พฤติกรรมสัตว์เลี้ยง

ค้นหาคำตอบพฤติกรรม แมวล่าเหยื่อ โดยการวิเคราะห์หนวดแมว

แมวล่าเหยื่อ เพราะอะไร นักวิทยาศาสตร์ได้พยายาามค้นคำตอบพฤติกรรมแมวบ้านที่ชอบไปคาบนกกลับมาที่บ้าน ด้วยการวิเคราะห์ทางรังสีวิทยาจากหนวดของแมว ในสายตาของทาสแมว เราอาจมองเห็นเพียงความน่ารักของเจ้านายตัวขน ในขณะเดียวกัน เราต่างก็รับรู้ว่า แมวยังไม่ทิ้งลายสัตว์นักล่าโดยกำเนิดเช่นกัน โดยเรายังพบพฤติกรรม แมวล่าเหยื่อ ได้ในเหล่าบรรดาแมวจร หรือแม้กระทั่งแมวที่เราเลี้ยงดูเป็นอย่างดี จากการสำรวจในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้แมวบ้านเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (invasive specie) ที่รุกรานชนิดพันธุ์ท้องถิ่น กลายเป็นประเด็น ที่สร้างความกระอักกระอ่วนให้แก่เจ้าของแมวทั่วโลก ด้วยการรายงานจำนวนที่แสดงให้เห็นว่า แมวทั่วโลกได้คร่าชีวิตของสัตว์ปีก ประมาณ 1.4 – 3.7 ล้านตัวต่อปี ในรายงานอีกหลายฉบับเกี่ยวกับการรุกรานของแมวบ้าน ยังพบว่า แมวได้ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก และกระต่าย รวมกันประมาณ 20,000 ล้านตัวทุกปี ข้อมูลเหล่านี้ อาจสร้างคำถามในใจของเจ้าของแมวอย่างเราว่า แมวที่แสนน่ารักของเราทำอย่างนั้น จริงหรือ ทั้ง ๆ ที่พวกเขาก็นอนครางอย่างมีความสุขอยู่ใกล้ ๆ เรา การศึกษาเกี่ยวกับหนวดแมวในปี 2021 ได้ไขข้อสงสัยของเราเกี่ยวกับพฤติกรรมล่าสัตว์ขนาดเล็กของแมวบ้าน ข้อมูลที่นักวิจัยค้นพบอาจทำให้เราประหลาดใจ งานวิจัยครั้งนี้ทำการทดลองอย่างไร ดร. มาร์ตินา เซคคิติ […]

อ่านต่อ

สัตว์เลี้ยงมีความรู้สึก และอารมณ์ หรือไม่ อย่างไร

สัตว์เลี้ยงมีความรู้สึก และมีอารมณ์ หรือไม่ เป็นหัวข้อที่มีการศึกษาวิจัยกันมาอย่างยาวนาน เพื่ออธิบายลักษณะของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์พยายามนำเสนอทฤษฎีในประเด็น สัตว์เลี้ยงมีความรู้สึก และมีอารมณ์ หรือไม่ โดยทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการนำมาประยุกต์ใช้จัดการกับปัญหาพฤติกรรมในทางคลินิก คือทฤษฎีที่นำเสนอโดย Jaak Panksepp ซึ่งได้อธิบายไว้ว่าสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมและนกต่างก็มีอารมณ์พื้นฐานร่วมกัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มอารมณ์ ได้แก่ 1. SEEKING systemsกลุ่มอารมณ์นี้ประกอบไปด้วยอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับความอยาก ความต้องการที่จะสำรวจ หรือทำสิ่งต่าง ๆ เปรียบเสมือนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะผลักดันให้สัตว์มีแรงจูงใจจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา จัดเป็นกลุ่มอารมณ์เชิงบวก นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มอารมณ์ที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดถึงสวัสดิภาพของสัตว์ที่เหมาะสมอีกด้วย ตัวอย่างของพฤติกรรมที่เราจะเห็นจากสัตว์เมื่ออารมณ์ในกลุ่มนี้ทำงาน เช่น การดมสำรวจของสุนัขและแมว การวิ่งไล่จับเหยื่อ เป็นต้น 2. LUST systemsเป็นกลุ่มอารมณ์ที่ผลักดันให้เกิดความต้องการในการหาคู่เพื่อผสมพันธุ์ นำไปสู่การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางเพศต่าง ๆ ถือเป็นอีกกลุ่มอารมณ์ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้เกิดการสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ 3. CARE systemsกลุ่มอารมณ์นี้ผลักดันให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการดูแล ปกป้อง ลูก ๆ ครอบครัว ญาติสนิท หรือแม้แต่เพื่อนที่คุ้นเคยกัน 4. PLAY systemsเป็นกลุ่มอารมณ์ที่ทำให้สัตว์อยากที่จะเข้าหา […]

อ่านต่อ