การเลี้ยงลูกสุนัขในช่วงแรกเกิด เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลเรื่องโภชนาการ ที่เจ้าของหลาย ๆ ท่าน มักจะเกิดคำถามว่า ลูกสุนัข 1 เดือน กินอะไรได้บ้าง
สำหรับ ลูกสุนัข 1 เดือน ส่วนใหญ่ ปฏิสัมพันธ์หลัก ๆ ของพวกเขา คือการอยู่ร่วมกับแม่สุนัข และพี่น้องในคอกเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ยังเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขจะเริ่มเรียนรู้วิธีเข้าสังคม และพัฒนาการทางร่างกาย ดังนั้น อาหาร และโภชนาการ จึงเป็นส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการที่สมบูรณ์ วันนี้ เราจะไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะว่า ลูกสุนัข 1 เดือน กินอะไรได้บ้าง
การดูแล ลูกสุนัข 1 เดือน ต้องเข้าใจพัฒนาการของลูกสุนัข
ในการเจริญเติบโตของสุนัข สัตวแพทย์มักจะนับอายุของลูกสุนัขเป็นสัปดาห์ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการทางร่างกายของลูกสุนัข ดังนั้น การดูแลลูกสุนัข ในช่วงแรกเกิดถึง 4 สัปดาห์ หรือในช่วง 1 เดือนแรก เจ้าของควรทำความเข้าใจพัฒนาการของสุนัขด้วย
แม้ว่าลูกสุนัขจะมีรูปแบบพัฒนาการทางร่างกายเหมือนกันที่เหมือนกัน แต่สุนัขแต่ละสายพันธุ์จะเข้าสู่ช่วงอายุโตเต็มวัยที่แตกต่างกัน โดยสุนัขพันธุ์เล็กจะพัฒนาได้เร็วกว่า และถึงวัยโตเต็มวัยก่อนอายุ 1 ปี ในขณะที่สุนัขพันธุ์ใหญ่จะใช้เวลานานถึง 18 เดือน ร่างกายจึงจะพัฒนาเต็มที่
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 สัปดาห์ เป็นช่วงวัยที่เปราะบางมาก
พัฒนาการร่างกายของลูกสุนัขในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด ลูกสุนัขจะนอนหลับ และกินนมจากแม่เท่านั้น เหมือนกับทารกมนุษย์ หากพวกเขารู้สึกหนาว ลูกสุนัขก็จะเคลื่อนที่หาความอบอุ่นจากแม่ หรือพี่น้องในคอกเดียวกัน ระหว่างช่วงวันที่ 10 ถึง 14 ลูกสุนัขจะค่อย ๆ เริ่มลืมตา แต่การมองเห็นยังไม่พัฒนาอย่างชัดเจนในช่วงนี้
ในช่วง 2 สัปดาห์แรก ลูกสุนัขยังไม่มีฟันขึ้น อาหารหลักเพียงชนิดเดียวของพวกเขา คือ นมแม่ ในกรณีที่ให้แม่สุนัขไม่สามารถให้นมลูกได้ เจ้าของสามารถใช้นมทดแทนนมแม่ได้ โดยก่อนให้ผลิตภัณฑ์นมทดแทนที่ไม่ใช่นมแม่ เจ้าของสามารถรับคำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และปริมาณการใช้ จากสัตวแพทย์ได้
สัปดาห์ที่ 3 เริ่มกลายเป็นนักสำรวจ
เมื่ออายุลูกสุนัขครบ 3 สัปดาห์ ฟันแหลมในช่องปากจะเริ่มงอกขึ้นมา พวกเขาจะเริ่มเดิน และดื่มน้ำสะอาดได้ แต่ก็ยังต้องพึ่งพาสารอาหารจากนมแม่เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ประสาทสัมผัสการดมกลิ่นก็จะดีขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา เจ้าของอาจแนะนำลูกสุนัขลองกินอาหารเปียกสูตรลูกสุนัขได้ในช่วงนี้
อายุตั้งช่วงหลังจากนี้เป็นไปได้ คือการเข้าสังคม
ช่วงอายุตั้งแต่ 4 สัปดาห์ ถึง 12 สัปดาห์ เป็นอย่างน้อย คือ ช่วงเวลาที่สำคัญของลูกสุนัข หากเจ้าของต้องการให้ลูกสุนัขเติบโตมาเป็นสุนัขที่มีความสุข และมีสุขภาพดี ควรดูแลลูกสุนัขช่วงนี้ให้ดี โดยการมอบประสบการณ์ที่ดี ให้ลูกสุนัขทำความรู้จักสมาชิกภายในบ้าน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเราและสุนัข การฝึกฝนให้พวกเขาเชื่อฟังเราด้วยการสร้างแรงจูงใจเชิงบวก การพบสัตวแพทย์ และการรับวัคซีนตามกำหนด
วิธีดูแลลูกสุนัขในช่วงแรกเกิด
1. จัดพื้นที่ให้แม่สุนัขได้ดูแลลูก
เนื่องจากในช่วงแรกเกิด ระบบภูมิคุ้มกันในลูกสุนัขยังพัฒนาไม่เต็มที่ เจ้าของจึงควรจัดให้ลูกสุนัขได้อยู่ในการดูแลของแม่สุนัขอย่างปลอดภัย ด้วยการจัดพื้นที่ที่สะอาด และเหมาะสมกับการเลี้ยงลูก อาจจะเป็นการกั้นคอกโดยเฉพาะ หรือให้อยู่ในห้องที่ไม่มีคนเดินผ่านพลุกพล่าน โดยสิ่งสำคัญในช่วงนี้คือ เจ้าของไม่ควรสัมผัสลูกสุนัขบ่อยเกินไป หากพบว่า เกิดความผิดปกติขึ้นกับลูก หรือแม่สุนัข ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ทันที
