Dog Zone

สุนัขพันธุ์บอร์ซอย: ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

สุนัขพันธุ์บอร์ซอย เป็นสุนัขที่เคยจำกัดอยู่เฉพาะชนชั้นสูงของรัสเซีย สง่างาม รักเจ้าของ และกระตือรือร้น ก่อนจะหายไปเกือบหมดจากเหตุการณ์ทางการเมือง และกลับมาเพิ่มจำนวนได้อีกครั้ง ประวัติ สุนัขพันธุ์บอร์ซอย (Borzoi) สุนัขพันธุ์บอร์ซอยเป็นที่รู้จักในชื่อ Russian wolfhound มีถิ่นกําเนิดที่ประเทศรัสเซีย สุนัขพันธุ์นี้ถูกเลี้ยงโดยผู้ที่เป็นชนชั้นสูงของประเทศรัสเซียเพื่อใช้ล่าหมาป่า และสัตว์อื่น ๆ โดยเป็นที่รู้จักตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 สุนัขพันธุ์นี้ถูกนำมาเป็นของขวัญแก่พวกขุนนางท่านอื่น ๆ ในทวีปยุโรป และแทบไม่มีการซื้อขายเลย เนื่องจากสุนัขพันธุ์ถูกมองว่า เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง และเกือบหายไปจนหมดเนื่องจากเหตุการณ์ปฏิวัติ Bolshevik หลังจากนั้น ผู้เพาะพันธุ์เพียงไม่กี่คนที่ยอมอุทิศตนเพื่อรักษาสุนัขสายพันธุ์นี้ไว้ ทำให้จำนวนบอร์ซอยเพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกได้ โดยเฉพาะสหราชอาณาจักร แคนาดา และสหรัฐอเมริกา สุนัขบอร์ซอยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในช่วงนั้น และในปี 1914 สมาคม United Kennel Club ได้รับรองมาตรฐานสายพันธุ์ โดยใช้ชื่อ Russian wolfhound จากนั้นในปี 1936 หลังจากเกิดการถกเถียงกันอย่างยาวนานของสมาชิกในสมาคมสายพันธุ์สุนัขในสหรัฐฯ ก็ข้อสรุปชื่อใหม่ว่า บอร์ซอย ซึ่งมาจากภาษารัสเซีย แปลว่า ว่องไว ลักษณะทางกายภาพ […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด ลักษณะสายพันธุ์ และการเลี้ยงดู

สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด สุนัขพันธุ์พื้นเมืองของสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขขี้เล่น กระตือรือร้น กล้าหาญ ร่าเริง คล่องแคล่ว เป็นมิตร ไม่ก้าวร้าว และมีนิสัยคล้ายคน ประวัติ สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ด (Australian Shepherd) สุนัขพันธุ์ออสเตรเลียนเชพเพิร์ดมีถิ่นกำเนิดมาจากสหรัฐอเมริกา เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมือง ที่ในอดีตถูกนำเข้ามาใช้เป็นสุนัขต้อนฝูงแกะเมริโนที่เมืองบาสก์ ในประเทศสเปน โดยต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับสุนัขพันธุ์บาสก์เชพเพิร์ด (Basque Shepherd) ที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย และถูกนำเข้ามาในสหรัฐอเมริกา จากบันทึกคาดว่าในระหว่างนั้นได้มีการผสมพันธุ์กับสุนัขพันธุ์หนึ่ง (ที่คาดว่ามีสายพันธุ์คอลลี่ผสมอยู่) ในสหรัฐอเมริกา จึงเป็นเหตุผลที่สุนัขสายพันธุ์นี้ถูกตั้งชื่อเป็น ออสเตรเลียน เชพเพิร์ด ในปี 1950 สุนัขพันธุ์นี้ได้เป็นที่รู้จักและเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้สุนัขสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 ได้มีการจัดตั้งองค์กร The Australian Shepherd Club of America (ASCA) เป็นองค์กรหลักในการจดทะเบียนสายพันธุ์สุนัขพันธุ์นี้ ก่อนที่จะมีการจดทะเบียนของสมาคม The American Kennel Club (AKC) ในเวลาต่อมา ในปี 1979 สมาคม […]

