เลี้ยงกระต่าย

7 สัญญาณ ความกลัวของกระต่าย พร้อมวิธีการรับมือ

ในธรรมชาติกระต่ายเป็นสัตว์ที่ถูกล่าโดยสัตว์ที่แข็งแแกร่งกว่า จึงมักมีอาการตื่นตัวกับสิ่งเร้าภายนอก อย่าง กลิ่น หรือเสียงได้ง่าย เพื่อให้สามารถป้องกันตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และเพิ่มโอกาศการรอดชีวิตที่สูงขึ้น ซึ่งกระต่ายแต่ละตัวมักจะมีวิธีการแสดงท่าทาง ความกลัวของกระต่าย ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ สภาพแวดล้อม และประสบการณ์ในอดีต เพื่อเป็นการเรียนรู้และเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น บ้านและสวน Pets จึงมี 7 สัญญาณ ความกลัวของกระต่าย พร้อมวิธีการรับมือมาฝากกันค่ะ เมื่อสัตว์เลี้ยงมี อาการกลัว มากกว่าปกติ ต้องทำอย่างไรบ้าง?   1.ท่าทางตื่นตัว (Alert Posture) กระต่ายเป็นสัตว์ที่ใช้ร่างกายในการสื่อสารแทนการส่งเสียงที่อาจเป็นการเปิดเผยตัวตน เมื่อกระต่ายสามารถสัมผัสได้ถึงสิ่งผิดปกติบางอย่างใกล้ตัว กระต่ายจึงมักจะยืดตัวขึ้นสูง ยืนบนขาหลังหรือทั้งสี่ข้าง ตาเบิกกว้าง จมูกมีการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะส่วนหูจะหมุนไปรอบ ๆ เพื่อพยายามค้นหาว่าอันตรายมาจากทิศทางไหน ซึ่งกระต่ายจะทำท่าทางนี้ เพื่อประมวลผลสักครู่หนึ่งก่อนที่จะวิ่งหนีไปหากจำเป็น หรือผ่อนคลายลงเมื่อไม่พบสิ่งผิดปกติ Tips กระต่ายมีหูที่ยาว ประกอบด้วยกระดูกอ่อนเป็นแกน มีหนังบาง ๆ หุ้มเส้นเลือด และเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยง ทำให้กระต่ายสามารถฟังเสียงได้ชัดจากระยะไกล นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้อที่โคนหู เพื่อคอยควบคุมการเคลื่อนไหวและทิศทางของการฟัง […]

อ่านต่อ

เช็คให้ชัวร์ว่ากระต่ายตัวจิ๋วที่เพิ่งซื้อมาเป็นกระต่ายแคระหรือลูกกระต่ายกันแน่ ?

เพราะด้วยขนาด ขนปุกปุย ดวงตากลมโตและความน่ารักน่าฟัดของ กระต่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีรายชื่อของกระต่ายติดอยู่ลำดับต้น ๆ ของสัตว์ที่ใคร ๆ ก็อยากเลี้ยง กระต่ายแคระ จำได้ว่าตอนนั้นบ้านใกล้ ๆ เราเลี้ยงกระต่ายอยู่กรงหนึ่ง ทุก ๆ เช้าพ่อจะพาฉันออกไปดูพวกมันกินอาหารและขออนุญาตเจ้าของอุ้มเล่นพักหนึ่งก่อนกลับบ้าน ฉันเลยรู้สึกว่ามันเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าเอ็นดู ถึงแม้ตัวฉันเองไม่เคยเลี้ยงกระต่ายมาก่อน แต่ความรู้สึกนี้ก็ย้อนกลับมาอีกครั้งตอนที่ฉันได้เห็นกระต่ายตัวเล็ก ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือในกรงที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงในตลาดจตุจักร แม่ค้าโฆษณาว่ามันคือ กระต่ายแคระ โตเต็มที่ได้ใหญ่กว่าที่เห็นไม่มากนัก my home  เพื่อนของฉันที่ไปด้วยกันซื้อมันกลับมาบ้านคู่หนึ่ง แต่ไม่นานนักทั้งสองตัวก็เริ่มป่วยและทยอยตายลงภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน หลังจากนำร่างกระต่ายผู้โชคร้ายทั้งสองตัวไปตรวจกับสัตวแพทย์ คุณหมอแจ้งความจริงที่น่าตกใจให้เราทราบว่ามันไม่ใช่กระต่ายแคระอย่างที่คนขายบอก แต่มันคือลูกกระต่ายต่างหาก แม้ว่าเดี๋ยวนี้จะมีผู้พัฒนาสายพันธุ์กระต่ายมากมาย แต่ก็ไม่มีชนิดไหนที่เรียกได้ว่าเป็นกระต่ายแคระอย่างที่ชอบโฆษณากัน ลูกกระต่ายพวกนี้จะถูกพรากจากอกแม่ตั้งแต่อายุเพียง 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่หย่านมก่อนจะส่งเข้ามาขายตามร้านค้าสัตว์เลี้ยง เพียงเพราะมันมีขนาดเล็กดูน่ารักขายได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่แข็งแรงและได้รับการดูแลที่ไม่ถูกต้องก่อนจะเสียชีวิตภายในเวลาไม่นาน เนื่องจากขาดภูมิคุ้มกันที่มันควรจะได้รับจากแม่ และโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ ข้อสังเกตความแตกต่างของลูกกระต่ายกับ กระต่ายแคระ นอกจากขนาดตัวที่เล็กกว่ากระต่ายทั่วไปแล้ววิธีสังเกตยังมีอีกหลายข้อเช่น ฟันที่เพิ่งขึ้นเพียงเล็กน้อย การปิด-เปิดเปลือกตาที่ยังทำได้ไม่ดีนัก หรือวิธีการเดินที่ยังไม่แข็งแรงว่องไวขาอ่อนแรงถ้าใครเผลอซื้อมาแล้วใช่ว่าจะไม่มีทางรอดซะทีเดียว แต่ก็ต้องเข้าใจลูกกระต่ายเหล่านี้ จำเป็นต้องดูแลให้มากเป็นพิเศษและมีความเสี่ยงสูงกว่ากระต่ายโตเป็นธรรมดา การดูแลลูกกระต่าย ลูกกระต่ายวัยนี้ต้องการอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้งกว่ากระต่ายตัวโต ต้องใช้นมสำหรับลูกสุนัขหรือลูกแมวโดยเฉพาะ […]

อ่านต่อ