2. ปล่อยให้แม่สุนัขได้เลี้ยงลูกอย่างเต็มที่
ลูกสุนัขในช่วงแรกเกิด พวกเขาควรได้รับการดูแลอย่างเพียงพอจากแม่เท่านั้น เพราะแม่สุนัขจะรู้วิธีการดูแลลูกสุนัขได้ดีที่สุด หากเจ้าของพบว่า ลูกสุนัขตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาในการกินนมแม่ ให้ค่อย ๆ เคลื่อนตัวลูกสุนัขไปในจุดที่เหมาะสม แต่ไม่ควรใช้วิธีบังคับ เพราะอาจทำให้แม่สุนัขรู้สุกเครียด และสูญเสียความไว้วางใจระหว่างลูกสุนัขได้
3. ให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่เมื่อจำเป็น
ในบางกรณี แม่สุนัขอาจมีปัญหาในเรื่องการให้นมลูก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกสุนัขในช่วง 1 เดือนแรก คือ นมแม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อแม่สุนัขไม่สามารถให้นมลูกได้ หรือลูกสุนัขสูญเสียความสามารถในการดูดนมแม่ เจ้าของจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลเรื่องนี้
ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมาจนมีส่วนประกอบใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุด ปัจจุบันมีจำหน่ายตามโรงพยาบาลสัตว์ และร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ชั้นนำ การพิจารณานมของสัตว์ชนิดอื่น ๆ อย่างนมแพะ แทนนมแม่สุนัข อาจไม่เป็นอันตรายต่อลูกสุนัข แต่สารอาหารในนมแพะ ก็ยังไม่เพียงต่อความต้องการของลูกสุนัข
ทุกครั้ง ถ้าต้องเตรียมผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ให้ลูกสุนัข ควรเตรียมใหม่ และใช้ให้หมดในครั้งเดียว ชงด้วยน้ำต้มสุกอุณหภูมิประมาณ 37.8 องศาเซลเซียส และเนื่องจากลูกสุนัขมีกระเพาะเล็ก จึงต้องการอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยครั้ง โดยให้กินทุก 3 ชั่วโมง ตามปริมาณที่แนะนำบนบรรจุภัณฑ์
4. ติดตามการเจริญเติบโตของพวกเขา
เป็นช่วงเวลาที่สร้างความสุขให้กับเจ้าของได้อย่างดี เมื่อเราได้เฝ้ามองพัฒนาการที่เจริญเติบโตขึ้นทุกวันของลูกสุนัข บางท่านอาจจะมีเครื่องชั่งน้ำหนัก เพื่อตรวจสอบน้ำหนักตัวของลูกุนัขว่า เติบโตไปตามพัฒนาการของสายพันธุ์ หรือไม่
ในช่วงแรกเกิด เป็นช่วงที่ลูกสุนัขยังไม่ได้รับวัคซีน ดังนั้น ลูกสุนัขอาจจะเจ็บป่วย หรือติดเชื้อได้ง่าย การเฝ้าระวังจากเจ้าของจึงเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด หากพบความผิดปกติของลูกสุนัข หรือพบว่าลูกสุนัขเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ควรรีบไปพบสัตวแพทย์ทันที
โดบสรุปแล้ว ลูกสุนัข 1 เดือน ควรได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ ไม่ต้องเสริมด้วยอาหารเสริมใด ๆ โดยไม่จำเป็น เมื่อลูกสุนัขเข้าสู่ช่วงอายุ 3 สัปดาห์ เจ้าของอาจจะให้อาหารเปียกสูตรลูกสุนัขได้ ถ้าลูกสุนัขไม่ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ เจ้าของควรพิจารณาผลิตภัณฑ์นมทดแทนนมแม่สุนัข ที่มีสารอาหารใกล้เคียงกับนมแม่สุนัขมากที่สุด
ในช่วงแรกเกิด เจ้าของควรปล่อยให้ลูกสุนัขได้รับการเลี้ยงดูจากแม่สุนัขอย่างเต็มที่ โดยเจ้าของสามารถสัมผัส พูดคุย อุ้ม และแสดงความรักเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ในแต่ละวัน เพื่อให้ลูกสุนัขต้องรู้สึกสบายใจ และปลอดภัยเมื่ออยู่ท่ามกลางมนุษย์ รวมไปถึงเติบโตเป็นสุนัขในครอบครัวที่มีความสุข และเข้ากับสังคมได้
ข้อมูลอ้างอิง
Royal Canin – Puppy routine Newborn – 0 to 1 month
Hill’s – Your Puppy’s First 3 Months At Home: What to Expect
Raising Rascal – Your Puppy’s First Month (0-5 weeks)
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ – นมทดแทนสำหรับลูกสุนัข : ก้าวแรกที่สำคัญของสุขภาพที่แข็งแรง