อ่านต่อ

ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย สก็อตทิชเทอร์เรีย (Scottish Terrier)

สุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย จากประเทศสกอตแลนด์ เป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มีลักษณะที่เฉพาะ คือหัวยาว ตาสีดำ หูยาว ปลายหูแหลม ขนปกคลุมมีลักษณะเรียบสลับกับขนหยาบ ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย สุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย (Scottish Terrier) หรือมีชื่อที่รู้จักกันว่า สก็อตตี้ (Scottie) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสกอตแลนด์ (Scotland) เป็นสุนัขพันธุ์หนึ่งที่อยู่มาอย่างยาวนาน และเป็นต้นกำเนิดของสุนัขพันธุ์เทอร์เรียทั้งหมด ในอดีตถูกนำมาใช้เป็นสุนัขล่าสัตว์ เนื่องจากมีความสามารถในการไล่จับสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ขนาดเล็ก ในปี 1430 ได้มีการจัดทำนวนิยายเกี่ยวข้องกับสุนัขพันธุ์สก็อตทิชเทอร์เรีย จึงทำให้เป็นสุนัขที่รู้จักกันมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 17 (อยู่ระหว่างปี 1601 – 1700) มีพระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง (กษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ที่หนึ่ง) ได้ส่งสุนัขพันธุ์นี้ไปให้กษัตริย์ของประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นกษัตริย์ทรงโปรดสุนัขพันธุ์นี้ จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการเริ่มเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นจนถึงศตวรรษที่ 20 ในประเทศฝรั่งเศส จากนั้นในปี 1800 สุนัขพันธุ์เทอเรีย ถูกจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ แดนดีดินมอนต์ (Dandie Dinmont) และ สกายเทอร์เรีย (Skye Terriers) […]

อ่านต่อ
สุนัขพันธุ์เบอร์นี เมาน์เทนด็อก

สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก: ลักษณะประจำสายพันธุ์ นิสัย และการดูแล

สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีความฉลาด สง่างาม และมีความเป็นสุนัขกีฬาของสุนัขกลุ่มภูเขา ประวัติ สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก (Bernese Mountain Dog) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดเป็นสุนัขหนึ่งในสี่ของสุนัขภูเขาสวิต (Swiss Sennenhund) ซึ่งถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นโดยมีชาวโรมันนำสุนัขกลุ่มโมลอสเซอร์ (Molosser) ผสมกับสุนัขที่นำมาใช้ในสงครามบนเทือกเขาแอลป์สวิต (Swiss Alps) หลังจากนั้นนำลูกที่ได้ไปผสมกับสุนัขพันธุ์พื้นเมือง (swiss landrace dog) ทำให้ได้สุนัขพันธุ์ภูเขาสวิตที่เป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์เบอร์นีส เมาท์เทนด็อก หลังจากนั้นได้มีการนำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำไปต้อนวัว การเป็นผู้นำฝูง และการดูแลพื้นที่ภายในฟาร์ม เป็นต้น ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ได้มีการจัดแสดงโชว์ Swiss Dog Club เพื่อให้เห็นถึงนิสัย ความฉลาด ความสง่างาม และความเป็นสุนัขกีฬาของสุนัขกลุ่มภูเขา หลังจากนั้นได้มีการนำสุนัขไปแสดงโชว์ที่กรุงเบิร์นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทำให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในกลุ่มคนเลี้ยงสุนัข ในขณะเดียวกันสภา Southland District Council (SDC) ได้ตั้งชื่อให้สุนัขอย่างเป็นทางการคือ “สุนัขพันธุ์เบอร์นีส เมาท์เทนด็อก” […]

