Dog Zone

อะลาสกัน มาลามิวท์: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

อะลาสกัน มาลามิวท์ สุนัขที่มีความจงรักภักดี เป็นมิตร มีปฏิสัมพันธ์ ความสนใจ ขี้เล่น ซื่อสัตว์ต่อเจ้าของเป็นอย่างมาก และสามารถเป็นเพื่อนเจ้าของได้ ประวัติสายพันธุ์ อะลาสกัน มาลามิวท์ สุนัขพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ (Alaskan Malamute) หรือสะกดตามหลักการทับศัพท์ว่า อะแลสกัน มาลามิวต์ เป็นสุนัขที่มีพละกำลัง และมีร่างกายขนาดใหญ่ และแข็งแรง โดยบรรพบุรุษของสายพันธุ์อาศัยมีจุดกำเนิดในภูมิภาคอะแลสกา ที่เป็นดินแดนน้ำแข็งปกคลุม สุนัขสายพันธุ์นี้จึงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็น และเป็นหนึ่งในสุนัขลากเลื่อนอาร์กติกที่เก่าแก่ที่สุด ที่มาของชื่อสายพันธุ์ มาจากการตั้งชื่อตามชนเผ่าเอสกิโม (Innuit) ที่มีชื่อว่า Mahlemuts ผู้ตั้งรากฐานอยู่ริมชายฝั่ง Kotzebue Sound ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของภูมิภาคอะแลสกา พวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่นำสุนัขพันธุ์นี้มาใช้งาน ดังนั้น จึงเกิดการตั้งชื่อสายพันธุ์ตามชื่อชนเผ่าของพวกเขา และได้กำเนิดชื่อสายพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ มาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตสุนัขพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ ได้ถูกนำมาเป็นสุนัขลากเลื่อนบนพื้นน้ำแข็ง คอยช่วยชาวเอสกิโมในการลากแมวน้ำกลับบ้าน จนกระทั่งปี 1940 สมาคม The American Kennel Club (AKC) ได้จดทะเบียนสายพันธุ์อะลาสกัน มาลามิวท์ […]

อ่านต่อ

โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก : ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก สายพันธุ์สุนัขที่มีความอ่อนโยน เป็นมิตร ขี้เล่น พร้อมด้วยรูปร่างที่น่าเอ็นดู ด้วยขนยาวสีขาวปกคลุมใบหน้า และดวงตา ประวัติสายพันธุ์ โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก สุนัขพันธุ์ โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก (Old English Sheep Dog) หรือมีชื่อเล่นว่า Bobtail มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะบริเตนใหญ่ (Great Britain) ตั้งอยู่บริเวณแอตแลนติคเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป และได้นำถูกไปเลี้ยงในเมืองเดวอน (Devon) และซัมเมอร์เซ็ท (Somerset) ในประเทศอังกฤษ ในอดีตสุนัขพันธุ์โอลด์ อิงลิช ชีปด็อก ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขทำงาน เช่น ใช้เพื่อต้อนฝูงโค กระบือ ฝูงแกะ (Continental sheep herding dog) สำหรับเกษตรกรในระหว่างวัน และเป็นสุนัขเลี้ยงในเวลากลางคืน ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1800 ได้มีการนำเข้ามายังประเทศอเมริกาเป็นครั้งแรก และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชนชั้นสูงของชาวอเมริกา สุนัขพันธุ์นี้จึงได้ถูกนิยามเป็น “สุนัขคนรวย” (“rich […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ซามอยด์: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

