Dog Zone
- Home
- Dog Zone
สุนัขเป็นโรคผิวหนัง : 10 ปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข
สุนัขเป็นโรคผิวหนัง เป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพของสุนัขที่พบได้บ่อย และเจ้าของหลายท่านก็กำลังมองหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่เหมาะสม สุนัขเป็นโรคผิวหนัง หรือเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบผิวหนัง ได้จากหลายสาเหตุ และเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่สัตวแพทย์กล่าวว่า พบได้บ่อยในสุนัข ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข จึงช่วยให้เจ้าของสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง อาการที่กำลังบ่งบอกว่า สุนัขกำลังเผชิญกับปัญหาโรคผิวหนัง สุนัขที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมักไม่มีอาการของโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นจนสังเกตได้ บนผิวหนังของสุนัขก็เช่นกัน ผิวหนังและเส้นขนของสุนัขที่มีสุขภาพดี ควรมีสัมผัสที่นุ่มลื่น ไม่มีตุ่ม ไม่ลักษณะผิวหนังแห้งจนลอก หรือไม่มีสีแดง โดยสุนัขที่มีปัญหาเรื่องผิวหนังมักแสดงอาการต่อไปนี้ 10 โรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในสุนัข 1. โรคภูมิแพ้ อาการแพ้สิ่งต่าง ๆ เป็นหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยบนผิวหนังของสุนัข ตั้งแต่การแพ้ปรสิต อย่างเห็บและหมัด แพ้อาการ ไปจนถึงสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ฝุ่น เชื้อรา และสารเคมี เป็นต้น เมื่อสุนัขสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น หรือสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ จะทำให้กลไกในร่างกายต่อต้าน และเกิดอาการคันอย่างรุนแรงตามมา โดยการรักษาเบื้องต้น เจ้าของต้องรีบหาสาเหตุของการแพ้ให้พบก่อน และพยายามไม่ให้สุนัขไปสัมผัส หรือได้รับสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ และถ้ามีอาการแพ้รุนแรง ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ 2. ปรสิตภายนอก ปรสิตภายนอกที่พบได้บ่อยในสุนัขได้แก่ เห็บ […]
อ่านต่อสุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่เฉย ๆ
สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ เป็นอาหารปกติหลังจากที่สุนัขวิ่งเล่น หรือออกกำลังกายจนเหนื่อย ซึ่งเป็นกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุนัข อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง เรากลับพบว่า สุนัขแลบลิ้น และหายใจหอบ ทั้ง ๆ ที่สุนัขไม่ได้ทำกิจกรรมหนักจนเหนื่อย อาการเหล่านี้อาจหมายถึงร่างกายของสุนัขกำลังเกิดความผิดปกติบางอย่าง ที่เราต้องรีบหาสาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่สุนัขหายใจหอบและถี่ อาการแลบลิ้น และหายใจหอบเหนื่อย เป็นกระบวนการระบายความร้อนตามธรรมชาติของสุนัข ซึ่งเป็นจังหวะการหายใจที่มีลักษณะเร็วและตื้น ร่วมกับการแลบลิ้น โดยปกติแล้ว อัตราการหายใจปกติของสุนัขคือ 30-40 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อสุนัขมีอาการหอบอัตราการหายใจอาจเพิ่มขึ้นได้เป็น 10 เท่าหรือ 300-400 ครั้งต่อนาที แต่ถ้าเป็นการหายใจหอบแบบผิดปกติ สุนัขจะแสดงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น