อ่านต่อ
สุนัขพันธุ์บาสเซ็ตฮาวด์, บาสเซ็ตฮาวด์,

สุนัขพันธุ์บาสเซ็ตฮาวด์ – ลักษณะสายพันธุ์ และนิสัย

สุนัขพันธุ์บาสเซ็ตฮาวด์ มีลักษณะรูปร่างแคระ และขาสั้น ในอดีตเคยทำงานร่วมกับมนุษย์ในฐานะสุนัขล่าสัตว์ ประวัติ สุนัขพันธุ์บาสเซ็ตฮาวด์ สุนัขสายพันธุ์บาสเซ็ตฮาวด์ (Basset Hound) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเชื่อกันว่า สุนัขพันธุ์นี้เกิดจากการกลายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ บลัดฮาวด์ (Bloodhound) ทำให้สุนัขมีลักษณะรูปร่างแคระและขาสั้น โดยคำว่า บาสเซ็ต (Basset) มาจากภาษาฝรั่งเศส คำว่า บาส (Bas) หมายถึง ต่ำหรือเตี้ย ในอดีตสุนัขพันธุ์บาสเซ็ตฮาวด์ ได้ถูกนำมาเป็นสุนัขล่าสัตว์ เช่น กระต่าย เป็นต้น เนื่องจากมีลักษณะขาสั้น เดินช้า มีร่างกายที่แข็งแรง และประสาทการดมกลิ่นที่ดี จึงนิยมนำมาใช้ในการล่าสัตว์ เมื่อสุนัขได้กลิ่นของกระต่ายจะทำการวิ่งเข้าหา เพื่อให้กระต่ายออกจากพุ่มไม้ หรือที่ซ่อนตัว ในศตวรรษที่ 19 ได้มีการออกล่าสัตว์เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้มีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมการล่าสัตว์ จนกระทั่งหลังศตวรรษที่ 19 ได้มีการแพร่พันธุ์ไปที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเลี้ยงจากการเลี้ยงเพื่อใช้ล่าสัตว์ เป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัว ในปี 1885 สมาคม The American Kennel Club […]

อ่านต่อ

อะลาสกัน มาลามิวท์: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

อะลาสกัน มาลามิวท์ สุนัขที่มีความจงรักภักดี เป็นมิตร มีปฏิสัมพันธ์ ความสนใจ ขี้เล่น ซื่อสัตว์ต่อเจ้าของเป็นอย่างมาก และสามารถเป็นเพื่อนเจ้าของได้ ประวัติสายพันธุ์ อะลาสกัน มาลามิวท์ สุนัขพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute) หรือสะกดตามหลักการทับศัพท์ว่า อะแลสกัน มาลามิวต์ เป็นสุนัขที่มีพละกำลัง และมีร่างกายขนาดใหญ่ และแข็งแรง โดยบรรพบุรุษของสายพันธุ์อาศัยมีจุดกำเนิดในภูมิภาคอะแลสกา ที่เป็นดินแดนน้ำแข็งปกคลุม สุนัขสายพันธุ์นี้จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็น และเป็นหนึ่งในสุนัขลากเลื่อนอาร์กติกที่เก่าแก่ที่สุด ที่มาของชื่อสายพันธุ์ มาจากการตั้งชื่อตามชนเผ่าเอสกิโม (Innuit) ที่มีชื่อว่า Mahlemuts ผู้ตั้งรากฐานอยู่ริมชายฝั่ง Kotzebue Sound ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคอะแลสกา พวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่นำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งาน ดังนั้น จึงเกิดการตั้งชื่อสายพันธุ์ตามชื่อชนเผ่าของพวกเขา และได้กำเนิดชื่อสายพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ มาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตสุนัขพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ ได้ถูกนำมาเป็นสุนัขลากเลื่อนบนพื้นน้ำแข็ง คอยช่วยชาวเอสกิโมในการลากแมวน้ำกลับบ้าน จนกระทั่งปี 1940 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ […]

อ่านต่อ
สุนัขเป็นโรคผิวหนัง, วิธีรักษา, โรคผิวหนังในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง : 10 ปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข

สุนัขเป็นโรคผิวหนัง เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพของสุนัขที่พบได้บ่อย และเจ้าของหลายท่านก็กำลังมองหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่เหมาะสม สุนัขเป็นโรคผิวหนัง หรือเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ได้จากหลายสาเหตุ และเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่สัตวแพทย์กล่าวว่า พบได้บ่อยในสุนัข ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข จึงช่วยให้เจ้าของสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง อาการที่กำลังบ่งบอกว่า สุนัขกำลังเผชิญกับปัญหาโรคผิวหนัง สุนัขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมักไม่มีอาการของโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นจนสังเกตได้ บนผิวหนังของสุนัขก็เช่นกัน ผิวหนังและเส้นขนของสุนัขที่มีสุขภาพดี ควรมีสัมผัสที่นุ่มลื่น ไม่มีตุ่ม ไม่ลักษณะผิวหนังแห้งจนลอก หรือไม่มีสีแดง โดยสุนัขที่มีปัญหาเรื่องผิวหนังมักแสดงอาการต่อไปนี้ 10 โรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข 1. โรคภูมิแพ้ อาการแพ้สิ่งต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยบนผิวหนังของสุนัข ตั้งแต่การแพ้ปรสิต อย่างเห็บและหมัด แพ้อาการ ไปจนถึงสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น เชื้อรา และสารเคมี เป็นต้น เมื่อสุนัขสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น หรือสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ จะทำให้กลไกในร่างกายต่อต้าน และเกิดอาการคันอย่างรุนแรงตามมา โดยการรักษาเบื้องต้น เจ้าของต้องรีบหาสาเหตุของการแพ้ให้พบก่อน และพยายามไม่ให้สุนัขไปสัมผัส หรือได้รับสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ และถ้ามีอาการแพ้รุนแรง ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ 2. ปรสิตภายนอก ปรสิตภายนอกที่พบได้บ่อยในสุนัขได้แก่ เห็บ […]

อ่านต่อ

โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก : ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก สายพันธุ์สุนัขที่มีความอ่อนโยน เป็นมิตร ขี้เล่น พร้อมด้วยรูปร่างที่น่าเอ็นดู ด้วยขนยาวสีขาวปกคลุมใบหน้า และดวงตา ประวัติสายพันธุ์ โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก สุนัขพันธุ์ โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก (Old English Sheep Dog) หรือมีชื่อเล่นว่า Bobtail มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะบริเตนใหญ่ (Great Britain) ตั้งอยู่บริเวณแอตแลนติคเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป และได้นำถูกไปเลี้ยงในเมืองเดวอน (Devon) และซัมเมอร์เซ็ท (Somerset) ในประเทศอังกฤษ ในอดีตสุนัขพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขทำงาน เช่น ใช้เพื่อต้อนฝูงโค กระบือ ฝูงแกะ (Continental sheep herding dog) สำหรับเกษตรกรในระหว่างวัน และเป็นสุนัขเลี้ยงในเวลากลางคืน ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 ได้มีการนำเข้ามายังประเทศอเมริกาเป็นครั้งแรก และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชนชั้นสูงของชาวอเมริกา สุนัขพันธุ์นี้จึงได้ถูกนิยามเป็น “สุนัขคนรวย” (“rich […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ซามอยด์: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