สุนัขพันธุ์ซามอยด์ สุนัขขนฟูสีขาว พร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม ที่ตกใครต่อใครมาแล้วทั่วโลก ประวัติ สุนัขพันธุ์ซามอยด์ สุนัขพันธุ์ซามอยด์ (Samoyed) มีประวัติมาอย่างยาวนาน มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจากสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ในอดีตมีชื่อพันธุ์ว่า Moustan of Argenteau และได้มีการเปลี่ยนเป็นชื่อ Samoyed เมื่อปี ค.ศ. 1906 หลังได้รับการจดทะเบียนขึ้นของสมาคม The American Kennel Club (AKC) ในอดีต สุนัขพันธุ์ซามอยด์ได้ถูกนำมาเป็นสุนัขทำงาน เช่น ใช้ล่าหมี ใช้ต้อนกวางเรนเดียร์ ปกป้องอาหารชาวบ้านจากสัตว์ที่มารุกราน และใช้เป็นสุนัขลากรถเลื่อน จนกระทั่ง ในช่วงปลายปี 1800 ซามอยด์ได้นำเข้ามายังประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก เพื่อนำถวายแก่พระราชินีอเล็กซานดรา (Queen Alexandra) และพระราชินีทรงโปรดปรานสุนัขพันธุ์นี้มาก จากนั้น เมื่อปี 1906 ซามอยด์ได้มีการนำเข้ามายังประเทศอเมริกาเป็นครั้งแรก เป็นของขวัญจาก แกรนด์ดยุกปีเตอร์ นิไคโลวิช แห่งรัสเซีย (Russia’s Grand Duke Nicholas) หลังจากนั้นสุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและแพร่หลายเป็นวงกว้าง นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มสุนัขที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปแอนตาร์กติก สมาคม […]

อ่านต่อ
เซนต์เบอร์นาร์ด

เซนต์เบอร์นาร์ด: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

เซนต์เบอร์นาร์ด สุนัขตัวใหญ่ ใจดี ปรับตัวง่าย รักความสงบ ไม่ก้าวร้าว รักเจ้าของ และต้องการความดูแลเอาใจใส่สูง ประวัติสายพันธุ์ เซนต์เบอร์นาร์ด สุนัขพันธุ์ เซนต์เบอร์นาร์ด (Saint Bernard) มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) พบในช่วงเวลาเดียวกับสุนัขพันธุ์ เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก (Bernese Mountain Dog) มีความเชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงกันทางพันธุกรรม ในรัชสมัยของออกัสตัส กรุงโรมได้เข้ามารุกรานบริเวณเทือกเขาแอลป์สวิต (Swiss Alps) และได้จับสุนัขที่อาศัยบนเทือกเขาแอลป์สวิตกลับไป จากนั้นได้ถูกนำมาผสมพันธุ์กับสุนัขสวิส เชพเพิร์ด (Swiss shepherd dog) และสุนัขต้อนสัตว์กลุ่มสุนัขภูเขา จึงได้ถือกำเนิดเป็นสุนัขสายพันธุ์ใหม่ขึ้น โดยสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ดจัดเป็นหนึ่งในสุนัขสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้น ในเวลาต่อมาสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด ถูกนำมาใช้เป็นสุนัขเฝ้าบ้านพักรับรองโดยพระชาวสวิส (hospice care) ในช่วงต้น ค.ศ. 1800 ได้มีการเขียนชีวประวัติสายพันธุ์ ในขณะเดียวกันมีนักท่องเที่ยวสูญหายบริเวณบ้านพักรับรอง จึงได้มีการนำสุนัขพันธุ์นี้ตามหานักท่องเที่ยวที่สูญหายและสามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยวได้สำเร็จ จึงได้รับสมญานามว่าเป็น สุนัขนักบุญ (Saint) และในช่วงกลางศตวรรษได้มีการตั้งชื่อ “เซนต์เบอร์นาร์ด” ให้แก่สุนัขสายพันธุ์นี้อย่างเป็นทางการ ในช่วง ค.ศ. 1900 […]

