การศึกษาวิจัยพบว่า การนอนกับสัตว์เลี้ยง สร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจแก่เจ้าของ
นอกจากสัตว์เลี้ยงจะยึครองพื้นที่ในหัวใจเราแล้ว พวกเขายังขึ้นมาครองพื้นที่บนเตียงของเราด้วย อย่างไรก็ตาม เราก็เต็มใจให้พวกเขาขึ้นมานอนข้าง ๆ เป็นประจำ เพราะ การนอนกับสัตว์เลี้ยง เป็นหนึ่งในเรื่องที่เจ้าของหลายคนปรารถนา
การศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกัน ที่นอนกับสัตว์เลี้ยง ในเรื่องของความเครียด และคุณภาพการนอน พบว่า เจ้าของที่นอนกับสุนัขมีคุณภาพการนอนหลับค่อนข้างต่ำ แต่กลับพบผลลัพธ์ในทางกันข้ามในกลุ่มเจ้าของที่นอนกับแมว
ผลการศึกษานี้กำลังบอกอะไรกับเรา
ดร. ไบรอัน เอ็น ชิน อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา ผู้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ได้สำรวจชาวอเมริกัน จำนวน 1591 คน ช่วงอายุ 18 – 91 ปี เกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่าง
พบว่า ชาวอเมริกัน 758 คน นอนกับสัตว์เลี้ยง แต่ที่เหลืออีก 833 คน ไม่ได้นอนกับสัตว์เลี้ยง โดยในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยได้นิยาม “การนอนร่วมกัน” ระหว่างมนุษย์กับสัตว์เลี้ยง หมายถึง สัตว์เลี้ยงอยู่ในห้องนอนร่วมกับเจ้าของตลอดทั้งคืน ซึ่งอาจจะนอนบนเตียงกับเจ้าของ หรือไม่ก็ได้
ก่อนเข้าสู่กระบวนการศึกษา นักวิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของผู้คนในเรื่องการนอนกับสัตว์เลี้ยง โดยร้อยละ 93 เชื่อว่า การนอนกับสัตว์เลี้ยงส่งผลในเชิงบวก หรือไม่ส่งผลกระทบกับเจ้าของเลย
นี่คือผลจากการศึกษาที่พวกเขาค้นพบ “เจ้าของที่นอนกับร่วมกับสุนัขมีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี และมีอาการนอนไม่หลับ แต่ไม่พบปัญหานี้ในกลุ่มคนที่นอนกับแมว”
แน่นอนว่า เจ้าของสุนัข เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว อาจจะรู้สึกไม่พอใจ และไม่เห็นด้วย กับผลการศึกษาครั้งนี้
ไปดูการอภิปรายผลการศึกษาครั้งนี้ค่ะ เมื่อพบข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ชนิดของสัตว์เลี้ยงส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนของมนุษย์ ดร.ชิน และทีมวิจัย จึงตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า สุนัข โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหญ่ สร้างการรบกวนโปรแกรมการนอนของเจ้าของ ด้วยการเดินไปหา หรือกระโดดขึ้นมาบนเตียง รวมไปถึงการส่งเสียงเห่าหอน เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวไม่พบในแมว
ด้วยสมมติฐานข้อนี้ อาจเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเจ้าของที่แบ่งปันพื้นที่ห้องนอนร่วมกับสุนัขจึงคุณภาพการนอนที่ลดลง
นอกจากนี้ ดร. ชิน ยังพบว่า ยิ่งเจ้าของที่ใช้เเวลานอนกับสัตว์เลี้ยงมากเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อการนอนมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่าง เมื่อเจ้าของผู้มีภาวะนอนหลับไม่สนิท และไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องระดับความผูกพันของสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ
ไม่ว่าผลการศึกษาจะเป็นอย่างไร เจ้าของก็คิดว่า การนอนกับสัตว์เลี้ยงก็มีประโยชน์กับพวกเขา
อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาครั้งนี้ ดร. ชิน และทีมวิจัย ได้สอบถามความคิดเห็นที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงมีต่อตัวเอง ซึ่งได้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงจำวนร้อยละ 60 ที่นอนร่วมกับสัตว์เลี้ยง พวกเขาเชื่อว่าการนอนกับสัตว์เลี้ยงส่งผลเชิงบวกต่อการนอนของพวกเขา และยังพบว่า ร้อยละ 83 ของคนกลุ่มนี้คิดว่า การนอนหลับร่วมกับสัตว์เลี้ยงส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาพโดยรวม และความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าของ
เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ผลการวิจัยด้วยการตอบแบบสอบถาม และการทดสอบด้วยเครื่องมือ ให้ผลในทางตรงกันข้าม แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เมื่อพิจารณาแนวโน้มของมนุษย์ ที่มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจตัวเองให้รู้สึกดีได้ แม้จะอยู่ในสถานการณ์เชิงลบ
หญิงเจ้าของแมวคนหนึ่งในผู้เข้าร่วมการศึกษาครั้งนี้ ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อฉันได้ทราบผลการศึกษาว่า การนอนกับแมวไม่ส่งผลต่อสุขภาพการนอน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า แมวของฉันที่ชื่อ พัมกิ้น รบกวนเวลานอนของฉันช่วงกลางดึก
บางคืน พัมกิ้นจะมาคลอเคลียที่มือของฉันระหว่างอยู่ในช่วงหลับสนิท ทำให้ฉันสะดุ้งตื่น และมาใช้เวลาลูบตัว เกาคาง และบีบนวดเบา ๆ เพื่อให้เขาพอใจ นั่นทำให้ฉันต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ ๆ กว่าจะนอนหลับได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ฉันคิดว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลาย ๆ คนรวมถึงฉันด้วย อาจพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การนอนหลับร่วมกับสัตว์เลี้ยงส่งผลดีกับพวกเรามากกว่า ซึ่งการได้ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงที่คุณรักก็ถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่า
ในความเป็นจริงแล้ว การนอนร่วมกับสัตว์เลี้ยงเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช้วยสร้างความสัมพันธ์กับเสัตว์เลี้ยงได้ แต่จากการศึกษาของ ดร. ชิน กลับแสดงให้เห็นว่า สัตวืเลี้ยงอาจบั่นทอยคุณภาพการนอนของคุณ
ดังนั้น การตจัดสินใจเรื่องนี้จึงอาจจะต้องขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของ หากคุณรู้สึกว่า การนอนร่วมกับสัตว์เลี้ยง เริ่มส่งผลกระทบในเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตของคุณ การจัดการแยกห้องนอนกับสัตว์เลี้ยงอาจเป็นเรื่องที่ดีกว่า แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากในช่วงแรกก็ตาม
แต่ถ้าการนอนร่วมกับสัตว์เลี้ยงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ก็ไม่จำเป็นต้องแยกห้องนอนกับสัตว์เลี้ยง
ข้อมูลอ้างอิง
The Wildest – Sleeping With Your Cat Is Good for You, Study Says—Your Dog? Not So Much
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – แมวฝึกได้ไหม? คำถามที่ทาสแมวอยากรู้