Pet Breeds

คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล

คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สายพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล (Cavalier King Charles Spaniel) เป็นสายพันธุ์สุนัขที่เก่าแก่ ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศข้างเคียง เริ่มแรกสุนัขพันธุ์นี้รู้จักในชื่อ comforter spaniels ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็กสามารถพาไปข้างนอกได้สะดวก คริสต์ศตวรรษที่ 16 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้ปรากฏบนภาพพระฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ คิง ชาร์ลส์ที่ 2 แห่งสหราชอณาจักร ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่า พระองค์นั้นหลงใหลในสุนัขพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก ถึงกับมอบพระนามให้ชื่อของพันธุ์นี้ โดยกษัตริย์นั้นอนุญาตให้พวกมันเดินไปมาไหนก็ได้ในราชวัง รวมถึงรัฐสภาด้วย ดังนั้นพวกมันจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสุนัขชั้นสูง เป็นเครื่องประดับของชนชั้นสูงในสมัยนั้น พวกมันได้รับความนิยมอย่างอย่างต่อเนื่องในประเทษอังกฤษ รวมถึงในราชวงศ์ด้วย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขุนนางราชสกุลมาร์ลบะระแห่งอังกฤษที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิกับเชื้อพระวงศ์ ได้พัฒนาสายพันธุ์จนเกิดสีที่หลากหลาย และได้รับความนิยมในชนชั้นสูง ต่อมาได้มีการนำพวกมันไปผสมข้ามสายพันธุ์ จนเกิดเป็นคิง ชาลส์ สแปเนียล ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และเป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบัน และได้ขึ้นทะเบียนในระบบ AKC ในช่วงปี 1996 ลักษณะทางกายภาพ สุนัขพันธุ์ คาวาเลียร์ คิง ชาลส์ สแปเนียล เป็นสุนัขขนนุ่ม บริเวณลำตัวและหูขนยาวปานกลาง […]

อ่านต่อ
เมนคูน

เมนคูน (Maine Coon) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เมนคูน (Maine Coon) ถือเป็นแมวสายพันธุ์ขนยาวที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวพื้นเมือง กับแมวป่าทางตอนเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคำว่า “เมน” มาจากถิ่นกำเนิดคืออยู่ที่รัฐ Maine ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนคำว่า “คูน” เชื่อกันว่าอาจมาจากพวกมันที่มีลักษณะคล้ายกับตัวแรคคูน คือ มีหางเป็นพวง มีสีและลวดลายสีน้ำตาลที่มีลักษณะเหมือนแรคคูน แมวพันธุ์เมนคูนเริ่มมีความนิยมลดลงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1900 เนื่องจากได้มีการนำเข้าแมวจากยุโรป อย่างแมวเปอร์เซียที่มีขนาดเล็กกว่ามาก แต่ไม่นานกลุ่มอนุรักษ์สายพันธุ์แมวพื้นเมืองได้มีการจัดการแสดงนิทรรศการขึ้น ในปี ค.ศ. 1950 ทำให้ความนิยมของ “เมนคูน”กลับมาอีกครั้ง ทั้งในประเทศ ประเทศอังกฤษ และแพร่กระจายไปทั่วยุโรปในเวลาต่อมา ลักษณะทางกายภาพ เมนคูน เมนคูนเป็นแมวขนาดใหญ่ มีโครงสร้างและรูปร่างที่ใหญ่โต แต่สมส่วนสมดุล มีความแข็งแรงและสง่างาม หัวใหญ่ หน้าผากกว้าง โหนกแก้มสูง ทำให้มีใบหน้าคล้ายเสือ มีอกกว้าง ขนยาวหนา ลักษณะขนเป็นมันคล้ายเส้นไหม (silky) ในเพศผู้จะมีแผงคอที่หนากว่าเพศเมีย ใบหูชี้ตั้ง มีปลายแหลม และมีขนขึ้นที่ปลายหูคล้ายแมวป่า และมีอุ้งเท้าขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ สีขนนั้นมีได้หลายสี และหลายแบบ ทั้งสีเดียวล้วน […]

