรงพยาบาลสัตว์เพื่อนสัตว์เลี้ยงศรีราชา

Pet Friends Hospital