ประวัติสายพันธุ์ малоизвестные новые займы круглосуточно без отказаไทยบางแก้ว
สุนัขพันธุ์ ไทยบางแก้ว มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีพระสงฆ์จำวัดที่วัดบางแก้ว (Bangkaew temple) ใกล้กับแม่น้ำยม (Yom river) เลี้ยงสุนัขเพศเมียกำลังตั้งท้องอยู่ภายในวัด แต่ไม่มีสุนัขเพศผู้อยู่ด้วย จึงทำให้ไม่สามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ได้ จึงสันนิษฐานว่ามีการผสมกับหมาใน (Asiatic Wild Dog) หรือ สุนัขจิ้งจอก (Jackal) ซึ่งในต่อมาได้มีการตรวจสายพันธุกรรม (DNA) จึงสรุปได้ว่าเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ไทย (Domestic dog) กับ สุนัขจิ้งจอกทอง (Golden Jackal) หลังจากนั้นไม่นาน สุนัขตัวนี้ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่นที่ไว้ใช้ต้อนแกะ (Local shepherding dog) โดยลักษณะทางกายภาพภายนอกคล้ายสุนัขพันธุ์พื้นบ้านของไทย
ในปีค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ.2523 มีสัตวแพทย์ชื่อ Nisit Tangtrakarnpong เป็นสัตวแพทย์ที่ค้นพบสายพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์บางแก้วโดยเฉพาะแตกต่างกับสายพันธุ์อื่น องค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้ทำการยอมรับสุนัขสายพันธุ์ไทยบางแก้วชั่วคราว โดยถูกจัดอยู่ในประเภทสุนัขที่มีใบหูแหลมและสุนัขสายพันธุ์อื่น (Spitz and other breeds) แต่ไม่ได้รับการจดทะเบียนสายพันธุ์สุนัขจากสมาคม official kennel club และไม่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศ
ลักษณะทางกายภาพ
สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว เป็นสุนัขขนาดกลาง รูปร่างคล้ายรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส อกลึก มีกะโหลกค่อนข้างกว้าง คล้ายลิ่ม มีสัดส่วนกับลำตัวพอดีขณะสุนัขยืน ใบหูตั้งแหลมคล้ายสามเหลี่ยม ตาเล็กคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (Almond) ดวงตามีสีน้ำตาล จมูกสีดำ ขาหน้าใหญ่กว่าขาหลัง มีกล้ามขา หลังขามีขนยาวลักษณะคล้ายแข้งสิงห์ ข้อขาหน้าและข้อเท้าสั้นทำมุมเฉียงเล็กน้อย โคนหางใหญ่ ขนหางเป็นพวง ส่วนปลายโค้งไปข้างหลังตัวสัตว์
ลักษณะของเพศผู้และเพศเมียที่แตกต่างกัน (Sexual dimorphism) คือ เพศผู้จะมีแผงขนยาวคลุมรอบคอ มีขนาดตัวและน้ำหนักตัวมากว่าเพศเมีย โดยเพศผู้มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 46-55 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 18-20 กิโลกรัม ขณะที่เพศเมียความสูงเฉลี่ยประมาณ 41-50 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 16-18 กิโลกรัม
มีขนยาวปกคลุม 2 ชั้น โดยบริเวณที่มีขนปกคลุมมากที่สุดอยู่บริเวณแผงคอและรอบหาง บริเวณที่มีขนปกคลุมน้อยที่สุดอยู่บริเวณหน้าขา และบนหัวของสุนัข สีขนสามารถพบได้หลากหลายสี ประกอบด้วย สีขาว-น้ำตาล (white with patches of red), สีน้ำตาลแกมเหลือง (Fawn), สีน้ำตาล (Brown), สีเทา (Gray), สีดำ (Black), หรือสีเขียวเลมอน (Lemon) ซึ่งสีขนสัตว์จะมีลักษณะสมมาตร คือมีสีขนขึ้นทั้งซ้ายและขวา