อ่านต่อ

เต่าบก (Tortoise) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมหันมาเลี้ยงสัตว์ Exotic Pets กันมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) อาจด้วยเพราะ ความมีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลในตัวเอง และที่สำคัญคือไม่ค่อยส่งเสียงร้อง อีกทั้งยังมีความสวยงาม แปลก มหัศจรรย์ไม่เหมือนใคร ซึ่งหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่นิยมเลี้ยงกันก็คือ “เต่าบก” นั่นเอง สำหรับมือใหม่หรือผู้ที่คิดจะเลี้ยง เต่าบก ควรจะต้องศึกษาก่อนที่จะเลี้ยงว่า เต่าบกที่เราอยากจะเลี้ยงนั้น มีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเป็นอย่างไร อาหารที่รับประทานมีอะไรบ้าง เมื่อรู้ถึงธรรมชาติที่มาของน้องแล้ว ก็ต้องมาดูว่าเราเองมีเวลาที่จะดูแลเค้าหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน มีพื้นที่ที่จะเลี้ยงเขาอย่างเหมาะสมหรือไม่ มีเงินทุนสำหรับค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อไม่สบายหรือเปล่า ถ้าศึกษาจนมั่นใจแล้วว่า พร้อมที่จะเริ่มเลี้ยงแล้ว ก็ตาม บ้านและสวน Pets ไปลุยเลยค่ะ 1. เริ่มเลี้ยงเต่าบกต้องเตรียมตัวอย่างไร จำแนกชนิดเต่าให้ถูก เต่าบก หรือ เต่าน้ำ จำแนกจากชนิดการกินอาหาร– กินพืชเป็นหลัก– กินทั้งพืชและเนื้อ– กินเนื้อ ศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อม– แสงแดด– จุดให้น้ำ– เลี้ยงแบบ Indoor หรือ Outdoor ศึกษาเรื่องอาหาร : เป็นวัชพืช ไม่ใช่ผักบุ้ง […]

อ่านต่อ

แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) คาดว่ามีต้นกำเนิดมากจากประเทศอังกฤษ ในช่วงปี 1800 โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นที่ชื่อว่า Parson John Russell เพื่อใช้ในการล่าสุนัขจิ้งจอก โดยคำว่า รัสเซล หมายถึง นักล่าจิ้งจอกตัวยง ในเวลาต่อมาด้วยรูปร่างที่ปราดเปรียว ว่องไว และรูปร่างกะทัดรัด จึงทำให้พวกมันเป็นสุนัขเลี้ยงที่โปรดปรานมากในหมู่นักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาขี่ม้า และเป็นที่นิยมในอเมริกาในช่วงปี 1930 จากนั้นแจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรียจึงกลายมาเป็นสุนัขที่มีความนิยมอย่างต่อเนื่องอย่างที่เรารู้จักกันทุกวันนี้ โดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงจากต้นกำเนิดแม้จะผ่านมาแล้วกว่า 170 ปี นอกจากนี้ยังเชื่อว่า แจ็ค รัสเซล เทอร์เรีย เป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์อื่นอีก 3 สายพันธุ์ คือ พาร์สัน เทอร์เรีย (The Parson Terrier), รัสเซล เทอร์เรีย (Russell Terrier) และ แจ็ค รัสเซลเทอร์เรีย (Jack Russell Terrier) […]

