Pet Breeds

สุนัขพันธุ์อาคิตะ, อาคิตะ,

สุนัขพันธุ์อาคิตะ : ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

สุนัขพันธุ์อาคิตะ เข้ามาสู่ดินแดนญี่ปุ่นในฐานะสุนัขตระกูลสปิตซ์ที่เก่าแก่ ซึ่งในขณะนั้น เป็นตระกูลสายพันธุ์ของสายพันธุ์ที่เดินท่องไปตามละติจูดทางเหนือของโลก ประวัติ สุนัขพันธุ์อาคิตะ อาคิตะ คือชื่อของจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ให้กำเนิดสุนัขสายพันธุ์นี้ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 โดยมีเรื่องเล่าว่า จักพรรดิญี่ปุ่นได้ส่งขุนนางผู้มีนิสัยเอาแต่ใจ ไปทำหน้าที่ปกครองจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮอนชู ด้วยนิสัยที่รักสุนัขของขุนนางผู้นี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีนิสัยกระตือรือร้น เขาจึงสนับสนุนให้ประชาชนประกวดประชันกันในการผสมพันธุ์สุนัขนักล่าขนาดใหญ่ ที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย กิจกรรมที่จัดขึ้นทำให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์สุนัขจากรุ่นสู่รุ่น จนได้สุนัจอาคิตะ นักล่าที่ทรงพลังผู้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน และมีร่างกายรวมถึงหัวใจที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงยังสามารถทำงานเป็นฝูงได้ดีในการล่าสัตว์ป่า ในช่วงแรก สุนัขอาคิตะได้รับอนุญาตให้ครอบครองได้เฉพาะสมาชิกราชวงศ์ และเลี้ยงไว้ในราชสำนักเท่านั้น หลังจากนั้นจึงได้แพร่พันธุ์ไปสู่สังคมชั้นสูงในยุคนั้น โดยเชื่อว่า อาคิตะคือสัตว์เลี้ยงที่เป็นตัวแทนของผู้พิทักษ์ประจำตระกูล อาคิตะเป็นสุนัขที่ปรากฏอยู่ในตำนานของญี่ปุ่นมาหลายศตวรรษ และยังยึดโยงถึงวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นด้วย หากบ้านหลังใดที่เพิ่งให้กำเนิดทารก พ่อแม่จะหาตุ๊กตาสุนัขอาคิตะมาไว้ในบ้าน เพื่อสื่อถึงความสุข และอายุยืนยาว การเดินทางผ่านช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น อาคิตะเกือบจะสิ้นชื่อจากแผ่นดินนี้ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า สุนัขที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นจะอยู่รอดต่อไป จึงเกิดการตั้งสโมสรสายพันธุ์สุนัขประจำชาติขึ้นในปี 1927 จากนั้น สุนัขอาคิตะก็ได้เป็นตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น ในฐานะของขวัญเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ลักษณะประจำสายพันธุ์ อาคิตะเป็นสุนัขที่มีร่างกายกำยำล่ำสัน มีขน 2 ชั้น เมื่อโตเต็มวัยสูงประมาณ 24 – 28 นิ้ว ขนแน่นมีหลายสี […]

อ่านต่อ
หมาที่ฉลาดที่สุด

สายพันธุ์ “หมาที่ฉลาดที่สุด” คือสายพันธุ์อะไร

การศึกษาวิจัยเรื่องทักษะด้านการรับรู้ของน้องหมา หรือที่หลายคนเรียกว่า “ความฉลาด” ได้แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ หมาที่ฉลาดที่สุด เป็นสายพันธุ์ที่อยู่เหนือความคาดเดาของคนส่วนใหญ่ ความสงสัยใครรู่ของมนุษย์ได้ผลักดันให้เราพยายามศึกษาเพื่อนต่างสายพันธุ์มาตลอดว่า น้องหมาสายพันธุ์ใด คือ “หมาที่ฉลาดที่สุด” จนกระทั่งเมื่อปี 2022 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (Helsinki) ประเทศฟินแลนด์ ได้ศึกษาพฤติกรรมสุนัขกว่า 1,000 ตัว รวม 13 สายพันธุ์ เช่น บอร์เดอร์ คอลลี่ (Border Collie), เบลเยียน มาลินอยส์ (Belgian Malinois), อิงลิช ค็อกเกอร์ สแปเนียล (English Cocker Spaniel), เยอรมัน เชพเพิร์ด (German Shepherd), โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Gloden Retriever), และลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) น้องหมาทั้งหมดที่เข้าร่วมวิจัย ต้องทำแบบทดสอบทักษะพฤติกรรมด้านการรับรู้ ที่เรียกว่า “smartDOG” ซึ่งเป็นแบบทดสอบเพื่อ ประเมินการแก้ปัญหาและกลยุทธ์ การควบคุมแรงกระตุ้น […]

