โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง ที่พบได้บ่อย

ความเจ็บป่วยในสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับความเจ็บป่วยของมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่ สัตว์เลี้ยงไม่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้โดยตรง โดยสัตวแพทย์ และคุณพ่อคุณแม่ต้องใช้วิธีการสังเกตอาการ เพื่อทำความเข้าใจกับปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งบางโรคก็ต้องพิจารณาอาการอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะ โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง

เมื่อสัตว์เลี้ยงที่เจ็บป่วยเข้ามารักษากับสัตวแพทย์ การวินิจฉัยเบื้องต้นที่สัตวแพทย์มักใช้เป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็น โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง หรือไม่ คือการพิจารณาอาการที่ผิดปกติ ร่วมกับระยะเวลาที่เกิดความผิดปกติ โดยอาการที่ร่างกายมักแสดงออกส่วนใหญ่จะเกิดความปกติของท่าทาง หรือการเคลื่อนไหว 

หลังจากพบความผิดปกติของการเคลื่อนไหว หรือท่าทาง สัตวแพทย์จะวินิจฉัยโรคในลำดับต่อไป เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการตรวจทางระบบประสาท เพื่อกำหนดตำแหน่งของจุดที่ผิดปกติ แล้วเลือกวิธีการรักษา หรือวินิจฉัยเพิ่มเติม และประเมินโรคที่อาจเกิดขึ้นต่อไป

โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

โรคระบบประสาทที่พบได้บ่อยในสัตว์เลี้ยง

1. ลมชัก หรือการชักในสัตว์เลี้ยง 

โรคลมชักในสัตว์เลี้ยง เป็นโรคระบบประสาทที่พบได้บ่อย และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะจุด เช่น กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก กระพริบตาเป็นจังหวะ หัวสั่น และกล้ามเนื้อขากระตุก ไปจนถึงระดับความรุนแรงที่อันตราย อย่างการชักเกร็งทั้งตัว และหมดสติ

โดยสาเหตุการเกิดโรคลมชักในสัตว์เลี้ยงเป็นไปได้ทั้ง 

– กรรมพันธุ์ 

ที่ผ่านมา สัตวแพทย์พบว่า กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 60 ของการเกิดโรคลมชักในสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีกรรมพันธุ์โรคลมชักจะแสดงอาการในช่วงอายุ 6 เดือน – 6 ปี โดยสัตว์เลี้ยงจะแสดงอาการชักเหมือนกันทุกครั้ง ซึ่งไม่สามารถคาดได้ว่าจะเกิดการชักเมื่อไร และการชักแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงกันประมาณ 1 เดือน โดยการตรวจรอยโรคของสัตวแพทย์ มักจะไม่พบรอยโรคในระบบประสาท และความผิดปกติของร่างกาย 

โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

– โรคที่ส่งผลต่อสมอง

สัตว์เลี้ยงที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคสมองจากโรคตับ และภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดต่ำ มักจะแสดงอาการชักร่วมกับความผิดปกติของร่างกาย นอกจากนี้ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทโดยตรง เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการกระทบกระเทือนทางสมอง ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์เลี้ยงเกิดอาการชักได้ 

– การชักที่ยังไม่ทราบสาเหตุ 

หากสัตวแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยระบบประสาท และร่างกายครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุความผิดปกติใดๆ ได้ สัตวแพทย์จะสรุปว่า ยังไม่ทราบสาเหตุ หรือกล่าวได้ว่า เทคโนโนโลยีทางการสัตวแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุของการชักที่เกิดขึ้นได้ 

การรักษาโรคลมชักในสัตว์เลี้ยง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด สัตวแพทย์จะจ่ายยาที่ป้องกันการชัก และนัดหมายเข้ามาพบสัตวแพทย์เป็นระยะเพื่อติดตามอาการ ในระหว่างนี้ สัตวแพทย์จะขอความร่วมมือคุณพ่อคุณแม่บันทึกประวัติการชักร่วมด้วย เพื่อนำไปประเมินการการปรับปริมาณยาในอนาคต 

โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

2. โรคหมอนรองกระดูก

คุณพ่อคุณแม่มักนำสัตว์เลี้ยงมาพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงของตนเองมีอการเดินไม่ได้อย่างเฉียบพลัน โดยพบได้ทั้งอาการอ่อนแรงทั้ง 4 ขา หรือเฉพาะ 2 ขาหลัง

เนื่องจากโรคหนอมรองกระดูกส่วนใหญ่เกิดจากแรงที่กดบนไขสันหลังตลอดเวลา ทำให้สัตว์เลี้ยงมีความเจ็บปวด และอาจมีปัญหาเรื่องการส่งกระแสประสาทร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตบางส่วน หรืออัมพาตอย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างอาการที่พบได้ เช่น

– มีการเจ็บบริเวณคอหรือหลัง ทำให้มีปัญหาเรื่องการหมุน หรือเลี้ยวตัว 

– ขาหลังทำงานไม่สัมพันธ์กัน คือขาหลังหนึ่งข้างไขว้สลับมาอีกฝั่งในขณะเดิน

– สูญเสียการทำงานของทั้ง 4 ขา หรือเฉพาะ 2 ขาหลังทั้งสองข้าง ซึ่งถ้ารุนแรงอาจมีปัญหาเรื่องการควบคุมปัสสาวะ และอุจจาระร่วมด้วย