อ่านต่อ
สุนัขพันธุ์อาคิตะ, อาคิตะ,

สุนัขพันธุ์อาคิตะ : ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

สุนัขพันธุ์อาคิตะ เข้ามาสู่ดินแดนญี่ปุ่นในฐานะสุนัขตระกูลสปิตซ์ที่เก่าแก่ ซึ่งในขณะนั้น เป็นตระกูลสายพันธุ์ของสายพันธุ์ที่เดินท่องไปตามละติจูดทางเหนือของโลก ประวัติ สุนัขพันธุ์อาคิตะ อาคิตะ คือชื่อของจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ให้กำเนิดสุนัขสายพันธุ์นี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 โดยมีเรื่องเล่าว่า จักพรรดิญี่ปุ่นได้ส่งขุนนางผู้มีนิสัยเอาแต่ใจ ไปทำหน้าที่ปกครองจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮอนชู ด้วยนิสัยที่รักสุนัขของขุนนางผู้นี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีนิสัยกระตือรือร้น เขาจึงสนับสนุนให้ประชาชนประกวดประชันกันในการผสมพันธุ์สุนัขนักล่าขนาดใหญ่ ที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย กิจกรรมที่จัดขึ้นทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์สุนัขจากรุ่นสู่รุ่น จนได้สุนัจอาคิตะ นักล่าที่ทรงพลังผู้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน และมีร่างกายรวมถึงหัวใจที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงยังสามารถทำงานเป็นฝูงได้ดีในการล่าสัตว์ป่า ในช่วงแรก สุนัขอาคิตะได้รับอนุญาตให้ครอบครองได้เฉพาะสมาชิกราชวงศ์ และเลี้ยงไว้ในราชสำนักเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้แพร่พันธุ์ไปสู่สังคมชั้นสูงในยุคนั้น โดยเชื่อว่า อาคิตะคือสัตว์เลี้ยงที่เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์ประจำตระกูล อาคิตะเป็นสุนัขที่ปรากฏอยู่ในตำนานของญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษ และยังยึดโยงถึงวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นด้วย หากบ้านหลังใดที่เพิ่งให้กำเนิดทารก พ่อแม่จะหาตุ๊กตาสุนัขอาคิตะมาไว้ในบ้าน เพื่อสื่อถึงความสุข และอายุยืนยาว การเดินทางผ่านช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น อาคิตะเกือบจะสิ้นชื่อจากแผ่นดินนี้ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สุนัขที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นจะอยู่รอดต่อไป จึงเกิดการตั้งสโมสรสายพันธุ์สุนัขประจำชาติขึ้นในปี 1927 จากนั้น สุนัขอาคิตะก็ได้เป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะของขวัญเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะประจำสายพันธุ์ อาคิตะเป็นสุนัขที่มีร่างกายกำยำล่ำสัน มีขน 2 ชั้น เมื่อโตเต็มวัยสูงประมาณ 24 – 28 นิ้ว ขนแน่นมีหลายสี […]

อ่านต่อ
หมาที่ฉลาดที่สุด

สายพันธุ์ “หมาที่ฉลาดที่สุด” คือสายพันธุ์อะไร

การศึกษาวิจัยเรื่องทักษะด้านการรับรู้ของน้องหมา หรือที่หลายคนเรียกว่า “ความฉลาด” ได้แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ หมาที่ฉลาดที่สุด เป็นสายพันธุ์ที่อยู่เหนือความคาดเดาของคนส่วนใหญ่ ความสงสัยใครรู่ของมนุษย์ได้ผลักดันให้เราพยายามศึกษาเพื่อนต่างสายพันธุ์มาตลอดว่า น้องหมาสายพันธุ์ใด คือ “หมาที่ฉลาดที่สุด” จนกระทั่งเมื่อปี 2022 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (Helsinki) ประเทศฟินแลนด์ ได้ศึกษาพฤติกรรมสุนัขกว่า 1,000 ตัว รวม 13 สายพันธุ์ เช่น บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie), เบลเยียน มาลินอยส์ (Belgian Malinois), อิงลิช ค็อกเกอร์ สแปเนียล (English Cocker Spaniel), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherd), โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Gloden Retriever), และลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) น้องหมาทั้งหมดที่เข้าร่วมวิจัย ต้องทำแบบทดสอบทักษะพฤติกรรมด้านการรับรู้ ที่เรียกว่า “smartDOG” ซึ่งเป็นแบบทดสอบเพื่อ ประเมินการแก้ปัญหาและกลยุทธ์ การควบคุมแรงกระตุ้น […]

