โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข โรคร้ายที่ต้องเฝ้าระวัง

โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข เป็นโรคติดเชื้อในระบบประสาท ที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Rabies) ทำให้เสียชีวิตได้ มักเกิดจากการถูกสัตว์กัด ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด สามารถติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้ พาหะของโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ สุนัข และ แมว เป็นต้น

สาเหตุของการเกิด โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข เกิดจากเชื้อเรบีไวรัส (Rabies virus) ผ่านการกัดโดยสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคอยู่แล้ว เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว เชื้อจะเดินทางผ่านจากระบบไหลเวียนโลหิตเข้าสู่ระบบประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมองในที่สุด

จากนั้นเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในสมอง และเชื้อจะแพร่ตามเส้นประสาทสู่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำลาย ซึ่งหากสัตว์ที่มีเชื้อในต่อมน้ำลายไปสัตว์ตัวอื่น หรือมนุษย์ เชื้อพิษสุนัขบ้าก็จะติดต่อผ่านน้ำลายที่ไปสัมผัสกับบาดแผลบนร่างกาย

อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

เมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่ร่างกายของสัตว์แล้ว โดยทั่วไปจะแสดงอาการประมาณ 14 – 90 วัน หรืออาจนานกว่านั้น โดยอาการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

โรคพิษสุนัขบ้า, พิษสุนัขบ้าในสุนัข, โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

1. สัตว์แสดงอาการแบบดุร้าย

สัตว์ที่ติดเชื้อจะเริ่มเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก น้ำลายไหลมากกว่าปกติ นิสัยเปลี่ยนไป ก้าวร้าวมากขึ้น แสดงอาการตื่นเต้น ร้องโหยหวน ดุร้าย ถึงขั้นทำร้ายมนุษย์ วิ่งชนสิ่งกีดขวาง และอาการจะแย่ลงเมื่อเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าสู่สมอง สัตว์จะเป็นอัมพาต ล้มตัวลงนอน ชัก และเสียชีวิตในที่สุด โดยอาการของโรคจากขั้นเริ่มต้นมาจนถ7งขั้นเสียชีวิต ใช้เวลาประมาณ 2 – 7 วัน

2. สัตว์แสดงอาการเซื่องซึม

ในกลุ่มนี้ สัตว์จะแสดงอาการดุร้ายก้าวร้าวสั้นมาก จนแทบไม่ทันได้สังเกต อาการจะเข้าสู่การเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว เซื่องซึมเกือบตลอดเวลา น้ำลายไหลมาก การทำงานของกล้ามเนื้อขาไม่สัมพันธ์กัน อาการสุดท้ายจะเกิดการชัก และเสียชีวิต นอกจากนี้ ในบางตัวยังพบว่า สัตว์จะแสดงอาการกล้ามเนื้อกระตุก ใบหูบิด หางบิด มีอาการไอคล้ายมีสิ่งแปลกปลอดติดคอ และร้องเสียงแหบต่ำ

โรคพิษสุนัขบ้า, พิษสุนัขบ้าในสุนัข, โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

การตรวจวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข

โรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขจะสังเกตได้ยากในระยะแรก เนื่องจากอาการต่าง ๆ ปรากฏไม่ชัดเจน และบางครั้งโรคบางโรคมีอาการคล้ายคลึงกับที่พบในโรคพิษสุนัขบ้า เช่น อซีโตนีเมีย (Acetonemia) ไฮโปแมกซีเมีย (Hypomagnesemia) โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง อาการระหว่างเป็นสัดทั้งในเพศผู้และเพศเมีย สิ่งแปลกปลอมภายในช่องปากและลำคอ การขาดวิตามินเอ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการเป็นโรคนี้โดยตรวจหาเชื้อภายในตัวของสุนัขด้วยเทคนิคทางสัตวแพทย์

