อาหารสัตว์เลี้ยง
- Home
- อาหารสัตว์เลี้ยง
อาหารสัตว์เลี้ยง แต่ละประเภท แตกต่างกันอย่างไร
ประเภทของ อาหารสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครวมถึงให้สัตว์เลี้ยงมีมีความต้องการอาหารที่หลากหลาย ตามหลักการโภชนาการสามารถจำแนก ประเภทของ อาหารสัตว์เลี้ยง เป็นสามรูปแบบ ประกอบด้วย ตามหลักโภชนาการ สัตวแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ ไม่สามารถกำหนดได้ว่า อาหารประเภทใดดีที่สุด เพราะอาหารสัตว์แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้น เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรศึกษาข้อดีและข้อควรระวังของอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อการเลือกใช้อาหารสัตว์ได้เหมาะสมมากที่สุด รายละเอียดของอาหารสัตว์เลี้ยงแต่ละประเภท 1. อาหารเปียก มีความชื้นมากกว่าร้อยละ 60 โดยปกติแล้วจะมีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 70 ถึง 80 อาหารเปียกถือว่าเป็นอาหารที่มีความน่ากินมากที่สุดเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น ดังนั้น เมื่อสัตว์เลี้ยงอยู่ในภาวะเจ็บป่วย เบื่ออาหาร กินอาหารยาก หรือต้องป้อนอาหารผ่านสายยาง สัตวแพทย์มักจะเลือกใช้ และแนะนำเจ้าของ ให้อาหารเปียกแก่สัตว์เลี้ยง ข้อดีของอาหารรูปแบบเปียกคือ การส่งเสริมให้สัตว์กินน้ำได้มากขึ้น ถ้าเทียบกันระหว่างน้ำสะอาดกับอาหารเปียก สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะเลือกกินอาหารเปียก ดังนั้น ในกรณีที่ต้องการให้สัตว์เลี้ยงกินน้ำเพิ่มขึ้นเช่น กรณีเป็นโรคไต โรคนิ่ว หรือป้องกันการเกิดนิ่ว เป็นต้น การให้กินอาหารเปียกจะส่งเสริมให้สัตว์เลี้ยงได้รับอาหารเพิ่มขึ้น ข้อควรระวังเมื่อให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารเปียกคือ ถ้าสัตว์เลี้ยงกินอาหารไม่หมดภายใน 30 นาที แนะนำให้ทิ้งอาหารที่เหลือ และล้างภาชนะให้สะอาดทันที เพราะอาหารที่มีความชื้นสูงร่วมกับอากาศร้อนของเมืองไทย ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว […]
อ่านต่อสัตว์เลี้ยงกินเกลือได้หรือไม่ อย่างไร
เราทุกคนต่างทราบดีว่า การบริโภคเกลือมากเกินไปส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว แล้วถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราล่ะ พวกเขากินเกลือได้ไหม ถ้ากินได้ ควรกินมากหรือน้อยแค่ไหน สุนัขกินเกลือได้ไหม สัตว์เลี้ยง อย่างสุนัข และแมว กินเกลือ ได้ไหม? สุนัขกินเกลือได้ไหมคำตอบ คือ กินได้ ร่างกายของสัตว์เลี้ยงต่างก็ต้องการแร่ธาตุที่จำเป็นเช่นเดียวกับมนุษย์ และ “เกลือ” เป็นหนึ่งในแหล่งแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานในระบบต่าง ๆ โดยในเกลือประกอบไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ 2 ชนิดคือ “โซเดียม” และ “คลอไรด์” แร่ธาตุโซเดียมมีส่วนสำคัญในเรื่องรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย เสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ การดูดซึมและลำเลียงอาหาร และการทำงานของไต โดยในสูตรอาหารสัตว์เลี้ยงที่จำหน่ายอยู่ทั่วไป ผู้ผลิตมักจะใส่เกลือในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายของแมวและสุนัข ดังนั้นเราไม่ควรให้อาหารที่มีเกลือเพิ่มเติม รวมถึงอาหารของมนุษย์ที่มีการปรุงรสกับสัตว์เลี้ยง ถ้าสัตว์เลี้ยงได้รับเกลือในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง และอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยงได้ หรือในกรณีที่ได้รับปริมาณมากเกินไปแบบฉับพลัน จะทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดสูงได้ สัญญาณที่บอกว่า สัตว์เลี้ยงกำลังเกิดภาวะโซเดียมในเลือดสูง เมื่อร่างกายของสัตว์เลี้ยงมีโซเดียมสูง สิ่งที่ตามมาคือ ร่างกายจะขาดน้ำ และเสียสมดุลของแร่ธาตุ โดยจะแสดงอาการออกมาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย และปริมาณมาณที่กินเข้าไป อาการในระยะเริ่มต้นได้แก่ กินอาหารน้อยลง อาเจียน ท้องเสีย และเซื่องซึม […]