อ่านต่อ
สายพันธุ์สุนัข, นิวฟาวด์แลนด์, สุนัขพันธุ์ใหญ่,

สุนัขสายพันธุ์ “นิวฟาวด์แลนด์”

สุนัขพันธุ์ นิวฟาวด์แลนด์ สายพันธุ์สุนัขที่ดูเหมือนหมีขนาดย่อม ๆ ที่ถึงแม้ว่าจะมีขนาดที่ใหญ่มาก แต่เป็นสุนัขที่เป็นมิตร ฉลาด และว่านอนสอนง่าย และยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี สุนัขพันธ์นี้สามารถช่วยดูแลสอดส่อง ไว้วางใจได้ และสามารถเข้ากับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี จนถึงขนาดที่นักเขียนเรื่อง ปีเตอร์แพน ได้นำเอา นิวฟาวด์แลนด์ มาเป็นต้นแบบของสุนัขที่ชื่อว่า Nana ชื่อนิวฟาว์แลนด์ มาจากชายฝั่งของประเทศแคนาดา สาเหตุเพราะ เคยเป็นสุนัขทำงานที่ช่วยชาวประมงลากอวนขึ้นจากน้ำและช่วยชีวิตคนจมน้ำ สุนัขพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของสุนัขเลี้ยงแกะในเทือกเขา Pyrenees ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์นิวฟาวด์แลนด์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ มีอายุขัยเฉลี่ย 8 – 10 ปี ตัวผู้สูง 28 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 60 – 70 กิโลกรัม ส่วนตัวเมีย สูง 26 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 45 – 55 กิโลกรัม มีกะโหลกศรีษะขนาดใหญ่ ดวงตาขนาดเล็ก ในกรณที่ สุนัขสายพันธุ์นี้มีสีขนเข้ม อาจมีดวงตาสีน้ำตาลจนถึงดำ […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน – ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ตัวเล็ก ขนฟู และหน้าแหลม เป็นลักษณะอันโดดเด่นของ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน ที่เป็นลูกรัก และเป็นสายพันธุ์ยอดนิยม ที่ครองใจเหล่าบรรดาที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์เล็ก ประวัติ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน (Pomeranian) มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 16 จากแคว้นปอมเมอเรเนีย (Pomerania) แถบทะเลบอลติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมันตะวันออกและโปแลนด์ในปัจจุบัน โดยบรรพบุรุษของปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่อยู่ในตระกูลสปิตซ์ (Spitz) รวมถึงสุนัขสายพันธุ์นอร์วีเจียน เอลก์ฮาวด์ (Norwegian Elkhound), ชิปเพิร์ก (Schipperke), เยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz), อเมริกัน เอสกิโม (American Eskimo) และซามอยด์ (Samoyed) สุนัขเหล่านี้ทั้งหมดมีลักษณะที่โดดเด่นเหมือนกัน คือมีหน้าที่ยื่น, หูตั้งและขนยาวหนา ในอดีต ปอมเมอเรเนียน ถูกเพาะพันธุ์ให้เป็นสุนัขลากเลื่อนและมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ ตั้งแต่ปอมได้รับการแนะนำให้เป็นที่รู้จักในฐานะสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน สายพันธุ์ปอมเมอเรเนียนจึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นเจ้าของสุนัขปอมเมอเรเนียน ได้แก่ นักศาสนศาสตร์มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther), จิตรกรไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) และนักฟิสิกส์ไอแซก […]

