เห็บ
- Home
- เห็บ
วิธีป้องกันสุนัขให้ห่างไกลจากเห็บ หมัด และยุงร้าย
ในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีฝนตกบ่อย ๆ เป็นช่วงที่ทำให้สุนัขเสี่ยงต่อการมีปัญหาด้านสุขภาพได้ง่าย เนื่องจากความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะจะทำให้เกิดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงทำให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ของเห็บ หมัด และยุงได้ดีกว่าฤดูอื่นมากถึง 70% ซึ่งเจ้าสัตว์ตัวเล็กแสนร้ายเหล่านี้ มักจะกลายมาเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ในสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะ ‘โรคพยาธิเม็ดเลือด หรือโรคไข้เห็บ (Canine Blood Parasites)’ โรคยอดฮิตของสุนัขในไทย ที่เมื่อสุนัขโดนเห็บที่มีเชื้อกัดเพียงแค่ครั้งเดียว หรือสุนัขเผลอกัดหรือกินเห็บที่มีเชื้อเข้าไปก็สามารถติดเชื้อได้ สุนัขจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ สีเหงือกซีดกว่าปกติ มีภาวะโลหิตจาง มีจ้ำเลือดออกตามร่างกาย และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากเห็บ หมัด และยุงอีกมากมาย อย่างเช่น โรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้ยุง โรคพยาธิตัวตืดที่มีหมัดเป็นพาหะ และโรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้น้ำลายหมัด รวมถึงโรคพยาธิหนอนหัวใจที่มียุงเป็นพาหะ ซึ่งโรคที่กล่าวมาข้างต้นเหล่านี้ เป็นโรคที่มีความสำคัญส่งผลเสียต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงโดยตรง และบางโรคยังสามารทำให้เสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ดังนั้น เจ้าของจึงควรปกป้องสัตว์เลี้ยงที่รักให้ปลอดภัย ห่างไกลจากเห็บ หมัด และยุงร้ายอยู่เสมอ บ้านและสวน Pets ขอแนะนำ FRONTLINE TRI-ACT ผลิตภัณฑ์สำหรับหยดหลังที่ผลิตและคิดค้นโดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ […]
อ่านต่อโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว
โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข และแมว เป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขและแมวในบ้านเราได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ พยาธิเม็ดเลือดถูกนำโดยเห็บหรือหมัด เมื่อสุนัขหรือแมวติดเห็บหรือหมัดมาจึงมีโอกาสสูงมากที่จะได้รับเชื้อ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ติดมาด้วย ถ้าตรวจพบเร็วอาการยังไม่รุนแรงมาก สามารถให้ยาได้ทันการณ์ก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้าอาการลุกลามไปมากแล้ว โอกาสในการช่วยชีวิตก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ สาเหตุ พยาธิเม็ดเลือดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เข้าไปบุกรุกเซลล์เม็ดเลือด ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด จัดอยู่ในกลุ่มโปรโตซัว (Protozoa) หรือกลุ่มริกเกตเซีย (Rickettsia) มีหลายสปีชีส์ (Species) เช่น Babesia spp. Mycoplasma spp. Ehrlichia canis และ Hepatozoon spp. เป็นต้น แต่ละชนิดก็มีเซลล์เม็ดเลือดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เหมือนกันคือมีการถ่ายทอดเชื้อผ่านพาหะ (Vector) อย่างเห็บและหมัด เห็บหมัดจะดูดเลือดจากสุนัขหรือแมวที่มีพยาธิเม็ดเลือด ทำให้ได้รับตัวอ่อนของพยาธิเม็ดเลือดเข้ามาเจริญอยู่ในตัวเห็บหมัดนั้น ๆ พอเติบโตได้ระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ เมื่อเห็บหมัดไปดูดเลือดสุนัขหรือแมวอีกตัวหนึ่งก็เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากเห็บหมัดไป ยังสุนัขหรือแมว พยาธิเม็ดเลือดจึงเข้าไปเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน และทำลายเซลล์เม็ดเลือดในร่างกายของสุนัขและแมวได้ทำให้เกิดอาการป่วยด้วยโรคพยาธิเม็ดเลือดตามมา อาการ อาการเด่นชัดของโรคพยาธิเม็ดเลือด คือ ภาวะซีดจากการทำลายเม็ดเลือดแดงของพยาธิเม็ดเลือด เกิดภาวะโลหิตจาง เป็นอาการเด่นที่เจ้าของสามารถสังเกตได้เอง โดยดูจากสีของเยื่อเมือกบริเวณต่าง ๆ […]