ลิ้นห้อย น้ำลายยืด อ้าปากค้าง เหงือกเปลี่ยนเป็นสีซีด หรือมีอาการส่งเสียงร้องครางผ่านทางจมูก ดังนั้น เจ้าของจึงต้องคอยสังเกตอาการหอบปกติของสุนัขและเปรียบเทียบกับอาการหอบที่เกิดขึ้นว่าแตกต่างไปจากปกติหรือไม่ เหล่านี้คือ สาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการหายใจหอบผิดปกติ 1. ฮีตสโตรกอากาศร้อนในประเทศไทยเป็นปัจจัยที่ทำให้สุนัขเกิดภาวะฮีตสโตรก หรือลมแดด ได้ง่าย โดยมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่สุนัขอยู่ภายใต้อุณหภูมิสูง และร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันและเมื่อความร้อนสะสมเป็นเวลานานฃ ก็จะทำให้สุนัขลิ้นห้อย หอบหายใจแรง น้ำลายไหล เหงือกเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม และอาจอาเจียนออกมาได้ […]
อ่านต่อโรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัข
โรคพิษสุนัขบ้า ในสุนัข หรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อที่ไม่ได้เกิดขึ้นในสุนัขเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดในสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย สาเหตุของการเกิด โรคพิษสุนัขบ้า โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อเรบีไวรัส (Rabies virus) ผ่านการกัดโดยสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคอยู่แล้ว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว เชื้อจะเดินทางผ่านจากระบบไหลเวียนโลหิตเข้าสู่ระบบประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมองในที่สุด จากนั้นเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในสมอง และเชื้อจะแพร่ตามเส้นประสาทสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำลาย ซึ่งหากสัตว์ที่มีเชื้อในต่อมน้ำลายไปสัตว์ตัวอื่น หรือมนุษย์ เชื้อพิษสุนัขบ้าก็จะติดต่อผ่านน้ำลายที่ไปสัมผัสกับบาดแผลบนร่างกาย อาการโรคพิษสุนัขบ้า ในสัตว์เลี้ยง เมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว โดยทั่วไปจะแสดงอาการประมาณ 14 – 90 วัน หรืออาจนานกว่านั้น โดยอาการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ สัตว์แสดงอาการแบบดุร้าย สัตว์ที่ติดเชื้อจะเริ่มเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก น้ำลายไหลมากกว่าปกติ นิสัยเปลี่ยนไป ก้าวร้าวมากขึ้น แสดงอาการตื่นเต้น ร้องโหยหวน ดุร้าย ถึงขั้นทำร้ายมนุษย์ วิ่งชนสิ่งกีดขวาง และอาการจะแย่ลงเมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่สมอง สัตว์จะเป็นอัมพาต ล้มตัวลงนอน ชัก และเสียชีวิตในที่สุด […]
อ่านต่อสุนัขขนร่วง มากกว่าปกติ เกิดจากอะไร
สุนัขขนร่วง อาจเป็นเรื่องปกติในช่วงฤดูผลัดขน แต่ถ้าเราพบว่า สุนัขที่เลี้ยงไว้ขนร่วงมากเกินไป อาจกำลังหมายถึงมีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับพวกเขาก็ได้ สุนัขขนร่วง เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อน ที่ทำให้สุนัขปรับตัวโดยการผลัดขน เพื่อเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ซึ่งเรียกว่าการผลัดขน และเมื่อเวลาผ่านไป สุนัขก็จะมีขนใหม่กลับขึ้นมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม เจ้าของบางท่านอาจพบว่า สุนัขขนร่วงมากกว่าผิดปกติ เช่น ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ และไม่มีขนใหม่งอกขึ้นมา หรือร่วงโกร๋นจนมองเห็นรอยแดงบนผิวหนัง ซึ่งอาการเหล่านี้เริ่มนำความกังวลมาสู่เจ้าของ ที่ต้องรีบหาสาเหตุอย่างเร่งด่วน สุนัขขนร่วงผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณที่กำลังบอกเราว่า น้องกำลังมีปัญหาทางสุขภาพ อาจเกิดจาก 5 สาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคผิวหนังที่เกิดกับสุนัขส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และปรสิตภายนอก โดยสุนัขสามารถติดเชื้อเหล่านี้ได้ผ่านที่อยู่อาศัยที่ไม่สะอาด ทั้งภายในและภายนอกบ้าน หรือบางรายอาจติดเชื้อมาจากสุนัขตัวอื่น ที่เป็นโรคอยู่แล้ว ตามลักษณะทั่วไปของการติดเชื้อที่ผิวหนัง สุนัขมักแสดงอาการคันร่วมด้วย สุนัขจะเกาตัวบริเวณที่เป็นรอยโรคมากกว่าปกติ จนอาจทำให้ผิวหนังถลอกได้ ดังนั้น เจ้าของจึงควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจว่า สุนัขกำลังติดเชื้อโรคชนิดใด และรักษาตามอาการโดยเร็ว เพื่อยับยั้งอาการคัน และส่วนใหญ่ โรคติดเชื้อที่ผิวหนังเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ความเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ การเกิดโรคในระบบอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบผิวหนัง […]
อ่านต่อสุนัขอ้วกเป็นฟองสีขาว เกิดจากอะไร
ในฐานะของผู้ปกครองของน้องหมา ความผิดปกติของลูกรักย่อมนำมาซึ่งความกังวลใจ โดยเฉพาะเมื่อเราพบว่า สุนัขอ้วกเป็นฟองสีขาว ซึ่งเราก็ไม่ทราบสาเหตุว่า เกิดจากอะไรกันแน่ สุนัขอ้วกเป็นฟองสีขาว สัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม แม้ว่าเรายังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า สุนัขอ้วกเพราะอะไร แต่สัตวแพทย์ส่วนใหญ่ได้แนะนำวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้นไว้ว่า ให้เรานึกย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ว่าสุนัขกินอะไรเข้าไป ร่วมกับการสังเกตสีของอ้วก จำนวนครั้ง และช่วงเวลาที่เริ่มมีความผิดปกติ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจำเป้นหากต้องนำน้องไปพบสัตวแพทย์ สาเหตุที่สุนัขอ้วกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ในทางเดินอาหารมีพยาธิ สุนัขเผลอกินยาหรือสารพิษบางชนิด การเปลี่ยนอาหารกะทันหัน และการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย ในระบบทางเดินอาหาร รูปแบบของอ้วกและความน่าจะเป็นของสาเหตุ สุนัขอ้วกออกมาเป็นเม็ดเล็ก ๆการอ้วกลักษณะนี้มักเกี่ยวข้องกับอาหาร โดยบางครั้งเราสามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้เลยว่า เม็ดอาหารยังไม่ย่อยและมีลักษณะนุ่มเหลว อ้วกเป็นก้อนลักษณะนี้ก็มีสาเหตุมาจากอาหารเช่นกัน มีเศษอาหารที่ไม่ย่อยปะปนออกมาด้วย และมักเกิดขึ้นทันทีหลังจากเพิ่งกินอาหารเสร็จ เนื่องจากสุนัขกินอาหารเร็วเกินไป หรือกินเสร็จแล้ววิ่งทันที อ้วกเป็นของเหลวสาเหตุที่ทำให้สุนัขอ้วกเป็นของเหลวมัไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร อาจมีฟองหนืด ที่มีสีขาว หรือขาวเหลือง สีของอ้วกอาจบ่งบอกสาเหตุได้ อ้วกสีเหลือง – สุนัขอาจมีกรดสะสม กรดไหลย้อน หรือได้รับสารเคมีที่ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ โดยมักเกิดขึ้นตอนท้องว่างอ้วกเป็นฟองสีขาว – สุนัขอ้วกเป็นฟองสีขาว เกิดจากมีกรดสะสมในกระเพาะมากเกินไป โดยฟองสีขาวที่เกิดขึ้น เนื่องจากของเหลวเคลื่อนที่ไปทั่วทางเดินอาหารก่อนอ้วกออกมาอ้วกเป็นสีน้ำตาล – อาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย เพราะสุนัขกินอาหารเร็วเกินไปอ้วกเป็นสีเขียว – อาจเกิดจากสุนัขกินหญ้าเข้าไป […]