สุนัขพันธุ์ซามอยด์ สุนัขขนฟูสีขาว พร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม ที่ตกใครต่อใครมาแล้วทั่วโลก ประวัติ สุนัขพันธุ์ซามอยด์ สุนัขพันธุ์ซามอยด์ (Samoyed) มีประวัติมาอย่างยาวนาน มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ในอดีตมีชื่อพันธุ์ว่า Moustan of Argenteau และได้มีการเปลี่ยนเป็นชื่อ Samoyed เมื่อปี ค.ศ. 1906 หลังได้รับการจดทะเบียนขึ้นของสมาคม The American Kennel Club (AKC) ในอดีต สุนัขพันธุ์ซามอยด์ได้ถูกนำมาเป็นสุนัขทำงาน เช่น ใช้ล่าหมี ใช้ต้อนกวางเรนเดียร์ ปกป้องอาหารชาวบ้านจากสัตว์ที่มารุกราน และใช้เป็นสุนัขลากรถเลื่อน จนกระทั่ง ในช่วงปลายปี 1800 ซามอยด์ได้นำเข้ามายังประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก เพื่อนำถวายแก่พระราชินีอเล็กซานดรา (Queen Alexandra) และพระราชินีทรงโปรดปรานสุนัขพันธุ์นี้มาก จากนั้น เมื่อปี 1906 ซามอยด์ได้มีการนำเข้ามายังประเทศอเมริกาเป็นครั้งแรก เป็นของขวัญจาก แกรนด์ดยุกปีเตอร์ นิไคโลวิช แห่งรัสเซีย (Russia’s Grand Duke Nicholas) หลังจากนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลายเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มสุนัขที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติก สมาคม […]

อ่านต่อ
เซนต์เบอร์นาร์ด

เซนต์เบอร์นาร์ด: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

เซนต์เบอร์นาร์ด สุนัขตัวใหญ่ ใจดี ปรับตัวง่าย รักความสงบ ไม่ก้าวร้าว รักเจ้าของ และต้องการความดูแลเอาใจใส่สูง ประวัติสายพันธุ์ เซนต์เบอร์นาร์ด สุนัขพันธุ์ เซนต์เบอร์นาร์ด (Saint Bernard) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) พบในช่วงเวลาเดียวกับสุนัขพันธุ์ เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก (Bernese Mountain Dog) มีความเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงกันทางพันธุกรรม ในรัชสมัยของออกัสตัส กรุงโรมได้เข้ามารุกรานบริเวณเทือกเขาแอลป์สวิต (Swiss Alps) และได้จับสุนัขที่อาศัยบนเทือกเขาแอลป์สวิตกลับไป จากนั้นได้ถูกนำมาผสมพันธุ์กับสุนัขสวิส เชพเพิร์ด (Swiss shepherd dog) และสุนัขต้อนสัตว์กลุ่มสุนัขภูเขา จึงได้ถือกำเนิดเป็นสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้น โดยสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ดจัดเป็นหนึ่งในสุนัขสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้น ในเวลาต่อมาสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเฝ้าบ้านพักรับรองโดยพระชาวสวิส (hospice care) ในช่วงต้น ค.ศ. 1800 ได้มีการเขียนชีวประวัติสายพันธุ์ ในขณะเดียวกันมีนักท่องเที่ยวสูญหายบริเวณบ้านพักรับรอง จึงได้มีการนำสุนัขพันธุ์นี้ตามหานักท่องเที่ยวที่สูญหายและสามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้สำเร็จ จึงได้รับสมญานามว่าเป็น สุนัขนักบุญ (Saint) และในช่วงกลางศตวรรษได้มีการตั้งชื่อ “เซนต์เบอร์นาร์ด” ให้แก่สุนัขสายพันธุ์นี้อย่างเป็นทางการ ในช่วง ค.ศ. 1900 […]