อ่านต่อ

โดเบอร์แมน พินสเชอร์ (Doberman Pinscher) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ต้นกำเนิดของสายพันธุ์ “โดเบอร์แมน พินสเชอร์” เริ่มต้นในศตวรรษที่ 19 ในประเทศเยอรมัน โดยนักเพาะพันธุ์สุนัขในสมัยนั้นชื่อว่า นาย “หลุยซ์ โดเบอร์แมน” (Louis Dobermann) จากเมือง Apolda ในขณะนั้นนายหลุยซ์มีอาชีพเป็นพนักงานเก็บภาษีแล้วต้องเดินทางไปหลายสถานที่ เขาจึงมักเลี้ยงสุนัขไว้ทำหน้าที่อารักขาและเป็นเพื่อนร่วมเดินทางขณะเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีใครทราบว่านายหลุยซ์นั้นทำการเพาะพันธุ์สายพันธุ์นี้อย่างไร นักประวัติศาสตร์บางคนได้เสนอว่าที่มาของ “โดเบอร์แมน” อาจมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แมนเชสเตอร์ เทอร์เรียร์ (Manchester Terrier) ร็อตไวเลอร์ (rottweiler) เยอรมัน ฟินสเชอร์ (German Pinscher) สุนัขพันธุ์โดเบอร์แมนรุ่นแรกมีใบหน้ากว้าง และมีมวลกระดูกมากกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นหลัง ๆ และเมื่อเวลาผ่านไปผู้เพาะพันธุ์ได้พัฒนาให้มีลักษณะโครงสร้างที่ทันสมัยเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี 1899 และสุนัขโดเบอร์แมนตัวแรกถูกนำเข้าไปในอเมริกาในปี 1908 และเป็นปีเดียวกันที่พบว่ามีการจดบันทึกสายพันธุ์ในสมาคม AKC (America Kennel Club) ในช่วงศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกใช้ในการรบควบคู่กับนาวิกโยธินในการรบในมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในฐานะสหายคู่ใจที่แน่วแน่และกล้าหาญ เมื่อเวลาผ่านไปหลายครอบครัวในสหรัฐอเมริกาเริ่มเห็นว่าสุนัขพันธุ์นี้สามารถทำให้เกิดเป็นตระกูลใหญ่ได้ ต่อมาสายพันธุ์โดเบอร์แมนได้รับความนิยมอย่างมาก มักนิยมให้ทำหน้าที่เป็นสุนัขตำรวจ รวมถึงสุนัขกู้ภัย […]

อ่านต่อ

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador Retriever) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (เรียกสั้น ๆ ว่า แลป) มีถิ่นกำเนิดมาจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ (Newfoundland) ของประเทศแคนนาดา และมีชื่อดั้งเดิมว่า เซนต์ จอห์น (St. John’s) พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันในภายในครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวชาวประมง เพราะลาบราดอร์สามารถช่วยชาวประมงในการจับปลา ฉลาดมากพอที่จะปลดตะขออกจากปลาและแข็งแกร่งมากพอในการว่ายน้ำได้ระยะทางไกล และยังทำหน้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่รักโดยจะเดินกลับบ้านกับเจ้าของหลังจากเลิกงานได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์นั้น เกิดจากการผสมระหว่างสุนัขสายพันธุ์ใด นักประวัติศาสตร์คาดว่า พวกมันเกิดจากการผสมพันธุ์ของสุนัขนิวฟันด์แลนด์และสุนัขในท้องถิ่นอีกหนึ่งสายพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ พวกมันเริ่มได้รับความนิยมเมื่อมีการนำลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์เข้ามาสู่เกาะอังกฤษในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยขุนนางในสมัยนั้นที่เห็นถึงลักษณะพิเศษของพวกมัน เริ่มแรกเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ปีก ซึ่งบางครั้งการล่าสัตว์จำเป็นต้องเข้าไปในป่า มีความลำบากมาก ดังนั้นจึงต้องเลือดสุนัขสายพันธุ์เฉพาะ เพื่อช่วยในการค้นหาเหยื่อที่ถูกยิง แต่เนื่องจากในช่วงเวลานั้นลาบราดอร์ยังต้องนำเข้าจากประเทศแคนาดา ด้วยกฎหมายการเก็บภาษีที่แพงมาก ทำให้จำนวนของพวกมันจึงลดน้อยลงจนเกือบจะเลิกเพาะพันธุ์ แต่ในเวลาต่อมายังมีกลุ่มคนที่ยังคงสนใจสายพันธุ์นี้อยู่ จึงได้ริเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ โดยผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธ์ลาบราดอร์ ซึ่งเดิมนั้นมีเพียงสีดำเท่านั้น กับสุนัขในกลุ่มรีทรีฟเวอร์ หลังจากที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ในภายหลัง ทำให้เกิดสีเหลืองหรือสีครีมตามมา ซึ่งได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ในปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ที่มีความสามารถ สามารถเลี้ยงไว้เพื่อใช้ล่าสัตว์ อีกทั้งยังสามารถใช้พวกมันปฏิบัติการพิเศษ ในการตรวจค้นหายาเสพติด หรือทำการค้นหาระเบิด ตลอดจนกระทั่งสามารถช่วยนำทางให้กับผู้พิการทางสายตาได้อีกด้วย ลักษณะทางกายภาพ […]