อ่านต่อ
สายพันธุ์สุนัข, นิวฟาวด์แลนด์, สุนัขพันธุ์ใหญ่,

สุนัขสายพันธุ์ “นิวฟาวด์แลนด์”

สุนัขพันธุ์ นิวฟาวด์แลนด์ สายพันธุ์สุนัขที่ดูเหมือนหมีขนาดย่อม ๆ ที่ถึงแม้ว่าจะมีขนาดที่ใหญ่มาก แต่เป็นสุนัขที่เป็นมิตร ฉลาด และว่านอนสอนง่าย และยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี สุนัขพันธ์นี้สามารถช่วยดูแลสอดส่อง ไว้วางใจได้ และสามารถเข้ากับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี จนถึงขนาดที่นักเขียนเรื่อง ปีเตอร์แพน ได้นำเอา นิวฟาวด์แลนด์ มาเป็นต้นแบบของสุนัขที่ชื่อว่า Nana ชื่อนิวฟาว์แลนด์ มาจากชายฝั่งของประเทศแคนาดา สาเหตุเพราะ เคยเป็นสุนัขทำงานที่ช่วยชาวประมงลากอวนขึ้นจากน้ำและช่วยชีวิตคนจมน้ำ สุนัขพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของสุนัขเลี้ยงแกะในเทือกเขา Pyrenees ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์นิวฟาวด์แลนด์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ มีอายุขัยเฉลี่ย 8 – 10 ปี ตัวผู้สูง 28 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 60 – 70 กิโลกรัม ส่วนตัวเมีย สูง 26 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 45 – 55 กิโลกรัม มีกะโหลกศรีษะขนาดใหญ่ ดวงตาขนาดเล็ก ในกรณที่ สุนัขสายพันธุ์นี้มีสีขนเข้ม อาจมีดวงตาสีน้ำตาลจนถึงดำ […]

อ่านต่อ

กระต่ายพันธุ์ ND หรือ Netherland Dwarf

กระต่ายพันธุ์ ND หรือ Netherland Dwarf ตั้งชื่อตามต้นกำเนิดของสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเนเธอร์แลนด์ กระต่ายพันธุ์ ND ได้รับการพัฒนาครั้งแรกในประเทศเนเธอร์แลนด์ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 โดยเป็นการผสมระหว่างกระต่ายบ้านขนาดเล็ก กับกระต่ายป่าที่ตัวเล็กกว่า ผลลลัพธ์จากการผสมกระต่ายขนาดเล็กทั้งสอง จึงทำให้เกิดกระต่ายแคระขึ้นมา โดยทั่วไป กระต่าย ND มีรูปร่างอ้วนกลม ขาสั้น หัวกลมโต หน้าแบน และตากลมโต ความยาวของใบหูยาวไม่เกิน 2.5 นิ้ว และตั้งตรงชี้ขึ้นด้านบน กระต่ายแคระสายพันธุ์นี้มีอายุขัยเฉลี่ย 10-12 ปี และมีน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่อยู่ระหว่าง 0.9 – 1.3 กิโลกรัม กระต่ายสายพันธุ์นี้ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองสายพันธุ์ในประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 1940 และในประเทศอังกฤษ ปี 1950 จากนั้นกระต่าย ND เป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกา ช่วงหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 และสมาคมผู้เพาะพันธุ์กระต่ายอเมริกันได้รับรองสายพันธุ์ในปี 1969 ปัจจุบัน กระต่ายพันธุ์ ND ราคา ประมาณ 400 – 1,200 บาท […]