อ่านต่อสุนัขตาอักเสบ ดูแล และรักษาอย่างไร
สุนัขตาอักเสบ หนึ่งในโรคเกี่ยวกับดวงตาของสุนัข ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เจ้าของจึงควรป้องกัน และดูแลพวกเขาตั้งแต่เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติ อาการ และสาเหตุ สุนัขตาอักเสบ สุนัขสามารถเกิดอาการตาอักเสบได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณดวงตา และเปลือกตา สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตาในสัตว์เลี้ยง กล่าวว่า อาการดวงตาอักเสบจากการติดเชื้อ แสดงออกได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค และระยะเวลาที่ได้รับเชื้อ โดยอาการจะรุนรงขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการในช่วง 24 ชั่วโมง หลังจากดวงตาติดเชื้อ สุนัขจะมีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ กระพริบตาถี่ ๆ บ่อยขึ้น เปลือกตาบวมแดง มีขี้ตาที่ข้นเหนียวผิดปกติ และอาจจะไม่ยอมลืมตา หลังจากนั้น หากยังไม่ได้รับการรักษา อาการอักเสบจะรุนแรงขึ้น อาจมีหนองที่บริเวณดวงตา เปลือกตาบวมแดงรุนแรง และดวงตาปิดสนิท สุนัขบางตัวอาจส่งเสียงร้องเนื่องจากความเจ็บปวด สาเหตุการติดเชื้อที่พบได้บ่อยคือ การเกิดแผลถลอกบริเวณดวงตา หรือเกิดรอยขีดข่วนที่กระจกตา โดยรอยแผลถลอกอาจเกิดได้จากปัจจัยภายนอก เช่น ฝุ่นหรือเม็ดทรายเข้าตา กิ่งไม้ข่วนตาขณะวิ่งผ่านพุ่มไม้ และแชมพูเข้าตาระหว่างการอาบน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ สุนัขที่เกา หรือขยี้ตาแรง ๆ ก็มีโอกาสเกิดบาดแผลที่ดวงตา จนนำไปสู่การติดเชื้อได้ […]
อ่านต่อสุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง
สุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง เป็นคำถามที่เจ้าของหลายท่านอยากทราบ เพื่อการดูแลไม่ให้อาการของโรครุนแรงขึ้นกว่าเดิม หนึ่งในคำถามที่้ทางทีมงานบ้านและสวน Pets ได้พูดคุยกับสัตวแพทย์หลายท่าน โดยเป็นคำถามที่พบบ่อยมากที่สุดในช่วงนี้คือ สุนัขเป็นลําไส้อักเสบ กินอะไรได้บ้าง และโรคนี้ก็เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้ทั่วไปในสุนัขวัยเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ สาเหตุและอาการของโรคลำไส้อักเสบในสุนัข โรคลำไส้อักเสบในสุนัข เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อพาร์โวไวรัส (Parvovirus) โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับสุนัขอายุ 2 – 3 เดือน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับยังไม่ครบ ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัสกับอุจจาระของสุนัข ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกาย สุนัขที่ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบจะแสดงอาการ อาเจียนบ่อยครั้ง ท้องเสีย ถ่ายมีมีเลือดปนออกมา อุจจาระมีกลิ่นคาว น้ำหนักลด เซื่องซึม และเบื่ออาหาร การรักษาโรคลำไส้อักเสบในสุนัข ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคลำไส้อักเสบโดยตรง สัตวแพทย์จะรักษาตามอาการที่แสดงออก เพื่อลดความรุนแรง และฟื้นฟูความแข็งแรงของร่างกายไปพร้อม ๆ กัน โดยการงดน้ำและอาหารในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากสุนัขแสดงอาการติดเชื้อ เพื่อลดการทำงานของลำไส้ พร้อมกับการให้สารน้ำผ่านทางใต้ผิวหนัง เพื่อรักษาภาวะร่างกายขาดน้ำ ควบคู่กับการให้ยาปฏิชีวนะ สุนัขเป็นลําไส้อักเสบกินอะไรได้บ้าง ลูกสุนัขที่ป่วยเป็นลำไส้อักเสบควรได้รับอาหารอ่อน ๆ ที่ย่อยง่ายสำหรับสุนัขป่วย ซึ่งมีจำหน่ายที่โรงพยาบาลสัตว์ และคลินิกสัตวแพทย์ อย่างไรก็ตาม ถ้าสุนัขไม่ยอมกินอาหาร และร่างกายเริ่มอ่อนแรง […]
อ่านต่อสุนัขเดินยกขา หรือท่าทางการเดินผิดปกติ อาจกำลังมีปัญหาสะบ้าเคลื่อน
สุนัขเดินยกขา หรือร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม สัญญาณเบื้องต้นของโรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข ในระหว่างการเจริญเติบโตทางร่างกายของสุนัข ความผิดปกติอย่างหนึ่งที่สามารถพบเจอได้คือ การเจริญของกระดูกโครงร่างผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคสะบ้าเคลื่อนในสุนัข (Patella luxation) โดยอาการที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น สุนัขเดินยกขา ท่าทางการเดินผิดจากปกติ หรือส่งเสียงร้องเจ็บเมื่อเจ้าของเข้าไปอุ้ม “ส่วนใหญ่ โรคสะบ้าเคลื่อนมักเกิดในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ปอมเมอเรเนียน มอลทีส และชิวาวา เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็พบโรคนี้ในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ได้เช่นกัน” น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ สัตวแพทย์ แผนกระบบกระดูกและข้อต่อ โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน กล่าวและเสริมว่า “ในปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ โรคนี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย เช่น การเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกไม่สัมพันธ์กัน” ดังนั้น ในการวินิจฉัยจึงเรียกรวมๆ ว่า ความผิดปกติทางโครงสร้างในระหว่างสุนัขกำลังเจริญเติบโต นอกจากนี้ น.สพ.บูรพงษ์ กล่าวว่า สะบ้าเคลื่อนอาจเกิดได้จากการกระทบ กระแทก การถูกรถชน หรือการถูกตี ก็อาจทำให้แนวการเจริญเติบโตที่ขาของสุนัขเสียหายได้ ส่งผลให้ขาของสุนัขคดงอ และบิดเบี้ยว เมื่อสุนัขต้องเผชิญโรคสะบ้าเคลื่อน น.สพ.บูรพงษ์ อธิบายว่า “โรคสะบ้าเคลื่อนเป็นความผิดปกติของตำแหน่งลูกสะบ้าในท่าที่สุนัขอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้ สะบ้าที่ผิดจากตำแหน่งปกติสามารถหลุดไปอยู่ได้ทั้งด้านนอกและด้านในของข้อเข่า ซึ่งร้อยละ 80 – […]
อ่านต่อโรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข (Retinal Diseases)