อ่านต่อ
เบลเยียน มาลินอยส์, มาลินอย, Malinois, สุนัขตำรวจ, สุนัขทหาร, สุนัข K-9

เบลเยียน มาลินอยส์ – ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

เบลเยียน มาลินอยส์ หรือบางครั้งก็ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า มาลินอยส์ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่สง่างาม ฉลาดปราดเปรื่อง และสมบุกสมบัน สุนัขสายพันธุ์นี้สามารถแสดงความสามารถได้อย่างน่าทึ่ง หากได้รับการฝึกฝนที่ดีและถูกต้อง เบลเยียน มาลินอยส์ เป็นชื่อที่ตั้งตามเมืองมาลีนส์ (Malines) ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้กำเนิดสายพันธุ์นี้ เริ่มแรก ผู้คนพัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพื่อช่วยงานเลี้ยงสัตว์ในทุ่งเกษตรกรรม แต่ด้วยความฉลาดล้ำของมาลินอยส์ได้ผลักดันให้สุนัขสายพันธุ์นี้ก้าวเข้าสู่งานวงการอื่น ทั้งงานรักษาความปลอดภัย สำรวจตรวจค้นวัตถุต้องสงสัย และงานค้นหาผู้ประสบภัย เมื่อมาลินอยส์โตเต็มที่ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 27 – 36 กิโลกรัม ความสูงจากอุ้งเท้าหน้าถึงหัวไหล่ 24 – 26 นิ้ว ส่วนตัวเมียหนัก 18 – 27 กิโลกรัม สูง 22 – 24 นิ้ว ประวัติของเบลเยียน มาลินอยส์ สุนัขสายพันธุ์เบลเยียน มาลินอยส์ – Belgian malinois สำเนียงท้องถิ่นออกเสียงว่า มาลินัวส์ (MAL-in-wah) ตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดที่เมืองมาลีนส์ […]

อ่านต่อ

ฟิล่า บราซิเลียโร (Fila brasileiro) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ ฟิล่า บราซิเลียโร (Fila brasileiro) หรือที่รู้จักในชื่อ Brazilian Mastiff เป็นสุนัขในกลุ่ม Mastiffs ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ ที่ขึ้นชื่อในด้านทักษะการติดตาม ไล่ล่า และความก้าวร้าว จึงนิยมฝึกให้กลายเป็นสุนัขใช้งาน อย่าง สุนัขเฝ้ายาม สุนัขเฝ้าบ้าน และสุนัขเลี้ยงแกะ แต่ถึงแม้ว่าสุนัขพันธุ์นี้จะเก่งในการทำงาน ด้วยอารมณ์และขนาดของมัน อาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับทุกคน สุนัขพันธุ์ Fila Brasileiro ถูกพัฒนามาจากสุนัขใช้งานพันธุ์ใหญ่ในประเทศบราซิล ซึ่งใช้สำหรับการติดตามและไล่ล่านักล่าขนาดใหญ่ ในช่วงที่แรงงานทาศถูกกฎหมายในประเทศบราซิล สุนัขพันธุ์นี้ถูกใช้ในการติดตามทาสที่หลบหนีและช่วยรั้งไว้จนกว่าหัวหน้าจะมา โดยสายพันธุ์นี้ถูกพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 15 จากสายพันธุ์ที่ลักษณะเหมือน English mastiff, bulldog, และ bloodhound ทำให้สุนัขพันธุ์นี้มีลักษณะบางอย่างเหมือนสุนัขพันธุ์ Bloodhound แม้ว่ามันจะมีความคล่องแคล่วว่องไวมากกว่าอย่างมาก สายพันธุ์ Fila Brasileiro ถูกจดทะเบียนครั้งแรกเมื่อปี 1946 แต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนจากสมาคม American Kennel Club หรือ United Kennel Club อีกทั้งสุนัขพันธุ์ […]