อ่านต่อ

บ็อกเซอร์ : ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ประวัติ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ สุนัขพันธุ์บ็อกเซอร์ (ฺBoxer) มีการขนานนามว่าเป็นสุนัขปีเตอร์แพน (Perter Pan) เพราะเป็นสุนัขที่ไม่รู้จักเหนื่อย และเป็นมิตรกับทุกคน ซึ่งมาจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ 3 พันธุ์ คือ สุนัขพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ (Bullenbeisser) เป็นสุนัขนักล่าที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (สอง) สุนัขไม่ทราบสายพันธุ์ และอิงลิช บูลด็อก (English bulldog) ในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 19 มีชาวเยอรมัน Georg Alt ได้นำสุนัขเพศเมียพันธุ์บลูเลนไบเซอร์ ผสมพันธุ์กับสุนัขที่ไม่ทราบสายพันธุ์ และได้ออกลูกสุนัขเพศผู้ออกมาเป็นสุนัขแคระ สีครีมปนขาว (Cream with White) ชื่อ Lechner’s Box ซึ่งสุนัขชื่อ Lechner’s Box ตัวนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของสายพันธุ์บ็อกเซอร์ที่ได้รู้จักกันทุกวันนี้ โดยสุนัขชื่อ Lechner’s Box ได้ผสมพันธุ์กับสุนัขเลือดชิด (Inbreed) คือสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันผสมพันธุ์กัน และได้ออกลูกสุนัขเพศเมียออกมา […]

อ่านต่อ
ไทยหลังอาน

ไทยหลังอาน (Thai Ridgeback) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

หมาไทยหลังอาน สุนัขที่เป็นสัญลักษร์และความภาคภูมิใจของไทย ประวัติสายพันธุ์ หมาไทยหลังอาน หมาไทยหลังอาน มีบันทึกครั้งแรกที่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 350 ปีทีแล้ว  หรืออาจมากกว่านั้น โดยมีทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่าสุนัขพันธุ์นี้สืบเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์พันธุ์ Hottentot ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และมีความเกี่ยวข้องในการพัฒนาของสายพันธุ์ Rhodesiam ridgeback ในปัจจุบัน สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน ถูกนำมาเลี้ยงโดยมีจุดประสงค์ที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสุนัขเฝ้าระวังและสุนัขแจ้งเตือนภัย สุนัขคุ้มกัน สุนัขสำหรับเกมส์ล่าสัตว์ หรือคอยกำจัดงูเห่าตามชายหาด ซึ่งโดยส่วนใหญ่สุนัขพันธุ์ไทยหลังอานมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของไทย โดยเฉพาะบนเกาะ เช่น เกาะดาวฟูก๊วก ซึ่งติดกับชายแดน ประเทศกัมพูชา และเวียดนาม สายพันธุ์นี้พบครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1994 โดยมีบันทึกในสมาคมสุนัขในสหราชอาณาจักรในปี 1996 และมีบันทึกในสมาคม American Kennel Club’s Foundation Stock Service ในปี 1997 ลักษณะทางกายภาพ จัดอยู่ในกลุ่มสุนัขขนาดกลาง ขนาดลำตัวยาวกว่าความสูงของลำตัวเล็กน้อย ช่องอกมีความลึกถึงบริเวณข้อศอก มีโครงสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง กระดูกซี่โครงมีความโค้งงอ ผิวหนังมีความนุ่ม ละเอียด ขนสั้น เรียบ สีขนค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นสีแดง ดำ เทาและน้ำตาลแกมเหลือง […]

