โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
- Home
- โกลเด้น รีทรีฟเวอร์
โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (DLSS)
โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ (Degenerative Lumbosacral Stenosis หรือ DLSS) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการที่มีการเสื่อมของโครงสร้างรอบ ๆ โพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบ ทำให้เกิดการตีบแคบจนเกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณนั้น อาการเด่นชัดของ โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบ คือ จะพบอาการปวดที่บริเวณหลังด้านท้าย (Low Back Pain) ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขขนาดใหญ่และอายุมาก สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากหลากหลายความผิดปกติอาจเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่ การเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนมากดทับเส้นประสาท cauda equina การบวมของเส้นเอ็นตรงรอยต่อกระดูกสันหลังส่วนเอวและก้นกบ การงอกของกระดูกที่สร้างขึ้นใหม่ตรงรูที่เส้นประสาทออกมา โรคโพรงกระดูกสันหลังบริเวณเอวและก้นกบตีบแคบมักมีรายงานบ่อยในสุนัขพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด ซึ่งเป็นสุนัขที่นิยมนำมาฝึก เพื่อใช้งาน เช่น ใช้เป็นสุนัขตำรวจ หรือ สุนัขทหาร เป็นต้น ในประเทศไทยนอกจากสายพันธุ์ดังกล่าวยังสามารถพบได้ในสายพันธุ์อื่นได้อีก ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ บางแก้ว ดัลเมเชียน รวมทั้งพันธุ์ผสม เป็นต้น นอกจากนี้สามารถพบในสุนัขพันธุ์เล็กได้บ้าง เช่น พูเดิ้ล มินิเจอร์พินเชอร์ เป็นต้น หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากการที่สุนัขมีกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างหนัก เช่น การกระโดด การวิ่ง หรือ การฝึก เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เหนี่ยวนำทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อกระดูกเอวและก้นกบอย่างรุนแรงและเป็นประจำ […]
อ่านต่อโรคลมชักในสุนัขและแมว (epilepsy)
โรคลมชักในสุนัขและแมว หรือ epilepsy เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีคลื่นไฟฟ้าในสมองผิดปกติ หรืออาจเรียกได้ว่าเกิดไฟฟ้ารั่วในสมอง ทำให้เกิดอาการชัก (seizure) ให้เห็น โดยสามารถพบได้ทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งอาการ หรือ โรคลมชักในสุนัขและแมว อาจจะพบเห็นได้หลายแบบ ได้แก่ พบเพียงครั้งเดียวแล้วหายไป (isolated seizure) เกิดการชักซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง (cluster seizure) หรือเกิดการชักต่อเนื่องไม่หยุด (status epilepticus) ซึ่งการชักต่อเนื่องไม่หยุดนี้ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินต้องรีบแก้ไขและรีบพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน จุดกำเนิดของไฟฟ้ารั่วหรือจุดลมชัก เรียกว่า seizure focus ชนิดของอาการโรคลมชัก 1. การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (Generalized epilepsy) เป็นการชักที่เกิดขึ้นจากการที่มีการกระจายตัวของกระแสไฟฟ้าที่รั่วไปทั่วทั้งสมอง ทำให้สุนัขแสดงอาการแบบชักเกร็งกระตุกทั้งตัว อาจพบอาการเหยียดเกร็งแหงนคอ (รูปที่ 1) ร่วมกับอาการตะกรุยขาทั้ง 4 ข้าง อาจพบอาการน้ำลายไหล ปัสสาวะหรืออุจจาระราด รวมทั้งสามารถพบอาการร้องครางขณะชักร่วมด้วย บางครั้งจะพบอาการกัดลิ้นได้บ้างเช่นเดียวกับการชักในคน พบอาการได้ตั้งแต่เพียงแค่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายนาทีได้ การชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวจะพบการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวร่วมด้วย บางครั้งสุนัขหรือแมวสามารถพบอาการก่อนจะมีอาการชักได้ เช่น เดินวน กระวนกระวาย ร้อง […]
อ่านต่อโรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (Gastric Dilatation and Volvulus : GDV)
Gastric Dilatation and Volvulus (GDV) หรือ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน จัดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตต้องได้รับการรักษาในทันที โดยมักจะเกิดขึ้น ประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง หลังจากการกินอาหารเข้าไปเป็นปริมาณมากใน 1 มื้อ โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน คือ การที่กระเพาะอาหาร (Stomach) มีการขยายตัวคล้ายลูกโป่ง หรือเรียกว่า “Bloat” หรือ Gastric Dilatation จากการมีปริมาณแก๊ส น้ำ และอาหารที่สัตว์กินสะสมอยู่มากกว่าปกติ และถ้าเกิดการบิดหมุนของกระเพาะอาหารที่มีอาหารและแก๊สขึ้น จะก่อให้เกิด โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดหมุน (GDV) ซึ่งสามารถเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือการระบายแก๊สออกจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะมีขั้นตอนกระบวนการนำแก๊สออกจากกระเพราะอาหารได้หลายวิธี เพราะในขณะที่กระเพาะอาหารเริ่มมีการพองขยายใหญ่ แรงดันในกระเพาะอาหารจะเริ่มสูงขึ้น และเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวมากขึ้นและบิดหมุนไปมาภายในช่องท้อง เรียกว่า “Volvulus” โดยการบิดหมุนของกระเพาะอาหารบางส่วนจะมีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งสามารถเกิดการบิดตัวของกระเพาะอาหารได้ตั้งแต่ 180-360 องศา การบิดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 180 องศาตามเข็มนาฬิกา การขยายตัวและบิดทำให้ไปกดเส้นเลือดหลักที่เดินทางเข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ เลือดบริเวณช่องท้องไหลกลับเข้าสู่หัวใจน้อยลง การไหลเวียนของเลือดบริเวณช่องท้องลดลง […]
อ่านต่อโรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ (Portosystemic shunts : PSS)
กายวิภาคปกติคือ เส้นเลือดดำ portal (portal vascular system) ซึ่งรับเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น ม้าม ตับอ่อน และระบบทางเดินอาหาร ทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ตับ เพื่อให้ตับทำหน้าที่ในการเผาผลาญสารอาหาร (Metabolize) และกำจัดสารพิษ (Detoxify) ก่อนจะระบายเลือดสู่เส้นเดือดดำ hepatic (hepatic vein) ซึ่งจะต่อกับเส้นเลือดดำ vena cava (รูปที่ 1 A) แต่หากเกิดการลัดเส้นทางเดินของหลอดเลือดจากทางเดินอาหารเข้าตับ จะทำให้ตับขาดการพัฒนาตัวตับเอง เป็นผลทำให้เกิดตับล้มเหลว (Failure of the liver) หรือเกิดตับฝ่อ (Hepatic atrophy) ซึ่งการเกิดตับฝ่อ คือการที่ตับไม่สามารถทำงานได้ดีเหมือนปกติ ความผิดปกตินี้ส่งผลทำให้ร่างกายได้รับสารพิษ, โปรตีน, และสารอาหารที่ถูกดูดซึม จากลำไส้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดภายในร่างกายทันที หากมีการสะสมมากขึ้น จะก่อตัวเป็นสารพิษนำไปสู่การเกิดโรคสมองจากตับได้ (Hepatic encephalopathy) ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ โรคเส้นเลือดลัดข้ามตับ Portosystemic shunt (PSS) […]
อ่านต่อโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย
โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่ได้รับการพัฒนามาจากสุนัขล่าเหยื่อ เพื่อคอยเก็บเป็ดหรือนกที่ถูกยิงจากเกมกีฬา
อ่านต่อ