การรักษาโรคพิษสุนัขบ้า

ถ้าสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้ว การรักษาด้วยการฉีดวัคซีนให้กับสัตว์อาจได้ผลไม่แน่นอน เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น สัตว์อาจได้รับวัคซีนช้าเกินไป ขนาดและโปรแกรมวัคซีนไม่เหมาะสม บาดแผลลึกและอยู่ใกล้ใบหน้า หรือเป็นลูกสัตว์ที่สุขภาพยังไม่แข็งแรง เป็นต้น

การควบคุมและป้องกัน

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุด คือ ระวังอย่าให้สัตว์เลี้ยงของเราถูกสุนัขกัดหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อส่วนใหญ่าจากน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรคอยู่แล้ว และการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี

โรคพิษสุนัขบ้า, พิษสุนัขบ้าในสุนัข

โรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์

สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์เกิดจากสุนัข แมว หรือสัตว์ที่มีเชื้อโรค กัด ข่วน หรือเลีย โดยเชื้อที่อยู่ในน้ำลายสัตว์จะผ่านเข้าสู่ร่ากายของมนุษย์ผ่านทางบาดแผล หรือเยื่ออบุผิวเช่น ริมฝีปาก และเยื่อบุตา

ระยะฟักตัวของเชื้อในคน

การติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในคน แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อพิษสุนัขบ้าจะมีระยะฟักตัวของโรคไม่เกิน 1 ปี โดยความไวของการแสดงโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อวัยวะที่ถูกกัด ความรุนแรงของบาดแผล ชนิดของสัตว์ ปริมาณเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย และวิธีปฏิบัติหลังจากถูกกัด เป็นต้น

  1. ระยะที่เชื้อเดินทางจากตำแหน่งที่เข้าไปยังระบบประสาท
  2. ระยะเชื้อเพิ่มจำนวนในระบบประสาทส่วนกลาง
  3. ระยะที่เชื้อเดินทางจากระบบประสาทส่วนกลางออกสู่อวัยวะอื่น

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่กลุ่มคนที่มีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในกลุ่มที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า เช่น เจ้าหน้าที่ชันสูตรโรคพิษสุนัขบ้า สัตวแพทย์ นักสัตววิทยา ผู้ปฏิบัติงานควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในภาคสนาม ผู้พิทักษ์สัตว์ป่า ผู้มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ (โดยเฉพาะสุนัข แมว และสัตว์ป่า) และรวมถึงบุคลากรในสถานบริการสาธารณสุข

แนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อสัมผัสกับสัตว์ ที่อาจสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

  1. ถ้าร่างกายของเราไม่มีแผล หรือรอยถลอก แล้วไปสัมผัสตัวสัตว์ หรือถูกเลีย ให้ล้างทำความสะอาดบริเวณนั้นด้วยน้ำสบู่ โดยไม่ต้องไปฉีดวัคซีน
  2. สัตว์เลี้ยงขบกัดเป็นรอยช้ำที่ผิวหนัง ถูกข่วน หรือถูกเลียบริเวณที่มีแผลถลอก ให้ล้างทำความสะอาดบาดบริเวณนั้น และไปฉีดวัคซีน
  3. ถ้าสัตว์เลี้ยงกัด หรือข่วน จนเลือดออก หรือถูกเลียบริเวณใบหน้า ให้ล้างทำความสะอาดแผล และไปฉีดวัคซีน

โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีวัคซีนรักษาแล้วก็จริง แต่การป้องกันสัตว์เลี้ยง และตัวเราเองให้ห่างไกลจากโรคพิษสุนัข ย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่าการรักษา.

บทความโดย ณภัทรดนัย

ข้อมูลอ้างอิง

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ – โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ (Rabies)

โรงพยาบาลวิภาวดี – 7 เรื่องน่ารู้… กับโรคพิษสุนัขบ้า

มหาวิทยาลัยมหิดล – โรคติดเชื้อที่มาจากสุนัข


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – โรคพิษสุนัขบ้าในแมว โรคร้ายที่ต้องระวัง