หนูฮิปโปแคระ หรือ หนูตะเภาไร้ขน มีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างตรงที่มีขนปกคลุมร่างกายน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย
หนูฮิปโปแคระ เป็นชื่อเรียกหนูตะเภา หรือหนูแกสบี้สายพันธุ์หนึ่งที่มีขนปกคลุมน้อย หรือแทบไม่มีขนเลย โดยชื่อหนูฮิปโปแคระ อาจจะเป็นชื่อทางการค้าที่เรียกกันในกลุ่มผู้เพาะพันธุ์หนูตะเภาใปนระเทศไทย
ในระดับนานาชาติ American Cavy Breeders Association องค์กรภาคเอกชนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตฐานสายพันธุ์ของหนูตะเภา ได้กำหนดมาตรฐานของหนูตะเภาทั่วโลกไว้ทั้งหมด 13 สายพันธุ์ ซึ่งหนูฮิปโปแคระสายพันธุ์ Baldwin เป็นหนึ่งในสายพันธุ์มาตรฐาน แต่ในทางกลับกัน สายพันธุ์ skinny ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ของหนูตะเภาไร้ขน ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานสายพันธุ์
ลักษณะสายพันธุ์ของหนูฮิปโปแคระ
- หนูฮิปโปแคระสายพันธุ์ Baldwin
ในช่วงแรกเกิด หนูฮิปโปแคระ Baldwin จะมีขนปกคลุมทั่วร่างกาย จากนั้นขนจะค่อย ๆ หลุดร่วง เมื่อเจริญเติบโตขึ้น เหลือเพียงหนวด และในบางกรณีอาจหลงเหลือขนปกคลุมบาง ๆ ที่เท้าทั้ง 4 ข้าง หนูฮิปโปแคระ Baldwin มีใบหูใหญ่ห้อยย้อยลงมา และผิวหนังมีสัมผัสคล้ายยางยืด
- หนูฮิปโปแคระสายพันธุ์ Skinny
หนูตะเภาสายพันธุ์นี้เกิดมาแล้วแทบไม่มีขนเลย หรือพบได้น้อยมากเฉพาะบริเวณเท้า ปาก และแนวกระดูกสันหลัง ผิวหนังของหนูตะเภาสายพันธุ์นี้ มีสัมผัสเรียบเนียน หนู Skinny เป็นสายพันธุ์หนูฮิปโปแคระไร้ขน ที่มีผู้เลี้ยงมากที่สุด
ภาวะไม่มีขนของหนูฮิปโปแคระทั้งสองสายพันธุ์เกิดขึ้นเนื่องจากการควบคุมลักษณะโดยยีนด้อย ซึ่งหมายความว่า ถ้าผสมพ่อแม่พันธุ์ที่ไร้ขนเหมือนกัน ลูกที่ออกมาควรจะไม่มีขนเสมอ
การเลี้ยงดูหนูฮิปโปแคระ ให้มีสุขภาพแข็งแรง
การดูแลหนูฮิปโปแคระแทบไม่แตกต่างจากการเลี้ยงหนูตะเภาสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีขน ตั้งแต่ความต้องการพื้นฐานทางโภชนาการที่เหมาะสม ไปจนถึงการดูแลเรื่องสุขอนามัย และความสะอาด
อาหารทั่วไปที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพของหนูฮิปโปแคระ ประกอบด้วย หญ้าแห้ง อาหารเม็ด ผักและผลไม้สดบางชนิด (สำหรับเป็นขนมเท่านั้น) และอาหารเสริมวิตามินซี รวมไปการเตรียมน้ำสะอาดให้เพียงพอตลอดเวลา
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการดูแลสัตว์เลี้ยงชนิดนี้คือ หนูฮิปโปแคระมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมาก ดังนั้น เจ้าของควรเลี้ยงพวกเขาไว้ในบ้านที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส หรือไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการวางตรงรับแสงแดดโดยตรง
เนื่องจากลำตัวไร้ขนปกคุลม หนูฮิปโปแคระจึงไม่ควรสัมผัสกับอากาศร้อนจัด หรือเย็นจัด ซึ่งจะส่งผลเลวร้ายโดยตรงต่อผิวหนังของพวกเขา ตำแหน่งของกรงจึงควรอยู่ในจุดที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก แต่ไม่ใช่จุดที่ลมพัดผ่านโดยตรง และในกรงควรอุปกรณ์สำหรับการหลบซ่อนตัว และผ้านุ่ม ๆ ให้พวกเขาด้วย
การทำความสะอาดกรงหนูฮิปโปแคระ ควรทำความสะอาดทุกวัน เนื่องจากผิวหนังของพวกเขาสัมผัสกับมูล และปัสสาวะโดยตรง การปล่อยให้กรงสปกรกมากเกินไป อาจส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียก่อโรคเจริญเติบโต จนทำให้เกิดโรคผิวหนังกับหนูฮิปโปแคระได้
ด้วยเหตุผลที่ไร้ขนอีกเช่นกัน หนูฮิปโปแคระจึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่ผิวหนังบอบบาง ไวต่อการระคายเคือง และสูญเสียความชุ่มชื้นที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ที่มีขนปกคุลม ดังนั้น หากพบว่าหนูฮิปโปแคระมีปัญหาเรื่องผิวหนังลอกเป็นขุย ควรปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการดูแลให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้นได้