อ่านต่อ7 จุดซ่อนตัวของเห็บสุนัข
ช่วงหน้าฝน ถือว่าเป็นอุณหภูมิที่เหมาะในการแพร่พันธุ์เจ้า เห็บสุนัข ยิ่งนัก บ้านและสวน Pets ขอนำเสนอ 7 จุดซ่อนตัวและวิธีตรวจสอบเห็บบนตัวสุนัขกันค่ะ ปัญหา เห็บสุนัข กวนใจเป็นเรื่องที่คนเลี้ยงสุนัขต้องเจอและกังวลไม่น้อย ไม่ว่าจะฤดูไหน โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เนื่องจากความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะจะช่วยส่งเสริมความสมบูรณ์ของไข่และการแพร่ขยายพันธุ์ของตัวอ่อนมากขึ้น สภาพอากาศจึงเป็นส่งที่เอื้ออำนวยสำหรับการแพร่พันธุ์ของเห็บสุนัข โดยเฉพาะในระยะฟักไข่ยิ่งความชื้นสูงก็จะยิ่งช่วยให้ไข่สมบูรณ์มากที่สุด ตัวอ่อนก็จะแพร่ขยายพันธุ์ได้มากสุขภาพแข็งแรงดีพร้อม ด้วยเหตุนี้เองเราจึงมักพบว่าหน้าฝน หรือช่วงที่มีฝนตกน้องหมาจะมีเห็บขึ้นเยอะกว่าช่วงที่ไม่มีฝน ดังนั้นก่อนจะไปดู 7 จุดซ่อนตัวของเห็บบนตัวสุนัข เรามาทำความเข้าใจวงจรชีวิตของมันอีกครั้งดีกว่า วงจรชีวิตของเห็บ แบ่งได้เป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ (egg) ระยะตัวอ่อนลาร์วา (larva) ระยะตัวอ่อนนิมฟ์ (nymph) และระยะตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนในระยะลาร์วาจะฟักออกมาจากไข่และขึ้นไปกินเลือดบนตัวสุนัขเป็นเวลาประมาณ 5-15 วัน หลังจากนั้นจะกระโดดลงมาจากตัวสุนัขเพื่อลอกคราบในสิ่งแวดล้อมแล้วโตเป็นระยะตัวอ่อนนิมฟ์ ตัวอ่อนในระยะนิมฟ์จะขึ้นไปกินเลือดบนตัวสุนัขต่ออีก 3-13 วัน (อาจจะเป็นสุนัขตัวใหม่ หรือเป็นสุนัขตัวเดิมก็ได้) แล้วลงมาลอกคราบในสิ่งแวดล้อมเหมือนเดิมเพื่อเจริญเป็นเห็บตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยทั้งเห็บตัวเมียและเห็บตัวผู้จะกลับขึ้นไปกินเลือดบนตัวสุนัขอีกครั้งและเกิดการผสมพันธุ์กันบนตัวสุนัข หลังจากผสมพันธุ์เห็บตัวเมียจะกินเลือดจนอิ่ม ในระยะนี้เราจะพบเป็นเห็บตัวใหญ่อ้วนกลมแล้วเห็บตัวเมียจะลงจากตัวสุนัข เพื่อไปวางไข่ในสิ่งแวดล้อม โดยเห็บตัวเมียจะใช้เวลาในการพัฒนาจากเลือดในท้องไปเป็นไข่ และใช้เวลาวางไข่ประมาณ 15-18 วัน […]
อ่านต่อบี้เห็บ ไม่ได้ จริงหรือมั่ว
เจ้าของสุนัขและแมวหลาย ๆ บ้านน่าจะต้องมีประสบการณ์กับปัญหากวนใจอย่าง “เห็บ” มาบ้างไม่มากก็น้อย และเจ้าของหลาย ๆ ท่านก็คงอดใจไม่ได้ที่จะจับเห็บออกจากตัวน้องหมาแล้ว บี้เห็บ เหล่านั้นซะ แต่บ่อยครั้งเรามักได้ยินคำห้ามที่ว่า “ไม่ควร บี้เห็บ เพราะจะทำให้เกิดเห็บตามมามากมายเป็นทวีคูณ” ทำไมถึงมีคำกล่าวเช่นนี้ แล้วจริง ๆ มันเป็นตามที่เค้าบอกกันมาหรือไม่ วันนี้ บ้านและสวน Pets จะพาไปรู้กันครับ รู้จักเห็บ เห็บ (tick) เป็นแมลงชนิดหนึ่งมีหลายสปีชีส์พบได้ทั่วโลกตามลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประเทศไทยเรา มักพบเห็บสุนัขสีน้ำตาล หรือ Brown dog tick มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhipicephalus sanguineus กินเลือดเป็นอาหาร ชอบอาศัยบนตัวสุนัข (จึงเรียกว่าเห็บสุนัขสีน้ำตาล) แต่ก็สามารถกัดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นรวมถึงคนได้เช่นกัน นอกจากประเทศไทยแล้วเห็บชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะในพื้นที่เขตร้อน เห็บสุนัขสีน้ำตาลมี 8 ขา ลำตัวแบนแต่เมื่อกินเลือดตัวจะพองขึ้น มีขนาดต่างกันไปตามระยะ (life stage) ของวงจรชีวิต (life cycle) ตั้งแต่ตัวเล็กเท่าหัวเข็ม จนถึงกินเลือดจนตัวเต่งเหมือนลูกเกด วงจรชีวิตเห็บ […]
อ่านต่อปรสิตภายนอก-ภายใน และ การถ่ายพยาธิ
วันนี้ หมอจะขอกล่าวถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพยาธิภายนอก พยาธิภายใน และ การถ่ายพยาธิ ที่เหมาะสมแก่น้องหมาน้องแมวให้ทุกท่านได้ทราบกันค่ะ
อ่านต่อProducts for Ticks & Fleas – รวมผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัด ฉบับรวบรัดหมดห่วง
ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดของสุนัขและแมวมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ ซึ่งบางชนิดนั้นยังสามารถป้องกันพยาธิหนอนหัวใจและพยาธิภายในทางเดินอาหารได้อีกด้วย
อ่านต่อ