อ่านต่อ

สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน – ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ตัวเล็ก ขนฟู และหน้าแหลม เป็นลักษณะอันโดดเด่นของ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน ที่เป็นลูกรัก และเป็นสายพันธุ์ยอดนิยม ที่ครองใจเหล่าบรรดาที่ชื่นชอบสุนัขพันธุ์เล็ก ประวัติ สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนี่ยน (Pomeranian) มีต้นกำเนิดในศตวรรษที่ 16 จากแคว้นปอมเมอเรเนีย (Pomerania) แถบทะเลบอลติก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมันตะวันออกและโปแลนด์ในปัจจุบัน โดยบรรพบุรุษของปอมเมอเรเนียนเป็นสุนัขที่อยู่ในตระกูลสปิตซ์ (Spitz) รวมถึงสุนัขสายพันธุ์นอร์วีเจียน เอลก์ฮาวด์ (Norwegian Elkhound), ชิปเพิร์ก (Schipperke), เยอรมัน สปิตซ์ (German Spitz), อเมริกัน เอสกิโม (American Eskimo) และซามอยด์ (Samoyed) สุนัขเหล่านี้ทั้งหมดมีลักษณะที่โดดเด่นเหมือนกัน คือมีหน้าที่ยื่น, หูตั้งและขนยาวหนา ในอดีต ปอมเมอเรเนียน ถูกเพาะพันธุ์ให้เป็นสุนัขลากเลื่อนและมีน้ำหนักมากถึง 30 ปอนด์ ตั้งแต่ปอมได้รับการแนะนำให้เป็นที่รู้จักในฐานะสัตว์เลี้ยงประจำบ้าน สายพันธุ์ปอมเมอเรเนียนจึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นเจ้าของสุนัขปอมเมอเรเนียน ได้แก่ นักศาสนศาสตร์มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther), จิตรกรไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) และนักฟิสิกส์ไอแซก […]

อ่านต่อ
วิเชียรมาศ

แมวพันธุ์วิเชียรมาศ: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติ แมวพันธุ์วิเชียรมาศ แมวพันธุ์วิเชียรมาศ หมายถึง เพชรแห่งดวงจันทร์ (Moon Diamond) เป็นแมวขนาดกลางที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย (Thailand หรือชื่อดั้งเดิม Siam) และถูกบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณ โดยในสมัยก่อนแมวพันธุ์วิเชียรมาศจะมีแต้มสีน้ำตาลเข้ม หรือดำเข้ม แต่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีสี และรูปแบบของแต้มที่แตกต่างออกไป ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ปี ค.ศ. 1877 ประธานาธิบดีรัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ (President Rutherford B. Hayes) ได้รับของขวัญเป็นแมวพันธุ์วิเชียรมาศมาเลี้ยงที่สหรัฐอเมริกา จากการให้ของกษัตริย์แห่งประเทศไทย ผ่านทางเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา David B. Sickels ประจำประเทศไทยที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในปี ค.ศ. 1934 สมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ได้มีการขึ้นทะเบียนแมวพันธุ์วิเชียรมาศ รวมถึงได้กำหนดสีแต้มและสีขนลำตัวที่พบได้ โดยเฉพาะบริเวณขา หาง ใบหน้า และหู ซึ่งหากพบแต้มสีน้ำตาล (Brown), สีดำ […]

อ่านต่อ
เบลเยียน มาลินอยส์, มาลินอย, Malinois, สุนัขตำรวจ, สุนัขทหาร, สุนัข K-9

เบลเยียน มาลินอยส์ – ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

เบลเยียน มาลินอยส์ หรือบางครั้งก็ถูกเรียกสั้น ๆ ว่า มาลินอยส์ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่สง่างาม ฉลาดปราดเปรื่อง และสมบุกสมบัน สุนัขสายพันธุ์นี้สามารถแสดงความสามารถได้อย่างน่าทึ่ง หากได้รับการฝึกฝนที่ดีและถูกต้อง เบลเยียน มาลินอยส์ เป็นชื่อที่ตั้งตามเมืองมาลีนส์ (Malines) ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้กำเนิดสายพันธุ์นี้ เริ่มแรก ผู้คนพัฒนาสายพันธุ์นี้ขึ้นมาเพื่อช่วยงานเลี้ยงสัตว์ในทุ่งเกษตรกรรม แต่ด้วยความฉลาดล้ำของมาลินอยส์ได้ผลักดันให้สุนัขสายพันธุ์นี้ก้าวเข้าสู่งานวงการอื่น ทั้งงานรักษาความปลอดภัย สำรวจตรวจค้นวัตถุต้องสงสัย และงานค้นหาผู้ประสบภัย เมื่อมาลินอยส์โตเต็มที่ ตัวผู้มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 27 – 36 กิโลกรัม ความสูงจากอุ้งเท้าหน้าถึงหัวไหล่ 24 – 26 นิ้ว ส่วนตัวเมียหนัก 18 – 27 กิโลกรัม สูง 22 – 24 นิ้ว ประวัติของเบลเยียน มาลินอยส์ สุนัขสายพันธุ์เบลเยียน มาลินอยส์ – Belgian malinois สำเนียงท้องถิ่นออกเสียงว่า มาลินัวส์ (MAL-in-wah) ตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดที่เมืองมาลีนส์ […]