อ่านต่อ
ไทยบางแก้ว

ไทยบางแก้ว (Thai Bangkaew) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ малоизвестные новые займы круглосуточно без отказаไทยบางแก้ว สุนัขพันธุ์ ไทยบางแก้ว มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย เมื่อ 100 ปีที่แล้ว มีพระสงฆ์จำวัดที่วัดบางแก้ว (Bangkaew temple) ใกล้กับแม่น้ำยม (Yom river) เลี้ยงสุนัขเพศเมียกำลังตั้งท้องอยู่ภายในวัด แต่ไม่มีสุนัขเพศผู้อยู่ด้วย จึงทำให้ไม่สามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ได้ จึงสันนิษฐานว่ามีการผสมกับหมาใน (Asiatic Wild Dog) หรือ สุนัขจิ้งจอก (Jackal) ซึ่งในต่อมาได้มีการตรวจสายพันธุกรรม (DNA) จึงสรุปได้ว่าเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ไทย (Domestic dog) กับ สุนัขจิ้งจอกทอง (Golden Jackal) หลังจากนั้นไม่นาน สุนัขตัวนี้ได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขท้องถิ่นที่ไว้ใช้ต้อนแกะ (Local shepherding dog) โดยลักษณะทางกายภาพภายนอกคล้ายสุนัขพันธุ์พื้นบ้านของไทย ในปีค.ศ. 1980 หรือ พ.ศ.2523 มีสัตวแพทย์ชื่อ Nisit Tangtrakarnpong เป็นสัตวแพทย์ที่ค้นพบสายพันธุกรรมของสุนัขพันธุ์บางแก้วโดยเฉพาะแตกต่างกับสายพันธุ์อื่น องค์กร The Fédération […]

อ่านต่อ

เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ เจแปนนิส สปิตซ์ (Japanese Spitz) เป็นสุนัขขนยาวขนาดเล็ก คาดว่าพวกมันสืบเชื้อสายมาจากเยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz) ซึ่งถูกนำเข้าในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าพวกมันมีที่อย่างไร เนื่องจากบันทึกส่วนใหญ่ถูกทำลายในช่วงสงครามครั้งที่สอง เจแปนนิส สปิตซ์ปรากฏเป็นครั้งแรกในดินแดนญี่ปุ่นในปีค.ศ. 1921 ในงานแสดงที่จัดขึ้นที่เมืองโตเกียว จากนั้นนักเพาะพันธุ์สุนัขได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อย ๆ จากนั้นช่วงปีค.ศ. 1925 ถึง 1936 มีการนำเข้าสุนัขสายพันธุ์สปิตซ์ (White Klein Wolfsspitz) จากทั้งประเทศแคนาดา สหรัฐฯ และออสเตรเลีย เพื่อพัฒนาผสมข้ามสายพันธุ์จนเป็นเจแปนนิส สปิตซ์อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน พวกมันได้รับความนิยมมากขึ้นจากความน่ารัก ขนฟูสีขาวทั้งตัว ซึ่งลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนทั่วโลกจดจำ จึงไม่แปลกใจเลยที่พวกมันได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและเป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่มีการนำเข้ามาในประเทศสวีเดนและจากที่นั่นก็กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์เจแปนนิส สปิตซ์มีขนสีขาวทั่วทั้งตัว มีขนาดของหัวไม่ใหญ่มาก และมีปากที่สีดำสนิท จมูกและดวงตามีสีดำ เป็นรูปทรงเมล็ดอัลมอนด์ (Almond shaped) ส่วนหูมีขนาดเล็กเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตั้งตรง หางพวกมันจะมีลักษณะเป็นพวงสีขาวม้วนขึ้นคล้ายกับขนนก และรูปร่างที่กะทัดรัด โดยมีส่วนลำตัวจะมีขนาดที่พอดีถึงแม้จะค่อนข้างบางเล็กน้อย และมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดของเจแปนนิส สปิตซ์ […]

อ่านต่อ