การเจริญเติบโตของแมวแต่ละช่วงวัย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งภายในและภายนอก ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนสับสนระหว่าง “ช่วงโตเต็มวัย” กับ “ช่วงเจริญพันธุ์” และอาจส่งผลต่อ วิธีดูแลน้องแมว
โดยทั่วไปแล้ว ลูกแมวจะเริ่มเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยเมื่ออายุประมาณ 1 ปี หมายถึงร่างกายได้พัฒนาและเจริญเติบโตเต็มที่ตามลักษณะสายพันธุ์ กล้ามเนื้อแข็งแรง อวัยวะทุกส่วนทำงานได้อย่างสมบูรณ์ แต่ในบางสายพันธุ์ที่มีโครงร่างกายใหญ่ อย่างสายพันธุ์เมนคูน จะเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัยประมาณ 15 เดือน ที่ช้ากว่าแมวสายพันธุ์อื่นๆ
ส่วนวัยเจริญพันธุ์ คือ ช่วงที่น้องแมวพร้อมสืบพันธุ์ได้ โดยในแมวจะเริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 4 – 18 เดือน หรือที่เรียกว่า “การเป็นสัดหรือฮีท”
การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งภาวะร่างกายของแมว น้ำหนักของแมว สายพันธุ์ของแมว และช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่มีแสงอาทิตย์ยาวนานอย่าง เช่นฤดูร้อนในพื้นที่เขตหนาว หรือสภาพภูมิอากาศบ้านเรา ก็จะกระตุ้นให้แมวเป็นสัดได้เร็วขึ้น
ในช่วงระหว่างการเป็นสัดหรือฮีท แมวตัวเมียจะแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากปกติ เช่น ส่งเสียงร้องหาคู่ ใช้ตัวถูไถสิ่งของตามพื้นและกลิ้งไปมา แอ่นหลังลงและกระดกก้นขึ้น เบี่ยงหางไปด้านข้างและย่ำเท้าหลังไปมา ลำตัวและหางสั่น หรือเกร็งลำตัว
ระยะเวลาในการเป็นสัดของแมวตัวเมียอยู่ระหว่าง 2 – 14 วัน แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะที่หนึ่ง คือช่วงก่อนเป็นสัด (Proestrus) ใช้เวลา 1-2 วัน เป็นช่วงแรกที่แมวจะเริ่มเข้าสู่วงจรการเป็นสัด ในช่วงนี้แมวตัวเมียจะยังไม่ยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ด้วยแต่แมวจะเริ่มส่งเสียงร้องเรียกหาตัวผู้ แสดงพฤติกรรมย่อตัวส่วนหน้าลงแล้วยกส่วนท้ายขึ้นซอยขาถี่ ๆ ใช้ตัวไปกลิ้งไปมาถูไถกับพื้น หรือเฟอร์นิเจอร์
ระยะที่สอง ระยะเป็นสัด (Estrus) ใช้เวลาประมาณ 6-7 วัน จะมีอาการคล้ายกับช่วงก่อนเป็นสัด แต่แมวตัวเมียจะยอมให้แมวตัวผู้ผสมพันธุ์ โดยที่แมวตัวผู้จะขึ้นคร่อมแมวตัวเมียแล้วงับหนังคอด้านบนเพื่อผสมพันธุ์
ระยะที่สาม ระยะหลังเป็นสัด (Diestrus) เป็นช่วงที่ไข่ตกแล้ว หากแมวตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้มีโอกาสที่จะตั้งท้อง การตั้งท้อของแมวใช้เวลาประมาณ 60 วัน
ระยะที่สี่ ระยะที่ไข่ไม่ตก (Interestrus) ใช้เวลาประมาณ 3 -16 วัน หลังจากพ้นระยะนี้ น้องแมวตัวเมียจะกลับเข้าสู่วงจรการเป็นสัดอีกครั้ง
ระยะที่ห้า ระยะไม่เป็นสัด (Anestrus) คือช่วงที่ระบบสืบพันธุ์กลับสู่ภาวะปกติ ระยะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 5 วันหรือยาวนานหลายเดือนขึ้นอยู่กับแมวแต่ละตัว โดยเฉลี่ยแล้วแมวตัวเมียจะเป็นสัด 2 – 4 รอบต่อปี
หากคุณพ่อคุณแม่ยังไม่ต้องการให้น้องแมวตั้งท้อง ควรระมัดระวังและดูแลน้องแมวในช่วงติดสัดเป็นพิเศษ ไม่ให้น้องหลุดออกไปข้างนอก หรือปล่อยให้อยู่กับตัวผู้ เนื่องจาก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์น้องแมวสามารถท้องได้ตั้งแต่การผสมพันธุ์ครั้งแรก
ที่สำคัญ สัตวแพทย์แนะนำว่า ไม่ควรฉีดยาคุมกำเนิดให้กับน้องแมวโดยเด็ดขาด เพราะการฉีดยาคุมทำให้น้องแมวมีความเสี่ยงต่อการเกิดถุงน้ำที่รังไข่ และกลายเป็นเนื้องอก
ในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้น หากน้องแมวตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์แล้ว ยาคุมกำเนิดจะส่งผลให้การพัฒนาของตัวอ่อนผิดปกติ และทำให้คลอดยาก ลูกตายในท้อง และเกิดโอกาสเป็นมดลูกอักเสบสูง
ดังนั้น สัตวแพทย์จึงแนะนำว่า วิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการคุมกำเนิดในน้องแมว คือการทำหมัน หรือการตอน (ในแมวตัวผู้)
โดยแมวตัวเมียสามารถทำหมันได้ตั้งแต่อายุ 3 เดือนเป็นต้นไป แต่ส่วนใหญ่จะพาไปทำหมันในช่วงอายุ 6 – 7 เดือน และต้องมีน้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม หรือปรึกษากับสัตวแพทย์เพื่อดูความพร้อมของแมวก่อนทำหมัน
การเตรียมตัวก่อนพาแมวไปทำหมัน