อ่านต่อสุขภาพดีเริ่มต้นจาก… โภชนาการที่ดี
โภชนาการสำหรับสัตว์เลี้ยง คือกระบวนการคัดเลือกอาหารทั้งประเภทและปริมาณ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสัตว์เลี้ยงเพื่อดูแลรักษาสุขภาพที่ดีให้แก่พวกเขา โดยในอาหารแต่ละประเภทจะประกอบไปด้วย “สารอาหาร” ที่ร่างกายสัตว์เลี้ยงนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตหรือเสริมสร้างการทำงานของอวัยวะภายใน การมีโภชนาการที่ดีสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง ในทางกลับกัน หากสัตว์เลี้ยงได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและครบถ้วน ก็อาจทำให้เกิดความบกพร่องของสุขภาพร่างกายและเกิดโรคต่างๆตามมาได้ เช่น โรคอ้วน หัวใจ ไต ตับ และ นิ่ว เป็นต้น เจ้าของน้องหมาน้องแมวทั้งหลายจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาเลือกอาหารของสัตว์เลี้ยง เพื่อสุขภาพที่ดีให้แก่พวกเขาโดยปัจจัยหลักที่ใช้ประกอบการตัดสินใจก็คือ คุณภาพของอาหารสัตว์เลี้ยง และคุณค่าทางโภชนาการที่น้อง ๆ จะได้รับ โดยในปัจจุบันผู้เลี้ยงให้ความรักและความใส่ใจสัตว์เลี้ยงเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว การเลือกโภชนาการต่าง ๆ สำหรับพวกเขาจึงเป็นสิ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงให้ความสนใจเป็นอย่างมาก คำแนะนำจากสัตวแพทย์ผู้ซึ่งมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดี จึงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเพื่อเลือกโภชนาการที่ถูกต้องให้แก่สัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกัน วิธีการเลือกอาหารตามหลักโภชนาการสำหรับสัตว์เลี้ยง ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ น้องหมาและน้องแมวมีความต้องการทางโภชนาการที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกอาหารที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรเลือกอาหารที่ส่วนประกอบทางโภชนาการที่สมดุลและครบถ้วน เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ ตามธรรมชาติ น้องหมาจัดเป็นสัตว์ที่สามารถกินได้ทั้งเนื้อและพืชเป็นอาหาร (Omnivore) ในขณะที่น้องแมวเป็นสัตว์ที่กินเนื้อเพียงอย่างเดียว (Carnivore) ด้วยเหตุผลนี้ น้องหมาและน้องแมวจึงต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน น้องแมวจำเป็นต้องได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนมากกว่าน้องหมา หากน้องแมวได้รับโปรตีนในปริมาณที่ไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของน้องแมวได้ ซึ่งโปรตีนหลักและสำคัญของร่างกายควรมีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์หรือโปรตีนคุณภาพดีอย่างน้อย 70% โดยในโปรตีนคุณภาพดีจะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย […]
อ่านต่อแมวกินข้าวโพด ได้หรือไม่
คุณผู้ปกครองหลายท่านคงเคยอ่านสูตรอาหารน้องแมว และพบว่าอาหารแมวบางถุงเขียนส่วนผสม “ข้าวโพด” อยู่บนฉลาก และก็เกิดคำถามขึ้นว่า แมวกินข้าวโพด ได้หรือไม่ แมวกินข้าวโพด ได้หรือไม่ อย่างไร ข้าวโพดเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่มนุษย์ใช้ประกอบอาหารในหลากหลายเมนู เช่น ซุปข้าวโพด สลัดผักรวม และเมนูของหวาน อย่างพายข้าวโพด เป็นต้น แต่ข้าวโพดที่ผสมอยู่ในอาหารสัตว์เป็นคนละสายพันธุ์กับที่มนุษย์รับประทาน คำตอบคือ แมวกินข้าวโพด อย่างที่เรากินได้ โดยไม่เป็นอันตราย