จอประสาทตา หรือ Retina เป็นอวัยวะที่มีลักษณะเป็นแผ่นโปร่งแสงอยู่ที่ด้านหลังสุดของดวงตา มีเซลล์จอตา (photoreceptors) ทำหน้าที่รับและรวมแสงส่งไปยังสมอง เพื่อแปลผลกลับมาเป็นภาพให้เรามองเห็น ซึ่งเซลล์จอประสาทตาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เซลล์จอตารูปแท่ง (rod photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะแสงน้อยหรือในที่มืด และเซลล์จอตารูปกรวย (cone photoreceptors) ทำงานได้ดีในสภาวะที่มีแสงสว่างหรือช่วงเวลากลางวัน ทำให้ โรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาในสุนัข มีผลอย่างมากต่อการมองเห็น หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียการมองเห็นไป โรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเฉียบพลัน (Sudden Acquired Retinal Degeneration : SARD) ทําให้หมาสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน (ประมาณ 2-3 วัน จนถึงสัปดาห์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตาทั้งสองข้าง และพบได้ในน้องหมาทุกช่วงวัย แต่มีรายงานว่าพบได้บ่อยในช่วงกลางวัยของสุนัข ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เรายังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบความสัมพันธ์กับภาวะฮอร์โมนต่อมหมวกไตเกินขนาด หรือ Cushing’s syndrome ในสุนัขบางราย จึงอาจทําให้น้องหมาบางตัวมีอาการกินน้ํามาก ปัสสาวะมาก และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นร่วมด้วย สันนิษฐานว่าเกิดจากการหลั่ง steroid-like substance จึงไปสร้างความเป็นพิษต่อจอประสาทตา (Retinotoxic) โดยเข้าไปทําลายชั้นของเซลล์รับแสง ทั้งเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง […]
อ่านต่อโรคเปลือกตาม้วนเข้า และม้วนออก (Entropion & Ectropion eyelids)
โรคเปลือกตาม้วนเข้าข้างใน (Entropion Eyelids) โรคเปลือกตาม้วนเข้า หรืออาการหนังตาม้วนเข้าในนั้น เกิดจากพันธุกรรม อาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง พบได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข หรือมาพบเมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น และพบว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว กลุ่มสุนัขพันธุ์หน้าสั้นจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดหนังตาม้วนเข้าหนังตาม้วนเข้า เพราะ สุนัขประเภทนี้จะมีผิวหนังขอบตาหนากว่าพันธุ์อื่น ๆ คือ ส่วนของเปลือกตาหดกลับ หรือพับเข้าด้านในของตา (โดนส่วนใหญ่จะเกิดที่เปลือกตาล่าง) ทําให้ขนตาแยงเข้าในลูกตา เกิดการระคายเคืองลูกตา และกระจกตาอักเสบ ประการหลังนี่มักเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แล้วมีการหนาตัวของผิวหนังบริเวณขอบตาเกิดขึ้นด้วย จึงมีโอกาสเกิดหนังตาม้วนเข้าได้ วิธีสังเกตอาการ กระจกตาอักเสบ ระคายเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติ มีเมือก หรือหนองออกมาจากตา เนื่องจากหนังตาม้วนเข้าในสุนัขและแมว จะทําให้เกิดการระคายเคืองตา ทําให้แสดงอาการน้ำตาไหลมากกว่าปกติ ตาแดง หากเกิดหนังตาม้วนเข้าเป็นเวลานาน อาจทําให้เกิดตาเปลี่ยนสี กระจกตาอักเสบ รวมถึงเมื่อเกิดหนังตาม้วนเข้าอาจพบขี้ตาสีเขียว เมือก หรือหนองออกจากดวงตา การรักษาและวิธีการป้องกัน โรคเปลือกตาม้วนเข้า สามารถรักษาได้โดยการใช้ยาหยอดตา หรือครีม เพื่อลดอาการระคายเคือง การผ่าตัดขลิบเอาหนังตาออกบางส่วน โรคหนังตาม้วนเข้าในเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมจึงไม่สามารถป้องกันได้ สุนัขพันธุ์เสี่ยง เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม Bulldog, Pug, Pekinese, American […]
อ่านต่อโรคขี้เรื้อนแห้ง และขี้เรื้อนเปียกในสุนัข