อ่านต่อ

แมวบริติชช็อตแฮร์: ลักษณะสายพันธุ์ และการดูแล

แมวบริติชช็อตแฮร์ จัดเป็นแมวขนาดกลางถึงใหญ่ ที่มีขนสั้นแน่น มีลักษณะโดดเด่นที่ใบหน้ากลม จึงมองดูคล้ายกับตุ๊กตาหมี แมวหน้ากลมสายพันธุ์นี้ มีแนวโน้มที่จะมีลักษณะนิสัยอ่อนหวานและน่ารัก โดยไม่ติดคนมากนัก แมวบริติชช็อตแฮร์ มีต้นกำเนิดในสหราชอาณาจักร อ้างอิงตามบันทึกประวัติศาสตร์ โดยก่อนหน้าที่จะพัฒนาเข้ามาเป็นแมวบ้าน พวกเขาเป็นแมวขนสั้นที่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคนี้ ในอดีต แมวบริติชช็อตแฮร์มีขนหลายสี แต่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นสีฟ้าอมเทา หรือสี Blue ข้อมูลโดยรวมของแมวบริติชช็อตแฮร์ชื่ออื่น ๆ : บริติชบลู (British blue)นิสัยที่โดดเด่น : น่ารัก พาออกไปนอกบ้านได้ และรักสงบน้ำหนักเมื่อโตเต็มวัย : ประมาณ 3.1 – 7.7 กิโลกรัม (ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย)ความยาวจากปลายจมูกถึงก้น : 22 – 25 นิ้วลักษณะขน : ขนสั้น แน่น พบได้หลากหลายสี ได้แก่ สีขาว สีบลู สีดำ สีครีม และสีเทา มีลวดลายทั้งสีเดียวทั้งตัว ลายเปรอะ และสองสีสีดวงตา : […]

อ่านต่อ
แมวโคราช

แมวสีสวาด หรือแมวโคราช: ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ในอดีตผู้คนนิยมให้เป็นของขวัญแก่กัน เพราะเชื่อกันว่า จะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง เงินทองไหลมาเทมา ประวัติสายพันธุ์ แมวสีสวาด แมวสีสวาด หรือแมวโคราช ถือเป็นแมวอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่มีมายาวนาน มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย โดยชื่อของ “แมวโคราช” มาจากชื่อจังหวัดที่เป็นสถานที่กำเนิดของแมว ซึ่งในประเทศไทยยังรู้จักแมวโคราชในชื่ออื่น ๆ อย่าง แมวสีสวาด แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา ที่มีหมายถึง “ความรัก” และความโชคดี อีกทั้งยังเชื่อว่า แมวโคราชเป็นหนึ่งในแมวมงคลโบราณให้คุณ หากเลี้ยงไว้จะนำมาซึ่งความสุขสวัสดิ์ เป็นมงคลแก่เจ้าของ แมวโคราชได้รับการยกย่องชื่นชมจากผู้คนทั้งในและต่างประเทศ โดยแมวโคราชถูกนำไปโชว์ในงานแสดงแมวที่ประเทศอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 19 ในชื่อ Blue Siamese และนำเข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1950 ซึ่งแมวโคราชถือเป็นแมวไม่กี่สายพันธุ์ ที่มีสีขนเดียวตลอดทั่งตัว คือ สีเทาน้ำเงิน (silvery blue) ลักษณะทางกายภาพ แมวโคราชจัดอยู่ในกลุ่มแมวขนาดกลาง เป็นแมวที่มีกล้ามเนื้อแน่นและแข็งแรง ลักษณะภายนอกคล้ายกับแมวสายพันธุ์จากประเทศรัสเซีย (Russian Blue) แต่มีขนชั้นเดียวมากกว่าขน 2 ชั้น และเพศเมียมักมีความสง่างามมากกว่าเพศผู้ แมวโคราชเป็นแมวที่มีขนสั้น มีความมันวาว และละเอียด […]

อ่านต่อ

แมวบ้าน ผสมข้ามสายพันธุ์กับ แมวป่า เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