แต่ระบบทางเดินอาหารของน้องแมว อาจย่อยข้าวโพดได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะธรรมชาติของแมวกินเนื้อสัตว์เป็นหลัก สำหรับข้าวโพด ที่เราพบว่าเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ ได้ผ่านกระบวนการทางการผลิตในโรงงาน เพื่อให้ได้สารอาหารที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของน้องแมว ซึ่งได้ผ่านการคำนวนมาอย่างดีแล้วว่า มีปริมาณที่เหมาะสมกับระบบทางเดินอาหารของน้องแมว นั่นหมายความว่า ถึงแม้เราจะเพลิดเพลินรสหวานจากข้าวโพดมากเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ควรแบ่งข้าวโพดให้น้องแมวกินมากจนเกินไป เพราะอาจไปรบกวนการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้ ข้าวโพดสามารถส่งผลต่อสุขภาพของน้องแมวได้อย่างไรบ้าง ในข้าวโพดประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก ซึ่งถ้าน้องแมวได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป บวกกับไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน อาจนำไปสู่ภาวะโรคอ้วน และในระยะยาวอาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ข้าวโพดยังกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้อาหารในสัตว์เลี้ยงบางชนิด สัตว์แพทย์แนะนำว่า เมล็ดข้าวโพดไม่ใช่อาหารที่เหมาะสมสำหรับแมว เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของฟัน เนื่องจาก เมล็ดข้าวโพดที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้น้องแมวสำลักได้ และอาจจะไปอุดตันทางเดินอาหารของแมว ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในเรื่องนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้น้องแมวกินเมล็ดข้าวโพดที่แกะออกจากซังขเวโพด แต่ควรบดให้ละเอียดในปริมาณเล็กน้อย แล้วผสมหรือโรยหน้าเป็นท็อปปิ้งในอาหารมื้อหลักแทน […]
อ่านต่อJAIKLA ขนมน้องหมา ที่ดีต่อน้องและโลก
ธุรกิจเกี่ยวกับ อาหารสัตว์เลี้ยง กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนทั้งสินค้าและผู้ประกอบการรายใหม่เกิดขึ้นมากมาย ในขณะเดียวกัน ฝั่งผู้บริโภคที่เป็นคุณพ่อคุณแม่สัตว์เลี้ยงก็หันมาใส่ใจเรื่องการดูแลสุขภาพของลูกรักสัตว์เลี้ยงมากขึ้น โดยมีพฤติกรรมเลือก อาหารสัตว์เลี้ยง ที่มีคุณภาพให้แก่สัตว์เลี้ยงของตนเอง ในอดีต สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในรูปแบบ “เจ้าของสัตว์เลี้ยง” แต่ในปัจจุบัน มนุษย์เรียกสัตว์ในความดูแลว่า “ลูก” รูปแบบความสัมพันธ์จึงกลายเป็น “พ่อแม่สัตว์เลี้ยง” ซึ่งแนวคิดความสัมพันธ์ลักษณะนี้นำไปสู่พฤติกรรมการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงที่แตกต่างจากอดีตอย่างสิ้นเชิง พ่อแม่สัตว์เลี้ยงตระหนักถึงสุขภาพ สวัสดิภาพ และการรักษาสัตว์อย่างเหมาะสมมากขึ้น เริ่มต้นจากการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ การตระเตรียมที่อยู่อาศัยภายในบ้านร่วมกับมนุษย์ พาไปพบสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเมื่อสัตว์เลี้ยงเจ็บป่วย เหล่านี้คือการหลอมรวมเอาสัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นหนึ่งในรูปแบบความสัมพันธ์แบบครอบครัว ในขณะเดียวกัน กลุ่มผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง จึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของพ่อแม่สัตว์เลี้ยงในยุคปัจจุบัน เช่น การเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพและหลากหลายมากขึ้น กระบวนการผลิตที่เป็นสากลและปลอดภัย รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจที่ต้องใส่ใจเรื่องความยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่นักลงทุนและประชาคมโลกกำลังให้ความสำคัญ ตามหลักเศรษฐศาสตร์ เมื่อความต้องการสินค้าของพ่อแม่สัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้กำลังการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เกิดเป็นผลกระทบต่อเนื่องไปยังทรัพยากรตั้งต้นที่ต้องนำเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ พืชปศุสัตว์ และวัตถุดิบที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีความกังวลว่าอาจะเกิดผลกระทบระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมทั้งเรื่องการใช้ที่ดินเพื่อผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง และการใช้พลังงานในภาคการผลิตและการขนส่ง จากประเด็นความกังวลที่กระบวนการผลิตจะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ผู้ประกอบการหลายรายจึงหันมาพัฒนาอาหารสัตว์เลี้ยงที่ใช้ “วัตุดิบทางเลือก” เพื่อช่วยลดการบริโภคทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และต้องควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไปพร้อมกัน จะดีกว่าไหม ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลสัตว์เลี้ยงและโลก ไปพร้อมกันได้ ปัจจุบัน การผลิตอาหารมนุษย์เลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกมากขึ้น เพื่อช่วยลดการใช้ทรัพยากรและผลกระทบจากภาวะโลกรวน […]
อ่านต่อรู้หรือไม่ ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป อาจทำให้สุขภาพลูกรักแย่ลงโดยไม่รู้ตัว
คุณกำลังเลี้ยงน้องในพื้นที่จำกัด แบบหอพัก คอนโด ใช่ไหม ? คุณกำลังเลี้ยงน้องในระบบปิด หรือเปล่า ? คุณเลี้ยงน้องในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ ใช่หรือไม่ ? คุณพาน้องไปอาบน้ำ เข้า grooming เสริมหล่อ เสริมสวยกันบ่อย ๆ ใช่ไหม ? ทุกสิ่งที่ทำไป เพราะอยากให้น้อง ๆ สบายตัว สุขภาพดี แต่รู้ไหมว่า อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาโดยไม่รู้ตัว… การเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันได้รับความนิยมจากผู้คนมากขึ้นจนกลายเป็นกระแส Pet Humanization หรือการเลี้ยงสัตว์ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ประกอบกับพฤติกรรมของประชากรในสังคมเมืองที่มีแนวโน้มครองสถานะโสดมากขึ้น และคู่แต่งงานที่ไม่อยากมีบุตร จึงตัดสินใจรับสัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว เมื่อเหตุผลการเลี้ยงสัตว์เปลี่ยนไป รูปแบบการเลี้ยงก็เปลี่ยนตาม เมื่อเจ้าของหันมาดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างประคบประหงมมากขึ้น ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงไม่สามารถแสดงพฤติกรรมบางอย่างได้ตามธรรมชาติ เช่น การออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน การล่าเหยื่อ และการออกกำลังกาย โดยสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในบ้านตลอดเวลา อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพได้ในอนาคต เช่น โรคอ้วน โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคผิวหนัง เป็นต้น ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงบางรายจึงเล็งเห็นความสำคัญของรูปแบบการเลี้ยงที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง และได้พัฒนาสูตรอาหารให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โภชนาการที่เหมาะสมคือจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี สัตว์เลี้ยงมีความต้องการสารอาหารที่แตกต่างจากมนุษย์ […]
อ่านต่อข้อเท็จจริงของอาหารสัตว์เลี้ยงแต่ละประเภท
ประเภทของอาหารสัตว์ ในประเทศไทยมีหลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภครวมถึงให้สัตว์เลี้ยงมีมีความต้องการอาหารที่หลากหลาย
อ่านต่อ