อายุขัย
สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว โดยทั่วไปมีอายุขัยอยู่ที่ประมาณ 10-12 ปี
ลักษณะนิสัย
สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว เป็นสุนัขที่จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน สามารถฝึกเพื่อใช้งาน หรือสามารถฝึกให้เป็นสุนัขเฝ้าบ้านได้ มีนิสัยที่ค่อนข้างตื่นตัว หวงสิ่งของและหวงเจ้าของ ร่าเริง กล้าหาญ เชื่อมั่นในตัวเอง จิตประสาทมั่นคงไม่ขี้กลัว หรือตื่นตกใจง่าย ซื่อสัตย์ ฉลาด
การเข้ากับเด็ก
สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว เป็นสุนัขที่ฉลาด แต่การฝึกให้เข้าสังคม หรือฝึกความอดทนให้กับสุนัขเป็นไปได้ยาก อีกทั้งยังมีมีพละกำลังมาก ทำให้การที่นำสุนัขมาเล่นกับเด็กจึงต้องคอยระมัดระวังเด็กเป็นพิเศษ ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะ เมื่อสุนัขรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือตื่นตระหนก จะทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้ นอกจากนี้ ยังอาจพบพฤติกรรมก้าวร้าวกับสุนัขตัวอื่น จึงไม่สามารถเลี้ยงคู่กับสุนัขพันธุ์เล็กได้
การดูแล ไทยบางแก้ว
การออกกำลังกาย
สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว เป็นสุนัขที่ชอบออกกำลังกาย มีพลังงานสูง ชอบอยู่ในที่กว้าง ควรพาสุนัขเดินประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน หรือให้สุนัขวิ่งออกำลังกายอย่างน้อย 90 นาทีต่อวัน หรืออย่างน้อย 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ทุกสัปดาห์ บริเวณสนามหญ้า และไม่ควรเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ในอพาร์ทเม้นท์หรือบ้านที่ไม่มีบริเวณ เนื่องจากจะทำให้สุนัขเกิดความเครียดได้
อาหาร
สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว ปริมาณอาหารที่ควรให้ประมาณ 2.5 ถ้วยต่อวัน โดยแบ่งเป็น 2 มื้อ ควรให้อาหารเม็ดที่มีคุณภาพมากกว่าอาหารสุนัขกระป๋อง เพราะ การให้อาหารที่ไม่มีคุณภาพ จะทำให้สุนัขได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะปริมาณโปรตีน รวมถึงทำให้ย่อยอาหารได้ยากมากขึ้น ซึ่งอาหารที่ให้ในสุนัขเด็กจะมีความแตกต่างกับสุนัขโต
การให้สุนัขกินอาหารคน เช่น ข้าว, ปลา, และเนื้อ สามารถให้สุนัขกินได้ แต่ไม่ควรให้มากกว่า 20% ของอาหารเม็ดต่อวัน
โรคประจำพันธุ์ ไทยบางแก้ว
ไทยบางแก้ว จัดเป็นสุนัขที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่อาจพบโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นประจำสายพันธุ์ได้ ซึ่งเจ้าของสุนัขที่เลี้ยงควรจะรู้เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้กับสัตว์
- โรคระบบกรระบบโครงกระดูก ข้อต่อ และโครงสร้าง
- โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip Dysplasia)
- โรคข้อศอกเจริญผิดปกติ (Elbow Dysplasia)
- โรคที่เกี่ยวกับข้อต่อ ประกอบไปด้วย โรคกระดูกสะบ้าเคลื่อน (patellar luxation)
- โรคระบบสืบพันธุ์
- โรคอัณฑะทองแดง (Cryptorchidism)
- โรคหู
- โรคหูชั้นนอกอักเสบ (Otitis Externa)
เรื่อง : ทรงภูมิ อานันทคุณ