กฎหมายสัตว์เลี้ยง
- Home
- กฎหมายสัตว์เลี้ยง
การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง คืออะไร อันตรายหรือไม่
การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครฯ ที่กำลังประกาศบังคับใช้ ให้เจ้าของที่ครอบครองสัตว์เลี้ยงทุกตัวต้องขึ้นทะเบียน และฝังไมโครชิป การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง คือขั้นตอนที่ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ที่สัตวแพทย์จะใช้เครื่องมือฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร หรือไมโครชิป ซึ่งถูกออกแบบมาโดยใช้วัสดุพิเศษ ให้สามารถฝังอยู่ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงได้ตลอดชีวิต และไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย ตำแหน่งที่นิยมใช้ฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยงคือ บริเวณด้านหลังของสัตว์เลี้ยง ระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้าง (ยกเว้นนก ที่ฝังบริเวณช่วงอก) สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่สามารถฝังไมโครชิปเกือบทั้งหมด ในต่างประเทศที่บังคับใช้กฎหมายสัตว์เลี้ยงแล้ว เจ้าของมักจะฝังไมโครชิปให้สัตว์เลี้ยงพร้อมกับการทำหมัน การฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง เปรียบเสมือน บัตรประจำตัวของสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงตั้งแต่อายุ ภายในไมโครชิปประกอบด้วยเลขประจำตัวของสัตว์เลี้ยง จำนวน 15 หลัก ซึ่งไมโครชิปแต่ละตัวจะมีตัวเลขที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อระบุข้อมูลประจำตัวของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น ๆ และเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับในอนาคต โดยข้อมูลที่ระบุในไมโครชิป ประกอบด้วย การอ่านข้อมูลในไมโคชิปทำได้โดยการสแกนด้วยเครื่องอ่านไมโครชิป จากนั้นข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในไมโครชิปก็จะไปปรากฎบนเครื่องอ่าน ทำให้ทราบข้อมูลสำคัญของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น ๆ ดังนั้น ในแง่ของ ประโยชน์จากการฝังไมโครชิปในสัตว์เลี้ยง จึงทำให้เกิดการระบุอัตลักษณ์ที่ชัดเจนให้กับตัวสัตว์มากขึ้น และยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีก เช่น ขั้นตอนในการฝังไมโครชิพ ไมโครชิปแตกหักเสียหายได้ หรือไม่ เนื่องจากไมโครชิปที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังของสัตว์เลี้ยงมีขนาดเล็กมาก จึงยากต่อการแตกหักเสียหาย และเมื่อฝังลงไปแล้ว […]
อ่านต่อสภา กทม. ผ่านข้อบัญญัติคุมการเลี้ยงสัตว์ เจ้าของต้องแจ้งจำนวน และฝังไมโครชิป
สภา กทม. ผ่าน ขอบัญญัติควบคุมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อแก้ไขปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด โดยกำหนดจำนวนการเลี้ยงตามขนาดพื้นที่ และเจ้าของต้องฝังไมโครชิปสุนัขและแมวทุกตัว ความรับผิดชอบต่สัตว์เลี้ยงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่จำนวนสัตว์เลี้ยงได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกิดปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด ตามมา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตั้งแต่ตัวเจ้าของ ไปจนถึงระดับนโนบาย จึงต้องหามาตรการร่วมกันในเรื่องการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกิดสวัสดิภาพต่อทุกฝ่าย ทั้งสัตว์เลี้ยง เจ้าของ และผู้อื่นในสังคม ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 นายนภาพล จีระกุล สมาชิกสภากรุงเทพ เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. … ได้รายงานผลการพิจารณาร่างข้อบัญญัติฯ ของคณะกรรมการวิสามัญฯ เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ก่อนจะมาถึงการลงมติเห็นชอบในประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางสภากรุงเทพมหานคร ได้เปิดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย หน่วนงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย และมูลนิธิที่ทำงานด้านสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยง โดยความเห็นส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางที่ว่า สมควรกำหนดเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ และเหตุเดือดร้อนรำคาญในกรุงเทพมหานครฯ หนึ่งในเนื้อหาสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจคือ การกำหนดจำนวนสัตว์เลี้ยงต่อขนาดพื้นที่ โดยมีรายละเอียด […]
อ่านต่อ