โรคผิวหนังในสุนัขที่ทุกคนมักจะรู้จักกัน คงหนีไม่พ้นโรคขี้เรื้อน ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปโดยเฉพาะสุนัขจรจัดตามถนน เพราะ โรคขี้เรื้อนนี้เกิดจากปรสิตภายนอกที่สามารถติดต่อกันได้ในสุนัข โรคเรื้อนในสุนัข มีด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ โรคขี้เรื้อน แห้ง และขี้เรื้อนเปียก โดยเกิดจากปรสิตต่างชนิดกันดังนี้ โรคขี้เรื้อนแห้ง (Canine scabies) โรคขี้เรื้อนแห้งเกิดจาก Sarcoptes scabiei เป็นตัวไรขี้เรื้อนที่ทำเกิดอาการเกาคันอย่างรุนแรง เจ้าตัวไรขี้เรื้อนชนิดนี้ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า โดยเจ้าไรที่ว่านี้สามารถสืบพันธุ์ออกไข่ ออกลูกหลานได้อีกมากมายเรียกว่าอาศัยอยู่บนผิวหนังสุนัขเป็นชุมชนกันเลยทีเดียวค่ะ บริเวณที่พบได้บ่อยคือขอบใบหู ใต้ท้อง ข้อศอกและข้อเท้าของขาหลังด้านนอก สุนัขจะคันมากและเกาจนผิวหนังอักเสบ คันจนไม่สามารถใช้ชีวิต หรือทำกิจกรรมในแต่ละวันได้อย่างปกติ ทำให้เกิดความเครียด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด บางตัวขนร่วง มีตุ่มแดง สะเก็ดรังแค (scale) เกิดคราบสะเก็ดแห้งกรัง (crust) หรือเกิดลักษณะผิวแห้งหนา (lichenification) ร่วมด้วย ในกรณีที่เลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ต้องพาสัตว์เลี้ยงที่มีอาการ โรคขี้เรื้อน ทุกตัวมารักษาด้วย เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย ติดต่อกันได้ไวมาก มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัขได้เรื่อย ๆ ที่สำคัญอาจจะมีอาการคันเกิดขึ้นได้กับเจ้าของเช่นกันนะคะ การวินิจฉัย สังเกตจากลักษณะผิวหนัง และเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน […]
อ่านต่อภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน Patent Ductus Arteriosus (PDA)
ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน หรือ Patent Ductus Arteriosus (PDA) เกิดจากหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) กับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (Pulmonary artery) ไม่ปิดลง โดยความผิดปกตินี้เป็นความผิดปกติของเส้นเลือดตั้งแต่กำเนิด หลอดเลือดทั้งสองเส้นนี้ เป็นหลอดเลือดที่ส่งเลือดออกจากหัวใจ โดยภาวะการมีอยู่ของเส้นเลือด ductus arteriosus สามารถพบได้เป็นปกติเมื่อลูกสัตว์ยังอยู่ในครรภ์ ในขณะที่ปอดยังไม่ทำงาน (ยังไม่สามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง) โดยสัตว์ที่อยู่ในครรภ์จะได้รับออกซิเจนผ่านทางรก ซึ่งมีหลอดเลือดดักตัสอาร์เทอริโอซัส (Ductus arteriosus) เป็นหลอดเลือดหลักในการนำเลือดจากหัวใจผ่านข้ามปอด (ซึ่งในขณะเป็นตัวอ่อนยังไม่ทำงาน) ไปยังหลอดเลือดแดง aorta ที่ส่งเลือดแดงไปเลี้ยงทั่วร่างกาย แต่ภายหลังการคลอด ปอดเริ่มมีการทำงานเส้นเลือดที่เป็นทางเชื่อมไปยังหลอดเลือดแดง aorta คือหลอดเลือด Ductus arteriosus เปิดอยู่ ไม่ฝ่อหายไป จึงเกิด ภาวะที่เรียกว่า Patent ductus arteriosus หรือ ภาวะหลอดเลือดหัวใจเกิน ภายหลังลูกสัตว์คลอดและมีการหายใจครั้งแรก หลอดเลือด Ductus arteriosus จะถูกกระตุ้นให้หลอดเลือดปิดลง โดยหลอดเลือดนี้ จะตีบลงกลายเป็นเอ็น (ligament) ที่ยึดหลอดเลือดทั้งสอง การปิดของหลอดเลือด Ductus […]
อ่านต่อ