อ่านต่อ

นมทดแทนสำหรับลูกสุนัข : ก้าวแรกที่สำคัญของสุขภาพที่แข็งแรง

สุขภาพของลูกสุนัขในวัยแรกเกิดคือช่วงเวลาสำคัญของชีวิต สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตจึงช่วยให้ลูกสุนัขมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง แม้ว่าสุนัขจะมีสัญชาตญาณความเป็นแม่ในการเลี้ยงดูลูกสุนัขแรกเกิดตามธรรมชาติอยู่แล้วก็ตาม การดูแลจากเจ้าของสุนัขก็มีส่วนสำคัญในการดูแลลูกสุนัขร่วมด้วยเช่นกัน นมทดแทนสำหรับลูกสุนัข นมแม่คือ แหล่งสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูกสุนัข ในช่วงวัยแรกเกิด หรือ the early stages of life ร่างกายของลูกสุนัขยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันก็ยังไม่แข็งแรง จึงเป็นช่วงวัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย นมแม่สุนัขจึงเป็นอาหารเพียงแหล่งเดียวที่เหมาะสม และมีสารอาหารครบถ้วนที่สุดกับลูกสุนัขวัยแรกเกิด สัตวแพทย์ด้านโภชนาการอาหารให้ความคิดเห็นไว้ว่า “สำหรับลูกสุนัขแล้ว นมแม่สุนัข คือสารอาหารที่จำเป็นที่สุด เนื่องจากประกอบไปด้วย พลังงาน โปรตีน กรดไขมันจำเป็น รวมไปถึงแร่ธาตุ อย่างแคลเซียม และฟอสฟอรัส ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกสุนัข” แต่ในกรณีที่แม่สุนัขมีปัญหาเรื่องการให้นม ปัญหาด้านสุขภาพของลูกสุนัข หรือให้เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงในช่วงการหย่านม เจ้าของสุนัขจะใช้อาหารชนิดใดทดแทนนมแม่สุนัขได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีสารอาหารที่มีประโยชน์ใกล้เคียงนมแม่สุนัขมากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลมากมายที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้นมแพะ เป็นนมทดแทนแม่สุนัข แต่รู้หรือไม่ว่า แม้ลูกสุนัขจะกินนมแพะได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่ส่วนประกอบของสารอาหารในนมแพะนั้น แตกต่างจากนมแม่สุนัขอย่างสิ้นเชิง และยังขาดสมดุลทางโภชนาการที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของลูกสุนัขด้วย ตัวเลือกที่เหมาะสมย่อมมีส่วนช่วยให้ลูกสุนัขแข็งแรงสมวัย ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขมีมากมายหลายรูปแบบให้เลือก แต่สิ่งที่ควรพิจารณามากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสุนัขควรมีสารอาหารใกล้เคียงกับนมแม่สุนัขมากที่สุด โดยเจ้าของสามารถปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับส่วนประกอบต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ได้ […]

อ่านต่อ
สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ,

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่เฉย ๆ

สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ เป็นอาหารปกติหลังจากที่สุนัขวิ่งเล่น หรือออกกำลังกายจนเหนื่อย ซึ่งเป็นกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุนัข อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เรากลับพบว่า สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่สุนัขไม่ได้ทำกิจกรรมหนักจนเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหมายถึงร่างกายของสุนัขกำลังเกิดความผิดปกติบางอย่าง ที่เราต้องรีบหาสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่สุนัขหายใจหอบและถี่ อาการแลบลิ้น และหายใจหอบเหนื่อย เป็นกระบวนการระบายความร้อนตามธรรมชาติของสุนัข ซึ่งเป็นจังหวะการหายใจที่มีลักษณะเร็วและตื้น ร่วมกับการแลบลิ้น โดยปกติแล้ว อัตราการหายใจปกติของสุนัขคือ 30-40 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อสุนัขมีอาการหอบอัตราการหายใจอาจเพิ่มขึ้นได้เป็น 10 เท่าหรือ 300-400 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเป็นการหายใจหอบแบบผิดปกติ สุนัขจะแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น ลิ้นห้อย น้ำลายยืด อ้าปากค้าง เหงือกเปลี่ยนเป็นสีซีด หรือมีอาการส่งเสียงร้องครางผ่านทางจมูก ดังนั้น เจ้าของจึงต้องคอยสังเกตอาการหอบปกติของสุนัขและเปรียบเทียบกับอาการหอบที่เกิดขึ้นว่าแตกต่างไปจากปกติหรือไม่ เหล่านี้คือ สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการหายใจหอบผิดปกติ 1. ฮีตสโตรกอากาศร้อนในประเทศไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้สุนัขเกิดภาวะฮีตสโตรก หรือลมแดด ได้ง่าย โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่สุนัขอยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันและเมื่อความร้อนสะสมเป็นเวลานานฃ ก็จะทำให้สุนัขลิ้นห้อย หอบหายใจแรง น้ำลายไหล เหงือกเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม และอาจอาเจียนออกมาได้ […]

อ่านต่อ