ก่อนทำหมัน 1 สัปดาห์ควรพาแมวไปตรวจร่างกาย และเจาะเลือด เพื่อดูความพร้อมของร่างกายให้มั่นใจว่า ร่างกายของน้องแข็งแรงเพียงพอที่จะได้รับการผ่าตัด โดยมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
เนื่องจากการทำหมันในแมวตัวเมีย สัตวแพทย์จะผ่าตัดเอารังไข่และมดลูกออก
ก่อนวันผ่าตัดทำหมันจะต้องงดน้ำ และอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักขณะผ่าตัด แผลจะเริ่มหายภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด และสามารถตัดไหมออกได้ภายใน 7 – 10 วัน
การดูแลหลังการผ่าตัดทำหมัน
คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมพื้นที่สำหรับพักฟื้น เป็นพื้นที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน หรือสิ่งกระตุ้นที่ทำให้น้องแมวรู้สึกตื่นเต้น
สัตวแพทย์จะใส่ปลอกคอ หรือชุดกันแมวเลียแผล และแนะนำให้งดอาบน้ำ จากนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลให้แผลแห้งสนิทอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ระวังไม่ให้น้องวิ่ง กระโดด และเดินมากเกินไป หลังการผ่าตัดทำหมัน เพราะอาจทำให้แผลที่เย็บไว้ปริแตกได้ ดูแลน้องให้อยู่ภายในบ้านเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคต่าง ๆ จากภายนอก ป้อนยาและทายาตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และอย่าลืมพาแมวไปตรวจแผลตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
พฤติกรรมน้องแมวหลังทำหมัน
หลังจากแมวทำหมันแล้วแมวจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม มีความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น และเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงง แมวที่ทำหมันในช่วงที่อายุไม่ถึง 1 ปี ร่างกายจะยังเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังต้องการอาหารที่ช่วยให้เติบโตขึ้น โดยไม่ทำให้น้ำหนักเกิน
โภชนาการอาหารที่เหมาะสมคือ Royal Canin Kitten Sterilised แบบอาหารเม็ด
สำหรับลูกแมวทำหมันทุกสายพันธุ์ ช่วงอายุ 6 – 12 เดือน อารหารสูตร Royal Canin Kitten Sterilised จะช่วยดูแลรูปร่างลูกแมวที่ทำหมันแล้ว
อาหารสูตรนี้มีสัดส่วนไขมันที่เหมาะสม ดูแลการเจริญเติบโตด้วยโปรตีนที่เหมาะสม มีสารอาหารครบถ้วน แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่เหมาะสมสำหรับช่วงวัยเด็ก มีสารอาหารที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งวิตามินอี วิตามินซี ลูทีน เบต้า-กลูแคน และเบต้า-แคโรทีน
ด้วยส่วนผสมพิเศษที่ดูแลการย่อยอาหารและการขับถ่าย ที่มีโปรตีนย่อยง่าย L.I.P. และพรีไบโอติกส์ (MOS) เพื่อเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหาร ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรีย และปรับอุจจาระให้เป็นก้อนดี ดูแลสุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ ด้วยสมดุลแร่ธาตุที่เหมาะสม
เมื่อแมวอายุเกิน 1 ปี ให้เปลี่ยนอาหารเป็นสูตร Royal Canin Sterilised มีทั้งแบบอาหารเม็ดและอาหารเปียกสำหรับแมวโตทำหมันแล้ว อายุ 1 ปีขึ้นไป
ตามธรรมชาติ แมวที่ทำหมันแล้วจะมีโอกาสอ้วนง่ายกว่าแมวที่ยังไม่ทำหมัน ในสูตรนี้จึงมีแอลคาร์นิทีนช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมัน ช่วยให้แมวทำหมันมีรูปร่างที่สมส่วน เสริมมวลกล้ามเนื้อด้วยโปรตีนและปรับระดับไขมันให้เหมาะสม
นอกจากนี้ยังส่งเสริมสุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะด้วยสารอาหารที่สมดุล ช่วยเจือจางและปรับสมดุลแร่ธาตุในปัสสาวะ ซึ่งการได้รับอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยต่าง ๆ จะช่วยให้แมวมีสุขภาพดีและอายุยืนยาว
โรยัล คานิน สนับสนุนให้คุณพร้อมเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีความรับผิดชอบ เริ่มง่าย ๆ ด้วยการพาน้องแมวน้องหมาไปหาหมอ หรือ Take Your Pet To The Vet เป็นประจำทุกปี เพื่อที่จะช่วยกันสร้างสังคมสัตว์เลี้ยงสุขภาพดี ส่งต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสุนัขและแมวที่คุณรัก เพื่อให้พวกเขาอยู่กับเราไปได้นาน ๆ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : โรคนิ่วในแมว ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้กับแมวทุกตัว