อ่านต่อ

เกรฮาวด์ (Greyhounds) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขพันธุ์ เกรฮาวด์ (Greyhounds) ถือเป็นสุนัขสายพันธุ์โบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ จากนั้นเกรฮาวด์ได้ถูกนำเข้ามายังทวีปยุโรปในช่วงยุคมืด เพื่อชื่นชมความสามารถในการล่าสัตว์ของสายพันธุ์นี้ และจากการที่เกรย์ฮาวด์เป็นสุนัขสายพันธุ์ที่สามารถวิ่งได้เร็วมากกว่าสุนัขล่าสัตว์อีกหลากหลายสายพันธุ์ ทำให้สุนัขพันธุ์เกรฮาวน์ได้รับความนิยมมากขึ้น และเกิดเป็นกีฬาแข่งขันความเร็วของสุนัขเกรฮาวด์ในประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นนักสำรวจเรือชาวสเปน และอังกฤษได้นำสุนัขพันธุ์เกรฮาวน์เข้ามายังประเทศอเมริกา และได้กลายเป็นสุนัขพันธุ์แรก ๆ ที่ได้เข้าแข่งขันประกวดสุนัข และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในสมาคม American Kennel Club ในปี 1885 ลักษณะทางกายภาพ โดยปกติสุนัขเพศผู้ มีความสูงเฉลี่ยประมาณ 71-76 เซนติเมตร และหนักประมาณ 27-40 กิโลกรัม ส่วนในเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่ามีส่วนสูงเฉลี่ยประมาณ 68-71 เซนติเมตร และมีน้ำหนักในช่วง 27-34 กิโลกรัม เกรฮาวด์ เป็นสุนัขที่มีขนค่อนข้างสั้น ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา โดยสุนัขเกรฮาวน์มีสีทั้งหมดประมาณ 30 แบบ ซึ่งเกิดจากความหลากหลายของสีขาว, สีดำด่าง, สีเหลืองทอง, สีน้ำตาลแดงและเทา โดยแต่ละสีสามารถปรากฏแบบเดี่ยว ๆ หรือผสมรวมกัน อายุขัย เนื่องจากสุนัขเกรฮาวน์เป็นสุนัขขนาดใหญ่ ทำให้มีอายุขัยสั้นกว่าสุนัขพันธุ์อื่น ซึ่งโดยปกติมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 10-12 ปี […]

อ่านต่อ

เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ (Exotic Shorthair) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวพันธุ์ เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ จัดอยู่ในประเภทแมวขนสั้น ที่มีต้นกำเนิดตั้งแต่ช่วงปลายปี ค.ศ. 1950 โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ (Fancier) ได้ทำการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างแมวพันธุ์แท้ของอเมริกัน ช็อตแฮร์ (American Shorthair) กับแมวพันธุ์เปอร์เซีย (Persians) เพื่อปรับปรุงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของร่างกาย และเพื่อให้สีขนมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยนักผสมพันธุ์สัตว์ได้นำสีขนสีเงินของแมวพันธุ์เปอร์เซียเข้าไปผสมกับสีขนของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์  และในช่วงแรกของการผสมนี้ แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ยังไม่เป็นที่ยอมรับ และยังไม่เป็นนิยมจากผู้คนส่วนมาก ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึง และเริ่มจางหายออกไปจากประวัติสายพันธุ์แมว ในปี ค.ศ. 1967 แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ ได้กลับมาเป็นที่ยอมรับและนิยมอีกครั้ง เนื่องจากสมาคม The Cat Fanciers Association (CFA) ในสหรัฐอเมริกา ได้จัดอันดับให้แมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ชนะเลิศในการประกวดสายพันธุ์แมวจากแมวทุกสายพันธุ์ นอกจากนี้สมาคมยังได้ทำการเพิ่มแมวพันธุ์เอ็กซ์โซติก ช็อตแฮร์ว่า เป็นแมวที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของแมวพันธุ์อเมริกัน ช็อตแฮร์และแมวพันธุ์เปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1979 สมาคม The International Cat Association (TICA) […]