การศึกษาประชากรแมวป่าในสกอตแลนด์ พบว่า จำนวนประชากรกำลังลดลงจนใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการเข้ามาผสมกับ แมวบ้าน และน่าสนใจว่า แมวป่าสกอตแลนด์เข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้กับแมวบ้านเป็นเวลาเกือบ 2,000 ปี แต่เริ่มผสมพันธุ์กันเมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา แมวป่ายุโรป เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่พบตามธรรมชาติได้ยากที่สุด เนื่องจากในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา พวกเขามีจำนวนประชากรตามธรรมชาติลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสูญพันธุ์ไปจากอังกฤษและเวลส์ ด้วยการแทนที่ของประชากรลูกผสมของ แมวบ้าน และปัจจุบัน แมวป่ายุโรปพบได้เฉพาะที่ราบสูงสกอตแลนด์เท่านั้น สาเหตุคุกคามจำนวนประชากรแมวป่ายุโรป เกิดจากพื้นที่อาศัยตามธรรมชาติลดลง และหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ การผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวบ้าน ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นภัยคุกคามแมวป่าที่ยังหลงเหลืออยู่ในสกอตแลนด์ การผสมข้ามสายพันธุ์ทำให้พันธุกรรมดั้งเดิมของสายพันธุ์ค่อย ๆ ลดลง กรณีของแมวป่ายุโรปที่ข้ามมาผสมพพันธุ์กับแมวบ้าน ส่งผลให้ยีนของแมวบ้านถ่ายเทปะปนเข้าไปในประชากรแมวป่า จนในที่สุด ไม่เหลือยีนแมวป่าที่เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม ประวัติศาสตร์แมวป่าและแมวบ้านในยุโรป นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่พบว่า แมวบ้านในยุโรปสืบเชื้อสายจากแมวป่าตะวันออก ที่เริ่มเข้ามาป้วนเปี้ยนอยู่ในทุ่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบูรณ์แถบตะวันออกกลาง และเข้ามาในดินแดนอังกฤษ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยเดิมของแมวป่ายุโรป ในช่วงประมาณ 2,200 ปี ที่ผ่านมา ส่วนแมวป่ายุโรปในสกอตแลนด์เป็นสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง หรือประมาณ 10,000 ปีที่แล้ว การศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า พวกเขาเป็นประชากรที่อยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอังกฤษ และอาศัยอยู่ในแถบนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยทั้งแมวป่าและแมวบ้าน แทบไม่เคยผสมข้ามพันธุ์กันเลย จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ การวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Current […]

อ่านต่อ

แมวไทย โบราณ 5 สายพันธุ์ ที่ยังคงอยู่

แมวไทย โบราณเป็นที่รักทั้งในและต่างประเทศ ด้วยลักษณะและมีนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ในปัจจุบันมีเพียง ๕ สายพันธุ์จากแมวให้คุณทั้งสิ้น ๑๗ สายพันธุ์ เท่านั้น

อ่านต่อ

แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวไทยขนสั้น (Domestic Shorthair : DSH) นั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่สามารถระบุได้ว่ามีกี่สายพันธุ์ แต่ได้ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมาย เนื่องจากเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมตั้งแต่โบราณ และยังมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อที่ยังคงมีในปัจจุบัน ทั้งยังปรากฏแมวในสำนวนหรือสุภาษิตต่าง ๆ เป็นต้นว่า ‘ย้อมแมวขาย’ หรือ ‘ยื่นหมูยื่นแมว’ และ ‘ปิดประตูตีแมว’ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าแมวไทยมีประวัติความเป็นมายาวนาน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเริ่มมีการแยกลักษณะแมว ถือว่าเป็น “ตำราดูลักษณะแมว” เล่มแรกที่ได้ทำการแยกแมวไทยตามลักษณะนิสัย หรือบุคลิกของแมว ตำราดังกล่าวเป็นสมุดข่อย โดยแบ่งเป็นแมวมงคลและแมวให้โทษทั้งหมด 23 สายพันธุ์ (เป็นแมวมงคล 17 สายพันธุ์ และแมวให้โทษ 6 สายพันธุ์) เหตุที่แบ่งเป็นแมวให้คุณกับแมวให้โทษนั้น เป็นความเชื่อของคนในสมัยโบราณโดยดูว่าเลี้ยงแล้วจะนำสิ่งที่ดี ๆ หรือสิ่งชั่วร้ายมาสู่ผู้เป็นเจ้าของหรือไม่ ทั้งนี้แมวไทยส่วนใหญ่มีนิสัยดี ไม่ดุร้าย ฉลาด รู้จักประจบประแจง และรักเจ้าของเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเหตุให้แมวไทยยังได้รับนิยมเลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางกายภาพ แมวไทยขนสั้น เป็นแมวขนาดกลาง โดยหัวมีลักษณะโครงสร้างยาวสมส่วนปราดเปรียว มีลำตัวขนาดเล็ก น้ำหนักเบา บวกกับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและคล่องตัวของพวกมัน […]

อ่านต่อ