กระต่ายกินผักอะไรได้บ้าง คำถามพื้นฐานสำหรับผู้ที่ากำลังจะเลี้ยงน้องกระต่ายสักตัว หรือคนที่เลี้ยงน้องอยู่แล้ว และอยากให้น้องกินอาหารชนิดอื่น ๆ บ้าง นอกจากหญ้าแห้งที่ให้กินเป็นประจำ
จากข้อมูลทั้งหลายที่เราต่างรับรู้มาโดยตลอดว่า อาหารที่สำคัญสำหรับกระต่าย คือหญ้าแห้ง อย่างไรก็ตาม ผักและผลไม้บางชนิดก็จัดเป็นอาหารเสริมที่มีประโยชน์ และเป็นขนมสำหรับเพิ่มความสุขในการกินได้ วันนี้ เรามาดูกันว่า กระต่ายกินผักอะไรได้บ้าง
เรื่องที่สำคัญที่สุดก่อนจะให้กระต่ายกินอาหารใด ๆ ก็ตาม เราจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องโภชนาการสำหรับน้องกระต่ายก่อน
น้องกระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องการสารอาหารที่สมดุล และครบถ้วน โดยความต้องการสารอาหารจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ อายุ และน้ำหนักตัว โดยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องอาหารของกระต่าย สัตวแพทย์ได้แนะนำไว้ ดังนี้
- ระบบทางเดินอาหารของกระต่ายมีความไวต่อการเปลี่ยนอาหาร ถ้าน้องได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ และทำให้การย่อยช้าลงได้อย่างรวดเร็ว
- กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่ต้องการอาหารที่มีกากใยสูงจำนวนมาก เพื่อรักษาความแข็งแรงของระบบทางเดินอาหาร
- หญ้าแห้ง เป็นอาหารที่สำคัญที่สุด นอกจากจะช่วยให้กระต่ายมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังช่วยทำให้ฟันคู่หน้าของการต่ายไม่ยาวเกินไป
- ร่างกายของกระต่ายสามารถสร้างสารอาหารบางชนิดขึ้นได้เอง เช่นเดียวกันสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ
สัตวแพทย์อธิบายว่า ระบบย่อยอาหารของกระต่ายมีความคล้ายคลึงกับระบบย่อยอาหารของม้ามากกว่าสัตว์ฟันแทะ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ และกระต่ายแต่ละตัวก็ความต้องการสารอาหารเฉพาะตัว
ยกตัวอย่างเช่น สัตวแพทย์อาจไม่แนะนำให้กระต่ายบางตัวกินอาหารเม็ดสำเร็จรูป หรือกินผักใบเขียวเลย เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพบางประการ เป็นต้น สิ่งสำคัญในฐานะเจ้าของคือ เมื่อได้น้องกระต่ายมาดูแล ควรพาน้องไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์ และรับคำแนะนำเรื่องการดูแลที่เหมาะสมกับน้อง ๆ แต่ละตัว
โดยทั่วไป กระต่ายควรกินอาหารที่ประกอบด้วยหญ้าแห้งเป็นหลัก (ประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณอาหารต่อวัน) เสริมด้วยผักสดในปริมาณน้อย ซึ่งผักปละผลไม้ที่กระต่ายสามารถกินได้ และควรหลักเลี่ยง มีดังนี้
ผักที่กระต่ายกินได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่ควรให้เป็นอาหารหลัก และไม่ควรให้ต่อเนื่องทุกวัน โดยก่อนนำไปให้กระต่าย
แครอท ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน คะน้า คะน้าฮ่องกง (ปริมาณไม่มาก) กวางตุ้ง ผักชีฝรั่ง กะเพรา (อาทิตย์ละ 2-3 ใบ) โหระพา (อาทิตย์ละ 2-3 ใบ) สะระแหน่ ใบบัวบก ข้าวโพดอ่อน ยอดอ่อนแรดิช ผักฮ่องเต้ บร็อกโคลี่ กะหล่ำดาว ผักโขม พริกหวาน (bell pepper) วอเตอร์เครส และต้อนอ่อนข้าวสาลี (Wheat Grass)
ผลไม้ที่กระต่ายกินได้ โดยจำกัดให้เพียงสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง และให้ในปริมาณน้อยมาก ๆ เพื่อเป็นขนม หรืออาหารว่าง และถ้าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ด ให้แกะเมล็ดออกทุกครั้ง
แอปเปิ้ล กล้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ องุ่น เมลอน แตงโม ส้ม มะละกอสุก ลูกพีช ลูกแพร สับปะรด สาลี่ และลูกพลัม
อาหารชนิดอื่น ๆ ที่กระต่ายไม่ควรกิน
อาหารปรุงรสสำหรับมนุษย์ทุกชนิด ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืชอบแห้ง มันฝรั่ง และโยเกิร์ต
อาหารเม็ดอบแห้งสำหรับกระต่าย
อาหารเม็ดเป็นหนึ่งในอาหารที่กระต่ายสามารถกินได้ทุกวัน โดยเน้นย้ำว่า ให้ในปริมาณน้อย เนื่องจากไม่ใช่อาหารหลัก โดยเราสามารถพิจารณาสูตรอาหารที่แนะนำโดยการอ่านข้อมูลทางโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสัตวแพทย์แนะนำสูตรที่เหมาะสมไว้ดังนี้
- ปริมาณไขมันน้อยกว่าร้อยละ 2
- กากใยอาหาร อย่างน้อยร้อยละ 18 (หรือไม่เกินร้อยละ 25)
- โปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 14 – 15
- แคลเซียมไม่เกิน ร้อยละ 1
โดยสูตรนี้เป็นสัดส่วนของสารอาหารสำหรับกระต่ายอายุ 1 ปีขึ้นไป สำหรับลูกกระต่ายอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป จำเป็นต้องได้รับโปรตีนมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของควรให้หญ้าแห้งติดกรงไว้ตลอดเวลา
คำแนะนำเรื่องการให้อาหารกระต่ายในแต่ะวัน
ในแต่ละวัน กระต่ายควรได้รับปริมาณหญ้าแห้งอย่างเพียงพอ และเสริมด้วยผักหรือผลไม้สดเพียงเล็กน้อย พร้อมกับมีน้ำสะอาดให้กระต่ายตลอดเวลา การดูแลกระต่ายให้ได้รับสารอาหารที่สมดุลเป็นเรื่องสำคัญ การให้กระต่ายกินผักหรือผลไม้ควรเริ่มจากปริมาณน้อย ๆ เพื่อประเมินการทำงานของระบบทางเดินอาหาร หากพบความผิดปกติเกิดขึ้นกับกระต่าย หลังจากให้น้องกินผัก หรือผลไม้ ควรพาน้องไปพบสัตวแพทย์ทันที
ข้อมูลอ้างอิง
RSPCA – What is a healthy food diet for pet rabbits?
Best Friends Animal Society – Rabbit Diet: What to Feed a Pet Bunny