– การรับรู้ความเจ็บปวดหายไป มักเกิดในกรณีที่ไขสันหลังได้รับความเสียหายรุนแรงที่สุด ซึ่งการพยากรณ์โรคอยู่ในระดับแย่

การตรวจวินิจฉัย

สัตวแพทย์จะซักประวัติความเจ็บป่วยจากคุณพ่อคุณแม่ และตรวจร่างกายทั่วไปร่วมกับการตรวจทางระบบประสาทของสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้สามารถทำ myelogram หรือการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปที่ไขสันหลัง หลังจากนั้นทำการถ่ายภาพทางรังสี เพื่อดูตำแหน่งที่ผิดปกติของหมอนรองกระดูกที่เห็นได้จากสีในภาพเอกซเรย์ อีกหนึ่งวิธีคือทำ MRI (magnetic resonance imaging) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการสัตวแพทย์ และยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อใช้วินิจฉัยทางระบบประสาท

โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

การรักษาขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรค โดยสามารถแบ่งระดับความรุนแรงของสัตว์ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต 5 ระดับ โดยสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 1 และ 2 อาจจะยังรักษาด้วยการให้ยาแก้อักเสบเพื่อช่วยลดปวด ร่วมกับการจำกัดบริเวณ 3-4สัปดาห์ แล้วจึงทำกายภาพบำบัดต่าง ๆ เช่น เลเซอร์ อัลตราซาวด์ ลู่วิ่งใต้น้ำ ฝังเข็ม เป็นต้น หลังจากนั้นค่อยหยุดยาลดปวดลงทีละน้อย

สำหรับระดับที่ 3 สัตวแพทย์อาจจะเริ่มด้วยการรักษาทางยาและการจำกัดบริเวณ แต่ถ้า 7 วันผ่านไปแล้ว สัตว์เลี้ยงยังแสดงอาการเจ็บ หรือไม่สามารถขยับตัวได้ อาจพิจารณาวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อรักษาโดยการผ่าตัดต่อไป

ในสัตว์เลี้ยงที่ป่วยในระดับ 4 และ 5 ควรได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ผลของการรักษาขึ้นกับระดับความเจ็บป่วย ยิ่งระดับน้อยยิ่งมีโอกาสรักษากลับมาเดินได้มากกว่า

โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

3. เนื้องอก และการติดเชื้อในระบบประสาท 

อาการของสัตว์เลี้ยงที่มีเนื้องอก และการติดเชื้อในระบบประสาท จะแสดงอาการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระบบประสาทส่วนใดได้รับผลกระทบ 

หากเกิดเนื้องอก เกิดขึ้นที่ไขสันหลัง อาจไปอุดกั้นโพรงสมองและไขสันหลัง เกิดการอักเสบจนไปถึงทำให้กระแสประสาทส่งผ่านต่อไปไม่ได้ สุนัขก็อาจมาด้วยอาการอัมพฤกษ์และอัมพาตได้เหมือนกัน

โรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

นอกจากนี้ยังเคยพบกรณี การเกิดเนื้องอกในสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ทำให้สัตว์เลี้ยงเสียสมดุลของร่างกายจนเดินไม่ได้ หรือเดินเซ หรือยืนขึ้นแล้วมักจะล้มตัวลงข้างเดิมเสมอ มีอาการตากระตุก และตาเหล่ ซึ่งต้องวินิจฉัยแยกจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น สัตว์เลี้ยงมีอายุมากขึ้นนำมาซึ่งความเสื่อมของร่างกายและสมอง ช่องหูอักเสบชั้นกลางและชั้นใน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือได้รับยาบางชนิดมากเกินไป 

โดยการรักษากลุ่มเนื้องอกที่สมองมักจะเป็นรูปแบบการประคับประคอง เช่น ให้ยาที่กระตุ้นให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารได้ หรือยาลดปวดในกรณีที่สัตว์เลี้ยงมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง 

หรือกรณีที่สัตว์เลี้ยงนอนไม่ได้ และร้องกระวนกระวาย สัตวแพทย์อาจให้ยานอนหลับเพื่อให้คุณภาพชีวิตของทั้งคนและสัตว์ดีขึ้น

สำหรับสัตว์เลี้ยงที่แสดงอาการทางประสาทเพียงเล็กน้อย และสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ด้วยยาลดอักเสบ และการพยากรณ์โรคจะอยู่ในระดับที่ดีกว่าอีกกลุ่ม

การเกิดโรคระบบประสาทในสัตว์เลี้ยง, โรคลมชัก, โรคหมอนรองกระดูก, โรคระบบประสาท, อาการโรคระบบประสาท, การรักษาโรคระบบประสาท

4. ความผิดปกติตั้งเเต่กำเนิด 

โรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่สัตว์เลี้ยงมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ได้แก่ โรคหัวบาตร โดยส่วนใหญ่พบในสุนัข อาอาการบ่งชี้คือมีลักษณะหัวโต ตาเหล่ ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายหลังคารูปโดม และมีอาการมึนงง ล่องลอย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ และท่าทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ 

โรคสมองน้อยย้อยหรือท้ายกะโหลกเจริญผิดรูปซึ่งมักเกิดในพันธุ์ Cavalier King Charles Spaniel ทำให้เกิดการคั่งน้ำที่โพรงไขสันหลัง และโพรงสมอง สุนัขอาจมีท่าทางการเดินผิดปกติ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก น.สพ.นรวร นาคทิพวรรณ สัตว์แพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน

ภาพถ่าย บ้านและสวน Pets


 เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใน

โรคหมอนรองกระดูก