ปัญหาสุุขภาพที่มักพบในหนูฮิปโปแคระ
หนูฮิปโปแคระมักจะเกิดโรคต่าง ๆ คล้ายกับหนูตะเภาสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด หรือติดเชื้อในระบบทาวเดินอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ หรือเป็นหวัด จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โรคเกี่ยวกับช่องปากและฟัน โดยเฉพาะหนูตะเภาที่ไม่ได้ลับฟัน และโรคผิวหนัง ตั้งแต่ผิวหนังแห้งไปจนถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง และผิวหนังอักเสบ เป็นต้น
การดูแลพกวเขาให้ห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ต้องเริ่มจากการป้องกันที่ถูกวิธี ด้วยการศึกษาข้อมูล และปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม โดยเจ้าของสามารถจดการได้ตั้งแต่เรื่องอาหารและโภชนาการ ไปจนถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีของหนูฮิปโปแคระ
นิสัยและพฤติกรรมของหนูฮิปโปแคระ
หนูตะเภาไร้ขนเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องและอ่อนโยนเหมืนหนุตะเภาสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกที่เจ้าของพาหนูฮิปโปเแคระเข้าบ้าน เจ้าของควรมีเวลาให้กับการปรับตัว และสร้างความคุ้ยเคยกับพวกเขา เช่น การอุ้มและสัมผัสบ่อย ๆ อย่างถูกวิธี การเตรียมของใช้พื้นฐานสำหรับการเลี้ยงดู และให้เวลาพวกเขาได้สำรวจพื้นที่ใหม่ เป็นต้น
ตามธรรมชาติแล้ว หนูตะเภาทุกสายพันธุ์เป็นสัตว์เลี้ยงท่ชอบอยู่รวมตัวกัน ในแง่อุดมคติ การพิจารณาเลี้ยงพวกเขาตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปอาจเป็นเรื่องที่ดีกว่าการเลี้ยงพวกเขาไว้ตามลำพัง แต่อย่าลืมว่า การเลี้ยงหนูตะเภาหลายตัว หมายถึง ความรับผิดของผู้เลี้ยงก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
การเลือกเลี้ยงหนูตะเภาเป็นคู่อาจจะพิจาณาเรื่องความเข้ากันได้ของหนูตะเภา เพราะบางครั้ง พวกเขาไม่ได้เติบโตมาด้วยกัน อาจจะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวต่อกันได้ เช่น การวิ่งไล่กัด การหลบซ่อนตัว ไม่ออกมากินอาหาร ซึ่งเป็นสัญญาณของความเครียด
ในช่วงแรก การแนะนำให้พวกเขารู้จักกันจึงต้องเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้หนูตะเภาแต่ละตัวอยู่คนละกรง และวางไว้ใกล้ ๆ กัน หลังจากนั้นค่อยปล่อยให้พวกเขาเข้าใกล้กัน หรือสัมผัสกันมากขึ้น โดยเจ้าของต้องคอยสังเกตอยู่ตลอดเวลาว่า หนูตะเภาทั้งสองตัวไม่วิ่งไล่กัดกัน และไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงความเครียด
เมื่อหนูตะเภาเริ่มคุ้นเคยกัน พวกเขาจะแสดงความใกล้ชิดด้วยการทำความสะอาดตัวให้กัน นอนด้วยกัน และใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ถ้าหนูตะเภายังเข้ากันไม่ได้ ให้กลับไปใช้กระบวนการเริ่มต้นอีกครั้ง คือแยกออกจากกัน วางกรงไว้ใกล้ ๆ หลังจากนั้น จึงปล่อยให้พวกเขาสัมผัสตัวกันอีกครั้ง
ข้อควรพิจารณาสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง
ก่อนจะเลือกเลี้ยงสัตว์ชนิดใด หรือสายพันธุ์ใดก็ตาม ให้พิจารณาว่า ตัวเราเองมีความพร้อมที่สอดคล้องกับความต้องการพื้นบษนของสัตว์เลี้ยงตัวนั้น หรือไม่ อย่างหนูฮิปโปแคระ ที่ต้องการการดูแลเรื่องผิวหนัง และสุขอนามัย เป็นพิเศษ ดังนั้น การดูแลพวกเขาให้มีสุขภาพดี อาจหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย จึงควรพิจารณาอย่างรอบด้านทั้งเรื่องเวลา และกำลังทรัพย์ ก่อนจะนำพวกเขามาเลี้ยง
ข้อมูลอ้างอิง
Kavee US – The Ultimate Guide to Hairless and Skinny Guinea Pigs
GuineaDad – The Complete Guide to Skinny Pigs – The Hairless Guinea Pig (2023 Update!)
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – หนูแกสบี้ สัตว์เลี้ยงตัวเล็ก ที่ความน่ารักใหญ่เกินตัว