อ่านต่อ
แมวเบงกอล

เบงกอล (Bengal) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ ชื่อของ แมวเบงกอล มาจาก Felis Bengalensis ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของแมวดาว ในภาษาลาติน ถือเป็นแมวสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของแมวดาวเอเชียกับแมวพื้นเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรักษาความคล้ายคลึงทางกายภาพที่แข็งแกร่งของแมวบรรพบุรุษที่เป็นแมวป่า และเพื่อให้ได้สายพันธุ์แมวที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัว ปัจจุบันแมวเบงกอลเป็นแมวที่ติดอันดับ 5 ของแมวยอดนิยมในราชอาณาจักร ลักษณะทางกายภาพ แมวเบงกอล มีลักษณะภายนอกคล้ายแมวป่า แข็งแรง สามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้ชัดเจน มีความสมดุลของกล้ามเนื้อและขนาดตัว แมวเบงกอลมีขากรรไกรที่แข็งแรง มีจุดสังเกตเป็นสีเข้มบริเวณรอบดวงตา มีหูขนาดเล็ก แต่มีความกลมมนที่ส่วนปลายหู ขนสั้นถึงปานกลาง ผิวสัมผัสมีความแน่นและเรียบ นอกจากนี้ยังมีสีของขนที่เป็นเอกลักษณ์ของสายพันธุ์ไม่เหมือนกับแมวชนิดอื่น คือ มีลายจุด, ลายคล้ายดอกกุหลาบ, ลายลูกศร หรือ ลายหินอ่อน ซึ่งจุดส่วนใหญ่จะปรากฎในรูปแบบสุ่ม หรือวางตัวในแนวนอนตามลำตัว อายุขัย แมวเบงกอลมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 14-16 ปี ซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ยใกล้เคียงกับแมวสายพันธุ์ทั่วไป ลักษณะนิสัย แมวเบงกอลเป็นแมวที่มีนิสัยรักใคร่ ชอบแสดงความรัก และเป็นแมวที่มีพลังเยอะ ว่องไว ชอบเล่น ชอบปีนป่าย นอกจากนี้แมวเบงกอลยังเป็นแมวที่ฉลาดและชอบที่จะสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสามารถส่งเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์ การเข้ากับเด็ก แมวเบงกอลเป็นแมวที่กระตือรืนร้นและเข้าสังคมได้ดี เหมาะสำหรับการเลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กและสุนัขที่เป็นมิตร แมวเบงกอลสามารถเล่นและเรียนรู้เทคนิคง่ายๆ […]

อ่านต่อ
ขาวมณี

ขาวมณี หรือขาวปลอด (Khao Manee) ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย

ประวัติสายพันธุ์ แมวขาวมณี แมวขาวมณี เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย ถูกบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 14 ในเล่มที่เรียกว่า ตำราแมว เดิมมีชื่อว่า ขาวปลอด ซึ่งมีความหมายว่าสีขาวสนิททั้งตัว จากนั้นถูกเปลี่ยนมาเป็น ขาวมณี เนื่องจากมีสีตาที่แตกต่างกันออกไป แมวขาวมณี เป็นที่ชื่นชอบของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ 5) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของไทยในช่วงปี 1868 – 1910 โดยแมวพันธุ์ขาวมณีถูกเลี้ยงเป็นอย่างดีภายในวังไม่ให้คนภายนอกเห็น และได้รับการปกป้อง เพื่อให้เป็นแมวที่มีต้นกำเนิดจากรางวงศ์ไทย แมวขาวมณีเป็นแมวที่พบได้ยาก และไม่เคยถูกส่งออกนอกประเทศ และจนกระทั่งปี 1999 คอลลีน เฟรมัท นักอนุรักษ์สัตว์ชาวอเมริกัน ได้เริ่มนำแมวพันธุ์ขาวมณีจำนวน 12 ตัว ไปทำการเพาะขยายพันธุ์ และหลังจากนั้นไม่นาน นักเพาะพันธุ์จากประเทศฝรั่งเศส ก็ได้สานต่อการขยายพันธุ์แมวขาวมณี ทำให้กลายเป็นเจ้าเดียวในประเทศแถบตะวันตก ลักษณะทางกายภาพ ขาวมณี แมวขาวมณีมีลักษณะเหมือนแมวฝั่งตะวันตก รูปร่างเพรียว สวยงาม มีโครงสร้างกระดูกที่ค่อนข้างบางและมีขาหน้าสั้นกว่าขาหลัง บริเวณส่วนหลังและข้างลำตัวโค้งเล็กน้อย หัวของแมวขาวมณีมีขนาดเล็กและมีรูปทรงสามเหลี่ยม จมูกมีรอยหักเล็กน้อย หูมีขนาดปานกลางและตั้ง โดยเฉพาะในเพศผู้ แมวขาวมณีมีจมูกและอุ้งเท้าเป็นสีชมพู นอกจากนี้แมวขาวมณีมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่น คือ รูปทรงของตาและสีของตา […]

อ่านต่อ